นายฮ้อย ซาลาห์ : ส่องทิศทางธุรกิจอาหารของประเทศไทย ในปี 2021
นายฮ้อยบอกกับเราว่า การที่เขาไม่พูดอะไรเลยมาตลอด 2 ปี กลายเป็นสิ่งที่ทำให้เขามองภาพรอบตัวได้อย่างละเอียดและกว้างขึ้น มันทำให้เขาตระหนักได้ว่าโลกนั้นหมุนเร็วกว่าเมื่อก่อนหลายเท่าตัว และ ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า สังคมของเรากำลังยืนอยู่บนคำว่า Globalization อย่างถ่องแท้ นึกไม่ออกเลยว่าคนที่บัญญัติคำนี้ขึ้นมาในปี ค.ศ. 1999 จะรู้สึกตกใจแค่ไหนเมื่อได้เห็นเทคโนโลยีในยุคปัจจุบัน
1) Growth Delivery System:
‘ทุกอย่างนั้นเกิดขึ้นอยู่และดับไป’ ...เป็นปีที่ยากลำบากของร้านอาหาร จากสถิติที่ Wongnai for Business เก็บไว้ โดยเฉลี่ยจะมีร้าน 7,000 ร้านต่อปีที่ปิดตัวลงจากระบบ แต่ในปีที่ผ่านมาจำนวนร้านปิดเพิ่มขึ้นถึง 2 เท่า แต่กลับกัน จำนวนร้านที่เปิดขึ้นมาใหม่ในระบบ ก็ดีดตัวสูงขึ้นกว่าปีที่แล้วกว่า 2-3 เท่าเช่นกัน ทั้งแบบมีหน้าร้าน และ ไม่มีหน้าร้าน โดยเฉพาะในตลาดเดลิเวอรีที่มาเร็วมากในปีที่ผ่านมา ซึ่งตอนนี้มีร้านอาหารอยู่ในระบบ LINE MAN มากกว่า 300,000 ร้าน นายฮ้อย กล่าว
ด้วยความที่เดลิเวอรีเป็นช่องทางที่สำคัญสำหรับธุรกิจอาหารมากขึ้น แม้ว่าปีก่อนผมเคยทำนายไว้ว่า Ghost Kitchen กำลังมา กลับปรับโฉมมากขึ้นในรูปแบบของ Cloud Kitchen ที่รวมเอาร้านอาหารมากกว่า 1 ร้านเอาไว้ในพื้นที่ครัวเดียวกันในรูปแบบของครัวกลาง มันทั้งสะดวกต่อการเดลิเวอรีอาหาร และช่วยประหยัดค่าส่งให้กับลูกค้า เพราะสามารถสั่งอาหารจากหลายร้านได้ในคราวเดียวกัน
ซึ่งในปี 2020 ที่ผ่านมา มีจำนวนร้านอาหารเกือบ 10,000 ร้าน ที่ไม่มีหน้าร้านจริง แม้กระทั่งแบรนด์ร้านอาหารใหญ่ ๆ เองก็เข้ามาตรงจุดนี้ ทำให้การเริ่มธุรกิจใหม่ หรือขยายสาขามีต้นทุนที่ถูกลงมาก และการแข่งขันก็ยิ่งรุนแรง
พฤติกรรมการชำระค่าอาหารก็เปลี่ยนไป โดยใน LINE MAN เรามีทางเลือกให้กับลูกค้าในการชำระค่าอาหารทั้งแบบ เงินสดและ E-payment พบว่าในปีที่ผ่านมามีผู้บริโภคหันมาชำระผ่าน E-payment ในจำนวนที่เติบโตมากขึ้นเรื่อย ๆ
2) Upcycled Foods และ Green Delivery Packaging:
อย่างที่ทราบดีถึงการเติบโตของธุรกิจเดลิเวอรีที่มีมากขึ้น ทำให้ขยะจากแพ็กเกจจิงเพิ่มมากขึ้นด้วย โดยเฉพาะวัสดุที่ไม่สามารถย่อยได้ในเวลาอันรวดเร็ว ทำให้ธุรกิจเดลิเวอรีหันมาสนใจเรื่องนี้พร้อมทั้งเริ่มเปลี่ยนแพ็กเกจจิงให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น รวมถึง Upcycled Foods (Upcycle = Upgrade + Recycling) กลายเป็นเทรนด์ที่จับตามองจากทั่วโลก โดยนำวัตถุดิบอาหารที่เหลือทิ้งกลับมาใช้ใหม่ ทำใหม่ให้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ หรือใช้ให้มากครั้งที่สุดก่อนเหลือทิ้ง ล่าสุดในสหรัฐอเมริกาได้ทดลองผลิตกากมอลต์ให้เป็นแป้งสำหรับทำอาหาร เรียกว่าดึงประโยชน์ออกมาใช้ให้มากที่สุด นอกจากไม่เหลือทิ้งยังเพิ่มมูลค่าได้อีกด้วย
3) In-Home Restaurant:
ในวิกฤตย่อมมีโอกาสเสมอ และนั่นทำให้เกิดร้านอาหารแบบ In-Home Restaurant ขึ้นมา ทั้งในรูปแบบของมากินข้าวบ้านเพื่อน หรือมากินเชฟเทเบิลในบ้านเชฟ ซึ่งมีร้านดัง ๆ เกิดขึ้นมาหลังคลายล็อกดาวน์
เช่น ร้าน “The Pasta Apartment” ของฟิลิปโป บอร์โตลาเมดิ เชฟชาวอิตาเลียนที่ต้องบอกลาร้านอาหารที่ทำงานอยู่แล้วหันมาเปลี่ยนห้องพักในอพาร์ตเมนต์ให้กลายเป็นร้านอาหารอิตาเลียนโฮมเมดให้เหมือนเรามากินข้าวบ้านเพื่อน หรือร้าน “อยากทำแต่ไม่อยากกิน” ของเชฟบิ๊กที่ใช้ชั้น 2 ของโรงพิมพ์ของครอบครัว เปิดเป็นเชฟเทเบิลที่มีครัว และโต๊ะอาหารเพียงโต๊ะเดียวไว้บริการ
นายฮ้อยทุบโต๊ะเบา ๆ สองที พร้อมปิดท้ายกับพวกเราว่า “ครัวซองต์ เป็น case study ที่น่าสนใจ” สอดคล้องกับพฤติกรรมการค้นหาร้านคาเฟ่บน Wongnai ที่มีการค้นหาอยู่มากกว่า 100,000 ครั้งในปีที่ผ่านมา รองลงมาเป็น ก๋วยเตี๋ยว และ ส้มตำ ตามลำดับ
ปัจจุบันนายฮ้อยเป็นแบรนด์แอมบาสเดอร์ของ LINE MAN Wongnai ในแคมเปญ FOOD HERO คุณจะได้เห็นความเท่ในแบบฉบับของวีรบุรุษที่ใส่ใจเรื่องอาหารการกิน เพื่อน ๆ ที่อ่านจนจบแล้วหิวสามารถสั่งอาหารผ่านแอปฯ LINE MAN เพราะอยากกินต้องได้กิน! จะร้านลับร้านใหม่ ไม่ว่าร้านไหน ๆ ก็มี เพราะมีมากกว่า 300,000 ร้าน สั่งเลย! https://lineman.onelink.me/1N3T/7e24ef81 (เฉพาะลูกค้าใหม่! ใส่โค้ด SINGLEHERO ส่วนลด 100 บาท เมื่อสั่งอาหารขั้นต่ำ 180 บาท สิทธิ์มีจำกัดต่อวัน ตั้งแต่วันที่ 25-29 มี.ค. 2564)