read
social
08 ก.พ. 2565 | 11:14 น.
นายหมวดตรี วินัย น่วมอ่อน : อส. ด่านหน้าสู้โควิด 28 ปี แห่งการปิดทองหลังพระ
Play
Loading...
ตั้งแต่
การดำเนินวิถีชีวิต
ของคนไทยถูกคุกคามด้วยโรคระบาด
ที่มีความรุนแรง
อย่างโควิด-19 การเฝ้าจับตาเรือประมงลักลอบขนแรงงานต่างด้าวที่
ล่อง
อยู่กลางทะเลเพื่อหลบเลี่ยงเจ้าหน้าที่ กลายเป็นกิจวัตรประจำวันของสมาชิกกองอาสารักษาดินแดน หรือ สมาชิก อส. ในพื้นที่จังหวัดชายทะเลต่าง ๆ ที่ออกปฏิบัติหน้าที่อย่างแข็งขัน โดยมีอาวุธในมือเป็นที่วัดอุณหภูมิและชุดตรวจโควิด-19
“ผมไปอยู่จุดตรวจโควิดที่สะพานปลา ชะอำ เพราะต่างด้าวมาเรือเยอะ ไปตรวจตราพร้อมกับชุดอำเภอและสาธารณสุข พอเขาเข้ามาต้องตรวจวัดอุณหภูมิ ตรวจโควิด ถ้าเจอต้องแจ้งรถโรงพยาบาลให้มารับไปส่งที่โรงพยาบาลสนามซึ่งมีอยู่ 3-4 แห่งในชะอำ”
นายหมวดตรี วินัย น่วมอ่อน สังกัดกองร้อยปฏิบัติการฝึกที่ 2 กองบัญชาการกองอาสารักษาดินแดน (ค่ายเพชรโยธิน)
อ.ชะอำ
จ.เพชรบุรี เป็นสมาชิก อส. กว่า 28 ปี เล่าถึงภารกิจของพี่น้องสมาชิก อส. เมื่อประเทศถูก
คุกคาม
ด้วยโรค
ระบาด
พวกเขาเปรียบเสมือนด่านหน้าร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควบคุม ป้องกันไม่ให้การแพร่ระบาดลุกลามรุนแรง
นอกจากลงพื้นที่ดูแลป้องกันโรคในท้องถิ่นตนเอง ยังเดินทางไปพื้นที่ ที่ต้องใช้เจ้าหน้าที่จำนวนมาก ตั้งจุดตรวจเฝ้าระวังตามสถานที่เสี่ยงต่าง ๆ ดังเช่นสมาชิก อส. ค่ายเพชรโยธิน ที่เดินทางไปปฏิบัติหน้าที่ยังจังหวัดภูเก็ตซึ่งเป็นอีกจุดเฝ้าระวังสำคัญ
ขณะที่เจ้าหน้าที่บางส่วน ถูกแยกไปประจำที่โรงพยาบาลสนาม ศูนย์กักตัวผู้ป่วย ซึ่งวินัยได้ประจำการอยู่ ณ โรงพยาบาลสนาม
ค่ายเพชรโยธิน
อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่เป็นชาวเมียนมา เขารับหน้าที่ตรวจตราความเรียบร้อยรอบบริเวณ ประสานงานกับล่ามเพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ รวมถึงคัดกรองอาหาร ข้าวของ เครื่องใช้ที่ญาติฝากไว้ส่งต่อให้ผู้ป่วย
แน่นอนว่าการปฏิบัติหน้าที่เป็นด่านหน้าใกล้ชิดกับผู้ป่วยและผู้คนมากหน้าหลายตา ย่อมทำให้เกิดความหวั่นวิตกจาก
โอกาสเสี่ยงใน
การติดเชื้อ ยิ่งเขาเคยป่วยด้วยโควิด-19 จนเชื้อลงปอด ยิ่งรู้ซึ้งถึงความทรมานทั้งจากโรคภัยและการถูกกักตัวในห้องสี่เหลี่ยม
ต้องนอนพักรักษาตัวนานกว่า 10 คืน
“กลัวครับแต่ต้องไป เพื่อปฏิบัติหน้าที่”
วินัยบอกถึงความรู้สึกที่ถูกข่มไว้ด้วยความรับผิดชอบในฐานะสมาชิก อส. แต่มากกว่านั้นคือการได้ช่วยบำบัดทุกข์ บำรุงสุขให้แก่พี่น้องประชาชน โดยเฉพาะเมื่อเขาเองเคยเป็นผู้ป่วย ประสบการณ์ที่มีจึงเป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น
“ผมก็มีส่วนช่วยเขา แนะนำให้ความรู้เขา แนะนำเขาเรื่องการป้องกันโควิด แล้วก็ให้กำลังใจ เขาทุกข์อยู่ พอได้ฟังเขาก็สุขใจ
สบายใจขึ้น
เพราะว่าผมเคยผ่านมาแล้ว”
“ตอนนี้ขอให้คิดว่าเป็นโควิดกันหมดทุกคนจะได้ช่วยกัน ปลอดภัยไปด้วยกัน แม้กระทั่งครอบครัว ตอนนี้ก็ต้องอยู่ห่าง กินร้อน
ช้อนกลาง
ใส่แมสก์ เดี๋ยวนี้เราเหมือนเป็น รพช. (โรงพยาบาลชุมชน) ตอนเช้ามาต้องหาแมสก์ หาเจลแอลกอฮอล์เพราะต้องใช้ทุกวัน
พอไป
เจอผู้คนต้องเฝ้าระวัง”
“อยากให้ทุกคนช่วยกันเรื่องปัญหาโควิด มันจะได้หมดไปโดยเร็วครับ ส่วน อส. อย่างพวกเรามีหน้าที่รับความเสี่ยงในการเป็น
ด่านหน้า
ไว้”
วินัยบอกอย่างมุ่งมั่น
นอกจากภารกิจสู้โควิด-19 แล้ว สมาชิก อส. ยังเดินหน้าปฏิบัติหน้าที่บำบัดทุกข์ของประชาชนให้คลี่คลาย พร้อมบำรุงสุขให้มากขึ้น ด้วยการร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ดำเนินงานด้านการป้องกันปราบปราม รวมถึงงานด้านการพัฒนา ตามสภาพปัญหาและ
ความต้องการ
ของพื้นที่
นั่นทำให้ความพยายามตลอด 28 ปีของวินัยไม่สูญเปล่า เขาบอกอย่างภูมิใจว่า
“เดี๋ยวนี้ชาวบ้านก็รับรู้เยอะแล้ว รู้หน้าที่บทบาทของ อส. หลาย ๆ อย่าง ไปตรงไหนก็แล้วแต่ มี
สมาชิก อส.
ไปพัฒนาหมู่บ้าน ไปประจำจุดตรวจหลาย ๆ จุด เขาจะเห็นแล้ว เมื่อก่อนชุดนี้
ชุดลายพรางสีกากี
เขาไม่รู้จัก เดี๋ยวนี้รู้จักหมดแล้ว”
ดังนั้นสิ่งที่เขาฝากทิ้งท้ายจึงเป็นการส่งสารถึงพี่น้องสมาชิก อส. ว่า
“อย่าท้อ แม้หน่วยงานเราเป็นหน่วยงานเล็ก ๆ ที่ทำงานปิดทองหลังพระ แต่เราก็เป็นฟันเฟืองหนึ่งที่บำบัดทุกข์ บำรุงสุขของประชาชนครับ”
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
‘บิ๊กโจ๊ก’ พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล ตำแหน่งใหญ่ขณะอายุน้อย บารมีมาก เส้นทางสีกากีติดไฮสปีด
15 ก.ย. 2566
3487
ถอดรหัส ‘Naatu Naatu’ เพลงประกอบหนังอินเดียฉากร้อง-เต้นใน RRR ได้ออสการ์-Golden Globes
13 มี.ค. 2566
6940
‘เอมิลิโอ เฟอร์นันเดส’ ชายผู้เป็นต้นแบบของตุ๊กตารางวัล ‘ออสการ์’
12 มี.ค. 2566
818
แท็กที่เกี่ยวข้อง
ThePeople
Social
วันอาสารักษาดินแดน
กองบังคับการกองอาสารักษาดินแดน