27 พ.ค. 2565 | 13:28 น.
“ที่ผ่านมาเกิดวิกฤตมากมาย และผมเชื่อว่าจะมีอีกเยอะ แต่ไม่ว่าจะวิกฤตอย่างไร คนยังต้องกินต้องใช้ ถือว่าเรายังโชคดีอยู่ เพียงต้องปรับตัว มองทิศทางให้ออก และวางแผนให้ดี ที่สำคัญต้องรู้จักประหยัดให้เป็น ดูคอร์สดำเนินการต่าง ๆ รู้จักหา Opportunity เรื่องเหล่านี้จำเป็นมาก” ณัฐ วงศ์พานิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ CRG เริ่มต้นเล่าให้ฟังผู้นำในวิกฤตต้องชัดเจน
“หลายครั้งเขาบอกว่าวิกฤตคือโอกาสที่ดี เพราะอะไรรู้ไหม เพราะว่าทุกคนอยากรอด พอทุกคนอยากจะรอด ทุกคนจะพยายามตั้งใจทำอย่างเต็มที่ สังเกตไหมคนจะจมน้ำตาย จะว่ายน้ำได้เร็วกว่าคนแข่งว่ายน้ำอีก”3.ต้องรักษากระแสเงินสดให้ดี อย่าให้มีปัญหา ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญมากในการทำธุรกิจไม่ว่าจะธุรกิจใดก็ตาม ควบคู่ไปกับการบริหารจัดการค่าใช้จ่ายต่าง ๆ สุดท้าย 4. ต้องมี Empathy ความเข้าอกเข้าใจ เพราะในยามวิกฤตเรื่องนี้มีความสำคัญ อย่างช่วง 2 ปีที่ผ่านมาที่โควิด-19 ระบาด ทาง CRG ไม่ได้มีการลดจำนวนพนักงาน อาจมีการปรับลดเวลาทำงานบ้าง โดยเฉพาะพนักงานพาร์ตไทม์ที่มีจำนวนมาก เช่น จากปกติเคยทำงานสัปดาห์ละ 6 วัน อาจจะเหลือ 3 - 4 วันต่อสัปดาห์ เพื่อให้พอมีรายได้แม้ไม่เท่าเดิมก็ตามที
“ต้องยอมรับว่าวิกฤตที่ผ่าน ๆ มาหลายครั้งทั้งต้มยำกุ้งเอย ทั้งอะไรต่าง ๆ เนี่ยบางทีมันกระทบในวงแคบ มันกระทบในบางประเทศ ไม่ได้กระทบทุกประเทศ อย่างต้มยำกุ้งก็เราใช่ไหม อย่างตอนที่อเมริกาเจออะไรพวกนั้นมันก็ อเมริกาบางทีไม่ได้โดนทุกประเทศทั่วโลก แต่โควิด-19 มันหนัก กระทบทั่วโลก มีความท้าทายหลายอย่าง”อย่าประมาทคู่แข่ง ไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ หลังจากช่วง 2 ปีที่ผ่านมาธุรกิจร้านอาหารอยู่ในภาวะที่ดูไม่สดใสนัก แต่ต่อจากนี้ณัฐเชื่อว่าธุรกิจนี้จะกลับมาเติบโต เพราะไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น คนยังต้องกินอยู่เสมอ เพียงแต่อาจมีการปรับเปลี่ยนวิธีหรือพฤติกรรมไปบ้าง ยกตัวอย่างเช่น คนหันมาสั่งเดลิเวอรี่มากขึ้น หากร้านใดไม่สามารถเข้าสู่เส้นทางของดิจิทัลได้ จะเหนื่อยแน่นอน นอกจากนี้ ปัจจุบันลูกค้าไม่ได้ต้องการแค่ ‘ความอร่อย’ เพียงอย่างเดียวอีกต่อไป ยังต้องการในเรื่องของ ‘ประสบการณ์’ ด้วย เช่นตอนนี้จะเห็นได้ว่ากระแสของเชฟส์เทเบิลกำลังมาแรง ขายอาหารไทยพื้น ๆ ใส่ประสบการณ์เข้าไปก็สามารถขายได้ในราคาสูง มีคนยอมรอต่อคิว ดังนั้นผู้ประกอบการต้องอย่าลืมสร้างความแตกต่างในเรื่องประสบการณ์เข้าไปด้วย และอย่าลืมต้องบริหารกระแสเงินสดให้ดี อย่าให้เกิดช็อตหรือมีปัญหา เพราะจะเหนื่อยมาก ๆ
“ตอนนี้โลกเปลี่ยน มี New normal มี Next normal ร้านอาหารต่าง ๆ ต้องตามให้ทัน และขายเฉพาะความอร่อยไม่ได้ เนื่องจากเรื่องนี้เป็นเรื่องพื้นฐานที่ทุกคนต้องมี แล้วอย่าคิดว่าอร่อยกว่าคนอื่นจะรอด มันต้องมีอีกหลายปัจจัยที่ต้องนึกถึง”ที่สำคัญ ด้วยธรรมชาติของธุรกิจอาหารมี barrier of entry ต่ำ เพราะ 1. มีเงินทุนไม่มากก็สามารถเปิดได้แล้ว หมายความว่าใคร ๆ ก็สามารถเข้ามาในธุรกิจนี้ได้ 2. มีโซเชียลมีเดียเป็นสื่อโฆษณาที่เอื้อให้ทุกคนสามารถทำการตลาดได้ง่ายขึ้น แม้จะมีสาขาเพียง 2 - 3 สาขา ต่างจากสมัยก่อนที่หากต้องการลงโฆษณาต้องเป็นร้านที่มีเงินในมือมากพอสมควร โดยประเด็นนี้ทำให้ผู้ประกอบการหน้าใหม่และรายเล็กสามารถแจ้งเกิดและเข้ามาแข่งขันได้มากกว่าเดิม ซึ่งทั้งหมดเป็นความท้าทายที่ผู้ประกอบการร้านอาหารต้องระวังและพัฒนาตัวเองตลอดเวลา
“สมัยก่อนเราอาจจะคิดว่าเราใหญ่แล้ว ไม่ต้องทำอะไรมาก ยังไงรายเล็กสู้ไม่ได้ ตอนนี้ไม่ใช่ เดี๋ยวนี้รายเล็กเก่งมาก ๆ ร้านมีสาขาอยู่ 2- 3 สาขาสามารถจะทำรายได้เป็นกอบเป็นกำเยอะขึ้นเลย เราไม่ได้บอกว่ากลัว แต่เราประมาทไม่ได้เช่นกัน”‘คนเก่ง’ ไม่สำคัญเท่า ‘ทีมเวิร์ก’
“องค์กรแต่ละองค์กร Culture อาจจะไม่เหมือนกัน บางที่จะใช้ความกดดันเพื่อสร้าง Productivity สร้าง Efficiency ถูกไหม ซึ่งก็ไม่ได้ผิดนะ มันก็สามารถทำได้ ผมเชื่อว่าเรามีคนเก่งที่ไม่ต้องเก่งมากที่สุดมาอยู่ด้วยกัน แล้วกำหนดทิศทางไปด้วยกัน จะไปได้เร็วกว่าการที่เรามีคนเก่งมาก ๆ อยู่ไม่กี่คน แล้วต่างคนต่างทำงานไม่ประสานกัน เหมือนดึงก้อนหิน ถ้าไม่ได้ดึงไปทางเดียวกันมันก็ดึงไม่ไป แต่ถ้ามีคนมากำหนดทิศทางให้ดึงไปในทิศทางเดียวกันได้ แม้จะแรงเล็ก ๆ มาร่วมกันก็เคลื่อนได้”มากไปกว่านั้น ในฐานะผู้นำต้องรู้จักคนไหนเก่งด้านไหน ขณะเดียวกันต้องบอกได้ว่าควรปรับปรุงหรือพัฒนาอย่างไร แล้วสนับสนุนเขาให้ดี ให้ทำงานเต็มที่ร่วมกับคนต่าง ๆ ในทีม สุดท้ายผลที่ได้ องค์กรก็จะได้คนเก่งเพิ่มขึ้นมาอีกคน และสามารถบรรลุเป้าหมายได้สำเร็จ
“คนเก่งไม่ได้เก่งทุกอย่างอยู่แล้ว ฉะนั้นต้องบอกเขาว่า ตรงไหนที่เขาไม่เก่ง ส่วนที่เขาไม่เก่งให้เขาปรับปรุงตัวแล้วเขาจะพัฒนาตัวเขาเองดีขึ้นด้วย ในที่สุดแล้วเขาก็จะเป็นคนที่เก่งอีกคนหนึ่ง ผมอยากจะบอกว่า ถ้าจะทำงานใหญ่ให้สำเร็จต้องช่วย ๆ กันหลาย ๆ คน ไม่ง่ายหรอกที่คนคนเดียวจะทำงานใหญ่ให้สำเร็จ แล้วเราในฐานะผู้นำต้องเข้าใจทีมงานให้ดีด้วย”สร้าง New S Curve เร่งการโต
“เราต้องเติบโตจากทั้งสองฝั่ง และเรายังมองในเรื่องของ Vertical indication เพียงแต่ว่ายังอยู่ในความคิด ไม่รวมการสร้างการเติบโตผ่าน Omni Channel การเดลิเวอรี และคลาวด์คิทเช่น ที่ในอนาคตยังไปได้อีกเยอะ”