ฑิฆัมพร ธรรมเที่ยง: เพราะแม่ไม่ให้ถ่ายภาพการชุมนุมที่ฮ่องกง เขาจึงเริ่มลงพื้นที่ชุมนุมในไทย และกลายเป็นช่างภาพสื่อเต็มตัว

ฑิฆัมพร ธรรมเที่ยง: เพราะแม่ไม่ให้ถ่ายภาพการชุมนุมที่ฮ่องกง เขาจึงเริ่มลงพื้นที่ชุมนุมในไทย และกลายเป็นช่างภาพสื่อเต็มตัว
“การชุมนุมที่ฮ่องกง เขาต่อสู้กับอำนาจและกำลังที่มาจากประเทศจีน มันเหมือนการต่อสู้กับอีกประเทศหนึ่ง แต่ของไทยเรา เรากำลังต่อสู้กับความคิดของคนไทยด้วยกันเอง”
สิ่งเหล่านี้คือการตกตะกอนถึงปัญหา และตระหนักถึงสิ่งที่ประชาชนไทยกำลังเผชิญอยู่ของ ‘เจ-ฑิฆัมพร ธรรมเที่ยง’ วัยรุ่นผู้ถูกแม่ห้ามไม่ให้ออกไปถ่ายภาพการชุมนุมที่ฮ่องกง แต่หลังจากที่เขาเดินทางกลับประเทศไทยด้วยความอัดอั้น ฑิฆัมพรได้เริ่มลงพื้นที่ถ่ายภาพการชุมนุมเป็นครั้งแรกที่แยกปทุมวัน และไม่เคยหยุดถ่ายภาพการชุมนุมอีกเลยนับจากวันนั้น จนกระทั่งกลายมาเป็นช่างภาพสื่อมวลชนที่มองการถ่ายภาพเป็นการบันทึกหลักฐานชิ้นสำคัญ เพื่อคัดง้างกับความอยุติธรรมที่รัฐมอบให้ประชาชน ปัจจุบัน ฑิฆัมพรรับหน้าที่เป็นช่างภาพของ ‘EyePress News’ เอเจนซีถ่ายภาพของฮ่องกงที่เชี่ยวชาญงานข่าวในทวีปเอเชีย ซึ่งเผยแพร่ทั้งภาพข่าว นิตยสาร รวมไปถึงสารคดี ส่วนในประเทศไทย ฑิฆัมพรทำหน้าที่ถ่ายภาพให้กับ ‘iLawClub’ องค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่มุ่งเน้นการแก้กฎหมายเพื่อความเท่าเทียม แต่กว่าเด็กชายผู้หลงใหลเพียงชัตเตอร์จะก้าวเข้าสู่สายงานช่างภาพสื่อมวลชน เขาต้องผ่านกระบวนการเรียนรู้และการพัฒนาความคิดหลายขั้น จนในที่สุดเสียงชัตเตอร์ก็นำทางเขาไปสู่การบันทึกประวัติศาสตร์ชิ้นสำคัญ โดยจุดเริ่มต้นของเส้นทางช่างภาพของฑิฆัมพรถูกจุดประกายตั้งแต่ครั้งที่แม่ห้ามเขาถ่ายภาพการชุมนุมที่ฮ่องกง ฑิฆัมพร ธรรมเที่ยง: เพราะแม่ไม่ให้ถ่ายภาพการชุมนุมที่ฮ่องกง เขาจึงเริ่มลงพื้นที่ชุมนุมในไทย และกลายเป็นช่างภาพสื่อเต็มตัว [caption id="attachment_37279" align="aligncenter" width="993"] ฑิฆัมพร ธรรมเที่ยง: เพราะแม่ไม่ให้ถ่ายภาพการชุมนุมที่ฮ่องกง เขาจึงเริ่มลงพื้นที่ชุมนุมในไทย และกลายเป็นช่างภาพสื่อเต็มตัว ฑิฆัมพร ธรรมเที่ยง (ถ่ายโดย Sirachai Arunrugstichai (Shin), Stringer at Getty Images)[/caption] แบกความผิดหวังจากฮ่องกงสู่เมืองไทย ฑิฆัมพร ธรรมเที่ยง เกิดที่ประเทศไทย แต่เดินทางไปอาศัยอยู่กับแม่ที่ฮ่องกงตั้งแต่อายุเพียงหนึ่งเดือน สองแม่ลูกได้สัญชาติฮ่องกงและอาศัยอยู่ที่นั่นเรื่อยมา กระทั่งฑิฆัมพรอายุได้ 9 ขวบ มีเหตุการณ์โรคซาร์สระบาดจนกระทบถึงธุรกิจครอบครัว ฑิฆัมพรจึงเดินทางกลับมาอยู่ที่ประเทศไทยถาวร แต่ยังคงบินกลับไปฮ่องกงอยู่ไม่ขาด “ปี 2562 ช่วงนั้นปิดเทอมก็เลยบินกลับฮ่องกง แล้วกลุ่มผู้ชุมนุมก็อยู่กันที่ใต้คอนโดฯ เราคิดว่ามันเป็นโอกาสที่ดีในการเก็บผลงานชีวิต เราก็จะลงไปถ่าย แต่แม่ไม่ให้ แม่กับญาติบอกว่ามันอันตราย ตำรวจที่นั่นป่าเถื่อน ก็เลยเสียดาย เราก็เก็บความเสียดาย ความอัดอั้นนี้เอาไว้” ฑิฆัมพรคลุกคลีกับการถ่ายภาพมาตั้งแต่จำความได้ เขามักจะหยิบมือถือขึ้นมาถ่ายภาพในฐานะตากล้องจำเป็นของครอบครัว กระทั่งเข้าเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาจึงได้ซื้อกล้อง DSLR เป็นของตัวเอง โดยเริ่มจากการถ่ายภาพทิวทัศน์และกิจกรรมโรงเรียน เมื่อเข้าเรียนระดับอุดมศึกษา ฑิฆัมพรก็ยังคงค้นหาแนวทางการถ่ายภาพของตนเองต่อไปไม่ว่าจะเป็นการถ่ายเบื้องหลังละคร ถ่ายภาพโฆษณา ถ่ายภาพคน รวมไปถึงถ่ายภาพข่าว “จนกระทั่งได้มาเข้าภาคโท JR (Journalism - วารสารสนเทศ) คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตอนปี 3 มันมีทีมข่าวออนไลน์ ก็เลยตั้งใจทำตำแหน่ง Photo Journalist หรือช่างภาพข่าว ประกอบกับตอนนั้นม็อบเยาวชนไทยกำลังเฟื่องฟู จำได้น่าจะเริ่มถ่ายครั้งแรก 16 สิงหาคม 2563 ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย คนเยอะมาก แล้วหลังจากนั้นก็ได้ถ่ายการชุมนุม ทำข่าวมากขึ้น มีโอกาสเข้ามาเรื่อย ๆ” จากการชุมนุมบนถนนราชดำเนิน ไม่ใช่แค่เพียงมวลชนชาวไทยที่ก้าวเดินไปข้างหน้าเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยเท่านั้น เพราะฑิฆัมพรเองก็ได้ก้าวเท้าเข้าสู่การทำหน้าที่ ‘สื่อ’ มากขึ้นทุกขณะ เขาได้รับการชักชวนไปถ่ายภาพให้กับกลุ่ม ‘เยาวชนปลดแอก - Free YOUTH’ ตามด้วย ‘iLawClub’ และเอเจนซี ‘EyePress News’  นับว่าการถ่ายภาพในที่ชุมนุมคือประสบการณ์ชั้นดี แต่ถึงอย่างนั้นการเป็นทั้งผู้ร่วมชุมนุม และเป็นสื่อก็มีเหตุการณ์ให้กังวลอยู่ไม่น้อย [caption id="attachment_37283" align="aligncenter" width="990"] ฑิฆัมพร ธรรมเที่ยง: เพราะแม่ไม่ให้ถ่ายภาพการชุมนุมที่ฮ่องกง เขาจึงเริ่มลงพื้นที่ชุมนุมในไทย และกลายเป็นช่างภาพสื่อเต็มตัว ภาพถ่ายที่ใช้ใน ‘นิสิต นักศึกษา’ (หนังสือพิมพ์ฝึกปฏิบัติของภาควิชาวารสารสนเทศ)[/caption] การชุมนุมในประเทศไทย “ตอนนั้นเราอยู่ตรงแนว คฝ. (ตำรวจควบคุมฝูงชน) แต่เราทำการบ้านมาระดับหนึ่งแล้วเรื่องการถ่ายภาพของสื่อในสนาม ด้วยความที่เตรียมตัวมาตั้งแต่ฮ่องกงแล้วโดนแม่ขัดขวาง ก็เอามาใช้ที่ไทยแทน เราจะไปอยู่ข้าง ๆ ไม่อยู่ตรงกลางระหว่าง คฝ. และผู้ชุมนุม สำหรับเรา เราเลือกเดินอยู่ฝั่ง คฝ. เพราะเราถือว่าเขาเป็นฝั่งกระทำที่อาวุธครบมือ มันปลอดภัยกว่า “กลัวที่สุดคือตอนที่ คฝ. ฉีดน้ำครั้งแรกที่แยกปทุมวัน ตอนนั้นเราถ่ายภาพให้ ‘นิสิต นักศึกษา’ (หนังสือพิมพ์ฝึกปฏิบัติของภาควิชาวารสารสนเทศ) ใจลึก ๆ มันแอบกลัว แต่หลัง ๆ กลับชินกับเจ้าหน้าที่รัฐ เราเตรียมชุดป้องกันก็เลยกลัวน้อยลง แต่ตอนนี้กลัวเป็นระเบิดแทน ระเบิดปิงปอง” ฑิฆัมพรเล่าให้ฟังถึงประสบการณ์ภาคสนามที่มีระเบิดปิงปองลอยมาตกในบริเวณใกล้เคียงจนเกิดอาการ ‘หูวิ้ง’ ชั่วขณะ แต่นั่นก็ทำให้เขาเก็บเกี่ยวประสบการณ์จากผู้ร่วมชุมนุม เพื่อน และพี่น้องสื่อได้มากมาย ฑิฆัมพร ธรรมเที่ยง: เพราะแม่ไม่ให้ถ่ายภาพการชุมนุมที่ฮ่องกง เขาจึงเริ่มลงพื้นที่ชุมนุมในไทย และกลายเป็นช่างภาพสื่อเต็มตัว “การทำงานของสื่อมีผลต่อเจ้าหน้าที่รัฐในระดับหนึ่ง เขาเลยพยายามกีดกัน ก่อนหน้านั้นรู้สึกว่าเจ้าหน้าที่รัฐยังไม่ได้ซีเรียสกับสื่อขนาดนั้น แต่พอมีภาพเจ้าหน้าที่ใช้ความรุนแรงมากขึ้น เขาก็พยายามใช้ทั้งไม้อ่อนและไม้แข็ง ไม้แข็งคือไล่ออกเลย ให้ไปอยู่หลังแนว คฝ. เพราะแนว คฝ. อยู่ไกล สื่อจะไม่เห็นแนวหน้า จะเก็บภาพความรุนแรงไม่ได้ หรือไม้นิ่มเขาก็จะสลับกัน ไม้นิ่มคือเขาจะเรียกเราว่า ‘พี่น้องสื่อครับ’ เราเป็นห่วงนะครับ ออกไปหน่อย ไล่เราด้วยน้ำเสียงที่นุ่มนวล” ฑิฆัมพรยกตัวอย่างเหตุการณ์ที่แยกดินแดงว่า วันไหนที่สื่อลงพื้นที่น้อย เจ้าหน้าที่รัฐจะใช้ความเร็วและรุนแรงกับสื่อและประชาชน โดยฑิฆัมพรเรียกว่าการ ‘ปิดเกมเร็ว’ ซึ่งบางครั้งกลับผิดหลักสากลในการสลายการชุมนุม ขณะที่ในวันที่สื่อเยอะ เช่น วันหลังจากที่เกิดเหตุรุนแรง สื่อมักจะลงพื้นที่มากกว่าเดิม เจ้าหน้าที่จะระมัดระวังมากขึ้น ดังนั้นจำนวนสื่อจึงถือเป็นอีกปัจจัยที่ส่งผลต่อการใช้ความรุนแรงของเจ้าหน้าที่ และกลายเป็นเหตุผลให้ฑิฆัมพรเข้าร่วมการถ่ายภาพชุมนุม เพื่อเป็นกำลังสนับสนุนให้เพื่อนสื่อด้วยกัน ฑิฆัมพร ธรรมเที่ยง: เพราะแม่ไม่ให้ถ่ายภาพการชุมนุมที่ฮ่องกง เขาจึงเริ่มลงพื้นที่ชุมนุมในไทย และกลายเป็นช่างภาพสื่อเต็มตัว ฑิฆัมพร ธรรมเที่ยง: เพราะแม่ไม่ให้ถ่ายภาพการชุมนุมที่ฮ่องกง เขาจึงเริ่มลงพื้นที่ชุมนุมในไทย และกลายเป็นช่างภาพสื่อเต็มตัว “อีกอันหนึ่งที่มองแล้วประหลาดมากคือ ช่วงที่เกิดข้อถกเถียงเรื่อง คฝ. ยิงน้ำว่า วิธีไหนคือวิธีที่ถูกต้อง เพราะมันมีภาพที่ คฝ. ยิงน้ำในองศาที่ขนานพื้น เล็งใส่ผู้ชุมนุม ซึ่งการยิงที่ถูกหลักสากล คือต้องยิงวิถีโค้งขึ้นฟ้าให้ตกไป คฝ. ยิงผิดหลัก สื่อก็เอาภาพมาถกเถียง กระทั่งวันหนึ่ง มันมีแนวสื่อ แล้ว คฝ. ส่งตัวคนยิงมาคนหนึ่ง มายิงวิถีโค้งหน้าสื่อให้เราถ่าย ทั้งที่ตรงหน้าแนวที่เขายิงมันไม่ใช่การสลายการชุมนุม เหมือนยิงโชว์ให้ถ่าย” ไม่ว่าจะเป็นภาพประกายไฟพุ่งออกจากกระบอกปืนของตำรวจในการสลายการชุมนุมที่แยกดินแดง เจ้าหน้าที่รัฐฉีดน้ำสลายการชุมนุมที่แยกปทุมวัน การแสดงละครล้อการเมืองของผู้ชุมนุม หรือการรวมตัวของประชาชนที่แยกเกษตร ทั้งหมดคือภาพไวรัลของฑิฆัมพรที่หลายคนอาจมีโอกาสได้เห็นผ่านตาบนหน้าสื่อของ iLaw และเยาวชนปลดแอก โดยเฉพาะในช่วงปลายปี 2563 มาจนถึงต้นปี 2564 แต่นอกจากความรุนแรงที่ฑิฆัมพรและประชาชนคนอื่นต้องพบเจอจากการปราบปรามผู้ชุมนุมที่มีสิทธิชุมนุมตามหลักประชาธิปไตย ภายใต้ความอันตรายเหล่านั้นยังมีสิ่งที่ฑิฆัมพรประทับใจอยู่ ไม่ว่าจะเป็นความเข้าอกเข้าใจ ความสามัคคี ความมีน้ำใจ มิตรไมตรี และความห่วงใยที่ผู้ชุมนุมส่งถึงกันระหว่างทางสู่อนาคตที่เท่าเทียม นั่นจึงทำให้ฑิฆัมพรยังเลือกเดินหน้าถ่ายภาพการชุมนุมต่อไป ฑิฆัมพร ธรรมเที่ยง: เพราะแม่ไม่ให้ถ่ายภาพการชุมนุมที่ฮ่องกง เขาจึงเริ่มลงพื้นที่ชุมนุมในไทย และกลายเป็นช่างภาพสื่อเต็มตัว สื่อ งานภาพ และการเรียกร้องประชาธิปไตย “การถ่ายภาพกับการทำงานสื่อก็คล้ายกัน การลงพื้นที่ การทำงานของนักข่าว มันคือตัวสะท้อนบริบทสังคมไทยว่า เราเป็นประชาธิปไตยแบบไหน ในขณะที่รัฐบอกว่าให้เสรีภาพ พอถึงเวลาจริงกลับถูกกีดกั้นและปิดกั้นจากเจ้าหน้าที่” หลังผ่านเหตุการณ์อันตรายในที่ชุมนุมมาหลายสนาม ฑิฆัมพรได้เปลี่ยนทัศนคติของตนเองไปตลอดกาล จากที่ช่วงแรกเขามองการถ่ายภาพในที่ชุมนุมเหมือนการเล่นกีฬาที่เต็มไปด้วยความท้าทาย แต่เมื่อเจ้าหน้าที่รัฐเริ่มใช้ความรุนแรงที่แยกปทุมวัน และยิงกระสุนใส่แนวสื่อที่แยกดินแดง ความคิดของเขาก็เปลี่ยนไป ฑิฆัมพรถ่ายภาพเหตุการณ์ตรงนั้นไว้ได้ และถูกนำไปใช้เป็นหลักฐานช่วงที่สื่อขึ้นศาลฟ้องเจ้าหน้าที่รัฐเรื่องการใช้ความรุนแรง “จังหวะนั้นเราตัดสินใจแล้วว่า ต้องทำหน้าที่นี้ให้ดี เป็นหูเป็นตาเพื่อความถูกต้อง ยังคิดอยู่เลยว่า ถ้าเกิดไม่มีสื่อหรือช่างภาพจับภาพนั้นไว้ มันจะเกิดความรุนแรงขนาดไหน หรือเจ้าหน้าที่ หรือใครก็ตามเขาจะทำตามใจชอบเขาหรือเปล่า โดยที่ไม่เกรงกลัวอะไร” ฑิฆัมพร ธรรมเที่ยง: เพราะแม่ไม่ให้ถ่ายภาพการชุมนุมที่ฮ่องกง เขาจึงเริ่มลงพื้นที่ชุมนุมในไทย และกลายเป็นช่างภาพสื่อเต็มตัว สำหรับฑิฆัมพร การถ่ายภาพในที่ชุมนุมจึงถือเป็นหลักฐานชิ้นสำคัญของประวัติศาสตร์การเมืองและสังคม รวมไปถึงประวัติศาสตร์ ‘ชีวิต’ นอกจากนี้ สิ่งที่สะท้อนผ่านการชุมนุมทุกครั้งยังรวมไปถึง ‘ความเป็นมนุษย์’ ที่ประชาชนทุกคนแสดงออก ฑิฆัมพรได้รับรู้ถึงปัญหาที่ตนเองไม่เคยประสบ ความเจ็บปวด ความสิ้นหวัง และความอดกลั้นที่เหมือนจะห่างไกล แต่กลับใกล้เกินคาดคิด “ถ้าคนเขาสบายจริง เขาคงไม่มาชุมนุมหรอก ก็คงไปทำมาหากิน ด้วยความที่เราเป็นชนชั้นกลาง ไม่ได้ขาดอะไร พอไปฟังคนอื่นเลยยิ่งทำให้เราตระหนักถึงปัญหา พูดง่าย ๆ คือเราไม่เมินเฉยอีกแล้ว “หรืออย่างตรงดินแดน หลายคนอาจจะมองกลุ่ม ‘ทะลุแก๊ส’ ว่ารุนแรง หรือในสื่อกระแสหลักก็อาจจะมีข้อจำกัดของแอร์ไทม์ ทำให้ผู้รับสารไม่เข้าใจปัญหาของกลุ่มคนเหล่านี้จริง ๆ มองว่าเขาเป็นตัวปัญหา แต่จากที่เราเข้าไปคุย มันเหมือนตอบคำถามเราในจุดนี้ว่า มันมีปัญหาที่ซ่อนอยู่ มันสะท้อนความล้มเหลวของสังคม ไม่ใช่สังคมแย่แบบนี้หรือถึงได้หล่อหลอมคนขึ้นมาเป็นแบบนี้ พอได้ฟัง เราก็เอาเรื่องของพวกเขาไปบอกต่อคนอื่น ๆ ได้” ฑิฆัมพร ธรรมเที่ยง: เพราะแม่ไม่ให้ถ่ายภาพการชุมนุมที่ฮ่องกง เขาจึงเริ่มลงพื้นที่ชุมนุมในไทย และกลายเป็นช่างภาพสื่อเต็มตัว ไม่ว่าจะเป็นปัญหาสังคม การเมือง การศึกษา แรงงาน สาธารณสุข เศรษฐกิจ การเกษตร หรือที่ดิน ทุกปัญหารวมกันอยู่ในการ ‘ชุมนุม’ โดยมีที่มาจาก ‘ทั่วประเทศ’ แม้ผู้ประสบปัญหาเดียวกันจะมาแลกเปลี่ยนพูดคุยจนเกิดความเข้าอกเข้าใจและการพึ่งพากัน แต่ ‘ปัญหา’ ก็ยังคงเป็น ‘ปัญหา’ และเป็นสิ่งที่ภาครัฐต้องเร่งแก้ไข เพื่อคืนคุณภาพชีวิตที่ดีแก่ประชาชน รวมไปถึงนำพาสิทธิ เสรีภาพ และความเท่าเทียมมาสู่ทุกคนภายใต้ระบอบประชาธิปไตย “จะพูดอีกรอบ และจะพูดตลอดไป สำหรับเรา วาทกรรมที่บอกว่าสื่อต้องเป็นกลาง จริง ๆ มันต้องเป็นธรรมหรือเปล่า? เป็นกลางไม่ได้ ในรัฐบาลชุดนี้ที่ไม่ได้มาด้วยความถูกต้อง ความเป็นกลางของสื่อมันใช้กับรัฐบาลนี้ไม่ได้ การเพิกเฉยมันไม่ได้ทำให้เราเป็นกลาง นี่คือสิ่งที่ช่างภาพข่าว นักข่าวต้องระมัดระวัง ต้องเตือนตัวเองตลอดเวลา” ฑิฆัมพรทิ้งท้ายถึงหน้าที่ของสื่อและตอกย้ำเป้าหมายในการทำงานของเขาเอง จากนี้ไปฑิฆัมพรจะยังเดินหน้าไปพร้อมช่างภาพสื่อคนอื่น ๆ และประชาชนผู้ต่อสู้เพื่อความเท่าเทียม โดยการบันทึกประวัติศาสตร์หน้าสำคัญลงบนภาพถ่าย รอคอยวันที่ประชาธิปไตยจะเบ่งบานในประเทศไทยอีกครั้ง ฑิฆัมพร ธรรมเที่ยง: เพราะแม่ไม่ให้ถ่ายภาพการชุมนุมที่ฮ่องกง เขาจึงเริ่มลงพื้นที่ชุมนุมในไทย และกลายเป็นช่างภาพสื่อเต็มตัว ฑิฆัมพร ธรรมเที่ยง: เพราะแม่ไม่ให้ถ่ายภาพการชุมนุมที่ฮ่องกง เขาจึงเริ่มลงพื้นที่ชุมนุมในไทย และกลายเป็นช่างภาพสื่อเต็มตัว เรื่อง: วโรดม เตชศรีสุธี ภาพ: ฑิฆัมพร ธรรมเที่ยง (Thikamporn Tamtiang) Sirachai Arunrugstichai (Shin), Stringer at Getty Images