read
politics
07 พ.ย. 2564 | 00:42 น.
ผศ.ดร.เกษรา ธัญลักษณ์ภาคย์: อยากให้กรุงเทพฯ น่าอยู่สำหรับทุกคน
Play
Loading...
ดร.ยุ้ย อดีตอาจารย์ประจำภาควิชาการธนาคารและการเงิน คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้เคยวางเป้าหมายจะเกษียณในเส้นทางวิชาการ
เตรียมเป็นศาสตราจารย์และฝันว่าจะเป็นคณบดีคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แต่มีจุดเปลี่ยนที่ต้องตัดสินใจออกจากการเป็นอาจารย์ ยุติความฝันเดิมที่เคยตั้งไว้ว่าจะเป็นศาสตราจารย์และคณบดี เมื่อคุณพ่อป่วยหนัก ดร.ยุ้ย ต้องเข้ามาดูแลกิจการของครอบครัว นั่งตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ
บริษัท เสนาดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน)
หลังเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 ดร.ยุ้ย เจอจุดเปลี่ยนที่ต้องตัดสินใจอีกครั้ง โดยเธอเล่าว่าครั้งนี้เป็นครั้งสำคัญไม่น้อยกว่าตอนที่ตัดสินใจออกจากการเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยแล้วมาเป็นนักธุรกิจ นั่นคือ การตัดสินใจมาเป็นทีมนโยบายของชัชชาติ สิทธิพันธุ์ เพราะอยากนำประสบการณ์มาช่วยแก้ไขปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัยของคนในกรุงเทพฯ และความเป็นอยู่ในชุมชนซึ่งมีคนหลายระดับโดยเฉพาะผู้มีรายได้น้อย
The People ได้มีโอกาสสัมภาษณ์ ดร.ยุ้ย - เกษรา ธัญลักษณ์ภาคย์ ผู้มากด้วยประสบการณ์ทั้งทฤษฎีและปฏิบัติด้านอสังหาริมทรัพย์และการเงิน กับชีวิตที่เลือกได้ว่าจะอยู่อย่างสบาย ๆ หรือมาทำงานที่สร้างความเปลี่ยนแปลงกรุงเทพมหานครให้ดีขึ้น
The People: ทำงานด้านธุรกิจจะนำเงินมาทำประโยชน์เพื่อสังคมด้วยก็ได้ แต่ทำไมเลือก
ทำงานเมือง
เกษรา:
บริษัทเสนา ไม่ใช่บริษัทเดียวที่ทำ CSR เราทำการกุศลคือการให้ ตอนแรงงานมีปัญหาจากสถานการณ์โควิด-19
เราดูแลช่วยเหลือด้วยการซื้อข้าวให้ แต่เราไม่ได้รับการแก้ไข้ปัญหาในลักษณะการทำนโยบายจากภาครัฐ
บริษัทโดยทั่วไป ทำ CSR โดยการให้เงิน อาหาร ความรู้ สถานที่ แต่ก็ไม่ได้แก้ปัญหาตรงจุด สิ่งที่จะทำให้แก้ปัญหาได้ดีที่สุดเราต้องเป็น regulator ในเคสนี้ก็คือ กทม. หรือ รัฐบาล ไม่งั้นก็ได้แค่ให้แบบการกุศลไม่ได้ช่วยแก้ไขปัญหาจากต้นเหตุจริง ซึ่งสิ่งที่เราอยากจะทำ คือเปลี่ยนจากการให้ เป็นการช่วยแก้ นี่คือสิ่งสำคัญที่เข้าไปทำ
ก่อนตัดสินใจมา
ทำงานเมือง
ได้ลงพื้นที่แคมป์คนงาน ได้สัมผัสมากสุดตอนเกิดโควิดแล้วมีการปิดแคมป์คนงาน ทหารมายืนอยู่หน้าแคมป์ คนงานไม่มีข้าวกิน มาบอกตอนเที่ยงคืน เราก็ไปดูแล ตอนนั้นไปคุยกับคนงาน ไปดูปัญหาจริง ๆได้สัมผัสเยอะมาก นั่นก็เป็นอีกเหตุผลที่ตัดสินใจมาเป็นทีมนโยบาย ทั้งที่จริง ๆ พี่ชัชชาติ ชวนมา 2 ปีแล้ว
The People: รัฐสามารถจัดการอะไรได้มากกว่าภาคธุรกิจต่อให้ภาคธุรกิจมีเงิน
เกษรา:
แน่นอนเพราะภาคธุรกิจไม่ได้มีความรับผิดชอบด้านนั้น ภาคธุรกิจหน้าที่หลักคือนำเงินผู้ถือหุ้นมาทำให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเมื่อมีกำไรแล้วก็แบ่งปันสังคมได้ แต่หน้าที่นักธุรกิจไม่ต้องรับผิดชอบว่าคนทุกคนในกรุงเทพฯ จะต้องมีที่อยู่อาศัย
วัตถุประสงค์ของนักธุรกิจ คือทำกำไรสูงสุด แต่วัตถุประสงค์ของ regulator กทม. คือจัดสวัสดิการความเป็นอยู่ของคนในพื้นที่ให้ดี วัตถุประสงค์กับเนื้องานคนละหน้าที่ ถ้าเราอยากจะแก้ปัญหา อยากให้สวัสดิการดีขึ้น อยากให้ชีวิตคนในเมืองดีขึ้น เราต้องไปอยู่ในฝั่งของคนที่มีหน้าที่นั้น
The People: ร่วมงานกับอาจารย์ชัชชาติครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรก
เกษรา:
เจอกันตอนเป็นอาจารย์อยู่คณะบัญชี พี่ชัชชาติอยู่วิศวะ แต่ทำงานเป็นทีมที่ปรึกษาของจุฬาฯ ร่วมกัน
ตอนพี่ชัชชาติเป็นผู้ช่วยอธิการบดี ฝ่ายจัดการทรัพย์สินจุฬาฯ ก็ไปทำงานกับเขา ประมาณ 4 ปี ก็สนิทกัน สมัยนั้นทำ สยามสแควร์วัน จามจุรีสแควร์ ฯลฯ ตอนพี่ชัชชาติเริ่มเข้าสู่วงการการเมือง เขามาเรียน MBA ซึ่งเราสอน MBA ยิ่งสนิทกันมากขึ้น ตอนเขาทำวิทยานิพนธ์ เราก็เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา
ส่วนตอนเป็นนักเรียนเป็นนิสิตไม่ทันเจอกัน จริง ๆ เป็นเด็กเตรียมอุดมศึกษาเหมือนกัน เรียนจุฬาฯ ก็มหาวิทยาลัยเดียวกัน แต่รุ่นห่างกันประมาณ 7 - 8 ปี รู้จักพี่ชัชชาติมา
ตั้งแต่อายุ 25
ก็
ครึ่งชีวิตเราแล้ว
ก็พอจะรู้ว่าเป็นยังไงกัน พี่ชัชชาติเป็นคนติดดินทำงานด้วยกันมา ภาพที่เป็นมีม (ถือถุงกับข้าว ไม่สวมรองเท้า) ก็เป็นตัวเป็นตนแกจริง
The People: เป็นเทรนด์ของนักธุรกิจยุคนี้หรือเปล่าที่ต้องเข้าสู่การเมือง
เกษรา:
อันดับแรกเราไม่ได้คิดว่าเป็นนักการเมืองนะ ยังไม่ใช่ เพราะจริง ๆ ก็ไม่ได้มีตำแหน่งอะไร แค่เข้าไปช่วยทำนโยบาย เป็นเทรนด์หรือเปล่าบอกไม่ได้ แต่คิดว่าคนที่มีพื้นฐานมาจากนักธุรกิจมีจุดแข็งคือเป็นนักปฏิบัติ การเป็นนักธุรกิจจะประสบความสำเร็จได้ต้องเป็นนักปฏิบัติ
ถ้ามีแต่คนคิด เป็นนักนโยบาย แต่ไม่มีนักปฏิบัติ ก็จะมีแต่นโยบายเป็นกระดาษ แล้วปฏิบัติไม่ได้ นโยบายที่ดีต้องปฏิบัติได้จริง
นักธุรกิจจะมีแค่ strategy โดยไม่มี execution ไม่ได้ นักธุรกิจมี strategy 30 เปอร์เซ็นต์ มี execution หรือการปฏิบัติ 70 เปอร์เซ็นต์
จึงจะประสบความสำเร็จ การมีนักธุรกิจเป็นส่วนผสมที่ไม่แย่สำหรับการทำงานเพื่อเมือง
สังคมอาจจะมองว่ามาเพื่อผลประโยชน์ แต่เรามองว่า ถ้าจะเอาผลประโยชน์ ไม่ต้องเป็นนักธุรกิจหรอก เป็นใครเข้าไปทำการเมืองก็คิดเรื่องผลประโยชน์ได้
The People:
งานนโยบายที่ ดร.ยุ้ย รับผิดชอบ
เกษรา:
สิ่งที่รับผิดชอบเป็นส่วนหนึ่งของ Better Bangkok โดยรวมเป็นการทำเรื่องชุมชน ไม่ได้แก้เฉพาะที่อยู่อาศัย แต่รวมเรื่องการกินดีอยู่ดี แก้ปัญหาสังคม โอกาสการศึกษา แก้ปัญหายาเสพติด
การทำให้กรุงเทพฯ เป็นเมืองน่าอยู่ของคนทุกคน คนรายได้น้อย คนรายได้ยังไม่มาก เช่น คนเพิ่งเรียนจบใหม่ มีโอกาสเข้าถึงสิ่งที่เป็นปัจจัยสี่ได้คือที่อยู่อาศัย
The People: คนที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ ไม่ใช่ทุกคนที่มีสิทธิ์โหวตผู้ว่าฯ กทม.
เกษรา:
เราไม่ได้เอาแต่เสียงโหวตเป็นหลัก เราอยากให้กรุงเทพฯ เป็นเมืองน่าอยู่ของคนทุกคน ไม่ใช่เฉพาะคนที่โหวตเราได้เพราะทุกอย่างเกี่ยวพันกัน
เราไม่ควรตัดคนที่ไม่มีสิทธิ์โหวตออก แล้วคิดว่าจะไม่ทำนโยบายสำหรับพวกเขา เราจะแก้ปัญหาสังคมได้จริงเหรอถ้าเราไม่สนใจคนที่ไม่ได้มีพื้นเพในกรุงเทพฯ
สถานที่กับชีวิตคน ทั้งสองส่วนอยู่ด้วยกัน ถ้าเราไปแยกตามทะเบียนบ้านแล้วเรามีนโยบายช่วยแค่คนที่มีทะเบียนบ้านในกรุงเทพฯ แต่คนที่ทะเบียนบ้านอยู่ต่างจังหวัดเราจะไม่ช่วยเขาก็ไม่ได้ เขาอยู่บ้านติดกันในชุมชน ถ้าบางคนมีปัญหาเรื่องรายได้แล้วมาก่ออาชญากรรมมาขโมยของเพื่อนบ้าน ก็จะทำให้คนในชุมชนเดือดร้อนอยู่ดี ต้องทำให้กรุงเทพฯ เป็นเมืองน่าอยู่สำหรับทุกคนทุกส่วน
The People: ความคาดหวังว่านโยบายจะเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ
เกษรา:
ที่มา
ที่เข้าทีมนี้ หวังว่า นโยบายที่เรากำลังคิดกันอยู่จะเป็นนโยบายที่เราจะนำไปปฏิบัติถ้าทีมเราได้ไปทำงาน เพราะนโยบาย
ที่คิดกัน
ต้องมั่นใจว่าปฏิบัติได้ และต้องมั่นใจว่ามีเงินทำได้
ถ้าคิดแล้วไม่มี
เงิน
ปฏิบัติไม่ได้ ไม่ต้องคิดหรอกเสียเวลา
นี่คือวิธีคิดแบบนักธุรกิจ
เราต้องคิดว่าทางออกนี้มันปฏิบัติได้จริงหรือเปล่า แล้วที่สำคัญคือ มีความสำคัญพอที่จะนำไปทำหรือไม่ ทุกอย่างมีลำดับความสำคัญทั้งสิ้น กทม. มีปัญหาเป็นล้านให้แก้ มีเงินเท่าไหร่ก็ไม่พอหรอก เพียงแต่ว่า เราจัดลำดับความสำคัญว่า การแก้ปัญหาอะไรสำคัญ เราไม่ได้ทำงานแค่ว่า มีนโยบายสวย ๆ ออกมาแล้วจบ เราทำงานกันในจุดที่ว่า สิ่งที่พูดไปแล้วทำได้จริง
หลังรับตำแหน่งในทีมนโยบาย ก็ลงพื้นที่เยอะจะได้ความรู้ใหม่ตลอดเวลา
รู้ในสิ่งที่ไม่มีทางรู้ได้ถ้านั่งโต๊ะ
ทำงานอย่างเดียว
ไม่ว่าจะเก่งแค่ไหน เพราะเราไม่ใช่คนในชุมชน แล้วชุมชน ก็มีหลายชนชั้น เราต้องไปสัมผัสเขา ไปนั่งดูเขาคุยกับคนอื่นฟังเรื่องที่เขาพูด
The People: งานวิชาการ งานบริหาร ถูกมองว่าเป็นงานบนหอคอยงาช้าง
เกษรา:
บางงานเรียกว่าอยู่บนหอคอยงาช้างก็ได้ แต่ไม่ใช่ทุกงาน เช่น งานที่ปรึกษา งานที่ไม่ต้องปฏิบัติ ไม่ต้องลงมือจริง เพียงแต่ใช้การอ่าน การฟัง การคิด การพูด พูดเสร็จก็จบแล้ว ไม่มีความเสี่ยงเกิดขึ้น
คนส่วนใหญ่ก็จะคิดว่า การเป็นอาจารย์มันดูห่างไกลกับภาคปฏิบัติ เรียนทฤษฎีแล้วค่อยมาปฏิบัติตอนเรียนจบ แต่จริง ๆ แล้วนักทฤษฎีก็จะมีการทำวิจัยว่าทฤษฎีนั้นสามารถนำไปใช้ได้จริงหรือเปล่า ศาสตร์ที่เป็น social science เช่น เศรษฐศาสตร์ การเงิน ซึ่งทฤษฎีไหนของ social science ถ้ามีแต่ทฤษฎีแล้วปฏิบัติไม่ได้ เราไม่ควรจะเรียกว่าทฤษฎี เพราะไม่มีประโยชน์ นักวิชาการก็ไม่ได้สนใจแต่งานวิชาการ เราสนใจว่ามันนำไปปฏิบัติได้หรือเปล่า
ในส่วนด้านการทำธุรกิจ โดยเฉพาะการเป็นเจ้าของกิจการเอง การทำงานขึ้นอยู่ที่เรา โทรสั่งงานอย่างเดียวก็ได้ ไปไซต์งานบ่อย ๆ ก็ได้ แล้วแต่คนจะใช้วิธีไหนแล้วประสบความสำเร็จ เพราะแต่ละบริษัทมีความแตกต่างกัน ซึ่งธุรกิจของเราเป็นธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เป็นเรื่องสถานที่ ไม่ใช่ขายสินค้าที่เคลื่อนย้ายได้ ถ้าไม่ลงพื้นที่ก็จะไม่เห็นสินค้าตัวเองเป็นยังไง ดังนั้น น้อยมากที่เจ้าของบริษัทแล้วไม่ลงพื้นที่
เพียงแต่เนื้อหาการลงพื้นที่ จุดประสงค์การลงพื้นที่ต่างจากเดิม เมื่อก่อนลงเพื่อปรับปรุงสินค้า ปรับปรุงกระบวนการเพื่อทำกำไรมากขึ้น แต่เดี๋ยวนี้ลงไปในอีกมิติ เพื่อจะเข้าใจว่าคนในพื้นที่นั้น ๆ มีปัญหาอะไร จะแก้อย่างไร
เวลาทำงาน
อสังหา ปัญหา
คือที่อยู่อาศัย
มีเยอะเกินความต้องการไปมาก (oversupply) ในทางกลับกันเวลาเราทำงานชุมชน เรากำลังตั้งคำถามกลับกันว่า ทำไมชุมชนถึงไม่มีบ้านอยู่
ในทางหนึ่ง oversupply มีสินค้ามากกว่าความต้องการ ในขณะเดียวกันเดินไปอีกไม่กี่ก้าว เปลี่ยนคำถามว่า ทำไมมีคนตั้งเป็นล้านคนที่ต้องการที่อยู่อาศัย แต่ไม่มีอสังหาให้เขา
คำตอบคือกลไกตลาดทำงานไม่ครบถ้วน สินค้าที่คนผลิตเยอะมีคนซื้อจำกัดขณะเดียวกันสินค้าที่คนอยากได้เยอะ ๆ คนผลิตไม่ผลิตเพราะกลไกตลาดไม่สามารถทำให้นักธุรกิจทำได้
ตอนนี้กรุงเทพฯ มีประมาณ 2,000 ชุมชน มีชุมชนจัดตั้ง (ลงทะเบียน) และไม่จัดตั้ง (ไม่ลงทะเบียน) ทุกชุมชนมักจะมีปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัยที่ไม่มั่นคง เช่น ชุมชนริมคลอง คนเหล่านี้อยากมีที่อยู่อาศัยที่มั่นคง อยากซื้อที่อยู่อาศัย
ส่วนนักธุรกิจ
อสังหาฯ
อยากขายไหม ก็คงอยาก แต่ทำไมไม่ match จริง ๆ ก็เพราะกลไกตลาดมันไม่สามารถทำงานได้มีประสิทธิภาพครบกลุ่มเป้าหมายเพราะความเหลื่อมล้ำทางรายได้มีมาก แล้วคนในชุมชนก็มีกำลังซื้อจำกัด เขาไม่สามารถซื้อ
อสังหาฯ
ในราคาที่เขาอยากซื้อได้ นักธุรกิจก็ไม่สามารถที่จะทำ
อสังหาฯ
ในราคาที่เขาอยากซื้อได้
นอกจากนั้นมีอีกเงื่อนไขคือ สถานที่ที่เขาต้องอยู่ใกล้งาน เพราะแหล่งงานอยู่ตรงนั้น เช่น ชุมชนทองหล่ออยู่ใกล้ทองหล่อ แต่เราจะทำราคาทองหล่อเป็น 4 - 8 แสนต่อยูนิตได้เหรอ เป็นไปไม่ได้
ดังนั้น มีหลายปัจจัย ถ้าปล่อยให้กลไกตลาดทำงาน คือ เอกชนทำไป รัฐไม่ต้องยุ่งอะไร คนกลุ่มนี้คงยากที่จะซื้อบ้านได้ เพราะความสามารถในการซื้อเขามีจำกัด ขณะที่ต้นทุน
อสังหาฯ
แพงมาก เราต้องเข้าใจสิ่งนี้ สำคัญสำหรับคนทำนโยบาย ในฐานะนักการเงินกับ
อสังหาฯ
เข้าใจสิ่งนี้ไม่ยาก ปล่อยให้เอกชนทำเองไม่ได้ ไม่เกิดขึ้นแน่นอน เมื่อเอกชนทำไม่ได้ ก็ต้องมีมือของรัฐเข้าไปแทรกแซงเพื่อให้เกิดขึ้น ก็คือ นโยบายของรัฐนั่นเอง
ประสบการณ์ด้าน
อสังหาฯ
และการเงิน ช่วยมากในการที่ทำให้เราเห็นปัญหาได้โจ่งแจ้ง เข้าใจไม่ยากเลย เพื่อหาวิธีแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้อง
The People: รูปธรรมคือให้คนที่อยู่ในกรุงเทพฯ เข้าถึงที่อยู่อาศัยได้
เกษรา:
สามารถมีที่อยู่อาศัยได้ ไม่จำเป็นต้องซื้อ อาจจะเช่าระยะยาวก็ได้ คือ สามารถมีที่อยู่อาศัยที่มั่นคงตามศักยภาพของตนได้ ธีมของ Better Bangkok คือ ต้องการให้กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่น่าอยู่ของคนทุกคน คำนี้มีความหมายที่ใหญ่มาก น่าอยู่ไม่ใช่แค่น่าเที่ยว เรามักจะได้ยินว่า กรุงเทพฯ คือเมืองสวรรค์สำหรับคนที่มีคอนเนคชั่นและมีเงิน ก็คือ กลุ่มบน ๆ
แต่ถ้าจะให้กรุงเทพฯ เป็นเมืองน่าอยู่สำหรับทุกคน แสดงว่า ทั้งสามเหลี่ยมไม่ว่าจะเป็นคนกลุ่มบน หรือกลุ่มล่าง กรุงเทพฯ ก็ต้องเป็นเมืองที่น่าอยู่เหมือนกัน ทั้งการเข้าถึงระบบสาธารณสุข การศึกษา การมีที่อยู่อาศัย อะไรที่กลไกตลาดทำงานได้ก็ปล่อยเขาไป เช่น ที่อยู่อาศัยราคา 3 - 4 ล้านบาท ไม่ต้องไปยุ่งอะไรกับเขา เราไปดูเฉพาะสิ่งที่กลไกตลาดยังไม่ทำงาน
The People: เตรียมการอย่างไรกับนโยบายเกี่ยวกับผังเมือง
เกษรา:
กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่มาไกลมากเกินกว่าที่จะเอาผังเมืองมาแก้ได้เร็ว ๆ แต่ไม่ได้หมายความว่าจะไม่เอาผังเมืองมาช่วย เราอาจจะมี satellite city ในพื้นที่ที่ไกลหน่อย กระจายแหล่งงาน กระจายปัญหารถติด
หรือเราอาจจะทำผังเมืองเวอร์ชันพิเศษ เป็นกลไกตลาดให้เอกชนสามารถทำบ้านราคาไม่แพงให้กับคนที่มีรายได้น้อยได้ เป็นการ subsidy สิทธิ์ ซึ่งปกติมีเงื่อนไขที่เอกชนทำไม่ได้ แล้วถ้าเราเป็น กทม. เราสามารถให้ทำได้ เพื่อให้คนมีรายได้ไม่เกิน 8,000 บาท มีที่อยู่อาศัยราคาไม่เกิน 7 แสน แล้วผังเมืองนี้ให้เงื่อนไขที่ทำได้ในต้นทุนต่ำลง
บางทำเล ที่บางแปลงมีเว้นเป็น 100 ปี แต่ทำอะไรไม่ได้ ติดกฎที่เอกชนทำไม่ได้ แต่ถ้ากทม.อนุญาตก็ทำได้ เป็นรูปแบบหนึ่งที่สามารถทำได้ เพื่อเป็นประโยชน์กับคนที่มีรายได้น้อย
The People: เป็นคนกรุงเทพฯ เห็นความเปลี่ยนแปลงของกรุงเทพฯ ครั้งสำคัญคือช่วงไหน
เกษรา:
ก่อนอินเตอร์เน็ต กับ หลังอินเตอร์เน็ต การที่เทคโนโลยีขึ้นมาแบบก้าวกระโดดในช่วง 4 - 5 ปีที่ผ่านมา เป็นช่วงที่มีความเปลี่ยนแปลงมาก การเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ทำให้เกิดการมีส่วนร่วมที่เปลี่ยนไป เราคงไม่คาดคิดหรอกว่าจะมีเด็กมาทำอะไรได้เยอะขนาดนี้ ถ้าไม่มีโซเชียลมีเดีย
เขาติดต่อกันยังไง เขาแชร์ความเห็นกันยังไง เอาง่าย ๆ สมัยยังไม่มีอินเตอร์เน็ตมีแค่ทีวีช่อง 3 5 7 9 เอง วันหนึ่งดูทีวีได้ไม่กี่ชั่วโมงและดูได้ไม่กี่อย่างเอง มีการคอนโทรลโดยรัฐด้วย
ถ้าไม่มีการเปลี่ยนแปลงนั้นจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงในเชิงสังคมเกิดขึ้นเลย ซึ่งปัญหาบางอย่างสามารถใช้เทคโนโลยีช่วยแก้ปัญหาได้
The People: เลือกได้ที่จะอยู่แบบสบาย ๆ กับทำไมมา
ทำงานเมือง
ซึ่งมีราคาที่ต้องจ่ายไม่น้อย
เกษรา:
มีคนเตือนเยอะไม่มีใครไม่เตือนเลยว่า เตรียมตัวยังจะมีคนขุดคุ้ย เตรียมตัวยังว่าจะมีคนด่า
The People: เตรียมรับมืออย่างไร คิดว่ากรณีแย่สุดคืออะไร จะ
กระทบ
ธุรกิจของครอบครัวไหม
เกษรา:
ตอบยาก ตอนนี้คิดแค่ว่า ตัวเองไม่สามารถจะเป็น regulator เองได้ ไม่สามารถจะเก่งแบบพี่ชัชชาติ ที่จะบอกว่า ผมจะเป็นผู้ว่าฯ
เราทำเองไม่ได้ ไม่สามารถจะเริ่มต้นบอกว่า เกษราขอลงผู้ว่าฯ กทม. - ยังทำไม่ได้ แต่วันนี้เรามีโอกาสที่ดี กับคนที่เราไว้ใจ กับคนที่เราสนิท ครึ่งชีวิตที่เรารู้จักกันมา ให้มาทำในสิ่งที่เรารู้สึกว่ามีประโยชน์ มันเป็นโอกาสใช่ไหม
แล้วก็รู้สึกว่า ถ้าเราปฏิเสธโอกาสนี้ เราก็อยู่ของเราไป ขายบ้านไป ทำธุรกิจไปเรื่อย ๆ ก็ยอมรับว่ามีชีวิตที่สบาย สิ้นปีไปเที่ยวต่างประเทศอะไรก็ว่ากันไป แต่ตอนเกษียณ คงจะเสียใจ
เราปล่อยโอกาสนั้นไป เพราะแค่ว่า เราไม่อยากออกจาก comfort zone เดิม
The People: ครอบครัวมองอย่างไรกับการที่อาจารย์ยุ้ยมา
ทำงานเมือง
เกษรา:
ไม่มีใครเห็นด้วยเลย ครอบครัว คนรอบตัวส่วนใหญ่มองว่ามีราคาที่ต้องจ่าย และน่ากลัวมาก แค่มาไม่กี่วันก็มีคนด่าว่าทำได้จริงหรือ แต่ถ้าเราจะอยู่ใน comfort zone ตลอดเวลาคงจะเสียใจ
ข้อมูลเพิ่มเติม
ผศ.ดร.เกษรา ธัญลักษณ์ภาคย์ หรือ ดร.ยุ้ย ทีมนโยบายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ เพื่อกรุงเทพฯ ที่ดีกว่า
เรียนคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก่อนจะไปศึกษาต่อชั้นปริญญาโทด้านการเงินที่ University of California at Riverside
และปริญญาโทและเอกด้านเศรษฐศาสตร์ โดยทุนของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่ Claremont Graduate University
เมื่อสำเร็จปริญญาเอก ได้เข้ามาเป็นอาจารย์ประจำภาควิชาการธนาคารและการเงิน คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ก่อน
เข้ามาช่วยงาน
ของครอบครัวด้านพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ และก้าวขึ้นเป็นกรรมการผู้จัดการบริษัท
เสนาดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน)
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
‘บิ๊กโจ๊ก’ พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล ตำแหน่งใหญ่ขณะอายุน้อย บารมีมาก เส้นทางสีกากีติดไฮสปีด
15 ก.ย. 2566
3556
ถอดรหัส ‘Naatu Naatu’ เพลงประกอบหนังอินเดียฉากร้อง-เต้นใน RRR ได้ออสการ์-Golden Globes
13 มี.ค. 2566
6975
‘เอมิลิโอ เฟอร์นันเดส’ ชายผู้เป็นต้นแบบของตุ๊กตารางวัล ‘ออสการ์’
12 มี.ค. 2566
871
แท็กที่เกี่ยวข้อง
ThePeople
PartnerContent
Politics
Advertorial
เกษรา_ธัญลักษณ์ภาคย์
betterbangkok