read
business
05 พ.ค. 2564 | 23:04 น.
จิราพร ขาวสวัสดิ์ แม่ทัพหญิงแกร่งของ “โออาร์” ผู้ใช้แนวคิดสร้างโอกาส เพื่อให้ทุกคนเติบโตไปพร้อมกัน
Play
Loading...
ถือว่าเป็นครั้งแรกของประเทศไทยที่บริษัทขนาดใหญ่อย่าง บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ โออาร์ ได้เปิดให้จองหุ้น
IPO
แบบ
Small Lot First
ซึ่งทำให้ประชาชนทั่วไปได้ร่วมเป็นเจ้าของบริษัทแห่งนี้กว่า 5 แสนราย
หนึ่งในผู้ที่มีส่วนสำคัญเบื้องหลัง
IPO
ครั้งประวัติศาสตร์นี้ คือ จิราพร ขาวสวัสดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ โออาร์ ผู้ซึ่งใช้แนวคิดการสร้างโอกาสให้ผู้คนและสังคมรอบข้างร่วมเติบโตไปพร้อมกัน เพื่อช่วยขับเคลื่อนองค์กรขนาดใหญ่มูลค่ากว่า 3 แสนล้านบาท ให้ก้าวไปข้างหน้าได้อย่างยั่งยืน
อะไรเป็นเหตุผลที่ทำให้เธอนำแนวคิดนี้มาใช้ในการบริหารจัดการองค์กรจนประสบความสำเร็จ ติดตามวิธีคิดและการบริหารในแบบ “จิราพรโมเดล” ได้จากบทสัมภาษณ์พิเศษนี้
The People
:
กว่าจะมาเป็นซีอีโอ โออาร์ คุณจิราพรมีจุดเริ่มต้นจากการเป็นนักบัญชีมาก่อน
จิราพร:
ดิฉันจบการศึกษาปริญญาตรีด้านวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาการบัญชีจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หลังจากนั้นศึกษาต่อปริญญาโท ด้านบัญชี สาขาวิชาการต้นทุนที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยเริ่มต้นเป็นนักบัญชีที่ ปตท. ซึ่งมีช่วงหนึ่งที่ ปตท. ส่งผู้บริหารสายงานบัญชีหรือการเงินไปเป็น
CFO
บริษัทในเครือ ช่วงนั้นเราก็คิดว่าคงต้องเตรียมตัว จึงได้ไปเรียนต่อปริญญาโท ด้านบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการบริหารการเงินที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
การเป็นนักบัญชีทำให้เป็นคนมีเหตุมีผล เริ่มต้นจากทำบัญชีเงินเดือนและบัญชีเงินยืมทดลอง จุดนี้เป็นสิ่งที่ดีมากสำหรับชีวิตการทำงาน เพราะทำให้ได้รู้จักคนและรู้จักงานที่หลากหลาย
การรู้จักคนเป็นเรื่องสำคัญ เพราะไม่ว่าจะเป็นการทำงานที่ยากลำบากอย่างไร หากว่ามีความคุ้นเคยกันก็จะช่วยให้ง่ายขึ้น ด้วยลักษณะการทำงานของเราที่เป็นการหาโซลูชั่นให้กับคนที่เราทำงานด้วย หรือถ้าหากเขาต้องการทราบว่าจะทำเรื่องใหม่ ๆ ให้ถูกหลักบัญชีหรือภาษีจะต้องทำอย่างไร ดังนั้น การทำงานหลัก ๆ จึงเป็นการหาโซลูชั่นให้กับทุกคน เพื่อให้งานของทุกหน่วยงานเดินได้อย่างถูกต้อง
The People
:
แนวคิดการทำงานปัจจุบันได้ใช้ประสบการณ์การเป็นนักบัญชีหรือไม่ แล้วนำมาปรับใช้ในเรื่องของการเป็นผู้บริหาร โออาร์
อย่างไร
จิราพร:
ไม่ว่าจะจบบัญชี จบวิศวกรรม จบสื่อสารมวลชน หรือสาขาอื่น ๆ สิ่งสำคัญก็คือ นอกจาก
Tactic
การทำงานด้วยหลักวิชาการ เรื่องการเข้าใจธุรกิจเป็นเรื่องสำคัญไม่แพ้กัน ต้องเข้าใจว่าทุกหน่วยงานมีหน้าที่อะไร และไม่ว่าเราจะอยู่ในส่วนที่เป็นหน่วยสนับสนุน เป็นทัพหน้า หรือเป็นผู้แทนขาย ทุกอย่างในองค์กรต้องสอดประสานไปด้วยกันเหมือนเป็นฟันเฟือง โอกาสดีอย่างหนึ่งที่ ปตท. มอบให้ก็คือ การทำงานทางด้านกลยุทธ์องค์กร ที่เปิดโอกาสให้สายงานบัญชี สายงานสื่อสารองค์กร หรือสายงานวางแผนกลยุทธ์องค์กรได้เข้ามามีส่วนร่วม ดิฉันเองก็ได้รับการคัดเลือกให้เป็นตัวแทนจากสายงานบัญชีให้ร่วมทำงานที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดวิสัยทัศน์ กำหนดแผนธุรกิจในอนาคตทั้งระยะ 5 ปี และ 10 ปี จึงเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ได้รับรู้ในเรื่องของกลยุทธ์องค์กร
ประกอบกับขั้นของการเติบโตในสายงานด้านบัญชี นอกจากเริ่มต้นจากทำบัญชีเงินเดือน บัญชีเงินยืมทดลอง ก็จะเป็นการทำบัญชีที่ส่งงบการเงินให้ผู้ตรวจสอบบัญชี หลังจากนั้นอีกขั้นหนึ่งคือ มาทำด้านบัญชีเพื่อการบริหาร ประกอบกับจังหวะที่ได้รับโอกาสมาทำงานด้านกลยุทธ์องค์กร เลยทำให้มีความเข้าใจ
Segment
ของแต่ละธุรกิจของ ปตท. ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจน้ำมัน ธุรกิจก๊าซธรรมชาติ ธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ หรือหน่วยสนับสนุนต่าง ๆ จึงทำให้นอกจากเข้าใจธุรกิจ หลักการและเหตุผลแล้ว ยังรู้ด้วยว่าเบื้องหน้าต้องทำอย่างไรเพื่อเพิ่มโอกาสการแข่งขัน หรือตอบโจทย์ของผู้บริโภคได้ดียิ่งขึ้น
The People
:
การที่
โออาร์
เป็นองค์กรที่เน้นเรื่องการพัฒนาบุคลากร คุณจิราพรมีหลักคิดในการบริหารคนอย่างไร
จิราพร:
โลกธุรกิจเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเทคโนโลยี พฤติกรรมผู้บริโภค คู่ค้า หรือลูกค้าของเรา การที่จะขับเคลื่อนองค์กรให้สำเร็จ คนถือเป็นทรัพยากรที่สำคัญ ไม่ว่าอะไรจะเปลี่ยนไปอย่างไร จะ
Disruptive
อย่างไร ธุรกิจจะเดินต่อได้ต้องมีคนเป็นฟันเฟืองสำคัญที่คอยคิด คอยกำหนด แล้วก็ปรับตัว ปรับวิถีการทำงาน
อีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญก็คือความยั่งยืนขององค์กร อย่างเราเองก็ต้องมีวันที่เกษียณ องค์กรจึงต้องเดินหน้าด้วยระบบ ไม่ยึดติดกับตัวบุคคล การถ่ายทอด การพูดคุยเพื่อให้เข้าใจวิสัยทัศน์ร่วมกัน มีแผนไปข้างหน้าร่วมกัน และการโค้ชชิ่งเป็นสิ่งที่ทำให้องค์กรยั่งยืน
ดิฉันเชื่อว่าทุกคนต่างมีคุณค่าต่อองค์กรทั้งนั้น เจ้าของสถานีบริการน้ำมัน
PTT Station
พนักงานที่สถานีบริการน้ำมัน แม่บ้านทำความสะอาด หรือบาริสต้า
Café Amazon
ล้วนเป็นคนสำคัญที่จะร่วมสร้างแบรนด์และส่งมอบผลิตภัณฑ์และบริการของเราถึงมือผู้บริโภค ทุกคนเป็นฟันเฟืองสำคัญที่ทำให้เกิดความสำเร็จ การถ่ายทอดและการรับฟังกันจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก ทุกวันนี้ โออาร์ มีพนักงานประมาณ 1,600 คน อายุเฉลี่ย 36 ปี มีคุณวุฒิหลากหลาย ทั้งปริญญาตรี ปริญญาโทจากสถาบันในประเทศและต่างประเทศ เราใช้หลักว่าต้องเปิดรับฟังซึ่งกันและกัน ต้องฟังอย่างเข้าใจ ฟังอย่างตั้งใจ ใครมีคำถามหรือสงสัย ต้องมีการชี้แจงให้ชัดเจน อธิบายเหตุผล ประสบการณ์ที่มากกว่าของรุ่นพี่หรือประสบการณ์ในอดีตไม่ได้การันตีความสำเร็จในอนาคตได้เสมอ ดังนั้น การรับฟังคนรุ่นใหม่ ส่งเสริมให้คนรุ่นใหม่เข้าใจบริบทองค์กร เข้าใจทิศทางข้างหน้า แล้วตัดสินใจอย่างมีเหตุผล เป็นเรื่องสำคัญที่จะทำให้องค์กรฝ่าวิกฤติได้ ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น
The People
:
คุณจิราพรอยากเห็นพนักงานของ
โออาร์
เติบโตไปอย่างไร
จิราพร:
ด้วยบริบททางด้านสังคม และสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป เราคงได้ยินว่าองค์กรเติบโตเดี่ยว ๆ ไม่ได้ ดังนั้น
โออาร์ จึงมีหลักการสร้างการเติบโตร่วมกับสังคมชุมชนอย่างยั่งยืน ในส่วนของธุรกิจที่เป็น
B2C (Business-to-Customer)
โออาร์ มีสถานีบริการน้ำมัน
PTT Station
ประมาณ 2,000 สาขา ร้าน
Café Amazon
3,300 สาขา ที่ใช้โมเดลธุรกิจบริหารงานโดยดีลเลอร์และแฟรนไชส์ซีถึง 80% อีก 20% โออาร์ ดำเนินการเอง นอกจากนี้ ยังมีธุรกิจในต่างประเทศอีก 10 ประเทศที่ใช้โมเดลธุรกิจเดียวกับไทย โดย โออาร์ ให้ความสำคัญกับสังคมชุมชนที่เติบโตไปพร้อมกับธุรกิจของ โออาร์ และสิ่งแวดล้อมรอบข้างต้องดีขึ้น
The People
:
หลัก
3C
ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างวัฒนธรรมและการพัฒนาบุคลากร เป็นอย่างไร
จิราพร:
เราใช้หลักของ 3C ตัวแรกก็คือ Culture วัฒนธรรมองค์กร โออาร์ เป็นองค์กรที่เป็น
B2C
มีลูกค้าเข้ามาใช้บริการสถานีบริการน้ำมัน
PTT Station
และร้านค้าต่าง ๆ ในเครือ โออาร์ เฉลี่ยประมาณ 3 ล้านคนต่อวัน ดังนั้น การรับฟัง การเข้าถึง การคำนึงถึงผู้อื่นก่อน ไม่ว่าจะเป็นหัวหน้า ลูกน้อง คู่ค้า ลูกค้า ตลอดจนชุมชนแถวนั้น เราต้องเข้าถึง เข้าใจ และช่วยกันพัฒนาทำให้ธุรกิจที่เขามีส่วนร่วมนั้นดียิ่งขึ้น อีกทั้งคนอื่นต้องเข้าถึงเราง่าย ไม่ว่าเราจะเป็นพนักงานตำแหน่งใด ต้องทำให้ลูกค้าเข้าถึงเราได้ง่าย เพราะว่าเขาคือคนที่รู้ข้อเท็จจริงในพื้นที่ รู้สภาพคู่แข่ง รู้สภาพชุมชน แล้วมาช่วยกันออกแบบธุรกิจ
C
ตัวที่สอง คือ
Capability
ศักยภาพความสามารถ โออาร์ จัดตั้งบริษัทขึ้นในปี 2561 แต่จริง ๆ แล้วเราทำธุรกิจนี้มากว่า 40 ตั้งแต่สมัย ปตท. ดังนั้นพนักงานของ โออาร์ ต้องมีศักยภาพ เราใช้วิธี
Re-skill
และ
Up-skill
ให้โอกาสในการอบรม ไปทำงานในต่างประเทศ เพื่อให้องค์กรได้
Diversify
ตัวสุดท้ายก็คือ
Capacity
จำนวนคน ซึ่ง โออาร์ ไม่ได้เน้นที่
Head Count
อย่างเดียว เราเน้นในเรื่องให้เขารู้จักการนำเทคโนโลยีมาใช้ปรับกระบวนการทำงานให้รวดเร็วขึ้น
The People
:
อยากให้พูดถึง “จิราพรโมเดล” ทำอย่างไรที่จะคำนึงถึงเรื่องของสิ่งแวดล้อม ผู้คน สังคม พร้อมหลักธรรมาภิบาลไปด้วยพร้อมกัน
จิราพร:
เราเน้นย้ำเสมอว่าองค์กรจะยั่งยืนได้ สังคมชุมชนต้องอยู่ได้ โดยใช้หลัก 3
P
คือ
People
ผู้คน
Planet
สิ่งแวดล้อม แล้วจึงตามด้วย Profit ผลกำไร
People
ไม่ใช่เฉพาะพนักงานของเรา แต่รวมถึงคู่ค้า ลูกค้า ผู้ถือหุ้น ผู้บริโภค สังคมชุมชนที่อยู่ตรงนั้น ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา
เราได้ริเริ่มโครงการไทยเด็ด โดย โออาร์ ช่วยพัฒนาและสนับสนุนสินค้าของวิสาหกิจชุมชน ช่วยเพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้าที่สถานีบริการน้ำมันของเรา ปัจจุบัน มีวิสาหกิจชุมชน กว่า 200 แห่ง ได้รับโอกาสในการนำสินค้ามาจำหน่ายผ่านสถานีบริการน้ำมัน
PTT Station
ทั่วประเทศ
อีกตัวอย่างหนึ่งคือโครงการ
Café Amazon for Chance
เราอยากให้ทุกคนมีคุณค่า มีความภูมิใจในตัวเอง ไม่เป็นภาระกับสังคม และมีรายได้ที่มั่นคง โดย โออาร์ เปิดโอกาสให้ผู้พิการทางการได้ยิน ผู้พิการทางเรียนรู้ ผู้สูงอายุ และทหารผ่านศึกได้มาเป็นบาริสต้าของร้าน
Café Amazon
เราช่วยปรับ
Process
และเทคโนโลยีในการทำงาน เช่น การใช้เครื่องชงกาแฟอัตโนมัติที่อำนวยความสะดวก รวดเร็ว และไม่ซับซ้อน หากลูกค้าไปที่ร้าน
Café Amazon for Chance
จะพบระบบการสั่งสินค้าผ่านหน้าจอทัชสกรีน ลูกค้าสามารถเลือกกดเครื่องดื่มที่ต้องการ บาริสต้าก็จะเห็นบนหน้าจอของเขาว่าลูกค้าสั่งอะไร หรือใช้อีกวิธีคือ ภาษามือ สำหรับบาริสต้าผู้พิการทางการได้ยิน โดยมีภาพอธิบายวิธีสั่ง ปัจจุบันเรามี
Café Amazon for Chance
11 สาขา และตั้งเป้าภายใน 5 ปี จะเพิ่มให้เป็น 200 สาขา
นอกจากนี้ ในสถานีบริการน้ำมัน
PTT Station
เราเปิด “พื้นที่ปันสุข” ให้เกษตรกรที่มีสินค้าล้นตลาดมาจำหน่ายฟรี ผู้ใช้บริการที่สถานีบริการน้ำมัน
PTT Station
สามารถเลือกซื้อสินค้าจากแหล่งของเกษตรกร ทำให้เกิดการส่งมอบโดยตรงต่อกัน
The People
:
มีสิ่งที่ทำแล้วรู้สึกว่าเป็นผลงานชิ้นโบว์แดงอยากจะเล่าให้เราฟังบ้างไหม
จิราพร:
สิ่งที่ภาคภูมิใจ คือ การที่ทำให้วิธีการคิดของทีมงาน โออาร์ เปลี่ยนแปลงไป นั่นคือ ถ้าองค์กรเปลี่ยน คุณต้องปรับ การปรับก็ต้องปรับที่
Mindset
ก่อน อย่างเช่น
IPO
ของ โออาร์ ต้องถือว่าเป็น
IPO
แรกของประวัติศาสตร์ตลาดหลักทรัพย์ไทยที่เปิดโอกาสให้นักลงทุนรายย่อยได้เป็นเจ้าของหุ้นโออาร์ มากที่สุด กว่า 5 แสนราย
นี่เป็นผลจากการเปลี่ยนหลักคิด ถ้าหากเป็นเมื่อก่อน การจำหน่ายหุ้นง่าย ๆ รวดเร็ว ราคามั่นคง จะจำหน่ายผ่านโบรกเกอร์ แต่เราบอกชัดเจนว่าวัตถุประสงค์การ
IPO
โออาร์ คือ ต้องการให้คนไทยที่สนับสนุนธุรกิจของ โออาร์ ตลอดมาได้มาเป็นเจ้าของ โออาร์ มากที่สุด อีกทั้งเราเปิดให้จองหุ้นยาวนานที่สุดในตลาดหุ้นไทย คือ 9 วันครึ่ง โออาร์ เปิดจองผ่าน 3 ธนาคารที่มีสาขาทั่วประเทศ และเปิดจองผ่านระบบออนไลน์ โดยใช้วิธีการกระจายหุ้น
Small Lot First
เพื่อความโปร่งใส ผู้ที่เข้าจองหุ้นโออาร์ทุกคนจะได้รับการจัดสรรได้ 300 หุ้นแรก หลังจากนั้นถึงจัดสรรแบบสุ่มวนไปทีละลอต โดยเฉลี่ยแล้วก็จะได้กันประมาณที่ 4,400 หุ้น และเมื่อเข้าตลาดหลักทรัพย์ในช่วงตรุษจีนที่ผ่านมา ราคาหุ้นโออาร์ก็สูงขึ้น จนมีคนเรียกว่า “หุ้นอั่งเปา”
อีกเรื่องหนึ่งที่ภูมิใจและพูดได้อย่างมั่นใจ ก็คือ การที่พนักงาน โออาร์ ของเราไม่ได้คิดถึงตัวเอง หรือ
Profit
ขององค์กรเท่านั้น แต่ยังคิดถึงประโยชน์ของสังคมชุมชนด้วย นอกจากนี้ เราให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจอย่างโปร่งใส เมื่อก่อนอาจมีข้อสงสัยว่าการเป็นดีลเลอร์ ผู้แทนจำหน่ายสถานีบริการน้ำมัน
PTT Station
หรือเป็นแฟรนไชส์ซีของ
Café Amazon
นั้นต้องมีเส้นสายหรือพรรคพวกหรือเปล่า เราก็ทำให้ขั้นตอนการสมัครชัดเจนขึ้น โดยเปิดรับสมัครผ่านเว็บไซต์ช่องทางเดียว ซึ่งจะทำให้ทุกคนที่สมัครเข้ามารับรู้ว่าเป็นลำดับที่เท่าไหร่ ได้รับการพิจารณาเมื่อไหร่ และจะได้รับคำตอบภายในกี่วัน
The People
:
การที่ โออาร์ เป็นเจ้าแรกที่ใช้วิธีการทำ
IPO
แบบนี้ จะสามารถก็เปลี่ยนแปลงแนวทางการเปิดขาย
IPO
ในประเทศไทยไหม
จิราพร:
ขอไม่ตอบเองดีกว่านะคะ แต่ผลที่เกิดขึ้นคือ โออาร์ ได้รับคำชื่นชมมาจาก กลต. ว่าหุ้นโออาร์ ถือเป็นหุ้นที่เปิดประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของหุ้นรัฐวิสาหกิจ หลังจากนี้ไป หากรัฐวิสาหกิจจะนำหุ้นของตัวเองออกมาจำหน่ายในตลาดหลักทรัพย์ ก็จะมีตัวอย่างให้เห็นแล้วว่าสามารถสร้างความเชื่อมั่นได้จริงว่าไม่ได้จัดสรรให้กับผู้ลงทุนรายใหญ่เป็นหลัก แต่จัดสรรให้กับคนไทยทุกคนอย่างเท่าเทียม ที่ผ่านมาไม่มีข้อร้องเรียนเลย ก็นับว่า โออาร์เป็นผู้ที่ปูทางเดินให้รัฐวิสาหกิจหรือบริษัทเอกชนที่ต้องการกระจายหุ้นให้ถึงประชาชนรายย่อย
The People
:
ช่วงต้นปี
2564 นี้ เป็นช่วงเวลาที่ทำให้คนไทยหันมาตื่นตัวเกี่ยวกับเรื่องของการลงทุนมากขึ้นอย่างชัดเจน มีเป้าหมายที่คาดหวังในการทำงานอย่างไรต่อไป
จิราพร:
ดิฉันให้ความสำคัญกับการคำนึงถึงองค์กรก่อนตัวเอง และเรื่องของคนคือสิ่งสำคัญ จะเน้นที่การสอนคน การโค้ชชิ่ง การเข้าถึงและเข้าใจพนักงาน องค์กรจะยั่งยืนได้ คนคือทรัพยากรที่สำคัญ แล้วต้องมีการส่งต่อกันรุ่นสู่รุ่น ในการทำงานเราเคยเป็นเด็กมาก่อน หากว่าเราได้รับการยอมรับในเรื่องที่เราเสนอ สิ่งที่เราคิดแล้วมีคำตอบ ทำได้หรือทำไม่ได้ อยากให้ทุกคนมีความตื่นเต้น กระตือรือร้นอยากมาทำงานในทุกวัน กลางคืนนอนหลับเต็มอิ่มเพื่อในตอนเช้าจะได้สดใส ความรู้สึกแบบนี้จะเกิดขึ้นได้เมื่อพนักงานรู้ว่าเขาได้รับความรู้สึกดี ๆ จากเพื่อนร่วมงาน ได้รับการยอมรับจากหัวหน้าว่าเป็นคนที่มีคุณค่า
The People
:
การที่คุณจิราพรเป็นเหมือนเป็นแม่ทัพของ
โออาร์
มีเป้าหมายที่จะทำให้
โออาร์
ก้าวสู่การเป็น
Global Brand
พร้อมกับส่งเสริมคู่ค้า ผู้ประกอบการรายย่อยของไทย
ให้ร่วมเติบโตไปด้วยกันอย่างไร
จิราพร:
กล่าวได้ว่าเป็นเรื่องสำคัญ เนื่องจาก โออาร์ เป็นบริษัทของคนไทย ที่มีวิสัยทัศน์จะเป็นแบรนด์ไทยชั้นนำระดับโลก สร้างคุณค่าร่วมให้กับสังคมชุมชน ผ่านการทำธุรกิจน้ำมัน ธุรกิจ
Non-Oil
หรือธุรกิจต่างประเทศ ปัจจุบันเราขยายไปยัง 10 ประเทศแล้ว ถือว่าเป็นตัวแทนสร้างความภาคภูมิใจให้คนไทย โออาร์ พร้อมที่จะนำพา
SMEs
ไทยไปเติบโตพร้อมกับเรา
ในปีนี้ โออาร์ เข้าไปซื้อหุ้นของบริษัท ปลูกผักเพราะรักแม่ จำกัด หรือว่าร้านโอ้กะจู๋ นั่นก็คือเราเห็นว่าเป็น
SMEs
ไทยมีความสามารถ มีผลิตภัณฑ์ที่ผู้บริโภคชื่นชอบ เป็นผลิตภัณฑ์ที่เน้นทางด้านของสุขภาพที่เป็นเทรนด์ปัจจุบัน ขาดเพียงการสนับสนุนจากบริษัทใหญ่เพื่อขยายธุรกิจต่อไป
ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเกิดได้
Mindset
ของคนทำงานจะต้องเปลี่ยน แต่ก่อนเราอาจจะบอกว่าสินค้าบางอย่างได้กำไรดี ขอเก็บไว้ทำเอง ซึ่งจะทำให้ปิดโอกาสคนอื่น แล้วไม่ใช่ทุกบริษัทที่จะเก่งในทุกเรื่อง ควรนำความเก่ง โอกาสทางธุรกิจมาเสริมกัน เปลี่ยนจากการทำเอง ลงทุนเองทั้งหมด มาเป็นการเข้าไปถือหุ้น ไม่จำเป็นต้องถือหุ้นเกิน 50% ไม่จำเป็นที่เราจะต้องไปควบคุม เพราะเราต้องเข้าใจว่า ผู้ก่อตั้งธุรกิจต้องภูมิใจและรู้สึกหวงแหน ดังนั้น แม้จะถือหุ้นน้อย เพียง 20% โดยที่มี
Mindset
มี
DNA
ตรงกันไปด้วยกันได้ โออาร์ สามารถเปิดโอกาสให้ได้เสมอ
The People
:
ที่ผ่านมาองค์กรใหญ่ ๆ หลายแห่ง ทำโครงการ
CSR
แบบการเข้าไปช่วยเป็นครั้ง ๆ แล้วจบไป อยากให้พูดถึงแนวคิดของ
โออาร์
ที่อยากจะช่วยสังคมให้ยั่งยืน และเห็นสังคมไทยเติบโตคู่กับ
โออาร์
ในแบบไหน
จิราพร:
ในสังคมไทยปัจจุบัน จะพบว่า 80% ของคนไทยอยู่ในภาคเกษตรกรรม ดังนั้นจะทำอย่างไรให้ภาคเกษตรกรรมเปลี่ยนเป็นเกษตรอุตสาหกรรม เมื่อเปลี่ยนเป็นเกษตรอุตสาหกรรม สิ่งที่เขาขาด คือตลาด ช่องทางการจำหน่าย หากบริษัทใหญ่ หรือบริษัทที่มีโอกาสทางธุรกิจช่วยเขาทำในเรื่องนี้ ช่วยเพิ่มโอกาสให้กับเขา แต่ต้องไม่เป็นไปในลักษณะการหาปลาให้เขากิน เราใช้วิธีหาคันเบ็ดแล้วก็บอกว่า ควรจะใช้เหยื่อแบบไหน คุณควรจะพัฒนาอย่างไร แล้วเราสอนวิธีการหาช่องทางให้พัฒนาแล้วไปด้วยกัน เพราะว่าหากเราให้ปลาเขากิน เหมือนโยนปลาแล้วหาย เท่ากับสูญเปล่า ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ที่สามารถนำไปต่อยอดได้
The People
: ในเรื่องของการทำงานตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน คุณจิราพรมีหลักคิดเป็น
Key Success
อะไรบ้างไหมที่อยากแบ่งปัน
จิราพร:
โดยส่วนตัวในแง่ของการทำงาน หากเป็นช่วงยังเป็นพนักงาน ไม่ได้เป็นผู้บริหาร คือ “วันนี้ต้องดีกว่าเมื่อวาน” หมายถึงงานวันนี้ต้องมีวิธีการ ต้องปรับปรุงให้ดีกว่าเมื่อวาน แต่พอเป็นผู้บริหาร นั่นคือการที่เราต้องรับผิดชอบไม่ว่าจะเป็นพนักงาน ไปจนถึงครอบครัวพนักงาน โออาร์ มีพนักงาน 1,600 คน พนักงานก็มีครอบครัว นั่นคือภาระที่เราต้องรับผิดชอบ ทำให้เขาฐานะทางเศรษฐกิจที่มั่นคง นอกจากนี้ ยังมีความรับผิดชอบต่อคู่ค้า ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม และเมื่อ
IPO
แล้วยังมีผู้ถือหุ้นรายย่อยอีกกว่า 5 แสนราย นั่นคือความรับผิดชอบของเรา เมื่อเป็นอย่างนั้น การที่นำพาคนให้ทำงานไปในทิศทางเดียวกัน เห็นวิสัยทัศน์ร่วมกัน ตอบรับแผนธุรกิจ วางกลยุทธ์ร่วมกันอย่างไร อันนี้เป็นเรื่องสำคัญ เมื่อผ่านขั้นตอนจากการเป็นพนักงานที่บอกว่ารับผิดชอบแค่ตัวเอง กลายเป็นว่าต้องนำคนให้เขาทำงานให้สำเร็จ กล่าวได้ว่าไม่มีอะไรยากเท่ากับการทำงานร่วมกับคน การที่เราให้ใจกับพนักงาน จริงใจกับเขา ทุกข์หรือสุขก็เล่าสู่กันฟัง จะทำให้เกิดความรู้สึกผูกพันกันมากขึ้น
ชมวิดีโอสัมภาษณ์พิเศษ จิราพร ขาวสวัสดิ์ แม่ทัพหญิงแกร่งของ
โออาร์
ผู้ใช้แนวคิดไม่ผูกขาดโอกาส เพื่อให้ทุกคนเติบโตไปพร้อมกัน ต่อได้ที่นี่
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
‘บิ๊กโจ๊ก’ พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล ตำแหน่งใหญ่ขณะอายุน้อย บารมีมาก เส้นทางสีกากีติดไฮสปีด
15 ก.ย. 2566
3556
ถอดรหัส ‘Naatu Naatu’ เพลงประกอบหนังอินเดียฉากร้อง-เต้นใน RRR ได้ออสการ์-Golden Globes
13 มี.ค. 2566
6975
‘เอมิลิโอ เฟอร์นันเดส’ ชายผู้เป็นต้นแบบของตุ๊กตารางวัล ‘ออสการ์’
12 มี.ค. 2566
871
แท็กที่เกี่ยวข้อง
ThePeople
PartnerContent
Business
OR
Jiraporn
Khaosawas