read
interview
14 ต.ค. 2563 | 13:39 น.
สัมภาษณ์ผู้บริหาร Tellscore กับภารกิจช่วยเหลือธุรกิจการท่องเที่ยวด้วย Influencer Marketing
Play
Loading...
ท่ามกลางวิกฤติโควิด-19 ที่ถาโถมโจมตีทุกคน ผลกระทบที่เกิดขึ้นสร้างความสูญเสียเป็นวงกว้างโดยเฉพาะเรื่องของธุรกิจการท่องเที่ยวที่กลายเป็น
‘
อัมพาต
’
ในทันที แม้จะเป็นช่วงเวลาที่ยากลำบาก แต่ธรรมชาติของมนุษย์ก็มักจะค้นพบทางรอด เพราะทุกอย่างมีฟ้าหลังฝนของชีวิตเสมอ
ในยุคโควิด
–
19 Tellscore
(
เทลสกอร์
)
บริษัทผู้นำด้านธุรกิจการตลาดแบบ
‘
ปากต่อปาก
’
หรือ Influencer Marketing (กลยุทธ์ทางการตลาดด้วยการใช้ผู้มีอิทธิพลบนโซเชียลมีเดีย) ถือเป็นองค์กรที่เข้ามามีบทบาทสำคัญต่อกลุ่มธุรกิจ SMEs และผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยว จากการผุดโปรเจกต์อย่าง TAT GYM, SCB SME รวมถึง Cherish Krabi ซึ่งทั้งหมดมีเป้าหมายหลักที่คล้ายกัน คือการฟื้นฟูธุรกิจการท่องเที่ยวให้กลับมาเดินหน้าอีกครั้ง
The People ได้มีโอกาสนั่งคุยกับสองผู้บริหารของ Tellscore นำโดย ปู
–
สุวิตา จรัญวงศ์ ตำแหน่ง Co-Founder & CEO และ นก
–
อภัศรา ซิการี่ โกศัลวัฒน์ ตำแหน่ง Managing Director ซึ่งทั้งคู่จะมาเล่าถึงที่มาของโปรเจกต์เหล่านี้ รวมถึงแนวทางขับเคลื่อนเรื่องราวต่าง ๆ ทางด้านสังคมผ่านสิ่งที่เรียกว่า ‘Influencer Marketing’
The People
:
หลังธุรกิจการท่องเที่ยวได้รับผลกระทบจากโควิด-19 โดยตรง ในส่วนของ
Tellscore
ได้รับผลกระทบในทิศทางใด
สุวิตา :
ลูกค้า corporate มี 2 ประเภท คือคนที่เป็นลูกค้าใหญ่ ๆ อาจจะเบรกมีเดียไปบ้างช่วงเดือน 3 เดือน 4 เขาก็ตกใจไม่รู้จะทำยังไง ก็ทำให้เราเสียรายได้ไปเยอะเหมือนกัน แต่ข้อดีคือเราเป็นธุรกิจสื่อ เพราะฉะนั้นถ้าเขาไม่ทำการตลาดก็ไม่ได้ เขาก็เสียหายเหมือนกัน เขาก็เลยต้องกลับมาใช้บริการสื่อแบบนี้ แต่เราก็เห็นรูปแบบพฤติกรรมการกลับมาใช้การตลาด อาจจะไม่ได้ใช้ทุนการบูสต์ ads อะไรมากมาย สิ่งที่เกิดขึ้นคือหลายคนเริ่มมองหาคอนเทนต์ เริ่มมองหากระบอกเสียง
The People
:
แต่ขณะเดียวกันสัดส่วนลูกค้า SMEs ก็โตขึ้นในช่วงโควิด-19 เช่นกัน?
อภัศรา
: จริง ๆ เหมือนที่คุณปูเล่า ทุกอย่างมันเปลี่ยนไป เราเองก็เซอร์ไพรส์เหมือนกัน เพราะมันมีช่วงที่เรา Work from Home มันก็ชะลอไป แล้วพอพฤษภาคมที่เราเริ่มกลับเข้ามาทำงาน ลูกค้าก็กลับมาเหมือนกัน แล้วกลับมาทั้ง 2 กลุ่มเลย มีทั้ง SMEs ที่มาใช้บริการแพลตฟอร์มด้วยตัวเองที่มากขึ้นจนเราแปลกใจ และแบบที่ให้เราคิดแผนให้ ทำให้ แบบ Agency Service ก็เพิ่มขึ้นด้วย
เพราะลูกค้าก็เริ่มตระหนักแล้วว่าเขาอาจจะไปใช้สื่ออื่นไม่ได้ แล้วเขามองเห็นแล้วว่าการตลาดแบบ Influencer Marketing มันมีผลต่อการขายมากกว่า แล้วช่วงนั้นของกินมันขายดีมากบนช่องทางออนไลน์ แสดงว่าพฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไป เขาก็เสพสื่อจากออนไลน์มากขึ้น และสื่อบนออนไลน์ถ้ามันเป็น ads อย่างเดียวมันไม่พอ เขาก็อาจจะกลับมามองตรงนั้น
[caption id="attachment_27204" align="aligncenter" width="1200"]
(จากซ้าย) ปู-สุวิตา จรัญวงศ์ ตำแหน่ง Co-Founder & CEO และ นก-อภัศรา ซิการี่ โกศัลวัฒน์ ตำแหน่ง Managing Director
[/caption]
The People
:
ถือเป็นความแปลกใหม่ไหมที่ SMEs หันมาใช้บริการกับ Tellscore มากขึ้น?
สุวิตา :
เดิมที SMEs ก็ใช้บริการ Tellscore อยู่แล้ว แต่หลายคนเดิมไม่เคยมีงบฯ ทำการตลาดแบบแมส เพื่อแข่งกับแบรนด์แบบภาพปกติ แต่ในยุคนี้ ตอนนี้เขาสามารถใช้เงินเท่าเดิมของเขา สมมติ 50,000 บาทมาแจ้งเกิดช่วงนี้ได้เลย เพราะฉะนั้นนี่เป็นช่วงโอกาสของ SMEs
The People : ในรอบสองปีที่ผ่านมา Tellscore หันมาทำโปรเจกต์เพื่อสังคมเป็นการส่งต่อประสบการณ์ด้านงานสื่อให้กลุ่มนักศึกษาด้วย
อภัศรา :
จริง ๆ เราเองก็มีนโยบาย Influencer for Change ที่เป็นวิถีของบริษัทเรา คือเราทำเรื่องสื่อน้ำดีมาตลอด เราอยากจะสร้างอะไรที่เป็นสิ่งดี ๆ ให้กับสังคม เราก็เริ่มต้นจากการที่เราเกิดคำถาม “เอ๊ะ! เป็นมีเดียแล้วมันจะเปลี่ยนสังคมยังไง” เราก็มีโครงการของเรา 2 โครงการ โครงการแรกคือ G-Youth ซึ่งเราทำตั้งแต่ปีที่แล้ว ปีนี้เราต่อยอดให้มันแข็งแรงมากขึ้น ชวนน้องๆ นักศึกษาคณะนิเทศฯ จาก สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ กับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เข้ามาอยู่กับเรา ให้เราบ่มเพาะเรื่องการทำคอนเทนต์ที่ดีให้กับสังคม เช่น มาร์เก็ตติ้งจะทำยังไงนะ สิ่งนี้เป็น fake news หรือเปล่า หรือข้อมูลนี้บิดเบือนไหม วิธีการพูดจะสื่อสารยังไงให้คนเชื่อถือเรา เราก็จะปลูกฝังการตระหนักรู้ตรงนี้ให้กับเขา โดยมีทีมงานของ Tellscore เป็นผู้ให้ความรู้ในเรื่องการทำ content นอกจากนี้เรายังเชิญวิทยากรจากข้างนอกที่เป็นคนน่าเชื่อถือมา เช่น วรรณสิงห์ (ประเสริฐกุล) เพื่อเข้ามาช่วยเล่าประสบการณ์ของการเป็นกระบอกเสียงที่ดีในมุมต่างๆ ซึ่งไม่ใช่แค่ได้ความรู้อย่างเดียว แต่เราให้พวกเขาได้ทำงานของแบรนด์จริง ได้รายได้ เป็นค่าตอบแทน เป็นค่าขนมให้พวกเขาด้วยเหมือนกัน
สุวิตา :
ส่วนโครงการที่ 2 เราก็เป็นพันธมิตรด้านสื่อเพื่อภาคีภาคสังคม เรามองว่าเราเองไม่ได้มีเวลาไปลงมือลงแรงไปดูแลเด็กตามชายขอบ แต่ว่าจริงๆ มีมูลนิธิ หรือว่าองค์กรที่ทำพวกนี้อยู่แล้ว แน่นอนว่าวันหนึ่งหน่วยงานเหล่านี้ก็อาจจะหมดแรงเหมือนกัน คำถามก็คือใครจะมาช่วยกระจายเสียงให้เขา เราก็เลยเริ่มเปิดประตูแล้วก็มีทีมงานที่มาจากเยาวชนกลุ่มแรกเข้ามาเป็นกระบอกเสียงให้กับโครงการพวกนี้
และเมื่อช่วงโควิด-19 ที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นบริษัท แบรนด์ หรือว่ามูลนิธิใดๆ ก็ตามที่อยากบอกต่อเรื่องดีๆ ที่ช่วยสังคม ถ้าเขาต้องการความช่วยเหลือให้เราเป็นกระบอกเสียงให้ บางทีบริษัทเหล่านี้อาจจะขาดแคลนงบฯ ในการทำการสื่อสาร เขาก็อาจจะเอาโครงการต่าง ๆ เข้ามาคุยกับเราได้ เรามีนโยบายสนับสนุนเรื่องนี้ทุก ๆ ปี ภายใต้โครงการ Influencer for Change ของเรา
The People
:
โปรเจกต์ TAT GYM
คืออะไร
สุวิตา :
เป็นโครงการที่ ททท. (การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย) ทำร่วมกับสายการบิน Thai AirAsia แล้ว Thai AirAsia ก็เป็นพันธมิตรกับเรา เขาก็เล็งเห็นว่าจริงๆ Influencer Marketing จะช่วยธุรกิจการท่องเที่ยวได้ ก่อนหน้านี้กลุ่มธุรกิจการท่องเที่ยวมักจะมองไม่เห็นถึงความสำคัญของ influencer เพราะว่าปกติเขาไม่ต้องใช้ สมมติเป็นธุรกิจท่องเที่ยวทะเลจังหวัดกระบี่ ภูเก็ต เขาก็จะอาศัยพวก OTAs และใช้สื่อตรงนั้น แต่ในครั้งนี้ ททท. จะมุ่งไปที่ SMEs ที่อยู่ในชุมชน เขาต้องการสร้างรายได้ให้กับชุมชนอย่างยั่งยืน ก็เลยมาคุยกับ Tellscore เพื่อถามเราว่าจะช่วยสนับสนุนได้ไหม ก็จะมีปูไปช่วยเป็น speaker ให้ สอนเขาเรื่อง Influencer Marketing ว่าทำยังไง ส่วนนกเองก็จะช่วยไปเป็น mentor ให้กลุ่ม SMEs ที่เข้าร่วมในโครงการ ซึ่งกลุ่มที่เราดูแลก็สามารถคว้ารางวัล 1 ใน 3 รางวัลนวัตกรรมเพื่อการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน
The People
:
ทำไมผู้ประกอบการถึงต้องหันมาใช้บริการของ Tellscore
อภัศรา
: จริงๆ จะเห็นว่ามันไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เป็นเรื่องที่ตอนนี้ทุกคนพูดหมด ทุกคนไม่ทำไม่ได้ ทุกเอเจนซี่ขาย influencer ทุกแบรนด์ใช้ influencer แต่ถ้าเราต้องใช้ในปริมาณที่เยอะมากทุกคนต้องการระบบบริการนี้
สุวิตา :
เราไม่สามารถยกหูหา influencer ทุกคนเพื่อบรีฟพร้อมๆ กันได้
อภัศรา
: เราก็เลยเป็นเหมือนระบบแพลตฟอร์มที่สามารถทำให้จ้างงาน 1,000 คน วัดผล เก็บ stat ทำรีพอร์ตได้เร็วขึ้น
The People
:
เรียกว่าเป็น shortcut ของการทำการตลาดที่ง่ายกว่าเดิม
สุวิตา :
ใช่ แล้วก็เปิดช่องทางให้คนภายนอกหรือผู้ประกอบการให้มีศักยภาพเองด้วย เพราะว่าเราเป็นแพลตฟอร์ม หากคุณเข้าไปวันนี้ก็จ้างได้เลย และสามารถตั้งเอเจนซี่ได้เลย คือสามารถไปทำราคาและขายลูกค้าได้เองเลย นี่คือกลยุทธ์ที่แพลตฟอร์มอื่นไม่มี แพลตฟอร์มเราก็จะมีน้อง ๆ ที่พร้อม ถ้าจะเอาครีเอทีฟเราก็มี แต่จริงๆ แล้วลูกค้าบางคนมีเอเจนซี่ เราก็จะเอาตรงนี้ไปอำนวยการให้เขาเพื่อลดต้นทุน
อภัศรา
: SMEs พอเข้ามาใช้แพลตฟอร์มเรา บางทีเขาไม่ใช่คนในวงการก็จะนึกไม่ออกว่าควรจะใช้บริการใครดี แต่พอเข้ามาใช้บริการของเราก็จะเห็นว่า influencer มีใครบ้างที่เข้ากับความต้องการเขา อีกทั้งยังสามารถไปดูผลงานเก่า ๆ ของ influencer ได้ด้วย ฉะนั้น มันก็เหมือนทางลัดให้เขา แล้วพอมันส่งลิงก์ผ่านระบบ ก็มั่นใจได้เลยว่า influencer จะทำงานกลับมาง่าย เสร็จแล้วก็มีผลงาน influencer โชว์ออกมาให้เห็นเลยว่าประสิทธิภาพของ influencer แต่ละท่านเป็นยังไงบ้าง ซึ่งเรามองว่ามันดีกับคนที่เพิ่งเริ่มต้นทำธุรกิจ
The People
:
ที่มาของโปรเจกต์ SCB SME
สุวิตา :
จริง ๆ ตัว SCB SME เริ่มจากเราทำงานกับ SCB อยู่แล้ว ทั้งในมุมที่เราก็เป็นคนให้บริการเขาใน Influencer Marketing แล้วก็ในมุมที่เขาให้บริการเราในเรื่องระบบการจ่ายเงินต่าง ๆ ที่ Tellscore ใช้อยู่ เราก็เลยมีโอกาสได้รับรู้ข่าวสารว่าตอนนี้ผู้บริหารเขาดูกลุ่ม SMEs เขาก็เล็งเห็นว่ากลุ่มธุรกิจ SMEs ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 จะเป็นกลุ่มท่องเที่ยวโดยเฉพาะ ส่วนมากแทบจะไม่มีรายได้เลย ห้องพักไม่มีคิวจองเลย
SCB ก็เลยมองตัวเองในฐานะที่เขาเป็นพาร์ตเนอร์ของธุรกิจบริการ เพราะเขาให้สินเชื่อผู้ประกอบการกลุ่มนี้ ซึ่งก็ต้องช่วยเหลือกัน แต่คำถามก็คือทำยังไงดีถึงจะช่วยเหลือได้ SCB ก็เริ่มชวนพาร์ตเนอร์ต่าง ๆ มาช่วยกัน จริง ๆ จะคล้าย ๆ กับ TAT GYM เหมือนกัน SCB ก็มองว่าเราเป็นแพลตฟอร์ม เป็นเทคโนโลยี ซึ่ง SMEs ก็จะเด่นเรื่องการใช้เทคโนโลยี SCB ก็เลยเลือกกลุ่มเทคโนโลยีต่าง ๆ ให้เข้ามาช่วย
กลับไปเรื่องที่บอกว่ากลุ่มผู้ประกอบการท่องเที่ยวเขาไม่เคยมองคนไทยเลย ไม่เคยใช้คนไทยในการประชาสัมพันธ์ โดยเฉพาะ 3 จังหวัด ภูเก็ต พังงา กระบี่ เขามองหาคนต่างชาติตลอด เพราะฉะนั้น SCB ก็เลยมองว่าทำยังไงให้ผู้ประกอบการเหล่านั้นหันกลับมาหาคนไทย ฉะนั้น influencer นี่แหละจะช่วยเขาได้ มันไม่ใช่แค่การทำมีเดียอย่างเดียวแล้ว
The People
:
มันคือการเข้าไปเปลี่ยน mindset ของผู้ประกอบการ
สุวิตา :
ใช่ เหมือนผู้ประกอบการโรงแรมได้ติดอาวุธที่เป็นความรู้เกี่ยวกับ influencer เราสอนเขาให้เข้าใจถึงวิธีการ เลือกยังไง เพื่อจะแก้ปัญหาที่เขาไม่รู้จักลูกค้าคนไทยเลย
The People
:
หลังจากลงพื้นที่แล้วทำให้ผู้ประกอบการเปลี่ยนความคิดไปบ้างไหม
สุวิตา :
จริง ๆ บางคนก็เริ่มสนใจ แต่ก็มีส่วนหนึ่งต้องบอกว่ายากเหมือนกัน ต้องใช้เวลา เท่าที่เห็นธุรกิจโรงแรม หรือธุรกิจท่องเที่ยว เช่น เช่ารถ สถานบันเทิง ที่พักโฮมสเตย์ ตอนนี้สิ่งที่เห็นชัดคือเริ่มมีคนสนใจแล้ว สนใจว่าจะใช้ influencer และเริ่มเอาพนักงานตัวเองเป็น influencer ส่งพนักงานไปขายของ ซึ่งนี่เป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก พอเขาเริ่มปรับตัว เราเชื่อว่าถ้าพอรายใหญ่ ๆ เริ่มขยับ รายเล็ก ๆ เห็นก็จะเดินตาม แต่ทั้งหมดนี้ต้องใช้เวลา
The People
:
ถือว่าโปรเจกต์นี้มีแนวโน้มที่จะช่วยผลักดันให้คนไทยหันไปเที่ยวภาคใต้มากขึ้นหรือเปล่า
อภัศรา
: ใช่ ในมุมหนึ่งนี่ก็จะเปลี่ยนวิธีคิดของคนเมือง เพราะก่อนหน้านี้เราจะเห็นเลยว่า first jobber ในเมืองไทยมีสถิติที่ระบุว่างานแรกของ first jobber ต้องได้เงินเดือน 20,000-30,000 บาท พองานที่สองเป้าหมายแรกคือเก็บตังค์ไปเที่ยวเมืองนอก ไม่ใช่เก็บตังค์ไว้เที่ยวเมืองไทย หรือเก็บตังค์เพื่อความมั่นคงของชีวิตตัวเอง เพราะฉะนั้นตรงนี้มันอาจจะเปลี่ยนไป มันอาจจะทำให้เรากลับมาเปลี่ยนความคิดเที่ยวเมืองไทยมากขึ้น
The People
:
อีกหนึ่งโปรเจกต์สำคัญของ Tellscore ก็คือ
‘Cherish Krabi’ เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งโปรเจกต์ที่บริษัทเข้ามาช่วยเรื่องการฟื้นฟูการท่องเที่ยวของจังหวัดกระบี่
อภัศรา
: กระบี่ในรอบ 3-4 เดือนที่ไม่มีนักท่องเที่ยวเลย แต่ถือเป็นช่วงเวลาที่ธรรมชาติได้ฟื้นตัว เพราะในช่วงที่มีการท่องเที่ยวมันเต็มไปด้วยขยะเต็มหาด ทางจังหวัดก็เลยรู้สึกว่าคนในกระบี่ต้องหันมาช่วยกัน ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจ ชุมชน คนเรือ เจ้าของโรงแรม เจ้าของโฮมสเตย์ ร้านอาหาร ต้องช่วยกันว่าจะทำยังไงให้รักษาธรรมชาตินี้เอาไว้ เขามองว่าเพื่อที่จะมีการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนในอนาคต และเราจะได้มีกระบี่สวย ๆ แบบนี้ให้นักท่องเที่ยวมาเที่ยวกันต่อ มันก็เลยเป็นที่มาว่าต้องนำเอา influencer หลาย ๆ คนเข้าไปเป็นกระบอกเสียงเพื่อส่งออกข้อความที่ว่า หากมากระบี่แล้วต้องรักษาสิ่งนี้นะ ต้องทำสิ่งนั้นนะ อันนี้อย่าทำนะ
ทะเลแบบนี้มันไม่ใช่ 5 ดาว มันคือ 6 ดาว แล้วดาวที่ 6 มันมาจากธรรมชาติ วัฒนธรรม วิถีชีวิตความเป็นอยู่ มันแทบจะเป็น 3-4 ที่ ในเมืองไทยที่ยังไม่พัง เพราะฉะนั้น “กลับไปมือเบา ๆ นะเพื่อนนะ” อันนี้คือหัวใจสำคัญที่เราอยากจะสื่อสารออกไป
The People
:
ชีวิตแบบ New Normal ในมุมมองของ Tellscore?
สุวิตา :
จริง ๆ influencer อาจจะเปลี่ยนไป เพราะเขามีความสามารถที่เพิ่มมากขึ้น ไม่ใช่ว่าตอนนี้เป็นนักร้อง ร้องเพลงเก่งแล้วต้องรีวิวแต่เพลง ต่อไปอาจจะต้องฝึกรีวิวอย่างอื่น รีวิวน้ำดื่มได้บ้างไหม รีวิวเกมได้บ้างไหม รีวิวเครื่องสำอางเป็นหรือเปล่า อาจจะต้องทำได้หลายแกนมากขึ้น อันนี้คือสิ่งที่เราเริ่มเห็นแล้วว่ามันมีการเปลี่ยนไป แบรนด์ต่าง ๆ เองเมื่อก่อนเวลาใช้ influencer ก็จะมองว่า “อุ๊ย! ถ้าฉันเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางฉันจะต้องใช้บิวตี้บล็อกเกอร์นะ” ซึ่งก่อนหน้านี้ไม่มีใครเคยนึกเลยว่านักพากย์สามารถพากย์หรือรีวิวแบรนด์ได้ด้วย และคอนเทนต์ของพวกเขาก็เข้าถึงคนค่อนข้างเยอะ ทั้งหมดนี้จะยิ่งทำให้ธุรกิจ influencer เติบโตไปไกลกว่าเดิม
The People
:
โมเดลธุรกิจมีการเปลี่ยนผ่าน รวมถึงมีการพัฒนาการตลอดเวลา ในฐานะที่เป็นผู้นำด้าน Influencer Marketing ทาง Tellscore มองโมเดลธุรกิจในอนาคตอย่างไร จะมีวันที่หมดยุคการใช้บริการ Influencer ในการทำการตลาดหรือไม่
อภัศรา
: จริง ๆ เราคิดว่า Influencer Marketing มีมานานมากแล้ว เพราะมันก็คือการบอกต่อ อย่างนกกินน้ำอันนี้อร่อยแล้วนกก็อยากบอกต่อ “อันนี้อร่อยมากเลย ลองกินดูสิ” นั่นคือนกเป็น influencer แล้ว จริง ๆ ทุกวันนี้คนหลายคนเป็นอยู่แล้ว นั่นคือจุดเด่นที่ทำไม Tellscore เราถึงโฟกัสตรงนั้น เราไม่ได้โฟกัสว่าจะต้องเอาดาราเบอร์ใหญ่มาพูด เพราะทุกคนรู้ว่าแบรนด์บอกให้พูด มันได้ผลในเชิง awareness มุมกว้าง แต่ถามว่าคนจะซื้อตามแค่ไหน เราตอบไม่ได้ ในทางกลับกัน ถ้าเป็นพี่ปูบอกให้นกใช้ นกจะลอง เพราะคิดว่าพี่ปูต้องเคยใช้มาแล้วแน่ ๆ แล้วมันต้องดีแน่ ๆ เพราะเขาคือคนใกล้ตัวเราเป็นคนลองเอง แนะนำเราเอง ก็เลยมองว่ามันไม่น่าจะตาย
สุวิตา :
ถ้าถามว่ามันจะเปลี่ยนรูปแบบไหม มันก็อาจจะเปลี่ยน เช่น เมื่อวานนี้มันไม่มีโซเชียลมีเดีย วันนี้มันมี มันก็เลยเกิดการขยายผลขึ้นมาตูมตามเป็นเศรษฐกิจ Influencer Economy ขึ้นมา ต่อไปมันอาจจะเปลี่ยนช่องทางเช่นไปแพลตฟอร์มอย่าง TikTok มากขึ้น มันอาจจะเปลี่ยน shift shape จากรีวิวภาพกลายเป็นทำ Live เปลี่ยนรูปแบบเปลี่ยนวัตถุประสงค์ เปลี่ยนคอนเทนเนอร์ คอนเทนเนอร์ของเราก็คือช่องทางต่าง ๆ มันเปลี่ยนไปบ้าง เปลี่ยนไปเปลี่ยนมา แต่ถ้าเรานิยามได้ว่า influencer คือมนุษย์สองคนคุยกัน มันจะไม่ต่างอะไรเลย แต่เราต้องตามการเปลี่ยนช่องทางของมันให้ทัน
The People
:
new normal
ของธุรกิจ ในยุคโควิด-19
ผ่านสายตาของ Tellscore
ส่วนตัวบริษัทวางเป้าหมายไว้อย่างไร
สุวิตา :
ปีนี้เป็นปีที่ไม่มีใครพูดถึงผลประกอบการมาก แต่เรามองว่ามันเหมือนการพิสูจน์ว่าการที่เราไม่ได้ล้มหายตายจากไป แสดงว่าธุรกิจนี้มันสะเทินน้ำสะเทินบก เพราะฉะนั้นความฝันอาจจะเป็นว่า เราจะต้องเติบโตไปด้วยกัน แล้วเราอยากจะทำให้มันเป็นส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจไทยที่แข็งแรงด้วย เพราะว่าพอกลับมาย้อนดูธุรกิจนี้ ถ้าถามว่าใครได้สตางค์ คำตอบคือคนไทยได้นะ ถ้าเรายิ่งโต คนไทยก็ยิ่งได้สตางค์ อย่างปีหนึ่งเรามี 40-50 ล้านบาทให้คนไทย อย่างน้อยเรารู้สึกว่าเป้าแค่นี้ถ้าเราทำให้มันใหญ่ขึ้นได้ แสดงว่าเราช่วยให้เศรษฐกิจของประเทศไทยโตไปด้วย
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
‘บิ๊กโจ๊ก’ พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล ตำแหน่งใหญ่ขณะอายุน้อย บารมีมาก เส้นทางสีกากีติดไฮสปีด
15 ก.ย. 2566
3487
ถอดรหัส ‘Naatu Naatu’ เพลงประกอบหนังอินเดียฉากร้อง-เต้นใน RRR ได้ออสการ์-Golden Globes
13 มี.ค. 2566
6940
‘เอมิลิโอ เฟอร์นันเดส’ ชายผู้เป็นต้นแบบของตุ๊กตารางวัล ‘ออสการ์’
12 มี.ค. 2566
818
แท็กที่เกี่ยวข้อง
Interview
Tellscore