read
social
20 ส.ค. 2564 | 10:21 น.
‘ยัลดา ฮาคิม’ นักข่าวบีบีซีรับสายที่ไม่คาดคิดจากโฆษกตาลีบัน ‘ซาเฮล ชาฮีน’ ระหว่างที่เธอกำลังรายงานสดออกอากาศ
Play
Loading...
“คุณช่วยทำให้เราเข้าใจหน่อยได้ไหมว่า ตาลีบันมีแผนจะทำอะไรในขณะนี้และในอนาคต”
นั่นคือคำถามแรกที่ ‘ยัลดา ฮาคิม’ (Yalda Hakim) ผู้ประกาศข่าวและนักข่าวบีบีซีถามกับ ‘ซาเฮล ชาฮีน’ (Suhail Shaheen) โฆษกตาลีบันที่โทรเข้ามาหาเธออย่างกะทันหันระหว่างรายงานสดออกอากาศเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2021 หลังจากที่ตาลีบันยึดกรุงคาบูลได้สำเร็จ และประธานาธิบดีอัฟกานิสถานลี้ภัยออกนอกประเทศ
ท่ามกลางความตื่นเต้นและตกใจ ฮาคิมเปลี่ยนความร้อนรนเป็นโอกาสในการสัมภาษณ์เชิงลึก เพื่อหาคำตอบของเหตุการณ์ที่คนทั่วโลกต่างจับตาภายในระยะเวลา
การสัมภาษณ์ 32 นาที
“พวกเราขอรับรองกับประชาชนในอัฟกานิสถาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเมืองคาบูลว่า ทรัพย์สินและชีวิตของพวกเขาจะปลอดภัย” ชาฮีนกล่าว พร้อมยืนยันว่า “จะไม่มีการแก้แค้นใครทั้งสิ้น” นอกจากนี้โฆษกกลุ่มตาลีบันยังระบุว่า พวกเขาเป็นผู้รับใช้ของประชาชนและประเทศที่กำลังรอการเปลี่ยนผ่านอำนาจอย่างสันติ
แต่สำหรับชาวอัฟกานิสถานแล้ว ทุกคนล้วนตื่นกลัวกับการหวนคืนอำนาจของกลุ่มตาลีบัน หลังจากที่เคยยึดครองอัฟกานิสถานได้ในช่วงปี 1990 และมีการนำกฎหมายชารีอะห์ หรือกฎหมายอิสลามมาตีความอย่างเคร่งครัด นำมาซึ่งบทลงโทษที่รุนแรงในที่สาธารณะทั้งการปาหิน ตัดแขนตัดขา รวมไปถึงสั่งห้ามเด็กผู้หญิงไปโรงเรียน
นั่นทำให้ฮาคิมตั้งคำถามกับชาฮีนว่า ตาลีบันจะนำบทลงโทษและการประหารชีวิตในที่สาธารณะดังกล่าวกลับมาใช้อีกหรือไม่ ซึ่งชาฮีนตอบว่า ทั้งหมดขึ้นอยู่กับผู้พิพากษาที่จะถูกแต่งตั้งในอนาคต แต่เขายืนยันว่าอีกไม่นานประเทศจะกลับสู่การปกครองโดยกฎหมายอิสลามขั้นพื้นฐาน
หลังจากนั้น นักข่าวบีบีซียังคงยืนหยัดทำหน้าที่สื่อมวลชนอย่างเต็มที่ เธอถามโฆษกตาลีบันต่อเกี่ยวกับสิทธิและสวัสดิภาพของผู้หญิงและเด็กในประเทศ รวมไปถึงสิทธิในการเข้าถึงการศึกษา ซึ่งชาฮีนก็บอกว่าผู้หญิงและเด็กยังเข้าเรียนกันได้ตามปกติ แต่ฮาคิมตอบกลับเขาอย่างกล้าหาญว่า “ยกตัวอย่างในเมืองเฮรัต มีผู้หญิงบอกกับฉันว่า เมื่อวานตอนที่พวกเธอไปถึงหน้าประตูมหาวิทยาลัย นักรบตาลีบันกลับบอกให้พวกเธอกลับบ้านไป สรุปพวกเธอเข้าเรียนได้หรือไม่?” ซึ่งชาฮีนก็ตอบว่า “สิ่งที่ผมบอกคุณไปคือนโยบาย นโยบายที่จะให้ผู้หญิงไปเรียนและไปทำงานได้”
การสัมภาษณ์ยังคงดำเนินไปอย่างเข้มข้นสู่เรื่องอื่น ๆ เช่น การสวมฮิญาบของหญิงสาว ยัลดา ฮาคิม ส่งสายตาอันมุ่งมั่นผ่านกล้องตลอดการสัมภาษณ์ เธอมีความเป็นห่วงอนาคตของผู้คนในประเทศอัฟกานิสถานเป็นอย่างมาก เนื่องจากตัวเธอเองก็เกิดที่อัฟกานิสถาน ก่อนที่จะย้ายไปยังออสเตรเลียในปี 1980 และเริ่มต้นอาชีพสื่อในฐานะ ‘cadet journalist’ ของช่อง ‘SBS's World News Australia’ แถมในปี 2008 เธอยังเคยถ่ายทำสารคดีข่าว
‘Yalda's Kabul’
ให้กับช่วง ‘Dateline’ โดยยัลดาได้เดินทางกลับอัฟกานิสถาน เพื่อถ่ายทอดเรื่องราวในประเทศบ้านเกิดของเธอด้วยตัวเอง
จากการสัมภาษณ์สดของยัลดา ฮาคิม ทั่วโลกต่างหวังว่าการทำหน้าที่สื่อมวลชนของเธอจะทำให้ผู้คนในอัฟกานิสถานไม่ต้องกลับมามีชีวิตเหมือนในวันวานอีก
เรื่อง วโรดม เตชศรีสุธี
ภาพ
https://www.bbc.com/news/av/world-asia-58223530
Photo by Sergei Savostyanov\TASS via Getty Images
อ้างอิง
https://www.bbc.co.uk/programmes/profiles/1RCH9T7b5mgy4HmYCm1Sk9P/yalda-hakim
https://www.bbc.com/news/av/world-asia-58220305
https://www.bbc.com/news/av/world-asia-58223530
https://www.youtube.com/watch?v=GaHz3nFvFZg
https://womensagenda.com.au/politics/australian-reporter-yalda-hakim-receives-live-call-on-air-from-taliban-leader/
https://www.sbs.com.au/programs/video/11721795923/Yaldas-Kabul
https://www.sbs.com.au/news/sites/sbs.com.au.news/files/transcripts/381155_dateline_yaldaskabul_transcript.html
https://www.indy100.com/news/bbc-journalist-taliban-call-live-b1903333
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
UNGCNT-UN in Thailand เตรียมจัดงาน GCNT Forum 2024 กระตุ้นเศรษฐกิจ
20 พ.ย. 2567
4
เฉลิมฉลองเทศกาลคริสต์มาสและปีใหม่ในแบบฉบับยุโรปคลาสสิก ณ โรงแรมสยามเคมปินสกี้ กรุงเทพฯ
20 พ.ย. 2567
15
“ดีพร้อม” ผลักดันซอฟต์พาวเวอร์ ส่งเสริมสินค้าแฟชั่นไทย เสริมศักยภาพผู้ประกอบการสู่ระดับสากล
20 พ.ย. 2567
6
แท็กที่เกี่ยวข้อง
Social
Afghanistan
The People
Snapshot
อัฟกานิสถาน
BBC
Yalda Hakim