read
business
27 ส.ค. 2564 | 14:44 น.
ชุง จู-ยุง: หนีออกจากบ้าน ขโมยวัวไปขายเพื่อไปโซล จนมาเป็น ‘ฮุนได’ บริษัท 54,000 ล้านเหรียญฯ
Play
Loading...
ครั้งหนึ่งตอนที่
ผู้เขียน
ใช้ชีวิตอยู่ที่อเมริกา เพื่อนชาวเกาหลีใต้คนหนึ่งต้องไปรับพ่อแม่ที่สนามบินช่วงตอนเช้า เรานัดกันกินอาหารเที่ยงในวันเดียวกัน แต่ปรากฏว่าเพื่อนต้องโทรฯ มาแคนเซิลเลื่อนนัดไปเป็นกินอาหารเย็นแทน เพราะว่าบริษัทเช่ารถไม่มี ‘ฮุนได’ ให้ยืม และจะไม่ขับยี่ห้ออื่น เพราะนี่คือความภูมิใจของชาวเกาหลี
อะไรคือความภูมิใจของคนเกาหลีที่มีต่อแบรนด์ ‘ฮุนได’?
ฮุนได (Hyundai) บริษัทผู้ผลิตรถยนต์ที่ใหญ่ที่สุดในเกาหลี ในเว็บไซต์ Forbes ประเมินมูลค่าบริษัทราว 54,000 ล้านเหรียญฯ
(ประมาณ 1.7 ล้านล้านบาท ในวันที่ 13 พฤษภาคม 2021)
เริ่มมีชื่อเสียงมาตั้งแต่ช่วงปลายยุค 70’s จากรถยนต์รุ่น Hyundai Pony ที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้เป็นอย่างดี และช่วยทำให้พวกเขาเติบโตผ่านพ้นวิกฤตช่วงการเงินของเอเชีย
ในปี 1997
(
ที่บ้านเรารู้จักกันในชื่อวิกฤตการเงินต้มยำกุ้ง
)
แถมยังถือหุ้นของบริษัทรถยนต์รวมชาติอย่าง KIA ที่โตเป็นอันดับสองในประเทศในสัดส่วนถึง 33.88% อีกด้วย
แม้เบื้องหน้าจะมองเห็นความสำเร็จ เรื่องราวของฮุนไดไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ บนการเติบโตนี้มีความท้าทายและอุปสรรคเกิดขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่า บางทีแทบจะไร้ซึ่งความหวังด้วยซ้ำ
และเรื่องราวของฮุนไดเริ่มต้นจากชายหนุ่มผู้ไม่เคยยอมแพ้ชื่อ ชุง จู-ยุง (Chung Ju-yung) เขาเกิดในครอบครัวชาวนาที่ยากจนในเมืองเล็ก ๆ ทางเกาหลีเหนือ กับการพยายามหนีออกจากบ้านถึง 4 ครั้งพร้อมกับวัวของครอบครัวที่ถูกขโมยไปขายเพื่อซื้อตั๋วรถไฟไปกรุงโซล
ครอบครัวที่ยากจน
ชุง จู-ยุง เป็นลูกชายคนโตของครอบครัวเกษตรกรที่มีลูก 7 คนใน
เมือง Asan
เมืองเล็ก ๆ ทางตอนเหนือของประเทศ
เกาหลีในช่วงเวลาที่ยังไม่แบ่งเป็นเกาหลีเหนือ-เกาหลีใต้ (ห่างจากเส้นแบ่งเขตของเกาหลีประมาณ 45 กิโลเมตรไปทางเหนือ ปัจจุบันคือส่วนหนึ่งของเกาหลี
เหนือ
นั่นเอง)
เขาเกิดในปี 1915 ซึ่งเวลานั้นประเทศเกาหลีอยู่ภายใต้การปกครองอันเข้มงวดของญี่ปุ่น พ่อของเขาเป็นชาวนา ทำงานหามรุ่งหามค่ำ ส่วนแม่ดูแลลูก ๆ ที่บ้านและหารายได้เสริมเล็กน้อยด้วยการเลี้ยงหนอนไหมขาย สถานะทางบ้านต้องเรียกว่าปากกัดตีนถีบพอสมควร
แม้ฐานะการเงินทางบ้านไม่สู้ดีนัก ชุง จู-ยุง ก็ยังมีความฝันที่จะเป็นอาจารย์เมื่อโตขึ้น แต่สุดท้ายครอบครัวของเขาก็ส่งเรียนได้ถึ
งเกรด 5
เท่านั้น
(เทียบระบบการศึกษาไทยคือประถมศึกษาปีที่ 6 )
ซึ่งในสมัยนั้นต้องนับว่าเป็นความสำเร็จที่น้อยคนจะทำได้ โดยเฉพาะในเมืองที่เขาอยู่) ความฝันของเขาก็ต้องจบไป เขาต้องออกมาทำงานเลี้ยงสัตว์ ทำฟาร์มเกษตร ทำนากับพ่อ ในฐานะลูกชายคนโต เขาถูกคาดหวังว่าต้องดูแลงานตรงนี้ต่อและเลี้ยงดูน้อง ๆ อีก 6 คน แต่ในช่วงวันที่เขาพอจะมีเวลาว่างจากการทำงาน เขามักแวะเวียนไปที่โรงเรียนสอนปรัชญาขงจื๊อที่ปู่ของเขาสอนอยู่เสมอ
ชุง จู-ยุงค้นพบว่าตนเองชื่นชอบในเรื่องธุรกิจตอนที่เริ่มแบกฟืนไปขายในเมืองเพื่อหาเงินมาจุนเจือครอบครัว เขาเห็นว่าในเมืองมีธุรกิจมากมายที่เติบโต มีความเป็นอยู่ที่ดีกว่าฟาร์มในชนบทที่เขาอยู่ เขาได้อ่านหนังสือพิมพ์ ทำให้รู้จักเรื่องราวต่าง ๆ มากมาย จนกลายเป็นแรงบันดาลใจในการเริ่มทำธุรกิจของตัวเอง
สุดท้ายเขาก็เริ่มทนไม่ไหวกับความเป็นอยู่ของครอบครัวที่ยากจน ในตอนนั้นเขาคิดเพียงว่า ตอนนี้มีทางเลือกแค่สองทาง หนึ่ง, คือ อยู่ตรงนี้และเป็นชาวนาต่อไป หรือสอง, หนีออกจากตรงนี้ไปเพื่อสร้างเนื้อสร้างตัวให้ร่ำรวยเพื่อมาดูแลครอบครัวของเขาให้ได้
เขาตัดสินใจเลือกทางที่สอง ซึ่งทำให้เขาต้องวางแผนการหนีออกจากบ้านเป็นครั้งแรก
หนีออกจากบ้าน
ด้วยวัยเพียง 16 ปี เขาชวนเพื่อนคนหนึ่งแบกเสื้อผ้าเดินเท้าข้ามเขาหนีออกจากบ้านเพื่อไปหางานที่เมือง Kowon ซึ่งห่างจากเมืองที่เขาอยู่ประมาณ 25 กิโลเมตร ด้วยความรู้ที่ติดตัวเพียงน้อยนิดและไม่รู้จักใครเลยที่นั่น ทั้งคู่พยายามหางานอะไรก็ได้ที่เริ่มได้ทันทีโดยไม่ต้องมีเส้นสาย และสุดท้ายได้งานเป็นคนงานก่อสร้างในเมือง
แม้ว่าจะเหน็ดเหนื่อยเพียงใดเพื่อแลกกับรายได้ที่ได้มาเพียงน้อยนิด แต่ชุง จู-ยุง กลับรู้สึกพอใจกับชีวิตที่เขามีในเวลานั้น เขารู้สึกเป็นอิสระจากทางบ้าน
เพราะเขาสามารถ
ทำงานหาเลี้ยงตัวเองได้แทนที่จะทำสวนทำไร่ทำนาอยู่ที่บ้าน
ณ ที่แห่งนั้นเอง เขาเริ่มหลงใหลเกี่ยวกับวิศว
กรรม
โยธา สนุกกับการเรียนรู้เกี่ยวกับการสร้างตึก สะพาน ถนนหนทาง ระบบขนส่ง รวมไปถึงระบบสาธารณูปโภคต่าง ๆ อย่างเขื่อนและคลอง
ทุกอย่างไปได้สวยประมาณสองเดือน จนพ่อของเขาทราบข่าวว่าเขาอยู่ที่ไหนและมาตามตัวเขากลับบ้านไปในที่สุด
แต่ ชุง จู-ยุง ก็กลับมาอยู่ที่บ้านได้ไม่นาน ก่อนจะวางแผนกับเพื่อนอีก
สองคน
หนีออกจากบ้านอีกครั้งเพื่อจะเดินทางไปยังโซล แต่หลังจากเริ่มออกเดินทางได้ไม่นาน เพื่อนคนหนึ่งก็ถูกญาติมาตามกลับไปยัง Asan ทำให้เหลือเพียงสองคนที่ยังมุ่งมั่นเดินหน้าไปต่อ แต่ทุกอย่างก็ไม่ได้ราบรื่นอีกเช่นกัน ต่อมาไม่นานระหว่างทางที่พวกเขาหางานทำแต่กลับเจอสิบแปดมงกุฎมาหลอกเอาเงินที่ติดตัวของทั้งคู่ไปจนหมด ยังไม่พอ สุดท้ายเขาเจอพ่อจับได้และพาเขากลับไปที่ Asan อีกครั้ง
ครั้งนี้เขาอยู่บ้านประมาณหนึ่งปี กลับมาทำงานที่ฟาร์มกับพ่อ แต่ในหัวก็วางแผนการหนีออกจากบ้านเป็นครั้งที่สาม
วัวของพ่อ กรุงโซล และร้านขายข้าว
ในปี 1933 ตอนนั้น ชุง จู-ยุง อายุได้ประมาณ 18 ปี หลังจากทำงานที่บ้านมาได้สักพักใหญ่ เขาคิดว่าครั้งนี้ต้องหนีไปยังเมืองหลวงอย่างโซลให้ได้ แต่การหาเงินเพื่อซื้อตั๋วรถไฟไม่ใช่เรื่องง่าย
เขาจึงคิดแผนการหนึ่งขึ้นมา นั่นคือการขโมยวัว
ของพ่อตัวหนึ่งไปขายเพื่อเอาเงินมาซื้อตั๋วและหนีออกไปยังโซล
เมื่อเขาทำได้สำเร็จ ได้เดินทางไปที่นั่น เขาก็หวังว่าจะได้ทำงานเป็นนักบัญชีและสมัครเข้าเรียนที่โรงเรียนในเมืองหลวง แต่สุดท้ายพ่อก็มาตามเขากลับไปอีกครั้ง
แต่การกลับมาครั้งนี้ เขาอยู่ที่บ้านเกิดได้ไม่นาน พ่อของเขาเห็นความตั้งใจของลูกชายที่ต้องการออกไปเผชิญโลกกว้าง ที่ไม่ว่าจะไปตามกลับมาอีกกี่ครั้ง สุดท้าย ชุง จู-ยุง ก็จะหนีออกไปอีกอยู่ดี การออกจากบ้านครั้งที่สี่ ซึ่งถือเป็นครั้งสุดท้ายในปี 1935 พ่อของเขาตัดสินใจปล่อย ชุง จู-ยุง ไปตามหาความฝันของตัวเองจริง ๆ
คราวนี้ ชุง จู-ยุง ขึ้นรถไฟไปยังโซล เขามีโอกาสได้ทำงานที่หลากหลาย ตั้งแต่กรรมกรแบกหาม คนงานก่อสร้าง ช่างซ่อมในโรงงาน จนสุดท้ายมาเป็นพนักงานปั่นจักรยานส่งข้าวที่ร้านขายข้าวแห่งหนึ่งในโซล ซึ่งตอนที่เข้าทำงานเขายังปั่นจักรยานไม่เป็นด้วยซ้ำ แต่ก็ไม่ลดละความพยายาม เขาทำงานอย่างหนักและทุ่มเทให้กับสิ่งที่ทำ จนไต่เต้าขึ้นเป็นหัวหน้าในร้านได้ภายในเวลาไม่นาน กลายเป็นที่ชื่นชอบของลูกค้าและเจ้าของร้านอย่างมาก
สองปีต่อมาในปี 1937 ตอนอายุ 22 ปี เขาตัดสินใจกู้เงินเพื่อเข้าซื้อกิจการร้านขายข้าวจากเจ้าของที่ล้มป่วย ธุรกิจของเขาเป็นไปได้ด้วยดีอยู่หลายปี จนกระทั่งปี 1939 ญี่ปุ่นเริ่มมีกฎหมายควบคุมการซื้อขายข้าวเพื่อกักตุนสำหรับสงครามและเหล่ากองทัพของพวกเขา จึงทำให้ร้านขายข้าวของ ชุง จู-ยุง ต้องปิดตัวลงในที่สุด เขาจึงตัดสินใจย้ายกลับมาตั้งหลักที่บ้านเกิดอีกครั้ง จนกระทั่งปี 1940 เขาพยายามหาโอกาสทางธุรกิจที่ยังไม่มีกฎข้อบังคับจากรัฐบาลญี่ปุ่น และสามารถลงทุนได้ด้วยเงินไม่มากและสร้างกำไรได้เยอะ
สุดท้ายก็เจอ ซึ่งก็คืออุตสาหกรรมรถยนต์นั่นเอง
ชุง จู-ยุง กลับไปที่โซลอีกครั้งเพื่อเริ่มธุรกิจอู่ซ่อมรถยนต์ โดยเซ้งกิจการต่อจากเพื่อนอีกที เขาเปิดอู่ชื่อว่า ‘A-do Service Garage’ นี่เป็นครั้งแรกที่เขาก้าวเท้ามาสู่อุตสาหกรรมรถยนต์ และภายในระยะเวลาเพียง 3 ปี พนักงานของอู่ก็เพิ่มจาก 20 คนเป็น 70 คน เติบโตอย่างรวดเร็ว และทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ เขาให้สัมภาษณ์ภายหลังว่า “บางงานที่อู่ปกติใช้เวลาซ่อม 20 วัน ของเราใช้เวลาแค่ 5 วันเท่านั้น”
ชุง จู-ยุง เริ่มมีชีวิตที่ดีขึ้น และพี่น้องของเขาหลายคนก็เริ่มย้ายมาอยู่ด้วยกันที่โซล
แต่แล้วในปี 1943 รัฐบาลญี่ปุ่นก็ออกกฎบังคับให้อู่ซ่อมรถของเขาไปรวมกับโรงงานทำเหล็กเพื่อสนับสนุนสงครามโลกครั้งที่ 2
และนั่น
ก็เป็นอีกครั้งที่
เขาต้องกลับไปเริ่มต้นใหม่
จุดกำเนิดของฮุนได
หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 จบลงไป ตอนนี้เกาหลีใต้กลายเป็นอิสระจากญี่ปุ่นแล้ว ชุง จู-ยุง ก็เริ่มต้นอีกครั้งกับธุรกิจอู่ซ่อมรถยนต์ ครั้งนี้เขาตั้งชื่อมันว่า ‘Hyundai’ (ฮุนได) ที่แปลว่า ‘ทันสมัย’ ในภาษาอังกฤษ และในปี 1947 เขาก่อตั้งบริษัท Hyundai Civil Industries
(บริษัทรับเหมาก่อสร้าง)
โดยคาดการณ์ว่าต่อไปเกาหลีจะต้องมีความต้องการทางด้านงานก่อสร้างเพิ่มมากขึ้นหลังจากสงคราม และเขาก็คิดถูก
นี่คือช่วงเวลาที่เกาหลีกำลังฟื้นฟูประเทศ และก้าวไปข้างหน้า
นำไปสู่การก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานในสังคมครั้งใหญ่เพื่อรองรับการเติบโตของประเทศในอนาคต
ด้วยความช่วยเหลือจากน้องชายของเขาคนหนึ่งที่สื่อสารภาษาอังกฤษได้เป็นอย่างดี บริษัทของเขาได้รับสัญญาจ้างหลายงานจากรัฐบาลทหารสหรัฐฯ ในเกาหลีใต้ แต่ก็เหมือนโชคชะตายังเล่นตลกไม่เลิก ธุรกิจของเขาต้องมาหยุดชะงักอีกครั้งเพราะสงครามเกาหลีที่แบ่งขั้วเหนือ-ใต้ในปี 1950 ตอนนั้นเขาและน้องชายต้องทิ้งธุรกิจทุกอย่างและหลบ
หนีไปซ่อนตัว
เพื่อความปลอดภัย
เมื่อสงครามสิ้นสุดลงในปี 1953 เกาหลีถูกแบ่งออกเป็นสองขั้ว เกาหลีเหนือ-เกาหลีใต้ เขากลับไปที่โซลอีกครั้ง และบริษัทฮุนไดก็กลับมาตั้งต้นกันใหม่อีกรอบ ครั้งนี้เขาได้รับสัญญาจ้างมากขึ้นเรื่อย ๆ บริษัทเติบโตอย่างเห็นได้ชัด ไม่นานฮุนไดก็กลายเป็นหนึ่งในบริษัทรับ
เหมา
ก่อสร้างงานใหญ่ ๆ ในเกาหลีใต้
ในปี 1967 ฮุนไดรับงานสร้างเขื่อนโซยัง (Soyang) ที่เป็นเขื่อนสำคัญของประเทศ เพื่อใช้สำหรับการกักเก็บน้ำ สร้างพลังงาน และป้องกันน้ำท่วม (ก่อสร้างเสร็จในปี 1973)
ต่อมาในปี 1968 ฮุนไดได้รับงานสร้างทางด่วนคย็องบู (Gyeongbu Expressway) ซึ่งเป็นทางด่วนเก่าแก่อันดับสอง และเป็นทางด่วนที่มีการใช้งานมากที่สุดที่เกาหลีใต้ในตอนนี้ พวกเขาใช้เวลา 2 ปีในการก่อสร้างทั้งหมด ตอนนั้น ชุง จู-ยุง เริ่มเห็นว่า “ถ้าถนนคือเส้นเลือดของประเทศ รถยนต์ก็คือเลือดที่อยู่ในนั้น”
เส้นทางชีวิตของเขาถึงตรงนี้ ก็มาสู่จุดที่ไปไกลกว่าการมีอู่ซ่อมรถ เมื่อชุง จู-ยุง อยากผลิตรถยนต์เสียเอง
Hyundai Pony และวัวที่ขโมยไปถูกนำไปคืน
เป้าหมายอย่างหนึ่งของชุง จู-ยุง
คือความพยายามลดการพึ่งพาความช่วยเหลือจากต่างชาติ เขาเลยสร้างโรงงานผลิตอะไหล่รถยนต์ที่เมืองอุลซันขึ้นมา หลังจากนั้นเพียง 6 เดือน พวกเขาเริ่มผลิตอะไหล่สำหรับรถยนต์เพื่อขายให้กับลูกค้าในประเทศ
รถยนต์รุ่นแรกที่ถูกประกอบขึ้นโดยโรงงานของฮุนไดคือ Ford Cortina ซึ่งได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก
จนกระทั่งในปี 1974 ฮุนไดก็ตัดสินใจที่จะผลิตรถยนต์คันแรกของตัวเองขึ้นมา โดยการว่าจ้างวิศวกรชาวอังกฤษชื่อ George Turnbull อดีตกรรมการผู้จัดการของ Austin Morris มาช่วยงาน โดย Turnbull ได้นำวิศวกรผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตรถยนต์อีก 5 คนจากอังกฤษมาช่วยทำให้โปรเจกต์นี้เป็นความจริงขึ้นมาได้
พวกเขาใช้ประสบการณ์ ความสามารถ และความเชี่ยวชาญในการผลิตอะไหล่รถยนต์ที่ฮุนไดทำให้กับฟอร์ดเพื่อสร้างรถยนต์ในแบรนด์ตัวเองขึ้นมา
ในปี 1975 Hyundai Pony รถยนต์คันแรกของฮุนไดและคันแรกของเกาหลีใต้ก็ถือกำเนิดขึ้นในที่สุด
ในปี 1980
ฮุนไดเติบโตอย่างรวดเร็ว บริษัทกลายเป็นผู้เล่นระดับสากลและเริ่มแข่งขันกับผู้ผลิตรถยนต์
แบบดั้งเดิม (ที่เน้นเรื่องของแรงม้า โครงสร้างที่ใหญ่ หนัก และราคาสูง)
เราเห็น Hyundai Sonata รุ่นแรกเปิดตัวในปี 1985 และในปี 1986 Pony Excel ก็ได้กลายเป็นรถยนต์ฮุนไดรุ่นแรกที่จำหน่ายในอเมริกา เสียงตอบรับกลับมา
ดีมาก
เพราะรถยนต์ในแบรนด์ฮุนไดราคาประหยัดและเข้าถึงได้ง่าย แตกต่างจากรถยนต์ที่มีในตลาดเวลานั้น
[caption id="attachment_36499" align="aligncenter" width="987"]
Hyundai Pony
[/caption]
เมื่อประสบความสำเร็จทางด้านธุรกิจแล้ว ชุง จู-ยุง เริ่มคิดถึงเรื่องราวในอดีตที่เคยขโมยวัว เขาอยากแก้ไขเรื่องที่เขาทำเมื่อวันวาน ผ่านเป้าหมายหนึ่งของชีวิต
ในช่วงท้ายของชีวิต เขามีเป้าหมายหนึ่งในชีวิต นั่นคือ การผสานรอยร้าวระหว่างเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ เขาจึงลงสมัครเลือกตั้งประธานาธิบดี แต่สุดท้ายแพ้ไปในปี 1992 แต่ถึงอย่างนั้นก็ตาม เขายังคงมุ่งหน้าทำตามความฝันนี้และพยายามสานความสัมพันธ์ให้เกาหลีกลับมาเป็นประเทศเดียวกันให้ได้ ในปี 1998 ชุง จู-ยุง เป็นคนแรกในฐานะ
ประชาชนของเกาหลีใต้
ที่เดินทางข้ามเส้นแบ่งเขตประเทศหลังจากสงครามเกาหลีสิ้นสุดลง เพื่อจะแสดงน้ำใจต่อประชาชนที่ทุกข์ยากในเกาหลีเหนือ โดยนำวัวจำนวน 1,001 ตัวมอบเป็นของขวัญให้กับประชาชน เพื่อชดเชยให้กับการกระทำของเขาในอดีตที่เคยขโมยวัวของพ่อ
ชุง จู-ยุง เสียชีวิตลงในวันที่ 21 มีนาคม 2001 ถึงแม้ว่าเป้าหมายในการทำให้เกาหลีเป็นหนึ่งเดียวกันนั้นไม่ได้เกิดขึ้น แต่ทุกอย่างที่เขาสร้างขึ้นมา อุปสรรคที่เอาชนะผ่านมาได้ สำหรับชาว
เกาหลีใต้
แล้วเขาคือความภูมิใจอันยิ่งใหญ่ เลือดนักสู้ที่อยู่ในตัวของลูกชายชาวนาที่เกิดมาในครอบครัวที่ยากจน ไม่มีแต้มต่อในชีวิต เผชิญอุปสรรคกี่ครั้งต่อกี่ครั้งก็ยังกลับมาสู้ใหม่ กลายเป็นแรงบันดาลใจของทุกคนที่ได้ยินเรื่องเล่าของเขา
จึงไม่น่าแปลกใจที่ตอนนี้ฮุนไดกลายเป็นสัญลักษณ์ทางจิตวิญญาณแห่งนักสู้ของชาวเกาหลีใต้ เป็นความภาคภูมิใจที่แสดงให้เห็นว่าประชาชนและประเทศนี้มีศักยภาพมากมายขนาดไหน ผ่านการทำให้เห็นว่า สามารถผลิตรถยนต์ที่มีคุณภาพแข่งขันกับเจ้าอื่นในตลาดได้อย่างไม่น้อยหน้า
ฮุนไดกลายเป็นบริษัทชั้นนำของโลก นอกจากรถยนต์แล้ว พวกเขายังมีสินค้าและบริการมากมาย มูลค่าของแต่ละหน่วยธุรกิจของบริษัทมีมูลค่าหลายหมื่นล้านเหรียญฯ ในตอนนี้
ถ้าย้อนกลับไปดูจุดเริ่มต้น มันเป็นอะไรที่น่าเหลือเชื่อมากว่าทุกอย่างจะเริ่มต้นขึ้นจากเด็กผู้ชายลูกชาวนาคนหนึ่งที่มีความฝันอันยิ่งใหญ่ พยายามหนีออกจากบ้านครั้งแล้วครั้งเล่ากับวัวที่ขโมยของพ่อมาอีกหนึ่งตัว
เรื่อง: โสภณ ศุภมั่งมี
ภาพ: Getty Images
ติดตาม Instagram ของ The People ได้ที่
https://www.instagram.com/thepeoplecoofficial/
อ้างอิง:
https://www.hyundai.news/eu/articles/press-releases/over-50-years-of-progress-the-history-of-hyundai.html
https://youtu.be/xNxeLdRPTFk
https://www.statista.com/statistics/805132/south-korea-leading-car-manufacturer-market-share/
https://www.forbes.com/companies/hyundai-motor/?sh=8ce59a2ff3a6
https://medium.com/illumination/the-guy-who-stole-a-cow-and-ended-up-with-a-13-billion-empire-f187178178b
https://worldwide.kia.com/int/company/ir/info/shareholders
https://www.youtube.com/watch?v=_ljWQHcHKC4
https://biography.yourdictionary.com/chung-ju-yung
https://www.hyundai.com/eu/about-hyundai/brand-and-communication/Heritage.html
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
‘บิ๊กโจ๊ก’ พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล ตำแหน่งใหญ่ขณะอายุน้อย บารมีมาก เส้นทางสีกากีติดไฮสปีด
15 ก.ย. 2566
3531
ถอดรหัส ‘Naatu Naatu’ เพลงประกอบหนังอินเดียฉากร้อง-เต้นใน RRR ได้ออสการ์-Golden Globes
13 มี.ค. 2566
6960
‘เอมิลิโอ เฟอร์นันเดส’ ชายผู้เป็นต้นแบบของตุ๊กตารางวัล ‘ออสการ์’
12 มี.ค. 2566
846
แท็กที่เกี่ยวข้อง
Business
The People
Hyundai