12 มิ.ย. 2564 | 23:05 น.
บทเรียนออนไลน์ “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง”
โครงการ “พลังคนสร้างสรรค์โลก รวมพลังตามรอยพ่อของแผ่นดิน” ปีที่ 9 โดยพันธมิตรจาก บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด มูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และภาคีเครือข่าย เดินหน้าส่งต่อศาสตร์พระราชา และหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงแก่ประชาชน ภายใต้แนวคิด “9 ปี แห่งพลังสามัคคี ฟันฝ่าทุกวิกฤต สู่ทางรอดที่ยั่งยืน” พร้อมขยายผลความสำเร็จสู่การเปิดตัวบทเรียนออนไลน์ “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” บทเรียนแรกของ “คู่มือสู่วิถีกสิกรรมธรรมชาติ” ซึ่งจะมีการเผยแพร่บนเฟซบุ๊กและเว็บไซต์ของโครงการอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้เกิดการปฏิบัติจริง โดยได้มีการจัดงานแถลงข่าวเปิดตัวโครงการตามรอยพ่อฯ ปีที่ 9 ไปเมื่อเร็ว ๆ นี้ ดร.วิวัฒน์ ศัลยกำธร นายกสมาคมดินโลก และผู้ก่อตั้งมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ กล่าวโดยรวมว่า ศาสตร์พระราชาคือ องค์ความรู้ในการจัดการดิน น้ำ ป่า และพัฒนาคน ซึ่งนำไปสู่ทางรอดของทุกวิกฤต เพราะประชาชนสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน ภายใต้รากฐาน 4 พอ ได้แก่ พออยู่ พอกิน พอใช้ และพอร่มเย็น ซึ่งแนวทางดังกล่าวได้แสดงผลลัพธ์เชิงประจักษ์ตั้งแต่เกิดวิกฤตโควิด-19 ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา หลังจากคนในชุมชนสามารถเลี้ยงชีวิตช่วงล็อกดาวน์ได้จากพืชพันธุ์ที่เพาะปลูกเอง โดยดร.วิวัฒน์ได้กล่าวเสริมว่า แท้จริงแล้วพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงเตือนสติคนไทยมากว่า 17 ปี ผ่าน ส.ค.ส. พระราชทาน ตั้งแต่ปี 2547 ด้วยข้อความว่า ‘สามัคคีเป็นพลังค้ำจุนแผ่นดินไทย’ เพื่อให้ประชาชนตระหนักถึงภัยอันตรายที่จะมาเยือนประเทศไทยอนาคต ไม่ว่าจะเป็นภัยธรรมชาติ โรคระบาด ความอดอยาก หรือความขัดแย้งในสังคม ซึ่งประชาชนที่ตระหนักและใช้ชีวิตตามรอยศาสตร์พระราชาจะสามารถช่วยเหลือตนเอง และนำกำลังไปช่วยเหลือผู้อื่นให้รอดพ้นจากวิกฤตได้อย่างยั่งยืน ด้าน นายไตรภพ โคตรวงษา ประธานมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ ได้เผยว่า มีการแบ่งทีมรับมือวิกฤตโควิด-19 ผ่านความร่วมมือของมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติและเครือข่ายทั้งหมด 5 ทีม ได้แก่