read
interview
01 ธ.ค. 2563 | 19:08 น.
ดนตรี ความเชื่อ เวทมนตร์ เส้นทางของ Slot Machine ที่ฝันอยากทำเพลงให้คนทั้งโลก(และนอกโลก)ได้ฟัง
Play
Loading...
เสียงแหลมสูง ดนตรีหนักแน่น กับเนื้อร้องเท่ ๆ ที่เล่าเรื่องราวสัจธรรมชีวิตยังคงเป็นแนวทางที่สมาชิกทั้ง 3 คน เฟิด, แก๊ก และวิทย์ ยึดถืออยู่เสมอในการสร้างสรรค์บทเพลง ตั้งแต่อัลบั้มแรก ‘สล็อตแมชชีน’ จนมาถึงอัลบั้มล่าสุด ‘Third Eye View’ อัลบั้มเพลงเนื้อหาดี ดนตรีแปลกใหม่ ที่ทางวงได้ถ่ายทอดผ่านเนื้อร้องภาษาอังกฤษ กับแนวคิดที่อยากให้วงดนตรีไทยเป็นที่รู้จักในสากลโลก
The People มีโอกาสได้พูดคุยกับพวกเขา เพื่อสำรวจเรื่องราวความเชื่อที่แหวกแนว ล้ำโลก ทั้งมนุษย์ต่างดาว ไทม์แมชชีน และเ
วทมนตร์
ที่ถูกกลั่นกรองและคัดสรรมาเล่าผ่านเสียงดนตรี ด้วยการเดินทางตลอด 17 ปีในฐานะวงร็อกแนวหน้าของไทย พร้อมทั้งย้อนวัยไประลึกถึงความลำบากในวันที่ต้องรวมวงในห้องเช่า และถูกตราหน้าว่าเพลงจะไม่ดัง
The People : แนวคิดของการทำอัลบั้ม Third Eye View
เฟิด
: อัลบั้ม Third Eye View นี่คืออายุวง 17 ปีพอดีปีนี้ เป็นเส้นทางที่ยาวนานมาก เปรียบเทียบง่าย ๆ เหมือน MCU เหมือนจักรวาล Marvel ทุก ๆ อัลบั้มของ Slot Machine คือหนังภาคต่อในจักรวาลเดียวกัน เราจะพูดเรื่องเดียวกัน
แต่เปลี่ยนบริบทไปตามกาลเวลาและประสบการณ์ชีวิต อย่าง Third Eye View นี่มีหลาย
นัย
มาก
นัย
แรกตรงตัวเลยก็คือเป็น view เป็นทัศนะของ 3 คนนี้ที่พูดเนื้อหา ดนตรี ซึ่ง Slot Machine เป็นเครื่องเล่นที่มี 3 สล็อต 3 ช่องนี้จะออกเหมือนกันก็ได้ ต่างกันก็ได้ เป็นผลลัพธ์ที่คาดเดาไม่ได้ แต่ยังอยู่ในเครื่องนี้ที่มันเปิดเล่นมา 17 ปีแล้ว การโยกแต่ละครั้งเหมือน 1 อัลบั้ม ในอัลบั้มนี้ก็เหมือนกับรวบรวมประสบการณ์ทั้ง 17 ปี สุกงอมพอดี
แล้วก็สัญลักษณ์ดวงตาเห็นธรรม Eye of Wisdom หรือทุกคนอาจจะจำเป็นสามเหลี่ยมก็ได้
แล้วเรื่อง
ที่เราพูดก็มีความเป็น Sci-Fi มีปรัชญาในเรื่องของจักรวาลและศาสนาหรืออะไรอย่างนี้ ก็เลยเป็นที่มาของชื่ออัลบั้มนี้ด้วย แล้วก็เป็นอัลบั้มที่เป็นอัลบั้ม international ครั้งที่ 2 ต่อจาก ‘Spin the World’ เพราะฉะนั้น ก็เลยอยากจะสื่อว่านี่คือทัศนะของคนไทย 3 คน ทัศนะของคนที่มาจากประเทศโลกที่สาม ในเวทีโลก ประเทศไทยในวงการดนตรีถือเป็นของแปลก ของใหม่ แล้วก็เป็น rare item หายาก ก็เลยใส่อะไรหลาย ๆ อย่างที่เป็นตัวตนของพวกเรา 3 คนนี้
ก็คือพรีเซนต์ไปแบบตรง ๆ เหมือนเปิดหน้าไพ่เลย
The People : ประสบการณ์ไหนในชีวิตที่เหมือนเปิดตาที่สามของเรา
เฟิด
: สำหรับผมมันค่อนข้างจะเรียบง่าย เพราะ
ว่าเป็น
ครอบครัวที่นับถือพุทธ แล้วก็เรียนศิลปะด้วย
เราเลย
รู้สึกว่ามันเป็นเรื่องเดียวกัน มันเป็นเรื่องธรรมชาติ ธรรมชาติก็คือวิทยาศาสตร์ คือวิทยาศาสตร์กำเนิดขึ้นมาเพื่อที่จะอธิบายธรรมชาติถูกไหม ก็เลยรู้สึกว่าการที่เปิดมุมมองดวงตาที่สาม
คิดว่าจริง ๆ มันน่าจะซึม ๆ มาตั้งแต่เมื่อไหร่ก็ไม่รู้
แก๊ก :
ดวงตาที่สามสำหรับผมมันคือจิตใต้สำนึก มนุษย์เวลารับรู้มันจะรับรู้จากจิตใต้สำนึกกับปกติใช่ไหม เราจะรับรู้อะไรที่มันเข้าใจถ่องแท้กว่า หรือว่าละเอียดกว่า หรือมองตาสิ่งที่มันเป็น อันนี้ก็จะเป็น Third Eye View ดวงตาที่สามสำหรับผม
วิทย์
: จริง ๆ พอเปรียบให้เป็น Sci-Fi ผมกลับรู้สึกว่าจริง ๆ แล้วการจะออกไปไหนอะไรก็ตาม เราควรจะกลับเข้ามาข้างในก่อน ผมเชื่อเรื่องสติ Third Eye View จริง ๆ แล้วมันคือหลักการมองจากบุคคลที่สาม บุคคลที่สามในความรู้สึกผมมันคือการเฝ้าดูจิตตัวเอง คือในทางพุทธศาสนาเรากำลังพูดถึงเรื่องสติ
และ
ประสบการณ์ ถ้าเกิดย้อนกลับถามว่ามีประสบการณ์เรื่องอะไรเกี่ยวกับพวกนี้ไหม ก็รู้สึกว่ามีสติเป็นตัววัดหลาย ๆ อย่างเหมือนกัน ในวันที่เรากลับมามีสติโดยที่ไม่ได้พยายามจะจดจ่อ พยายามจะอยู่กับมัน ผมรู้สึกว่าหลาย ๆ ครั้งที่มันทำให้รู้สึกว่า 1 วินาทีหรือ 10 วินาที หรือช่วงเวลานั้น ๆ ความรู้สึกความยาวความสั้น ความรู้สึกนั้น ๆ มันต่างกัน ผมว่านี่ก็เป็นอีกประสบการณ์หนึ่งที่พาให้เราได้เรียนรู้ ได้รู้จักกับเรื่องที่มันเป็นเรื่อง Sci-Fi กับเรื่องศาสนาพุทธ มันคือเรื่องเดียวกันในความรู้สึกผม
The People : ความหมายของชื่อเพลง ‘4th Kind’
แก๊ก :
4th Kind ก็คือประเภทที่ 4 ของการเจอมนุษย์ต่างดาว มันจะมีประเภทที่ 1 เห็นจานบินหรือว่าเห็นยานเป็นลำไกล ๆ เฉย ๆ ประเภทที่ 2 นี่เห็นยานลงจอด ประเภทที่ 3 มีปฏิสัมพันธ์ มีการพูดคุยโต้ตอบ ประเภทที่ 4 ก็คือการที่เราถูกดูดขึ้นไป ถูกลักพาตัวขึ้นไป ถูกทำอะไรกับร่างกาย 4th Kind ก็คือประเภทที่หนักหน่วงที่สุด
The People : ทำไมถึงเลือก ‘4th Kind’ มาเป็นชื่อเพลง
เฟิด :
ที่เป็น 4th เพราะรู้สึกว่ามันเป็นขั้นที่เหมือนมันได้สัมผัสกันระหว่างมนุษย์ 2 คน
จะดาวเดียวหรือคนละดาวก็แล้วแต่ มันมีความรู้สึกเข้ามา พอมันเป็นคน 2 คนมาเจอกันแล้วมันรู้สึกอย่างไร คิดอย่างไร เพลงนี้จริง ๆ เป็นพรรณนาโวหาร มันจะเป็นอารมณ์ความรู้สึกมากกว่าที่จะมาเล่าว่าเป็นเหตุการณ์
ใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร แต่อันนี้มันคือได้พบแล้วรู้สึกอย่างไรเนื้อหาในเพลงนี้ ลองไปฟัง
เวอร์ชัน
ภาษาไทยก็ได้ ‘ดาวเคลื่อนดาราคล้อย’
The People : วงตั้งใจให้อารมณ์ของเพลงใน
เวอร์ชัน
ภาษาอังกฤษและภาษาไทยออกมาต่างกันหรือเปล่า
เฟิด :
เป็นความตั้งใจครึ่งหนึ่ง
และอีกครึ่งหนึ่งไม่ได้ตั้งใจ ภาษาอังกฤษก็จะสื่อสารสัญลักษณ์ได้อีกแบบ จะเห็นภาพอีกแบบ จะรู้สึกอีกแบบ แต่พอเป็นภาษาไทยที่เป็นภาษาแม่ของเราที่เราคุ้นเคย มันก็จะมีอารมณ์ความรู้สึก แล้วก็ระดับของภาษาที่เป็นภาษาแม่ของเราที่เราสามารถเข้าใจได้ ผมรู้สึกว่าตรงนี้น่าจะเป็นอะไรที่ไม่ได้ตั้งใจ แล้วก็มันแตกต่างกัน แต่เรื่องที่พูดมันพูดมาจากไอเดียเดียวกัน
แก๊ก :
ของภาษาไทยนี่มันก็ขึ้นอยู่กับความเข้าใจของแต่ละคน คือเราก็ไม่ได้บอกตรง ๆ ด้วยว่ามันคือการเจอจานบิน บางคนอาจจะเป็นการเจอพระเจ้า เจอคนรัก เจอสิ่งที่อบอุ่น หรือนั่งสมาธิแล้วก็เจอสิ่งที่เรืองรองหรืออะไร แล้วแต่คนจะตีความดีกว่า
วิทย์ :
จริง ๆ แล้วถ้าให้พูดถึงในพาร์ทดนตรี ถ้าเกิดศิลปินจะรู้สึกว่าพาร์ทดนตรีมันส่งเสริมลักษณะของการโดนลักพาตัว มันจะเกิดความรู้สึกวิตกกังวล ผมรู้สึกว่าดนตรีอันนี้มันสื่อออกมาในภาษาดนตรีที่ว่ามันมีความไม่กลืนกัน ไม่ได้ไปด้วยกันทางใดทางหนึ่ง ซึ่งอันนี้
เป็น
เจตนาของวงที่จะทดลองงานดนตรีมากกว่า
The People : สมาชิกในวงเคยเจอมนุษย์ต่างดาวในระดับไหน
เฟิด :
จริง ๆ เคยแค่ระดับ 1 ระดับ 2 มั้งครับ
วิทย์ :
ยังไม่ไปถึง 3-4
แก๊ก :
อันดับ 4 อาจจะเคยโดนแล้วแต่ว่าไม่รู้ตัวก็ได้ เป็นไปได้ เนี่ย (ชี้แขน) ไม่มีอะไร (หัวเราะ) ไม่รู้ตัวไง
เฟิด :
แต่ระดับ 1 เคยเห็นกันหมด ถ้ามองดี ๆ ถ้าเอาเวลาไปมองท้องฟ้า ผมว่าทุกคนเห็นได้หมดแหละ
The People : มนุษย์ต่างดาวที่เคยเห็นหน้าตาเป็นอย่างไร
เฟิด :
ตอนที่เราเห็น แล้วก็ที่คน
จะเห็นง่ายที่สุดก็จะเหมือนดาว แต่จะไม่เหมือนดาวตรงที่การเคลื่อนที่ เพราะว่า
ดาวจะ
อยู่นิ่ง ๆ ของเขาถูกไหม แต่อันนี้เหมือนดาวแต่เคลื่อนที่ และเคลื่อนที่ได้อิสระมาก ๆ เคลื่อนที่ได้ฉีกกฎจากกฎฟิสิกส์ขององค์ความรู้ของมนุษย์ เขาจะวิ่งแบบ freeform
แก๊ก :
แต่ก็แอบเชื่อเล็ก ๆ ว่าบางทีเพลงที่เราร้อง เพลงที่เราแต่ง มันก็อาจจะส่งคลื่นสัญญาณมาที่สมอง แล้วเราก็ฟรืดถ่ายทอดออกมาตรง ๆ ผมว่าก็เป็นได้นะ ลองคิดเล่น ๆ
เฟิด :
เหมือนเราเป็นตัวกลาง
The People : อัลบั้มไหนที่รู้สึกว่าเป็นการกดคันโยกเครื่องเล่น Slot Machine ที่ประสบความสำเร็จที่สุด
เฟิด :
สำหรับวงเป็นทุก ๆ อัลบั้ม เพราะว่าทุก ๆ อัลบั้มมันคือดีที่สุด ณ ตอนนั้น คือเราทำได้ดีที่สุด เพราะว่าทุก ๆ อัลบั้ม
เราตั้งใจ
แล้วก็ทุ่มเท แล้วก็เรื่องที่เราจะสื่อมันไม่ใช่เรื่องที่มันง่าย คือมันเป็นเรื่องที่ย่อยยาก เราเป็นคนนำเสนอในฐานะศิลปินผู้สร้าง กว่ามันจะออกมาเป็นงานชิ้นสุดท้ายจับต้องได้เป็นซีดีหรือเป็นปกอัลบั้มหนึ่ง มันผ่านกระบวนการคิดมาเยอะมากเลย อย่างน้อยในช่วงที่ทำงานคืออย่างต่ำ 1-2 ปี แต่ก่อนที่มันจะมาถึงจุดนี้
มันก็คือชีวิตทั้งชีวิตของพวกเรานี่แหละ หรือว่าทุก ๆ วันที่เราตื่นนอน กินอะไร คิดอะไร รู้สึกอะไร อ่านอะไร ดูอะไร กว่ามันจะมาเป็นแต่ละชุด เพราะฉะนั้นทุกชุดคือชุดที่ดีที่สุด ณ ช่วงเวลานั้นของพวกเรา
The People : สมาชิกในวงศรัทธากับ magic หรือเวทมนตร์ไหม
เฟิด :
ทั้งเชื่อ ทั้งศรัทธา และมองหา แล้วก็เรารู้สึกว่าเราทุกคนมี magic อยู่ในตัวเอง อย่าง Slot Machine ก็
มีที่
ชัด ๆ อย่างหนึ่งเลยก็คือเสียงดนตรี นี่คือเวทมนตร์ของพวกเราในการที่เราเอาความคิด ไอเดีย ประสบการณ์ชีวิต ความรู้สึก ความเป็นตัวเรา เราอัดเป็นก้อนแล้วนำเสนอในรูปแบบของเสียงดนตรี อีกอย่างที่อยากเห็นแล้วก็อยากให้มันเกิดขึ้นจนแต่งขึ้นมาเป็นเพลง ‘magic’ ก็คืออยากให้โลกมันสงบสุข คือพอพูดถึงคำว่า magic เวทมนตร์มันเป็นสิ่งที่มันไม่สามารถเป็นจริงได้ แต่ผมอยากจะส่ง message ไปในเพลงนี้ว่ามันมีสิ่งหนึ่งที่ทำให้มันเกิด magic ได้ โลกสงบสุขได้ แต่ว่ามันทำคนเดียวไม่ได้ มันต้องทุก ๆ คนบนโลกใบนี้ทำร่วมกัน โลกมันถึงจะสงบสุข มันถึงเป็น magic มันจะเกิดขึ้นจริงหรือไม่จริง มันเป็น magic ที่เกิดขึ้นจริงได้
แต่มันยากเท่านั้นเอง มันจะเป็นปาฏิหาริย์ถ้าคนทั้งโลกรักกันอะไรอย่างนี้ (หัวเราะ)
วิทย์ :
ผมว่ามันอยู่ที่เราให้ค่ากับคำว่า magic เหตุผลหนึ่งคือถ้าคุณเอาคำว่า magic ไปใส่ในคำว่า ‘ถ้า’ ผมรู้สึกว่ามันจะกึ่ง ๆ เพ้อฝัน แต่กลับกัน
ผมรู้สึกว่าบางทีเราทำบางอย่างโดยที่เราไม่ได้คิดมาเป็นตรรกะ ถ้าเราลองตัดเรื่องการคิด การพยายามจะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งออกไป แล้วเราใช้ความรู้สึกว่าเป้าหมายมันคือตรงนั้น เราให้ความรู้สึกมันนำไป ผมว่าบางทีผลลัพธ์ของมันก็นั่นแหละคือ magic อย่างการที่ได้โดยที่มันไม่ได้เป็น
แพต
เทิร์นขนาดนั้น มันคือเรื่องที่รู้สึกจริง ๆ แล้วส่งไปถึงอีกคน ออกมาเป็นผลลัพ
ธ์
ที่ดี
แก๊ก :
เหมือนที่มาที่ไปของเพลง ‘Magic’ เราก็นึกห้าว ๆ ว่า live IG ไหม โชว์แต่งเพลงเร็ว magic เราก็ไลฟ์กับแฟนเพลงเลย เราก็ทำดนตรีปึ๊บ ก็คือได้เสร็จทั้งเพลงในท่อนคอรัส ได้คำว่า magic ด้วย คือเสร็จเดี๋ยวนั้นเลยภายใน 1 ชั่วโมง ครึ่งชั่วโมง magic อีกอย่างหนึ่งก็คือตอนนั้นยังเซฟไม่เป็น (หัวเราะ) เสียดายคลิปตอนนั้นมากเลย ไม่งั้นจะได้เห็นว่าเราทำกันสดจริง ๆ มันเป็น magic ที่เราไม่ได้คิดเยอะ ไม่ได้อะไรเยอะ แต่มันออกมาจากความรู้สึกจริง ๆ
วิทย์ :
นี่ก็คืออีกหนึ่ง magic เพราะผมรู้สึกว่าถ้าวันนั้นเรามองเพลง
เพลง
นี้ด้วยวิธีคิดที่ว่ามันจะกี่วิว มันจะดังไหม นั่นคือวิธีการคิดแบบแพ
ต
เทิร์น แต่จริง ๆ แล้วพอมันเกิดขึ้นในลักษณะแบบนี้ มันเกิดขึ้นจากเหมือนร่ายเวท ทุกอย่างโลกมันจากศูนย์ เราสร้างขึ้นมาจากอะไรก็ไม่รู้ที่มันประกอบร่างขึ้นมากลายเป็นเพลงนี้ โดยที่เราไม่ได้คาดหวังด้วยซ้ำว่า
เพลงนี้
จะไปอยู่ตรงไหน จะมีคนชอบไหม เมื่อกี้น้องบอกชอบ ผมรู้สึกว่าเออนี่คือ magic นะ ในสิ่งที่เราสร้างจากอากาศ แล้วมีคนที่ฟังแล้วรู้สึกว่ามันเป็นเพลงที่เข้าไปอยู่ในใจเขาได้ ผมว่ามันเป็นคำตอบของ magic จริง ๆ
The People : อยากมีเวทมนตร์ไว้ทำอะไรไหม
เฟิด :
ถ้าเอาแบบ surreal ไปเลย ผมจะชอบตัวละครในเรื่อง ‘Watchmen’ (2009) ชื่อ Doctor Manhattan ก็คือเป็นพระเจ้านั่นแหละ เป็น god ทำอะไรก็ได้ จะสร้างก็ได้ จะทำลายก็ได้ ผมคิดว่าอันนี้คือคำนิยามของพระเจ้าจริง ๆ ถ้าผมมีพลัง superpower แบบนั้น ผมก็คงจะสร้างให้โลกเป็นเหมือนในอุดมคติของผม
แก๊ก :
ผมก็คงให้มนุษย์ทุกคนไม่ต้องตาย คือกายหยาบไม่ต้องสูญสลาย มันก็จะฉีกกฎทุกกฎของศาสนา ของจักรวาล
เฟิด :
ประชากรล้นจักรวาล (หัวเราะ)
แก๊ก :
อยากรู้มันเป็นยังไง แล้วสิ่งที่มั่นคงแน่นอนที่สุดก็คือความตาย เราลองไม่ตาย ฉีกกฎ
ไอน์
สไตน์ต้องมึน ลองหักกับกฎดู
วิทย์ :
ผมก็คงอยากจะให้ magic นี้มันเฉลยกฎเกณฑ์ของจักรวาลจริง ๆ คือตอนนี้สิ่งหนึ่งที่เราไม่รู้เลยคือเรื่องของเวลา วิทยาศาสตร์คือกว้างคูณยาวคูณสูง
คือ 3 มิติ แต่มิติที่ 4 คือเวลา ผมแค่รู้สึกว่าถ้าเอาเวลาทั้งหมด จากวินาทีไปข้างหน้า มาเรียงตีแผ่เป็นหน้ากระดานเดียวกัน
ภาพจะเป็นยังไง
The People : ที่มาที่ไปตอนเขียนเพลง ‘Bangkok’
เฟิด :
‘Bangkok’ เกิดมาจากไอเดียที่ว่าเราได้มีโอกาสไปเล่นดนตรีหลาย ๆ ประเทศ ได้เดินทางบ่อย แล้วก็พื้นฐานเราไม่ใช่คนเมือง เป็นคนต่างจังหวัด เพราะ
ฉะนั้น
เราก็จะเติบโตขึ้นมาในชีวิตอีกรูปแบบหนึ่ง แล้วพอเราถึงวัยทำงาน
เราเข้ามาทำงาน เราอยู่ในสังคมเมือง แล้วเรารู้สึกว่ามันมีความแตกต่างกันเรื่องรายละเอียดของคน ของความรู้สึก ของวัฒนธรรมเฉพาะถิ่นด้วย แต่สิ่งที่มันเหมือน ๆ กันก็คือความเจริญทางวัตถุ หรือก็คือลัทธิทุนนิยมนี่แหละที่มันครอบอยู่ทั่วโลก คือไม่ว่าเราจะไปเมืองไหน ประเทศไหน มันเป็นทุนนิยมหมด มันมีตึกสวย ๆ ตึกสูง ๆ ไฟเยอะ ๆ อาหารกิน 24 ชั่วโมง ผู้คนหลากหลายเชื้อชาติศาสนา แต่สิ่งที่รู้สึกว่าทุกคนจะต้องมีเหมือนกันแน่นอนก็คือเรื่องของจิตใจ เรื่องของความรู้สึกของมนุษย์ทุก ๆ คน
เราก็เลยหยิบจับทุกอย่างนี้ตกตะกอนแล้วขมวดมาเป็นเพลงนี้ เราเอา symbolic ชื่อเพลงเป็น Bangkok เพราะชุดนี้เราทำให้ชาวต่างชาติฟังด้วย เราก็อยากจะใส่สัญญะบางอย่างที่ทำให้เขารู้ว่าที่มาที่ไปของเราคือที่ไหน ถ้า Bangkok เขาก็รู้ว่าประเทศไทยถูกไหม แล้วสัญญะอีกด้านหนึ่งก็คือในเรื่องของทุนนิยมด้วย สังคมเมืองหลวงที่มีคนเยอะ แต่ความรู้สึกของคนไม่ได้รู้สึกใกล้ชิดกัน กลับรู้สึกห่างออกไป มันสวนทางกับเทคโนโลยีหรือว่าวิถีที่มันควรจะเป็นอะไรอย่างนี้ ก็เลยรู้สึกว่าโอเค ในเพลงมันถึงพูดบรรยายความรู้สึกของความโดดเดี่ยว isolation คือเหงาท่ามกลางผู้คน ไม่ใช่เหงาอยู่ในห้องนอน ซุกตัวอยู่คนเดียว คืออยู่ท่ามกลางผู้คนนี่แหละ มีชีวิตชีวามีสีสัน มีเสียงรถรา มีเสียงผู้คนเซ็งแซ่มากมาย แต่รู้สึกเหงาลึก ๆ ก็เลยจับความรู้สึกตรงนี้เอามาถ่ายทอดเป็นเพลง Bangkok ที่มีเวอร์ชันภาษาไทยคือเพลง ‘เปลือก’
The People : คิดว่ากรุงเทพฯ เป็นเมืองที่โรแมนติกไหม
แก๊ก :
มันขึ้นอยู่กับอารมณ์
เฟิด :
เราว่าขึ้นอยู่กับคน คือเมืองไม่ได้ทำอะไรผิด บรรยากาศเป็นสิ่งที่คนสร้าง บรรยากาศของสังคมเมืองเป็นสิ่งที่คนสร้าง แต่บรรยากาศของชนบทเป็นสิ่งที่ธรรมชาติสร้างแล้วคนไปรู้สึก แต่สังคมเมืองคือคนสร้าง เพราะมีแต่ตึก มีธรรมชาติน้อยมาก มีสิ่งปลูกสร้าง มีแต่ตึก สิ่งที่คนสร้าง เพราะฉะนั้น คิดว่าคำตอบน่าจะอยู่ที่คนว่าคนคนนั้นโรแมนติกหรือเปล่า ต่อให้ถ้าเขาเป็นคนโรแมนติก
เขาไปยืนคลองแสนแสบกินลูกชิ้นปิ้งกับแฟนมันก็คือโรแมนติก
แก๊ก :
ถุงขยะที่รวม ๆ แล้วก็สวยเนอะอะไรอย่างนี้ มันขึ้นอยู่ที่คน โทษเมืองไม่ได้
วิทย์ :
กทม. อย่างนี้ มันต้องมีโซนที่โรแมนติกบ้างแหละ (หัวเราะ)
แก๊ก :
ผมก็เคยนะ
บางทีเวลาเราเสียใจ แม่งจังหวัดอะไร เกลียดจังเลย
รถก็ติด นู่นนี่นั่น วันไหนอารมณ์ดีก็เฮ้อ
!
รักกรุงเทพฯ จัง
The People : ไอเดียเบื้องหลังของเพลง ‘Tomorrowland’
เฟิด :
ไอเดียของ ‘Tomorrowland’ คือสิ่งที่ผมมักจะเห็นจากศิลปินต่างชาติ บางทีเขาไม่ได้แต่งเพลงจากเรื่องจริง บางทีแต่งจากความคิด หรือมีการสวมบทบาท หรือใส่จินตนาการไปให้สุด อย่างเช่น The Beatles, David Bowie, Genesis หรือวงที่เหมือนกับสวมบทบาท หรือใส่บางอย่างให้มันสุดไปเลย เราไม่ค่อยเห็นในศิลปินไทย เพลงนี้เราเลยรู้สึกว่าถ้าเราจะมาทาง Sci-Fi แล้ว เราลองเป็น time traveller ไปเลย แล้วลองคิดว่าถ้าเราเป็น time traveller เราจะพูดกับคนเรื่องอะไร
มันถึง
เป็นบทสรุปว่าพูดถึงเรื่องสัจธรรมของชีวิต
บทสรุป
มันก็คือบรรทัดสุดท้ายของท่อนคอรัส ชีวิตหนึ่งคือพรุ่งนี้ของเมื่อวาน พรุ่งนี้ของเมื่อวานก็คือวันนี้ ก็คือปัจจุบัน
มันก็ไปเชื่อมโยงกับคำว่าสติ คำว่าปัจจุบันขณะ แล้วสติมันก็นำไปสู่ปัญญา
The People อยากให้ ‘Tomorrowland’ ของโลกเราในอีก 10 ปีข้างหน้าเป็นอย่างไร ถ้านั่ง Time Machine ไปเปลี่ยนโลกในอนาคตได้ อยากเห็นโลกแบบไหน
เฟิด :
อยากให้ทั้งโลกรวมกันเป็นโลก เป็นชาวโลก ประเทศโลก เป็นดาวโลก เหมือนในหนังนั่นแหละ เพราะว่ามันคือโลกเดียว ทรัพยากรมันก็คือบนโลกใบนี้ ถ้าดูดน้ำทะเลออกหมด
ทั้งโลกแผ่นดินมันก็เชื่อมกันหมด เราเองที่มาแบ่งกันเองว่าอันนี้ประเทศนี้ ๆ ในประเทศก็มาแบ่งกันเองอีก อันนี้ของฉัน อันนี้ของเธอ จริง ๆ น้ำมัน ทรัพย์สิน ทรัพย์ในดินสินในน้ำ ทุกอย่างมันเป็นของทุกคนบนโลก ความปรารถนาก็คือให้ทุกคนรักกัน ให้ทุกคนอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขนั่นแหละ
ถ้านั่งไทม์แมชชีนได้แล้วสามารถเปลี่ยนโลกได้ก็อยากจะเปลี่ยนให้มันเป็นภาพนี้ ภาพที่คนอยู่ร่วมกันโดยที่ไม่มีชาติ ไม่มีศาสนา ไม่มีเชื้อชาติ อยู่ร่วมกัน รักกัน เอื้อเฟื้อกัน แล้วก็อยู่กันพอดีระหว่างธรรมชาติและความเจริญทางเทคโนโลยี เพราะว่าจริง ๆ แล้วมนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่ฉลาดล้ำมาก แต่ว่าบางครั้งเราพ่ายแพ้ต่อสันดานดิบ เหมือนกับเราเป็นสัตว์ที่เราพัฒนาแล้ว เรามีความรู้ เรามีเทคโนโลยีแล้ว แต่บางทีด้านร้าย ๆ ของเรา
เรายังไม่เอาชนะมัน แต่เราไปเอาชนะคนอื่นแทน อันนี้ก็คือไปแตะ ๆ เพลง ‘Know Your Enemy’ นิด
หนึ่ง
คือเราไม่ค่อยเอาชนะตัวเองกันเท่าไหร่ เราไปเอาชนะคนอื่นซะเยอะ
The People : ศัตรูที่แท้จริงก็คือเราเองนั่นแหละ?
เฟิด :
คือเรา คือความชั่วของเรานี่แหละ (หัวเราะ)
แก๊ก :
อย่าบอกนะว่าไม่มีใครไม่มีความชั่วเลย ทุกคนก็มีถูกไหม คนอื่นก็มีเหมือนกัน
วิทย์ :
ผมขอยกมือ ผมสะอาดมาก
The People : ถ้าเป็นพระเจ้าและสามารถสร้างโลกได้โดยไม่มีข้อแม้ อยากให้มีอะไรเกิดขึ้นบ้าง
แก๊ก :
ถ้าเป็นผม
ผมจะทำให้พวกอาวุธปืนมันใช้การไม่ได้ ลองคิดดูโลกที่ไม่มีอาวุธ กองกำลังทหาร ทุกประเทศไม่มีกองกำลังที่ใช้อาวุธโจมตีกันก็โอเคนะ ผมว่ามันก็ได้นะ ทำไมทั่วโลกไม่ออกมาตกลงกัน เฮ้ย
!
ห้ามใช้อาวุธเลย มีแค่ไม้กับหิน
จะตีกันก็เอาให้เจ็บ อย่าเอาให้ตาย ลองคิดดู เพราะผมคิดว่ามันเป็นสิ่งที่ตั้งแต่มีเกิดขึ้นมาก็ทำให้โลกเปลี่ยนแปลงไปแบบโคตรพลาดเลย พวกอาวุธยุทโธปกรณ์
วิทย์ :
ผมคิดในมุมเหลื่อมล้ำ ความเหลื่อมล้ำทางสังคม คืออันนี้เราพูดในมุมรวม ๆ บนโลกใบนี้ มันไม่ได้เกิดขึ้นแค่ที่เราอยู่ ผมรู้สึกว่ามันเกิดขึ้นทั้งโลกทุกที่ แต่การแก้เรื่องความเหลื่อมล้ำ ถ้าผมเป็น god ผมตบทุกอย่างให้มันเท่ากัน อันนี้คือในเรื่องของสังคม ในเรื่องของภาพรวมที่คนอยู่ด้วยกัน อันนี้มิติไม่ต้องกว้างเลย เป็นเส้นเส้นเดียวไปเลย ทุกคนอยู่ในระนาบเดียวกัน เหมือนที่เฟิดพูดว่าศาสนาเดียวกัน ผมจะตบทุกคนปั้งอีกทีหนึ่ง ผมจะตบทุกคนให้ตัวเท่ากัน ถ้าผมเป็น god เดียวในโลก ผมก็จะตบตัวเองให้ตัวเท่าคนอื่นด้วยแล้วทุกอย่างมันก็จะจบ ถ้าเกิดผมเป็นคนที่เป็น god คนเดียว ผมก็อยากแก้ความเหลื่อมล้ำ แล้วผมก็ตัดสินคนอื่นว่าอยู่ในกรอบจิตใจของผมแล้ว คือถ้ามันเป็นอุโมงค์ เป็นรูหนอน ยื่นมือเข้าไปตบทุกคนให้เท่ากันหมด แล้วเอาตัวเองเข้าไป เหลือแค่มือออกมาตบ แล้วทุกอย่างก็จะเท่ากัน ผมยอมแลกที่จะเอาตัวเองเท่ากับคนอื่น เพราะฉะนั้น
มัน
มีคำถามกลับมาแหละว่าแล้วถ้าเป็นคุณล่ะ คุณถามหาความเท่าเทียม คุณกล้าแลกหรือเปล่า
The People : การแลกนี้คือเราต้องเสียอะไรบางอย่างไปเพื่อให้เท่ากับคนที่มีน้อยกว่า?
วิทย์ :
ภาพในหัวเลยนะ คือกี
ตาร์
ที่บ้านหายหมดแล้ว ไม่ได้เล่นดนตรี ผมว่ามันก็ต้องแลกบางอย่าง ไม่มีอะไรที่มันได้มาแล้วมันจะไม่เสียไป เช่น อย่างน้อยที่สุดแล้วบนกรอบของเวลา การจะได้อะไรมามันต้องมีอะไรบางอย่างแลกไป
The People : มองว่าการที่เราได้เล่นดนตรี เพราะเรามีโอกาสมากกว่าคนอื่นด้วยไหม
วิทย์ :
มันเป็นทุกอย่าง สำหรับผมนะตอนนี้ ณ เวลานี้ มันเป็นเหมือนสิ่งที่หล่อหลอมเรามาทุกอย่าง คือเราใช้เวลาไปกับมันเยอะ ไม่ว่าจะเป็นการคิด การทำงาน ซึ่งการทำงานดนตรีมันก็บ่งบอกว่าเราใช้ชีวิตอยู่กับมัน เราเรียนรู้ทุกอย่างจากมัน มันไม่ใช่เราเรียน
รู้แค่ตั
วโน้ต เราเรียนรู้ที่จะใช้ชีวิตไปกับมัน เราได้คำตอบจากชีวิตในการเล่นดนตรี เรารู้ว่าต้องทำงานยังไง เรารู้ว่าการที่เราคิดงานไม่ออก หรือเราสร้างอะไรไม่ได้ เราจัดการกับอารมณ์ยังไงผ่านดนตรี เพราะ
ฉะนั้น
ดนตรีมันก็คือทุกอย่างที่เราเป็น มันไม่ได้ง่ายที่เราจะเสียสิ่ง ๆ นี้ไป แต่ว่าก็ใช่ไง สิ่งที่คุณอยากได้มันก็ไม่ได้ง่ายเหมือนกัน มันก็ต้องแลกเหมือนกัน
The People : เห็นแต่ละคนมีแนวความคิดคล้าย ๆ กันแบบนี้ จริง ๆ แล้วเคยทะเลาะกันบ้างไหม
เฟิด :
เรามาจากครอบครัวคนละแบบ การเลี้ยงดูคนละแบบ นิสัยส่วนตัวคนละแบบ แต่ว่าจุดร่วมก็คือ Slot Machine หรืองานที่ทำให้เราได้โยนความต่างลงมาตรงจุดร่วมจุดนี้ แล้วค่อย ๆ blend in กัน ค่อย ๆ ขัดเกลากันมา ทุกวันนี้ก็มีบางเรื่องที่เห็นต่างกันซ้ายขวาเลย แต่ว่ามันคือวิธีการจัดการที่เราอยู่ร่วมกันมากกว่า เราไม่จำเป็นจะต้องเห็นตรงกัน แต่เราไม่ทะเลาะกัน เพราะเรารู้ว่าเพื่อนนิสัยแบบนี้ เพื่อนคิดแบบนี้ เพื่อนรู้สึกแบบนี้ แล้วอะไรที่คิดเห็นไปในทิศทางเดียวกันก็คอยช่วยส่งเสริมกัน คอยให้กำลังใจซึ่งกันและกัน มันก็จะเหมือนกับหนักเบา ผ่อนหนักผ่อนเบา มันก็เป็นชีวิตครอบครัวเหมือนกันนะ
วิทย์ :
ผมว่าเห็นต่างกับทะเลาะมันเป็นเรื่องเดียวกันนะ แต่มันต่างกันตรงคนที่จัดการกับสถานการณ์นี้มากกว่า เห็นต่างมันคือคนที่เข้าใจในความต่าง ทำได้ในสิ่งที่มันต่าง บางทีเราทำในสิ่งที่คนอื่นในวงเห็นแล้วรู้สึกว่ามันไม่ใช่ แต่ถามว่าเราต้องทะเลาะไหม ไม่ ผมว่าอันนี้มันเป็นเรื่องจิตวิทยาในการทำงาน
The People : ย้อนกลับไปเมื่อ 17 ปีที่แล้ว
วันนั้นเราคิดกันแบบนี้ไหม
วิทย์ :
ผมเป็นวัยรุ่นนี่ผมตัวดีเลย ตัวบวก (หัวเราะ) สิ่งที่มันต่างผมว่าจริง ๆ 17 ปีที่โลกมันหมุนไป เราก็ไม่ได้รู้หรอกว่าโลกมันหมุนไปเร็วแค่ไหนหรือว่าหมุนไปยังไง แต่สิ่งที่ผมกำลังจะบอกก็คือ 17 ปีที่ผ่านมา การอยู่ในสังคมตรงนี้ได้มันคือการที่เราแข็งแรงพอ สภาพจิตใจเราที่มันรู้ว่าเขากำลังทำอะไร มันรู้ว่าเราควรจัดการกับตัวเองยังไง ผมว่าอันนี้เป็นเรื่องสำคัญ
The People :
ระหว่างเส้นทางดนตรี 17 ปีมีอะไรเกิดขึ้นบ้าง
แก๊ก :
มันจะสลับกัน เพราะวันนั้นเราจะนึกว่าเราเก่ง พอวันนี้เราก็จะนึกว่าเราอ่อน มันเป็นสิ่งที่สลับกัน
วิทย์ :
แสดงว่าก็ถือว่าเราเก่งขึ้นแล้ว
เพราะว่าคนที่เก่งจะรู้ว่าตัวเองไม่เก่ง
แก๊ก :
ตอนนี้ผมเก่งแล้ว (หัวเราะ) เปล่า มันเป็นอย่างนั้นจริง ๆ คือในช่วงเวลา 17 ปีที่เล่นดนตรีมาก็รู้สึกว่าได้เรียนรู้หลาย ๆ อย่างขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งวันนี้ก็ยังรู้อะไรหลาย ๆ อย่างจากวงรุ่นน้อง
วิทย์
: ถ้าเห็นรูปธรรมผมรู้สึกว่าเมื่อ17 ปีที่แล้ว มันเป็น
วัน
ที่เราทำงานโดยอยู่ที่เราเป็นคนที่เพิ่งจบมาใหม่ เพราะ
ฉะนั้น
แรงกดดันอันหนึ่งที่เราเลี่ยงไม่ได้คือเรื่องเงิน เรื่องการดูแลตัวเอง เพราะฉะนั้น การจะคิดอะไรบางอย่าง ณ เวลานั้น บางทีมันก็จะมีแรงผลักตรงนี้ เราก็ต้องคิดว่า
โห!
ทำยังไงดีวะในวันที่จะสร้างตัวขึ้นมา ง่าย ๆ กี
ตาร์ที่
จะเล่นจะซื้อราคาเท่า
ไร ก็
เป็นโจทย์ที่ต้องคิดแล้ว เราจะซื้อยังไง จะเอาเงินอนาคตมาซื้อไหม จะหยิบยืมไหม ทุกอย่างมันก็เป็นเงิน
แต่ว่า
พอเทียบ
กันว่า 17 ปีนี้ตรงนี้มีความแตกต่างแน่นอน ผมรู้สึกว่ามันก็พอทำให้เราคิดงานศิลปะแบบไม่กดดันได้มากขึ้น ง่าย ๆ พอท้องมันอิ่มบางทีเราก็มีสมาธิในการสร้างอะไรที่มันคือการแทงสวน มันคือการไม่ได้สร้างเพื่อเรื่องของความอยู่รอดอย่างเดียว มันคือการคิดอีกแบบ ผมว่ามันก็ดี เพราะว่าสุดท้ายถ้าเราทำแบบนี้ได้ ผมเชื่อว่าสิ่งที่เราทำมันเป็นเหมือนสะพาน
อัน
หนึ่งที่ทอดไปแล้ว ถ้าเราทำอย่างนี้ได้มันก็มีวิธีคิดแบบนี้เกิดขึ้นกับวง
แก๊ก :
ปัจจุบันคนมาเห็นตอนที่เราประสบความสำเร็จแล้ว ไม่เคยเห็นตอนที่ลำบาก ผักกะหล่ำกินไปขอคนข้างบ้าน คือมันก็ลำบากมาก่อน คนมาเห็นตอนที่มัน success แล้ว บางทีเขาก็ใจร้อนหรือว่าอะไร ทุกอย่างมันก็มีขั้นมีตอนเสมอ อย่าปิดโอกาสตัวเองแค่นั้นเอง
The People : โมเมนต์ของการทำวงที่รู้สึกว่าลำบากที่สุด
วิทย์ :
ต้องไปเช่าห้องรวมกับแก๊กนี่ลำบากเลยนะ คือลำบากต้องเห็นแก๊กทำอะไรในห้องไม่ดี ๆ (หัวเราะ)
เฟิด :
ถ้าสำหรับผมมันจะเป็นการที่จะต้องเอาชนะชุดความคิดบางอย่าง อย่างเช่น วงร็อกทำไมไม่ใส่เสื้อยืดกางเกงยีนส์ ทำไมถึงใส่สูทอะไรอย่างนี้ ใส่สูทแล้วไม่ใช่วงร็อกเหรอ ใส่เรียบร้อยจัง วงร็อกจะต้องยา ผู้หญิง สิ่งเสพติด หรือจะต้องเป็นคนไม่ดีเหรอ การเป็นวงร็อกเนี่ย
เป็น
วงร็อกเป็นวงดีได้ไหม ศึกษาศาสนาได้ไหม ศึกษาธรรมะได้ไหม ไม่กินเหล้าได้ไหม
เหมือน
มันมีหลาย ๆ ข้อ หลาย ๆ อย่างที่เรา
ต้องสวน
ทางมันไป คือเราก็ลำบากมาก ๆ กว่าเราจะประสบความสำเร็จ
ความสำเร็จที่ Slot Machine ได้มา ที่ทุกคนเห็นและชื่นชมทุกวันนี้ มันคือสิ่งที่เรา 3 คนต้องประสบกันตั้งแต่แรก ประสบตั้งแต่เจอกันเองเลยว่าจะแต่งเพลงแบบนี้ เพลงดนตรีแบบนี้ structure เพลงแบบนี้ เนื้อหาแบบนี้ ซึ่งมันไม่น่าฮิตนะ เพราะมันไม่ใช่สูตรสำเร็จที่เราเห็นว่ามันเคยสำเร็จมาแล้ว เนื้อหาแบบนี้ที่มันก็ไม่ใช่เนื้อหาที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก
มันแทบจะทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็น Slot Machine มันเป็นสิ่งที่เราง้างมาหมดเลย เราฝ่าฟันมาร่วมกัน นี่คือความร็อกของเรา นี่คือชีวิตแบบ Rockstar แบบของ Slot Machine ที่ไม่ใช่เหล้ายาปลาปิ้งปาร์ตี้หรืออะไร มันคือสิ่งนี้ การต่อสู้กับค่านิยม สมัยนิยม วิถีนิยม ทุนนิยม ทุก ๆ อย่างที่คนนิยม คือเราไม่ได้จะมาขวางโลก หรือเราขวานผ่าซาก หรือเราจะมาสร้างศัตรู แต่ว่ามันเป็นวิถี Rockstar ของพวกเรา 3 คนที่เรารู้สึกว่าแบบนี้มันคือร็อกสำหรับเรา มันคือความท้าทาย มันคือความขบถ มันคือความเป็นผู้นำสำหรับเรา
แก๊ก :
อย่างเพลง 4th Kind ความจริงเราทำกันเสร็จไปแล้วเมื่อ 10 ปีที่แล้ว แต่ว่าเรายังไม่ปล่อยออกมา เพราะว่าในตอนนู้นคือจะพูดออกไปด้วยเพลงแบบนี้ไม่มีใครเชื่อหรอกว่ามันจะดี ทั้ง ๆ
ที่
10 ปีผ่านมาตัวเพลงทุกอย่างเหมือนเดิม ก็คือการสร้างความน่าเชื่อถือให้กับตัวเองมันลำบาก
อย่าง
ที่เฟิดพูดคือทัศนคติเก่า ๆ ค่านิยมเก่า ๆ อะไรเดิม ๆ เราต่อสู้มานาน
วิทย์ :
ลำบากกระทั่งวาง position ตัวเองในเวลานั้น คือเราเป็นวงที่เหมือนแทงสวน ผมพูดถึง ‘Mutation’ เพลง ‘ผ่าน’ มันพาให้วงไปอยู่ในที่เหมือนเราไปเล่นคลื่นวิทยุ เราก็จะไปเจอวงฝั่งแมสที่เรารู้สึกว่าเราเป็นพวกอินดี้ บางทีเราก็งง ๆ ว่าเราจะทำตัวยังไง บางทีเราไปแล้วเจอวงอีกฝั่งก็จะมองเราเป็นอีกแบบ เราจะแบบงง ๆ กับตำแหน่งที่ตัวเองยืนว่ามันเป็นยังไง อันนี้คือความลำบากในการวางตัวเอง หรืออย่างเช่นมีคนเคยพูดตอนที่เพลง
‘ผ่าน’
กำลังจะออก พอได้ฟังแล้วบอกว่าเพลงนี้ไม่น่าจะดัง มันก็เป็นความลำบากอีกรูปแบบหนึ่ง เรื่องของการที่บางทีเรารับคำเหมือนคอมเมนต์หรืออะไรที่เข้ามาในชีวิต เรารู้สึกว่าเออเว้ยมันจะเป็นยังไง เขาตัดสินไปแล้วก่อนที่คนอื่นจะตัดสินเรา แล้ววันนั้นเราก็ไม่ได้แข็งแรงพอที่จะรับคำตัดสิน แล้วนั่งหน้าอึนใส่เขาได้โดยที่เราไม่รู้สึกอะไร ก็เป็นความลำบาก
แต่พอมาถึงวันนี้ เหตุการณ์เดียวกัน มันพาให้เราเรียนรู้ความลำบาก แล้วมันกลายเป็นไม่ลำบาก มันกลายเป็นจุดยืนและวิธีคิดแบบเพลง
‘ผ่าน’
ที่มันเป็นการแทงสวนหรือทำอะไรที่มันแปลก ก็เอามาใช้ในวิธีการคิดปัจจุบันโดยที่มันเป็นวิธีการเดียวกัน แต่ความรู้สึกคน สำหรับคนทำงานมันต่างกัน มันคือวิธีการที่เรากลับรู้สึกอมยิ้มเวลาที่คนรู้สึกว่ามันแปลก เรารู้สึกมีความสุขเวลาที่คนมองเราว่าทำไมเพลงมันเป็นอย่างนี้ ก็ใช่ไง เราคิดแบบนี้
เพราะว่าเราคาดหวังผลอีกแบบที่มันแตกต่างกันออกไป เรื่องเดียวกันแต่ว่ามันไม่ลำบากแล้วใน พ.ศ. นี้
The People : วันนั้นที่มีคนบอกว่าเพลงเราจะไม่ดัง
เราก็รู้สึกอ่อนไหว
วิทย์ :
ถ้าวันนั้นเราเปลี่ยนตัวเอง หักหัวนิดนึง ป่านนี้มันแล้ว
แก๊ก :
ป่านนี้ผมคงเป็นผู้หมวด สิบตำรวจอยู่
วิทย์ :
จะไม่ได้ยินเพลง 4th Kind แน่นอน
แก๊ก :
ผู้หมวดแก๊ก (หัวเราะ)
The People : มองดนตรีหรือเพลงเป็นห้องทดลองของเราเลยไหม
เฟิด :
เรามองว่าชีวิตเรานี่แหละเป็นงานทดลองของเรา เป็นงานศิลปะของเรา
The People : มีศิลปินเบอร์ใหญ่ที่เป็นไอด
อลไหม
เฟิด :
Radiohead, The Beatles, Michael Jackson, Bob Marley, Rolling Stone ทุก ๆ วง เราก็มองหาสิ่งที่ดี ๆ แหละที่เขาสร้างเอาไว้ เอามาเป็นแรงบันดาลใจ มันก็เลยฟัง
แล้วดูแล้ว
เหมือนกับทำไมคิดใหญ่จัง คิดอะไรจัง คิดเป็นโลก คิดเป็นมนุษยชาติ คิดเป็นความเชื่อศาสนา เพราะว่าเราเองเราก็พิสูจน์กับตัวเองมาแล้วว่านี่ไง ก็เราฟังเพลงเขา แต่เราอยู่นี่ ตรงนี้ประเทศไทย ประเทศโลกที่สาม ประเทศเล็ก ๆ คนหัวดำ ๆ คนเอเชีย แต่เราได้แรงบันดาลใจจาก The Beatles ได้แรงบันดาลใจจาก Michael Jackson, Bob Marley, Elvis Presley ศิลปินระดับโลกไปจนถึงพวกจิตรกร หรือใครก็แล้วแต่บุคคลระดับโลกทั้งหลาย ทำไมเขาถึงเป็นคนระดับโลก แล้วมันก็เป็นความฝันเล็ก ๆ ว่าแล้วทำไมคนไทยเป็นคนระดับโลกไม่ได้ ทำไมศิลปินไทยจะเป็นศิลปินระดับโลกไม่ได้ ถึงมันไม่ได้วันนี้ Slot Machine ก็ถือว่าเป็นจุดเล็ก ๆ ในการเริ่มต้นของศิลปินที่เป็นสัญชาติไทย ที่วันข้างหน้าเขาเรียนรู้ know how หรือถึงกาลเวลาแล้วที่ประเทศไทยจะสามารถยกระดับตัวเองไปเท่าฝรั่งได้ เท่าคนญี่ปุ่นได้ เท่าคนเกาหลีได้ แต่มันต้องมีคนเริ่ม
The People :
คิดว่าประเทศไทยจะออกจากการเป็นประเทศโลกที่สามได้ด้วยดนตรีไหม
แก๊ก :
ได้ด้วยดนตรีผมว่าเป็นไปได้สูง ผมคิดว่าดนตรีมันเป็นภาษาสากลและมันเป็นสิ่งที่สร้างสรรค์ เราอยู่วงการดนตรีอย่างนี้ ผมไม่รู้ว่าวงการอื่นเป็นยังไง แต่วงการดนตรีรู้สึกว่ามันสวยงามที่สุดในความรู้สึกผมนะครับ ออกไปได้ด้วยดนตรีนี้จะเป็นอะไรที่นอนตายตาหลับเลย
วิทย์ :
ในมุมมองของเศรษฐกิจโลก จริง ๆ แล้วโลกที่สามมันกำลังจะโดนกลืน ขั้วอำนาจใหญ่ ๆ เขากำลังทำอะไรกันอยู่ ก็คงเป็นเรื่องเศรษฐกิจมั้ง แต่ในพาร์ทของดนตรี ผมรู้สึกว่ามัน global นะ Slot Machine มันไปอยู่ iTunes มันอยู่ใน Apple มันอยู่บน streaming ต่าง ๆ ผมว่ามันหลอมรวมมากกว่าแค่ 2 ขั้วด้วย ผมว่าเราทำหน้าที่ของเราแล้ว ตอนนี้สิ่งที่เรากำลังรอคือเวลา รอให้คนเริ่มฟัง ผมเชื่อว่าวงมาตรฐานที่เราเลือกมันมีสิ่งที่เราพอใจ พอมันอยู่บนนั้น
มันอยู่บน streaming มันอยู่บนที่ที่คนทุกคน มันอยู่บนอากาศที่ทุกคนสามารถหยิบจับฟังได้แล้ว มันไม่สายอีก 10 ปีถ้าจะมีคนพูดถึง อีก 100 ปีถ้าเราไม่อยู่แล้ว ผมว่าลูกหลานก็จะสบาย (หัวเราะ)
แก๊ก : ไม่มีลูกด้วยนะ
วิทย์ : สมมุติว่ามี
แก๊ก : หลานก็ได้ ผมดีใจนะถ้าวันหนึ่งหลานมาแย่งมรดกผม โอเค
แหละวะ ทำไว้เยอะมีให้หลานมาแย่ง
The People : สิ่งที่วงลงมือทำในอัลบั้ม Third Eye View
เฟิด :
นอกเหนือจากพาร์ทเพลง ดนตรี เนื้อหา จริง ๆ Slot Machine ก็มีส่วนร่วมหมดนะ
วิทย์ :
เราไม่ได้มองว่าเราเป็นคนอื่น เรากำลังสร้างศิลปะชิ้นหนึ่งที่เป็นเสียง
เฟิด :
อย่างเดียวที่เราไม่มีส่วนร่วมคือเงินทุน นอกนั้น…
แก๊ก :
มีแอบจ่ายไป 10 เปอร์เซ็นต์ ไม่รู้เหรอ (หัวเราะ)
เฟิด :
สุดท้ายปันกลับมา แต่ว่าก็คือทุกสิ่งทุกอย่างที่เห็นก็คือตาน้ำมันก็คือ Slot Machine คือไอเดียทุกอย่าง input เริ่มต้นจาก Slot Machine ก่อน อันนี้ก็คือเป็น solution ที่เราใช้มา ทำมาร่วมกันกับค่าย แล้วมันประสบความสำเร็จ เราเลยทำแบบนี้ ก็คือทุกคนให้เครดิตแล้วก็ซัพพอร์ตไอเดีย ปก การวิ่งไปหาฟิล์มกระจก การสร้างเรื่องราว conceptual ของอัลบั้มนี้ ๆๆ ต่อเนื่องกันมา เรื่องที่เล่าก็มาแล้วมันคืออะไร แล้วเราจะไปไหนต่อหรืออะไร มันมาจาก Slot Machine หมดเลยตั้งแต่ Mutation เป็นต้นมา
วิทย์ :
คือ
จริง ๆ ศิลปะชิ้นนี้ เพลงมันเป็นตัวนำ ถ้าเป็นกระดานหมากรุกเพลงอาจจะเป็นขุน แต่อาร์ตเวิร์กทั้งหมดก็คือเรือ ม้า นู่นนี่นั่นโน่น ซึ่งเราก็เป็นผู้เล่น เพราะฉะนั้นคือกระดานเราเป็นคนมองภาพรวมชัดเจน
The People : แต่ละคนชอบ track ไหนในอัลบั้มนี้มากที่สุด
แก๊ก :
ผมชอบ 4th Kind นะ เพราะมันผูกพัน ก็อย่างที่บอกทำไปเมื่อ 10 ปีที่แล้ว ทุกวันนี้คือก็ฟังอยู่ตลอด ไม่รู้ว่าเมื่อไหร่มันจะได้ออกมาเป็นเพลงสักทีนะ ตอนนั้น
ซาวนด์
มันดิบกว่านี้มากเลย ก็คือเพลงที่โคตรเดือด เดือดมาก
เฟิด :
ชอบ 4th Kind
วิทย์ :
อยากจะตอบว่า Bangkok เพราะว่ามันเป็นเพลงที่เชื่อมต่อระหว่างอดีตของ Slot Machine ไปสู่อนาคตของ Slot Machine ก็เลยคิดว่าจะตอบเพลงนั้น แต่ว่าไม่เอาแล้ว ก็เลยคิดว่าเปลี่ยนใจแล้วตอบเป็น ‘Siren Song’ แล้วกัน ในฐานะเป็นมือกีตาร์ของวง ผมว่าเพลงนี้กี
ตาร์
มันมาทีหลัง แต่มาโคตรเท่เลย รู้สึกตัวเองเหมือนพระเอก เพราะตอนที่เล่น โน้ตที่เลือกใช้มันเป็นโน้ตที่พอดิบพอดีกับเพลง แล้วน้ำหนักนู่นนี่นั่นโน่นทำให้โปรดิวเซอร์เขารู้สึกว่ามันดี ตอนแรกคือผมเล่นแล้วเหมือน engineer บอกว่าลองเปลี่ยนโน้ตไหม ผมรู้สึกว่าไม่ มันต้องโน้ตนี้ นั่นคือสิ่งที่รู้สึกว่าเราก็ใช้ได้นะเนี่ย
เฟิด :
แต่ผมเห็นด้วยนะ
เพราะผมรู้สึกว่าขนาดเราไม่ใช่มือกี
ตาร์
เรายังคิดเลยว่าถ้าเป็นกีตาร์จะคิดยังไง เราก็วางยาเพื่อนเหมือนกันแหละ แต่เพื่อนเราทำได้ไง อันนี้เขาทำได้ก็ต้องยอมรับว่าเขาเก่งจริง
แก๊ก :
ตอนเริ่ม ๆ ต้นเพลงแอบสะใจนะ ตาวิทย์ เก่งนักเจอเพลงนี้หัวทิ่มแน่ ๆ (หัวเราะ) คุยกัน 2 คน หัวทิ่มแน่ ๆ
เฟิด :
ผมว่าพอดิบพอดี มาน้อย ๆ แต่ว่าพอดี
วิทย์ :
อะไรไม่จำเป็นก็ไม่ต้องใส่ไปในเพลง แล้วอัลบั้มก็จะเป็นอย่างนี้
The People : มีเรื่องสนุกๆ ในห้องอัดที่อยากเล่าให้ฟังไหม
เฟิด :
เพียบเลยครับ เอาตั้งแต่ที่มาที่ไปกว่าจะมาเจอกัน กว่าจะได้มาเจอกันที่ Karma Studio ของโปรดิวเซอร์ทั้ง 2 ท่าน คือแบบยอมรับตรง ๆ ไม่รู้จักชื่อเขา ก็คือรู้จักโปรไฟล์สวยหรู อดีต Slipknot เคยร่วมงานกับ Prince นู่นนั่นนี่ ศิลปินโปรไฟล์สวยงามมาก แต่เราก็รู้ว่ามาเจอจริง ๆ มันก็คือการทำงานที่ใช้ชีวิตร่วมกันจริง ๆ ต้องพูดคุย ต้องแลกเปลี่ยน นั่ง
กิน
ข้าวโต๊ะเดียวกัน อยู่ร่วมกัน 24 ชั่วโมง เป็นหลาย ๆ เดือน ตรงนั้นแหละที่มันเป็นประสบการณ์ที่รู้สึกว่าในการทำงานเพลงชุดหนึ่ง การที่ได้ใช้ชีวิตร่วมกับคนที่เขามีความสามารถที่เขาผ่านอะไรมาในชีวิตเขา แล้วมาบวกกันเราได้อะไรเยอะแยะ วิธีการทำงาน วิธีคิด วิธีการจัดการกับชีวิต
แก๊ก :
เอาจริง ๆ ง่ายนะคนระดับนั้น อย่างเช่นคุณ Justin Stanley อย่างนี้ แก๊กเดี๋ยวจะมาอัดเบสนี้อย่าเปลี่ยนสายเบสนะ ซึ่งโดยธรรมชาติก็ต้องเปลี่ยนเพื่อให้เสียงมันเคลียร์ เนียน ผมก็สงสัยไอ้คนนี้มันมาเพี้ยนยังไงไม่ให้เปลี่ยนสายเบส ติสท์แตกหรือเปล่า หรือว่าแกล้งอำ ผมไปถาม คุณ Justin ก็บอกว่า ในทุก ๆ เครื่องดนตรีมันมีเรื่องราว สายเบสยูเอาตัวที่ยูใช้เล่นบนเวทีมาอัด คราบเหงื่อหรือว่าวิธีการเล่นแต่ละสายมันก็ทำให้โทนเสียงออกมาเป็นตัวของเรา เป็นอะไรที่มันละเอียดอ่อนมาก ไม่เคยรู้มาก่อนจริง ๆ ถือว่าเป็นประโยชน์ เขาไม่ได้บอกหรอกว่าเสียงมันดี แต่เขาแค่อยากให้เรารู้เรื่องราวของเครื่องดนตรีแต่ละชิ้นของเรา
วิทย์ :
อย่างที่ผมนึกออกก็จะมีสว่าน แก้วไวน์ เครื่องดูดฝุ่น ถ่านไฟฉาย ทุกอย่างเอามาใช้เล่นได้หมด คือมันอยู่ที่ว่าเขาต้องการ record อะไรก็ได้เพื่อลองใส่ในเพลงนี้ มันเลยสนุก ถ้าจะให้เห็นภาพชัด ๆ ผมว่าต้องเข้าใจก่อนว่าโปรดิวเซอร์มันจะมีหลายแบบ วิธีการทำงานของบางคนก็จะเป็นวิธีการที่นั่ง เอากีตาร์เล่นยังไงก็ได้ให้ดีที่สุด เนียนที่สุด แต่ว่าพอเราเจอโปรดิวเซอร์ที่เป็นฝรั่ง วิธีคิดมันกลับกัน
คือเทคโนโลยียังไงทำออกมามันดีอยู่แล้ว เขาต้องการอะไรก็ได้ที่มัน create ที่สุด มันสร้างอะไรขึ้นมาที่มันว้าว
!
ณ เวลานั้น มันก็เลยสนุกที่เราพยายามจะค้นหาอะไรที่ทุกอย่างมันเหมือนยิงพลุตลอดเวลา ยิง ๆๆ เฮ้ย
!
อันนี้ก็ว้าว
!
ๆ
ตรง
นั้นมันเลยทำให้เราได้งานชิ้นนี้ขึ้นมา
The People : อยากให้คนฟังได้อะไรจากอัลบั้ม
Third Eye View
เฟิด :
น่าจะเป็นคำถามสำหรับคนฟังมากกว่า คือเขาอยากได้อะไร เขาจะได้สิ่งนั้น สมมุติเราทำไป 10 เขาอยากได้แค่ 5 เขาก็ได้แค่ 5 มันคือประสบการณ์ชีวิตและทัศนะของปัจเจกของแต่ละบุคคล ต่อให้เราอธิบาย เราพูด เราเล่าไปหมดเปลือกหมดทุกอย่าง แต่ perception ของเขาที่เขาจะรับได้มันก็คือตัวเขา เราหวังแค่ว่าฟังแล้วมีความสุข เพลิดเพลิน ส่วนจะคิดตามหรือคิดลึก หรือชอบหรือไม่ชอบ อันนั้นมันเกินมือเราแล้ว เราได้ทำที่สุดทุก ๆ รายละเอียดเท่าที่เราจะทำได้ไปแล้ว อย่างที่บอกว่ามันดีที่สุด ณ ปัจจุบันขณะของพวกเราแล้ว เพราะฉะนั้น เราอยากให้ทุกคนรักมันไปด้วยความภาคภูมิและสนับสนุนเรา เพราะว่าความฝันของเราก็คือเราอยากทลายกำแพงทุกสิ่งทุกอย่างที่คนนึกอะไรออก และคนไทยทำได้ไม่ได้ เราอยากจะเป็นวงหนึ่งที่ลงมือทำในพาร์ทของเรา ซึ่งเป็นศิลปินที่ทำงานดนตรี ทำงานศิลปะ เราก็ทำในมุมของเรา คืออยากให้ทุกคนสนับสนุนเราเพื่อที่เราจะได้ไปต่อได้ แล้ว
เราก็
จะแบกความฝันหรืออุดมคติของเรา เพื่อที่จะสร้างสรรค์ต่อไปตราบใดที่เรายังมีแรงอยู่
แก๊ก :
ก็อยากให้น้อง ๆ อยากให้คนซื้อ ผ่อนได้นะชุดนี้ (หัวเราะ) เปล่าพูดเล่น อยากให้น้อง ๆ ศิลปินรุ่นใหม่ ๆ สมมุติถ้าเขาอยากจะทำเพลงที่มันแปลก ๆ หรือทำเพลงที่พูดตรง ๆ ใครฟังเพลงชุดนี้จบในใจลึก ๆ ก็ต้องคิดพวกนี้มันต้องบ้าพอสมควรเหมือนกันที่จะทำอะไร ไอ้ความบ้านี้ผมรู้สึกว่าเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้ทุกคนพัฒนาขึ้นมามี
ซาวนด์
มีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง เพราะว่าถ้าดนตรีหรือทุกอย่างมันเหมือน ๆ กันหมด มันไม่เกิดการพัฒนา ศิลปะมันก็พัฒนา คนก็ไม่ฉลาด เป็นตัวของตัวเอง กล้าคิด กล้าทำออกมา ทุกคนมีความคิด พอคนฉลาดมันก็ไม่ต้องไปแก้อะไรให้มันวุ่นวายใช่ไหม ทุกคนคิดอะไรให้มันถูกต้อง ทุกอย่างก็จะดีไปเอง
โดย
ปริยาย
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
‘บิ๊กโจ๊ก’ พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล ตำแหน่งใหญ่ขณะอายุน้อย บารมีมาก เส้นทางสีกากีติดไฮสปีด
15 ก.ย. 2566
3559
ถอดรหัส ‘Naatu Naatu’ เพลงประกอบหนังอินเดียฉากร้อง-เต้นใน RRR ได้ออสการ์-Golden Globes
13 มี.ค. 2566
6975
‘เอมิลิโอ เฟอร์นันเดส’ ชายผู้เป็นต้นแบบของตุ๊กตารางวัล ‘ออสการ์’
12 มี.ค. 2566
871
แท็กที่เกี่ยวข้อง
Slot Machine
third eye view