read
social
04 ก.พ. 2564 | 19:00 น.
กองบังคับการกองอาสารักษาดินแดนจังหวัดสระบุรี กองกำลังพลเรือนดีเด่นที่พิชิตใจประชาชน
Play
Loading...
ถ้ารั้วของชาติคือทหาร ผู้พิทักษ์สันติราษฎร์คือนิยามของเจ้าหน้าที่ตำรวจ แล้วกองกำลังภาคพลเรือนซึ่งทำหน้าที่รักษาความสงบร่วมกับพนักงานฝ่ายปกครองถูกเรียกว่าอะไร?
เราอาจไม่ตั้งข้อสงสัยกับเครื่องแบบทหาร คุ้นตากับเครื่องแบบตำรวจ แต่สารภาพตามตรงเถอะว่า กับเครื่องแบบลายพรางโทนสีน้ำตาลที่แม้จะปฏิบัติหน้าที่ครอบคลุม ทั้งการตั้งจุดตรวจจุดสกัดรักษาความสงบ บรรเทาภัยธรรมชาติ ช่วยงานจราจร ปราบปรามยาเสพติด และอีก ฯลฯ แต่เมื่อเห็นอีกครั้งก็ยังไม่แน่ใจอยู่ดีว่า พวกเขาสังกัดหน่วยงานไหนกันแน่
คนกลุ่มนี้คือ สมาชิกกองอาสารักษาดินแดน (อส.) เป็นกองกำลังกึ่งทหาร ทำหน้าที่รักษาความสงบร่วมกับพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ ปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมาย เทิดทูนและพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ รวมถึงรักษาความปลอดภัยในสถานที่สำคัญ และเป็นกำลังสำรองส่วนหนึ่งที่พร้อมจะเพิ่มเติมและสนับสนุนกำลังทหารเมื่อมีการร้องขอในยามปกติและศึกสงคราม
แนวคิดการจัดตั้งกองอาสารักษาดินแดน นี้ พัฒนามาจากระบบ
"ราษฎรอาสา"
ในสมัยโบราณ กล่าวคือเมื่อเกิดภาวะสงครามจะมีราษฎรที่ไม่ใช่ทหารรวมตัวกันต่อสู้กับข้าศึกเพื่อรักษาแผ่นดิน อาทิ ชาวบ้านในศึกบางระจัน กลุ่มคุณหญิงจันและนางมุกในการสู้รบที่เมืองถลาง (ท้าวเทพกษัตรี และท้าวศรีสุนทร) การกู้อิสรภาพเมืองนครราชสีมาซึ่งนำโดยการนำของคุณหญิงโม (ท้าวสุรนารี)
จากแนวคิดและหลักการดังกล่าว พระบาทสมเด็จพระมงกฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงเล็งเห็นภัยคุมคามจากสงครามจะกระทบต่อประชาชน จึงทรงสถาปนา
“กองเสือป่า”
โดยทรงโปรดเกล้าฯ ให้บุคคลพลเรือนที่มิได้เป็นทหาร สมัครเข้าเป็นสมาชิกกองเสือป่าได้ เพื่อเข้ารับการฝึกให้มีความรู้ในการป้องกันประเทศและช่วยเหลือประชาชนในยามศึกสงคราม จนกระทั้งมีการตราพระราชบัญญัติกองอาสารักษาดินแดน พ.ศ.2497 และประกาศใช้เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2497 จึงถือเอาวันที่ 10 กุมภาพันธ์ ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสถาปนากองอาสารักษาดินแดน
นายหมวดโท เรืองลักษณ์ เรืองยังมี
ผู้บังคับกองร้อยบังคับการและบริการ กองบังคับการกองอาสารักษาดินแดนจังหวัดสระบุรี
กล่าวว่า ผู้บังคับบัญชาของสมาชิกกองอาสารักษาดินแดนคือข้าราชการสังกัดกรมการปกครองกระทรวงมหาดไทย
และตนเขารับราชการสังกัดกระทรวงมหาดไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 ผ่านงานตั้งแต่การเป็นปลัดอำเภอ เจ้าพนักงานปกครอง เลขานุการผู้ว่าราชการจังหวัด จนมาถึงการเป็น
ป้องกันจังหวัดและผู้บังคับกองร้อยบังคับการและบริการ
กำลังพลของ
กองอาสารักษาดินแดน จึงมีที่มาส่วนหนึ่งจากการเป็นข้าราชการในสังกัดกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย และส่วนหนึ่งคือชาวบ้านอาสาสมัครซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ทำหน้าที่ร่วมกับกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ซึ่งเป็นหัวหน้าชุมชนที่ใกล้ชิดกับชาวบ้านมากที่สุด
ข้อได้เปรียบของ อส. ที่แตกต่างจากกองทัพหรือตำรวจคือความ
“ใกล้ชิด”
เพราะ อส.จะคัดเลือกบุคลากรที่มีภูมิลำเนาในจังหวัดเท่านั้น ซึ่งหมายความว่า อส.จะเข้าใจพื้นที่ เข้าใจความเป็นไปได้ดี
“ที่สำคัญคือสามารถรับรู้ความรู้สึก รับรู้ข้อมูลข่าวสารในพื้นที่ได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ก็สามารถนำเสนอผู้บังคับบัญชาในการไปตัดสินใจหรือ แก้ไขปัญหาในพื้นที่ได้อย่างรวดเร็วมากขึ้น”
“หากเกิดเหตุขึ้น เราจะมีข้อมูลว่าคนนี้บ้านอยู่ตรงไหน ที่ใดคือจุดรวมตัวของคนกลุ่มนี้ หรือถ้าต้องดูแลบุคคลสำคัญเราก็จะประเมินได้ว่าตรงไหนคือจุดเสี่ยง จุดที่ต้องเฝ้าระวัง เราจะเข้าใจพื้นที่มากกว่ากองทัพหรือเจ้าหน้าที่ตำรวจที่บางทีพวกเขาไม่ได้มีภูมิลำเนาอยู่ในชุมชน”
นายหมวดโท เรืองลักษณ์ อธิบาย
สมาชิก อส. นั้น กระจายอยู่ทุกจังหวัด อำเภอ ทั่วประเทศ และแม้จะรับสมัครจากราษฎรที่อาสาเข้ามา แต่สมาชิก อส. ก็มีการควบคุมบังคับบัญชาและรักษาระเบียบวินัยเช่นเดียวกับทหาร ตำรวจ มีการฝึกฝนและอบรมอย่างเป็นระบบ รวมถึงมีเครื่องแบบ ชุดฝึก และชั้นยศ
“ถ้าให้เปรียบ เราเหมือนกับกอง
กำลังที่มาจาก
ประชาชน มีวินัยเหมือนกับตำรวจทหาร แต่เราเข้าใจความคิดของประชาชนในพื้นที่มากกว่า การทำงานของเราจึงไม่ใช่การปราบปราม หรือไปร่วมจับกุมใคร แต่ก็จะประนีประนอมทำความเข้าใจ ขอความร่วมมือเพราะนี่คือบ้านของพวกเรา เป็นชุมชนของพวกคุณ และก็เป็นชุมชนของเจ้าหน้าที่เหมือนกัน”
กองร้อยบังคับการและบริการ
กองบังคับการกองอาสารักษาดินแดนจังหวัดสระบุรี เป็นกองร้อยอาสารักษาดินแดน ที่มีผลงานดีเด่นประจำปี พ.ศ. 2563 ประเภทกองร้อยบังคับการและบริการ
Keys หรือเคล็ดลับของการเป็น
กองร้อยดีเด่นของกองร้อยบังคับการและบริการ กองบังคับการกองอาสารักษาดินแดน
จังหวัดสระบุรีไม่ได้มีสูตรสำเร็จ แต่มาจากการทำงานเป็นทีมและการแชร์ไอเดียระหว่างผู้บังคับบัญชากับทีมงาน คนไหนเด่น คนไหนดีด้านไหนก็รับผิดชอบงานตรงนั้น ตัวอย่างเช่น หากมีเหตุต้องปราบปรามยาเสพติดร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ ก็จะส่งคนที่เกาะติดเข้าใจพื้นที่นั้นลงไป และยังต้องรู้ความต้องการของผู้ร่วมงานอย่างกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน หากเป็นเรื่องของการค้ามนุษย์ การทำงานกับเด็กและเยาวชนก็ต้องเป็นคนที่เข้าใจประเด็นที่ละเอียดอ่อน ต้องรู้ว่าเวลาใดควรใช้ไม้แข็งหรือไม้อ่อน เพื่อทำให้ปัญหาคลี่คลายลงได้ตามแต่ยุทธวิธี ในการแก้ปัญหานั้นชาวบ้านจะ
“คิดถึง”
อส. ทั้งในยามปกติและยามคับขัน ดังนั้นกองอาสารักษาดินแดนก็ไม่ต่างจากกองทัพประชาชนที่มีความถนัดในแต่ละพื้นที่
ถ้าอยู่ในจังหวัดท่องเที่ยวเช่น ภูเก็ต อส. ก็จะ เน้นป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม การให้ความช่วยเหลือนักท่องเที่ยว สื่อสารให้ข้อมูลอย่างถูกต้อง แต่หากเป็น อส. ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ พวกเขาก็ต้องสนับสนุนการแก้ไขปัญหาความไม่สงบ กระทั่งบ้างครั้งที่พวกเขาเองกลับเป็นฝ่ายโชคร้าย เราจึงเห็นรายชื่อของ อส. ก็กลายเป็นเหยื่อของความรุนแรงแบบที่ใครไม่ทันจะตั้งตัว
ส่วนที่ จังหวัดสระบุรี พื้นที่นี้คือเมืองที่เป็นทางผ่านของนักเดินทาง เป็นพื้นที่ลำเลียงแรงงาน ทั้งจากภาคอีสานสู่กรุงเทพ เป็นที่ตั้งของโรงงานซึ่งมีประชากรมากมายหลายตา
ผลงานของ กองบังคับการกองอาสารักษาดินแดนจังหวัดสระบุรี จึงมีไฮไลท์ของการเข้าถึงประชาชน โดยเฉพาะในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ซึ่งจำเป็นต้องใช้ความคุ้นเคยกับการเคลื่อนย้ายแรงงาน ผลงานของกองบังคับการกองอาสารักษาดินแดนจังหวัดสระบุรี จึงได้รับการชื่นชม ทั้งการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรค การตั้งจุดตรวจจุดสกัด การแจกจ่ายหน้ากากอนามัย การบริหารจัดการสถานที่ การรับรายงานตัวบุคคล
“เราทำตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง ปลายทาง ทำงานทุกวันไม่มีวันหยุด จันทร์ถึงศุกร์ เสาร์อาทิตย์เราทำทุกวัน การตั้งจุดตรวจจุดสกัด ทั้งในช่วงเวลากลางวัน กลางคืน รวมถึงช่วงเวลาเคอร์ฟิวด้วย นอกจากการป้องกันแล้วก็จะมีการรักษาพยาบาล เราใช้กองร้อยของเราเองที่อยู่ด้านหลังเป็นที่กักกันตัว เป็นสถานที่กักกันตัวในระดับจังหวัด หรือ LQ local quarantine เป็นสถานที่รับรายงานตัวบุคคลที่มาจากพื้นที่เสี่ยง หรือบุคคลที่ผ่าน state quarantine มาแล้ว ซึ่งภารกิจเหล่านี้ก็เป็นภารกิจที่ต้องมีทำทุกวัน ต้องมีเจ้าหน้าที่อยู่สแตนด์บายตลอด”
มีอยู่ครั้งหนึ่ง ผมได้รับโทรศัพท์กลางดึกจากชาวบ้านในพื้นที่ว่าลูกชายเขามีสภาวะจำเป็นจะต้องได้รับการให้เลือด ซึ่งโดยความทุรกันดารของพื้นที่แล้วก็ใช้ระยะเวลาเดินทางจากโรงพยาบาลในตัวจังหวัดไปถึงโรงพยาบาลอำเภอนั้นใช้เวลาหลายชั่วโมง
หากแต่ด้วยความใกล้ชิด ความสามารถในการประสานงาน พวกเขาปฏิบัติตัวให้เป็นที่ “พึ่งพาได้” ของผู้เดือดร้อน จนได้ขอความอนุเคราะห์นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด ให้นำเลือดเอาไปเปลี่ยนถ่ายให้กับผู้ป่วยที่เข้าขั้นวิกฤตจนสำเร็จ ซึ่งในวันนั้นก็สามารถช่วยชีวิตผู้ชายคนหนึ่งได้ กลายเป็นความทรงจำที่ตอบหัวใจตัวเองว่า พวกเขาทำอะไรได้บ้าง และทำไปเพื่อใคร
นายกองเอก แมนรัตน์ รัตนสุคนธ์
ผู้บังคับการกองอาสารักษาดินแดนจังหวัดสระบุรี และ ผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี บอกว่า สมาชิกกองอาสารักษาดินแดน ทั้งกองร้อยบังคับการและบริการ กองร้อยอาสารักษาดินแดนอำเภอ เป็นหน่วยเสริมที่จำเป็นอย่างยิ่งให้กับกำลังของทหาร ตำรวจ และฝ่ายปกครองได้เป็นอย่างดี เป็นผู้ที่อยู่ใกล้ชิดกับประชาชน ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเข้าใจบริบทพื้นที่ และทำงานคู่ขนานไปกับหน่วยงานราชการส่วนกลางและส่วนภูมิภาค
สำหรับกองบังคับการกองอาสารักษาดินแดนจังหวัดสระบุรี ผสมผสานได้ดีกับหน่วยงานอื่น ซี่งในปัจจุบันมีอาคารกองร้อยบังคับการและบริการ ตั้งอยู่ในศูนย์ราชการจังหวัดสระบุรี โดยการสนับสนุนจากกรมการปกครอง ยิ่งทำให้การทำงานเป็นเอกภาพมากขึ้น มีมาตรฐานการทำงานในฐานะเจ้าพนักงานปกครองที่มีคุณภาพ ใกล้ชิดและเข้าถึงใจประชาชน
ถึงไม่ได้นำจับคนร้ายเช่นเดียวกับตำรวจ ไม่ได้ถือนิยามรั้วของชาติเช่นเดียวกับทหาร แต่กองกำลัง อส. ก็ยังคงเดินหน้าทำงานตามบทบาทหน้าที่ต่อไป นับตั้งแต่เรื่องใหญ่จากรัฐบาล เช่น การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด การปราบปรามการค้ามนุษย์ การป้องกันและปราบปรามการทำลายทรัพยากรป่าไม้ การรักษาความสงบเรียบร้อย การจัดระเบียบสังคม ไปจนถึงงานให้บริการประชาชน
หากเห็นเครื่องแบบชุดลายพรางสีน้ำตาล หมวกสีกรมท่า โปรดจงรู้ไว้ พวกเขานี่แหละสมาชิกกองอาสา
รักษาดินแดนกองกำลังที่ใกล้ชิด ประชาชนคิดถึง และพึ่งพาได้ ทั้งยามสงบและเกิดปัญหา
รู้จักกองอาสารักษาดินแดนเพิ่มเติมได้ที่
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
‘บิ๊กโจ๊ก’ พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล ตำแหน่งใหญ่ขณะอายุน้อย บารมีมาก เส้นทางสีกากีติดไฮสปีด
15 ก.ย. 2566
3556
ถอดรหัส ‘Naatu Naatu’ เพลงประกอบหนังอินเดียฉากร้อง-เต้นใน RRR ได้ออสการ์-Golden Globes
13 มี.ค. 2566
6975
‘เอมิลิโอ เฟอร์นันเดส’ ชายผู้เป็นต้นแบบของตุ๊กตารางวัล ‘ออสการ์’
12 มี.ค. 2566
871
แท็กที่เกี่ยวข้อง
ThePeople
Social
กองอาสารักษาดินแดน
VDC