อะคุตะงะวะ ริวโนะสุเกะ: ราชาเรื่องสั้นผู้ทิ้งมรดก ‘ราโชมอน’ ไว้ให้กับคนรุ่นหลัง

อะคุตะงะวะ ริวโนะสุเกะ: ราชาเรื่องสั้นผู้ทิ้งมรดก ‘ราโชมอน’ ไว้ให้กับคนรุ่นหลัง
วรรณกรรมญี่ปุ่นมีหลากหลายประเภทให้เราเลือกอ่านตามความชอบ บางคนอาจชื่นชอบนิยายสืบสวนสอบสวน หลายคนชอบนิยายที่ใคร่ครวญถึงความคิดและชีวิต อีกกลุ่มหนึ่งอาจชอบความเป็นธรรมชาติของวัฒนธรรมญี่ปุ่นที่สอดแทรกอยู่ในชีวิตแสนจะเรียบง่ายแต่ลึกซึ้งของตัวละคร และเราเชื่อว่านักอ่านส่วนใหญ่จะต้องรู้จักนักเขียนระดับตำนานของญี่ปุ่นอย่าง อะคุตะงะวะ ริวโนะสุเกะ รวมถึงงานเขียนอันโด่งดังของเขาเรื่อง ‘ในป่าละเมาะ’ (In the Grove) ที่ถูกคุโรซาวะ อากิระ (Kurosawa Akira) นำมาสร้างเป็นภาพยนตร์ที่ถือเป็นมรดกแห่งภาพยนตร์โลกในชื่อ ‘ราโชมอน’ (Rashomon-1950) กันอย่างแน่นอน อะคุตะงะวะ ริวโนะสุเกะ (Akutagawa Ryunosuke) ชื่อของเขามีความหมายว่า ‘บุตรชายของมังกร’ เนื่องจากริวโนะสุเกะเกิดปีมะโรง (ค.ศ. 1892) ชีวิตของเขาช่างแสนธรรมดาและไม่มีอะไรโดดเด่นไปกว่าคนอื่น ๆ มีแค่เพียงเรื่องเศร้าของมารดาที่จากไปด้วยการลงความเห็นจากหมอและคนบ้านใกล้เรือนเคียงว่า แม่ของริวโนะสุเกะเป็นผู้มีอาการวิกลจริต เด็กชายวัย 10 ขวบ ที่เสียแม่ถูกผู้เป็นลุงรับไปเลี้ยงแทน และเมื่อโตขึ้นเขาก็ได้ตัดพ้อถึงการช่วยชีวิตวัยเด็กของตัวเองไว้ในผลงาน และคาดว่าเหตุการณ์ดังกล่าวน่าจะจำฝังใจชายคนนี้ไปจนถึงวันสุดท้ายของชีวิต

‘僕の母は狂人だった。僕は一度も僕の母に母らしい親しみを感じたことはない’

(แม่ของข้าพเจ้าป่วยหนัก ข้าพเจ้าไม่เคยเข้าถึงความรู้สึกที่ได้ใกล้ชิดกับเธอเลยสักครั้ง)

ริวโนะสุเกะเป็นเด็กขี้โรค ตัวเล็ก ป่วยง่าย และใช้เวลาว่างที่มีจมอยู่กับหนังสือ ชื่นชอบการอ่านเป็นชีวิตจิตใจ และตัดสินใจร่ำเรียนเพียรพัฒนาตนเพื่อสอบเข้ามหาวิทยาลัยโตเกียวอิมพีเรียล (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นมหาวิทยาลัยโตเกียว) จนสุดท้ายเขาได้ทำตามฝันก้าวแรกด้วยการเป็นนักศึกษาเอกวรรณคดีอังกฤษของมหาวิทยาลัยมีชื่อได้สำเร็จตามที่ตั้งเป้าไว้ในปี 1913 อะคุตะงะวะ ริวโนะสุเกะ: ราชาเรื่องสั้นผู้ทิ้งมรดก ‘ราโชมอน’ ไว้ให้กับคนรุ่นหลัง ผลงานของเขาเริ่มต้นด้วยการเขียนเรื่องสั้น ริวโนะสุเกะมีเรื่องสั้นจำนวนมากที่ทำให้ผู้อ่านรู้สึกหลงใหลและติดพัน เขาเริ่มต้นชีวิตงานเขียนในวัย 22 ปี กับผลงานเรื่องสั้นเรื่องแรกอย่าง ‘โรเน็น’ (Ronen) ในปี 1914 ชายหนุ่มที่เป็นนักเขียนหน้าใหม่ของวงการเปิดตัวได้อย่างน่าสนใจ แต่นั่นก็ยังไม่เพียงพอที่จะทำให้ครอบครัวของหญิงสาวที่เขารักยอมรับ ระหว่างเรียนมหาวิทยาลัย ริวโนะสุเกะตกหลุมรักและคบหากับเพื่อนสาวสมัยเด็กชื่อ โยชิดะ ยาโยอิ (Yoshida Yayoi) ทว่าพอทั้งคู่เริ่มวางแผนชีวิตคู่จริงจัง แม่ของยาโยอิกลับให้เธอไปแต่งงานกับผู้หมวดอีกคนหนึ่งแทน เพราะเขามีฐานะดีและมีหน้าที่การงานที่มั่นคงกว่า การแต่งงานสายฟ้าแลบของแฟนสาวแทบทำโลกทั้งใบของเขาพังลงต่อหน้า ริวโนะสุเกะเก็บตัว หดหู่ และถ่ายทอดความเศร้าของตัวเองลงในงานเขียน [caption id="attachment_27520" align="aligncenter" width="1200"] อะคุตะงะวะ ริวโนะสุเกะ: ราชาเรื่องสั้นผู้ทิ้งมรดก ‘ราโชมอน’ ไว้ให้กับคนรุ่นหลัง ราโชมอน[/caption] อย่างไรก็ตาม ชีวิตรักแสนเศร้าของริวโนะสุเกะกับยาโยอิมีเส้นเรื่องหลายเส้นด้วยกัน บ้างก็เล่าเหมือนกับที่เราเล่าไว้ตอนต้น บ้างก็บอกว่าเป็นครอบครัวฝั่งริวโนะสุเกะต่างหากที่ไม่ยอมรับการแต่งงานของทั้งคู่ และในปี 1916 เขาตกลงปลงใจแต่งงานกับผู้หญิงคนหนึ่งชื่อว่า ทสึกะโมโตะ ฟูมิ (Tsukamoto Fumi) เริ่มต้นชีวิตใหม่อีกครั้งในนามนักเขียนเรื่องสั้นที่น่าจับตามอง ริวโนะสุเกะได้มีโอกาสรู้จักกับ นัตสึเมะ โซเซกิ (Natsume Soseki) นักประพันธ์ชื่อดังแห่งยุคที่ริวโนะสุเกะเรียกว่า ‘อาจารย์’ โดยผลงานของโซเซกิมีหลายเล่มด้วยกัน อาทิ ‘ต้นส้ม น้ำตา พายุ’ ‘ฝันสิบราตรี’ ‘อันตัวข้าพเจ้านี้คือแมว’ (ชื่อตามต้นฉบับที่แปลเป็นภาษาไทย) พวกเขาได้แลกเปลี่ยนพูดคุยเกี่ยวกับวรรณกรรมและงานเขียน โซเซกิได้แนะนำว่าความสามารถระดับริวโนะสุเกะสามารถเล่าเรื่องสั้นต่อเนื่องได้เป็นสิบ ๆ เล่มในเวลาไม่นาน แม้จะยังเป็นนักเขียนหน้าใหม่ แต่โซเซกิเชื่อว่าตัวเองมองคนไม่ผิด จนทำให้ริวโนะสุเกะเริ่มเขียนไฮกุดูบ้าง โดยใช้นามปากกาว่า ‘Gaki Akutagawa’ อะคุตะงะวะ ริวโนะสุเกะ: ราชาเรื่องสั้นผู้ทิ้งมรดก ‘ราโชมอน’ ไว้ให้กับคนรุ่นหลัง การให้กำลังใจจากบุคคลที่ริวโนะสุเกะชื่นชอบนับถือเป็นการส่วนตัว ทำให้เขาตัดสินใจเขียนเรื่องสั้นหลากหลาย ส่วนใหญ่ผลงานของเขาจะรับแรงบันดาลใจมาจากประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นศตวรรษที่ 12-13 เล่าตั้งแต่ยุคเฮอัง มายังเอโดะ ต่อด้วยต้นเมจิ ในหลากหลายเส้นเรื่องพร้อมกับใส่ประเด็นจิตวิทยาสมัยใหม่เข้าไปด้วย บางเรื่องเล่าถึงชุมชนคริสเตียนของชาวจีน ชีวิตในนางาซากิ และการติดต่อของชาวญี่ปุ่นและชาวยุโรปในช่วงศตวรรษที่ 19 ควบคู่ไปกับการสอนภาษาอังกฤษในโรงเรียนนายเรือก่อนจะเลิกสอนเมื่อปี 1919 ในปี 1922 ริวโนะสุเกะลองชิมลางด้วยการเขียนใหม่ ๆ ที่ไม่เคยทำมาก่อนด้วยการหันไปเขียนนิยายกึ่งอัตชีวประวัติ ทว่าผลตอบรับไม่ค่อยดีนัก เพราะผู้อ่านส่วนใหญ่ลงความเห็นว่าผลงานแนวนี้ของริวโนะสุเกะขาดความแปลกใหม่และดูไม่เป็นตัวของตัวเองเอาเสียเลย แต่ถึงจะได้รับคำวิจารณ์ในแนวติติงมากกว่าชื่นชมเหมือนตอนเขียนเรื่องสั้น คอมเมนต์ทั้งหลายก็ทำให้เขาได้รู้ว่าความถนัดและพรสวรรค์ของตัวเองคืออะไร ริวโนะสุเกะมีชีวิตอันแสนสงบสุขกับภรรยา มีลูกชาย 3 คน วันเวลาผ่านไปอย่างรวดเร็ว อยู่ ๆ ริวโนะสุเกะก็เริ่มขบคิดว่าชีวิตการแต่งงานในโลกแห่งความจริงมันช่างแตกต่างกับการแต่งงานในอุดมคติมากโข เขารักฟูมิ แต่ก็รู้สึกว่าทำไมเธอถึงไม่เข้าใจความคิดของเขาเท่าไรนัก ภายหลังริวโนะสุเกะแอบมีสัมพันธ์ฉาบฉวยกับกวีหญิง ฮิเดะ ชิเกโกะ (Hide Shigeko) และต้องเศร้าหนักเมื่อรู้ว่าฮิเดะเองก็มีคนรักอยู่แล้ว เขาเริ่มสับสน ประกอบอาการป่วยทางกายเพราะร่างกายอ่อนแอ ชีวิตของเขาช่างยุ่งเหยิงยิ่งนัก อะคุตะงะวะ ริวโนะสุเกะ: ราชาเรื่องสั้นผู้ทิ้งมรดก ‘ราโชมอน’ ไว้ให้กับคนรุ่นหลัง ในปี 1921 สำนักพิมพ์ที่ริวโนะสุเกะสังกัดอยู่ส่งเขาไปเซี่ยงไฮ้ในฐานะนักข่าว หลายคนลงความเห็นตรงกันว่าการเดินทางไปเซี่ยงไฮ้ไม่ใช่สิ่งที่ริวโนะสุเกะต้องการ ไม่มีใครรู้แน่ชัดว่าทริปครั้งนี้ส่งผลอะไรต่อจิตใจที่บอบช้ำของเขา เมื่อกลับมาญี่ปุ่น ริวโนะสุเกะออกผลงานเรื่อง ‘Yabu no Naka’ (In a Grove-ในป่าละเมาะ) ในปี 1922 และหลังจากผลงานชิ้นนี้ เขาเริ่มออกผลงานวรรณกรรมน้อยลงจนน่าใจหาย เขาไม่ได้เป็นหนุ่มนักเขียนนิยายไฟแรงอีกต่อไป อย่างไรก็ตาม เรื่องสั้นเรื่องนี้คือมาสเตอร์พีซของเขาที่ถูกจดจำทั้งในวงการวรรณกรรมและส่งต่อมาถึงวงการภาพยนตร์โลก ‘ในป่าละเมาะ’ คดีฆาตกรรมซามูไรหนุ่มกลางป่า สิ่งที่ยากในคดีนี้คือการมีผู้ต้องสงสัยหลายคน การสืบสวนเต็มไปด้วยปริศนาเมื่อแต่ละคนต่างเล่าเรื่องราวที่ไม่เหมือนกัน บางช่วงบางตอนของพยานบางคนก็ฟังดูเป็นไปได้ ความจริงของแต่ละคนแตกต่างกันไปตามสิ่งที่พบเจอ จะให้เล่าเหมือนกันหมดก็คงเป็นไปไม่ได้ แต่ข้อมูลบางช่วงจากปากผู้ต้องสงสัยก็รู้สึกว่ามันแสนจะเหนือจริงจนยากจะเชื่อ ซึ่งเรื่องสั้นเรื่องนี้ของริวโนะสุเกะ ได้เปลือยเปล่าความเป็นมนุษย์ และสร้างความรู้สึกดึงดูดให้อ่านจนจบได้อย่างน่าประหลาด ผลงานเรื่องนี้ถือเป็นเรื่องสั้นที่ทรงพลังแห่งยุคเลยก็ว่าได้ หลายจังหวะเผยให้เห็นถึงความเสื่อมโทรมของบ้านเมืองและความกลัวในจิตใจที่ไม่น่าดู แต่ก็เล่าออกมาได้หมดจดงดงาม พิลึกพิลั่นแต่ก็สนุกสนาน และยอมให้ริวโนะสุเกะพาเราไปถึงบทสรุปสุดท้ายได้โดยไม่มีข้อโต้แย้ง เมื่อคุโรซาวะ อากิระ นำเนื้อหาของเรื่องสั้นนี้มาดัดแปลงเป็นภาพยนตร์ เขาได้เอาโครงเรื่องหลักของ‘ในป่าละเมาะ’ มาผสมกับบางส่วนของเรื่องสั้นอีกเรื่องที่เขียนในปี 1915 เรื่องราวเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่ประตูเมืองเก่าแก่ทางทิศใต้ของเกียวโต แล้วหยิบเอาชื่อเรื่องสั้นเรื่องนี้มาใช้เป็นชื่อภาพยนตร์ นั่นคือภาพยนตร์ที่มีชื่อว่า 'ราโชมอน' นั่นเอง ... ริวโนะสุเกะทุกข์ทรมานกับอาการนอนไม่หลับ เริ่มมีอาการวิตกกังวลหนักติดต่อกันหลายปี พานให้คิดว่าหรือสุดท้ายตัวเองจะกลายเป็นบ้าเหมือนกับแม่ ซ้ำร้ายในปี 1927 บ้านของพี่สาวถูกไฟไหม้ น้องชายจึงต้องรับภาระค่าใช้จ่ายจำนวนมากของครอบครัวพี่สาว ปัญหาหลายทางประเดประดังเข้าใส่เขาจนต้องเขียนจดหมายบรรยายความสิ้นหวังถึงเพื่อน

‘僕の将来に対する唯ぼんやりした不安である’

(ข้าพเจ้าไม่มีอะไรเลย นอกจากความหนักใจอันแสนคลุมเครือเกี่ยวกับอนาคตของข้าพเจ้า)

‘กัปปะ’ (Kappa) ในปี 1927 เรื่องสั้นเสียดสีสังคมที่เล่าผ่านสิ่งมีชีวิตในตำนานที่โลดแล่นอยู่ในนิทานพื้นบ้านญี่ปุ่นมาอย่างยาวนาน ทว่าผลงานสุดท้ายของเขาดูช่างไร้ความสุข เล่าถึงความว่างเปล่าของสังคมญี่ปุ่น หลายคนกล่าวว่าริวโนะสุเกะเริ่มมีอาการแปลก ๆ เหมือนเขาเห็นภาพหลอน และพยายามฆ่าตัวตายหลายครั้งแต่ล้มเหลว หลังผลงานเรื่องสุดท้ายเสร็จสิ้นลง ริวโนะสุเกะตัดสินใจทำอัตวินิบาตกรรม จบชีวิตของตัวเองด้วยการกินยานอนหลับเกินขนาดด้วยวัยเพียง 35 ปี ผลงานของเขามีเนื้อหาหนักแน่น เข้มข้น บางเรื่องก็ปนด้วยความน่าขนลุกหรือขยะแขยงของมนุษย์ และเป็นนักเขียนญี่ปุ่นที่มีผลงานที่ถูกแปลหลายภาษามากที่สุดคนหนึ่ง แม้ตัวเขาจะจากไป แต่ผลงานอันยิ่งใหญ่ก็ยังคงอยู่ จนในช่วงหลังยอดผู้กำกับอย่าง คุโรซาวะ อากิระ (Kurosawa Akira) ตัดสินใจนำเรื่องราวในหน้าหนังสือของเขามาสร้างให้มีชีวิตบนฟิล์มขาว-ดำในชื่อ ราโชมอน จนไปคว้ารางวัลพิเศษในออสการ์ เพราะช่วงปี 1952 ออสการ์ยังไม่ได้นำหนังจากต่างประเทศเข้าชิงรางวัล แต่ราโชมอนกลับสร้างปรากฏการณ์ให้กับวงการหนัง ส่วนชื่อของ อะคุตะงะวะ ริวโนะสุเกะ ได้กลายเป็นทั้งชื่อรางวัล ‘อะคุตะงะวะ’ ที่จะมอบให้กับนักเขียนชาวญี่ปุ่นรุ่นใหม่ และเป็นชื่อที่ใคร ๆ ต่างก็รู้ว่าเขาคือราชาเรื่องสั้นที่ยากจะมีใครเหมือน

“ไม่มีใครเบื่อที่จะอ่านผลงานของอะคุตะงะวะ เขาเกิดมาเพื่อเป็นนักเขียนเรื่องสั้น” มูราคามิ

  ที่มา https://unseenjapan.com/whos-who-akutagawa-ryunosuke/ https://www.japantimes.co.jp/life/2012/03/18/general/ryunosuke-akutagawa-in-focus/ https://www.britannica.com/biography/Akutagawa-Ryunosuke   เรื่อง : ตรีนุช อิงคุทานนท์