12 พ.ย. 2564 | 12:26 น.
ภาพจาก https://www.yakultthailand.com/home
‘จุลินทรีย์ชิโรตะ’ นี้มีคุณสมบัติที่สามารถทนต่อน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร จนมีชีวิตรอดไปถึงลำไส้ของมนุษย์ เพื่อปรับสมดุลแบคทีเรียในลำไส้ รวมทั้งยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคได้ ซึ่งช่วยลดการท้องผูกและท้องเสียให้กับผู้คน การค้นพบในครั้งนี้ทำให้ชิโรตะนำมาพัฒนานมเปรี้ยวที่เรียกว่า ‘ยาคูลท์’ (มาจากคำว่า ‘Yahulto’ หมายถึง โยเกิร์ต) ในอีก 5 ปีถัดมา โดยเริ่มต้นจากแนวคิดที่ว่า ‘สุขภาพลำไส้ที่ดี คือเคล็ดลับของการมีอายุยืนยาว’ หัวใจของยาคูลท์คือสุขภาพดีที่เข้าถึงง่าย ยาคูลท์จัดจำหน่ายเป็นครั้งแรกที่เมืองฟุกุโอกะ ประเทศญี่ปุ่น โดยยาคูลท์รุ่นแรก ๆ ถูกออกแบบมาเป็นขวดแก้วหลากหลายขนาด และใช้ฝาไม้ก๊อกเพื่อปิดปากขวด ก่อนจะเปลี่ยนมาเป็นขวดพลาสติกขนาดเล็ก รูปร่างคล้ายนาฬิกาทราย เพื่อให้ถือสะดวกและยกดื่มง่ายยิ่งขึ้น หลังจากนั้น ยาคูลท์เริ่มขยายไปไกลกว่าในญี่ปุ่น โดยเริ่มจากประเทศไต้หวันในปี 1964 ก่อนจะขยับขยายไปเป็น 40 ประเทศทั่วโลก แต่ไม่ว่าจะขยับขยายไปไกลแค่ไหน ปรัชญาของ ‘ยาคูลท์’ ก็ยังคงเป็น 3 แนวคิดสำคัญที่เรียกรวมกันว่า ‘Shirotaism’ ที่มาจากชื่อของชิโรตะ ผู้ก่อตั้งบริษัทยาคูลท์นั่นเอง โดยแนวคิดแรกของ Shirotaism คือการให้ความสำคัญกับการผลิตยาเพื่อ ‘การป้องกัน’ มากกว่า ‘การรักษา’ ส่วนแนวคิดต่อมาคือการให้ความสำคัญกับ ‘ลำไส้’ เพราะเป็นอวัยวะที่สารอาหารถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย หากลำไส้แข็งแรงก็จะทำให้คนคนนั้นมีอายุยืนยาวตามไปด้วย และแนวคิดสุดท้ายคือ การผลิตสินค้าในราคาจับต้องได้ เพื่อให้คนจำนวนมากสามารถเข้าถึงการมีสุขภาพที่ดี โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในราคาสูง และความเข้าถึงง่ายดังกล่าวก็ได้ถูกพัฒนามาเป็นระบบ ‘สาวยาคูลท์’ ราวปี 1963 โดยมีจุดประสงค์หลักคือการให้สาวยาคูลท์เป็นเหมือนผู้ให้คำแนะนำด้านสุขภาพ ทั้งการแนะนำข้อมูลเกี่ยวกับยาคูลท์และข้อมูลเกี่ยวกับจุลินทรีย์ในลำไส้ ซึ่งสาวยาคูลท์มักจะมาพร้อมจักรยานคู่ใจหรือมอเตอร์ไซค์คันเก่งอยู่บ่อย ๆภาพจาก https://www.yakultthailand.com/home
เมื่อยาคูลท์เดินทางสู่ประเทศไทยไปจนถึงอวกาศ ส่วนยาคูลท์ในประเทศไทย มีจุดเริ่มต้นมาจากนายประพันธ์ เหตระกูล ที่เดินทางไปศึกษาต่อยังประเทศญี่ปุ่น โดยระหว่างนั้น นายประพันธ์มีโอกาสได้ลองดื่มยาคูลท์ตอนท้องเสีย แล้วศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับยาคูลท์ ทำให้เขาตัดสินใจกลับมาก่อตั้งบริษัท ยาคูลท์ (ประเทศไทย) จำกัด ในปี 1970 หรือประมาณปี พ.ศ. 2513 แล้วจัดจำหน่ายอย่างเป็นทางการในอีกหนึ่งปีถัดมา นอกจากยาคูลท์จะขยายไปยังประเทศต่าง ๆ แล้ว ใน Yakult Company Profile ประจำปี 2021 - 2022 ยังระบุว่า ยาคูลท์ได้ร่วมมือกับองค์กรสำรวจอวกาศญี่ปุ่น (Japan Aerospace Exploration Agency หรือ JAXA) และสำนักงานวิจัยและพัฒนาแห่งชาติ เพื่อวิจัยเกี่ยวกับสุขภาพของนักบินในสถานีอวกาศนานาชาติ (ISS) ไม่ว่าจะเป็นเรื่องภูมิคุ้มกัน การทำงานของลำไส้ ไปจนถึงประสิทธิภาพจากการบริโภคเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของ ‘แลคโตบาซิลลัส คาเซอิ สายพันธุ์ชิโรตะ’ ที่ชิโรตะค้นพบอีกด้วย ตลอดชีวิตของ มิโนรุ ชิโรตะ เขาอุทิศให้กับการศึกษาเรื่องแบคทีเรียในลำไส้ และส่งเสริมการป้องกันอาการป่วยไข้ต่าง ๆ ในประเทศญี่ปุ่น จนกระทั่งปี 1982 ชิโรตะได้จากโลกใบนี้ไปอย่างไม่หวนกลับในวัย 82 ปี ทิ้งไว้เพียงงานวิจัยและผลิตภัณฑ์ที่ช่วยให้ผู้คนมีสุขภาพที่ดีขึ้น นั่นคือนมเปรี้ยวขวดเล็กที่มีชื่อว่า ‘ยาคูลท์’ ภาพ https://en.wikipedia.org/wiki/Minoru_Shirota ที่มา: https://www.yakult.co.jp/english/ir/management/profile.html https://www.yakult.co.jp/english/pdf/profile2021-2022_en.pdf https://www.yakultthailand.com/company#:~:text=%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%B5%20%E0%B8%9E.%E0%B8%A8.%202473,%E0%B8%9B%E0%B8%B5%20%E0%B8%9E.%E0%B8%A8.%202478%20%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%A2 https://peoplaid.com/2021/08/24/the-story-of-minoru-shirota-founder-of-yakult/ http://usahawan-yakult.blogspot.com/2011/12/story-of-dr-minoru-shirota-yakult.html