read
social
29 มิ.ย. 2565 | 16:14 น.
‘Respect ในความสามารถ มากกว่าสิ่งที่เขาเป็น’ สร้างสังคมแบบ ‘Unlabeled’
Play
Loading...
“แมวไม่ว่าจะสีขาว สีดำ ขอแค่จับหนูได้ก็พอ” เป็นคำที่ใครหลายคนอาจจะเคยได้ยินมานานแล้ว แต่...ทำไมการทำงานปัจจุบัน “ความแตกต่าง” ยังถูกนำมาใช้เป็นเงื่อนไขการในการรับคนเข้าทำงาน หรือการจะโปรโมทใครซักคนเพื่อให้ได้รับตำแหน่งที่สูงขึ้น…ทำไม
ในยุคที่เพศไม่ได้ถูกจำกัดอยู่แค่เพียงผู้หญิงและผู้ชาย แต่เต็มไปด้วยสีสันแห่งความหลากหลายจากตัวตนของคนนับล้าน การมีทัศนคติ และแนวคิดที่เปิดกว้างด้านความหลากหลายทางเพศ เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยสร้างสังคมที่น่าอยู่ให้กับทุกคน แต่ในสังคมการทำงาน ยังมีคำถามต่อการเปิดกว้างต่อความหลากหลายทางเพศ ว่าทุกคนได้รับการปฏิบัติ อย่างเท่าเทียมกันจริงมั้ย ?
การไม่ตัดสินผู้อื่นจากเพศ แต่เลือกมองที่ตัวตนของเขาเป็นหลัก เป็นแนวคิดที่สำคัญของ Birthmark บริษัท Digital Marketing Agency ที่ได้รับรางวัล Agency of the year สาขา Best Culture ที่มุ่งหวังให้ “ความหลากหลายในออฟฟิศเป็นเรื่องธรรมชาติ”
ใน Birthmark มีความหลากหลาย
ในสังคมที่มีการจำกัดเพศว่าทุกอย่างมีอยู่แค่เพียงสองด้าน จึงทำให้ทุกอย่างบนโลกนี้กลายเป็นสังคมที่คับแคบ พนักงานที่มีความหลากหลายทางเพศมักจะรู้สึกโดดเดี่ยวในที่ทำงาน โดยเฉพาะอย่างกลุ่มที่ไม่ได้เปิดเผยตัวตน ทำให้หลายคนไม่สามารถแสดงศักยภาพของตัวเองอย่างเต็มที่และพลาดโอกาสที่สำคัญในชีวิตไป จนทำให้เรื่องนี้กลายเป็นเรื่องปกติในสังคมและไม่มีใครกล้าที่จะยืนหยัดกับความไม่เท่าเทียมนี้
“
เราเคยรู้สึกว่าต้องเลือก
AE
จากผู้หญิงเป็นหลัก
เพราะคิดว่าผู้หญิงมีความละเอียดอ่อนมากกว่า
แต่เมื่อมาถึงเวลาที่ต้องปฏิบัติงานจริงแล้ว
ในแง่ของความละเอียดหรือทักษะในการทำงานมันเกิดจากการเรียนรู้และลงมือทำมากกว่า
โดยที่ไม่ได้วัดกันที่เพศ จะบอกว่าคนที่รอบคอบละเอียดมากที่สุดในออฟฟิศนี้คือผู้ชาย
”
เอ็ม ปัณณทัต นาพูนผล Chief Executive Officer ของ Birthmark ถ่ายทอดความคิดนี้ให้เราฟัง ว่านี่คือจุดเริ่มต้นส่วนหนึ่ง ที่ทำให้ Birthmark มีนโยบายว่าในทุกขั้นตอนของ People Team ไม่ว่าจะเป็นการรับ การโปรโมท หรือการให้คำแนะนำ จะต้องโยนมายาคติเกี่ยวกับเพศทิ้งไปให้หมด ก่อนเริ่มกระบวนการต่างๆ และในที่สุดทุกคนต้องยอมรับความหลากหลายว่าเป็นเรื่องธรรมชาติ และไม่ตีตรา เพื่อสร้างสังคมในออฟฟิศที่ทุกคนอยู่ร่วมกันได้แบบมีความสุข และรู้สึก “Inclusive”
“
การจุดประกายความคิดสำหรับ
Birthmark
ว่าเพศไม่สามารถเป็นตัวตัดสินคุณสมบัติในการทำงานได้เลย
ทัศนคติต่างหากที่เป็นหลักสำคัญในการวัดว่าเขาจะสามารถอยู่กับความหลากหลายได้
และเนื่องจากเราเป็นบริษัทเอเจนซี่ด้วย
ความหลากหลายจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น
ในแง่ของการทำ
Marketing
ทำให้เราผลิตงานที่สร้างสรรค์และตอบโจทย์หลาย
ๆ
กลุ่ม
เปรียบเสมือน
Creativity
ที่ให้เราได้จินตนาการเห็นสีสันที่แตกต่างออกไป
โดยไม่ไปจำกัดสีสันเหล่านั้น
”
“
ความหลากหลายจึงไม่ใช่เพียงแค่เป็นวัตถุประสงค์ของ
Birthmark
แต่ความหลากหลายนั้นคือส่วนหนึ่งสำหรับที่ทำงานไปแล้ว
เราอยากสร้างบรรยากาศออฟฟิศที่ไร้แรงกดดัน
(Pressure Free)
จริง ๆ ไม่ใช่แค่เรื่องเพศด้วยนะ มันรวมถึงเรื่องอื่น ๆ ด้วย เช่น สวัสดิการ การพัฒนาศักยภาพในสกิลการทำงาน แต่เพศมันก็คือเรื่องนึงที่จะทำให้เกิด Pressure Free ได้ คือเข้าจะต้องรู้สึกไม่กดดันที่จะมาทำงานในออฟฟิศ พร้อมการมองด้วยสายตาแปลก หรือการ ถูกเลือกปฏิบัติ การถูกล้อ หรือถูกกดดันว่าเธอเป็นเพศนี้เธอต้องอย่างนี้นะ อะไรแบบนี้”
‘Unlabeled’ จึงเริ่มต้นขึ้น ไม่ใช่แค่ใน Birthmark
“Unlabeled มันคือ การที่เราไม่เอาป้ายไปแขวนคอใคร โดยตัดสินจากเพศ เช่น ผู้ชาย จะถูกแขวนป้ายว่า ลูกผู้ชายต้องไม่ร้องไห้ ถ้าร้องไห้ = ไม่ใช้ผู้ชาย หรือ ผู้หญิง ต้องถูกแขวนป้ายว่า ต้องเรียบร้อย ละเอียดรอบคอบ ไม่อย่างนั้น ไม่ใช่ผู้หญิง เรามองว่ามันไม่จริงเลย เพราะการทำงานที่ผ่านมาของตัวเองมันพิสูจน์แล้ว ดังนั้นแนวความคิด Unlabeled Campaign เนี่ยมันคือเริ่มต้นมาจากการใช้จัดการกับความหลากหลายในองค์กร มาตั้งแต่ช่วงแรกของการเปิดบริษัทเลย”
“อย่างแรกเลยคืออะไรรู้มั้ย สัญญาทำงาน เอาคำนำหน้าชื่ออกเลย รวมถึงเอกสารภายในองค์กรต่างๆ เราเอาคำนำหน้าชื่อออกเลย เรามองว่ามันไม่สำคัญ ไม่มีผลกับสาระ หรือเนื้อหาของเอกสารนั้นเลย มิหนำซ้ำบางคนที่ถูกใส่คำนำหน้าชื่อตามบัตรประชาชนเค้าอาจจะรู้สึกไม่โอเคก็ได้ ซึ่งพอผ่านมาเรื่อยๆ เราไม่ได้ใช้แค่ในองค์กรละ เราเริ่มคุยกับลูกค้า Partner ทางธุรกิจต่างๆ ว่าสามารถเอาออกได้มั้ย ไอ้คำนำหน้าชื่อเนี่ย ซึ่งได้รับผลตอบรับที่ดีมากเลยนะ เกือบทั้งหมดไม่มีปัญหากับการเอาคำนำหน้าชื่อออกไปจากเอกสารต่างๆเลย และทุกวันนี้ดีลงานกันมาก็ไม่พบปัญหาของการเอาคำนำหน้าชื่อออกเลย”
ฟิว ธิติวัจน์ เชื้ออาษา Chief Operating Officer เล่าให้เราฟังถึงที่มาของแคมเปญนี้
สิ่งหนึ่งที่พวกเราควรคำนึงคือของบนโลกใบนี้มีหลายฟังก์ชันในการใช้งาน ไม่จำเป็นต้องถูกจำกัดไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง มนุษย์เราก็เช่นกัน ที่หนึ่งคนก็มีหลายความชอบ ความสามารถ และอุปนิสัย จึงไม่ควรมีใครถูก Label จากเพศสภาพและไปเหมารวมว่านั่นคือตัวตนที่แท้จริงของเขา
เมื่อ Birthmark ได้เริ่ม ‘Unlabeled’ ในองค์กร ก็มองว่าสิ่งนี้มันเป็นสิ่งที่สังคมต้องได้ยินเสียงเหล่านี้ ไม่ใช่แค่การบอกกับผู้มีอำนาจในองค์กรว่าจะต้องทำนโยบายแบบนี้ แต่ Birthmark อยากให้คนที่ได้รับ Message จากแคมเปญนี้ไป เข้าใจเรื่องดังกล่าวมากขึ้น และรู้จักวิธีปฏิบัติกับทุกคนอย่างให้เกียรติที่ความสามารถไม่ใช่เพศ และอยากให้คนที่อาจจะรู้สึกว่าได้รับการปฏิบัติที่ไม่ดีจากบางคน อยากให้มีกำลังใจ และรู้ว่ายังมีเราที่คอยซัพพอร์ตและเข้าใจอยู่ทางนี้
“แคมเปญนี้เริ่มจากการมองกลับไปที่สังคม ว่ามันมีหลายความเข้าใจผิดที่เกิดขึ้น จากการ Labelled โดยได้หยิบตัวอย่างมา 3 ความเข้าใจผิดๆ ที่ถูกยึดติดกับเพศ คือ ผู้ชายกินยำ = กระเทย, ผู้ชาย = ไม่ทาลิป, หัวหน้า = ต้องเป็นผู้ชาย คือแบบแค่อ่านก็รู้แล้วว่ามันเป็นประโยคที่ไม่สมเหตุสมผลในตัวของมันเอง แต่ต้องยอมรับว่า มันมีคนคิดอย่างงี้จริงๆนะ แล้วบางคนพูดออกมาแบบไม่รู้ตัวด้วยซ้ำ เราเลยเอาเรื่องเหล่านี้มาเป็นคอนเทนต์ให้คนอ่าน และทำความเข้าใจไปพร้อมๆกัน และเกิดการคิดต่อ บรรลุได้ด้วยตัวเอง
”
“คำถามต่อมาคือ นอกจากออนไลน์แล้ว ที่โพสต์คอนเทนต์เหล่านี้ เราจะเอาไปกระจายยังไงต่อดีนะให้ตรงกลุ่มเป้าหมาย ก็เลยเกิดการเอาคอนเทนต์เรื่อง #คนและยำ ไปทำเป็นถุงยำแจกตามร้านยำทั่วกรุงเทพฯ และเอาเรื่องหัวหน้างานที่ไม่ได้ถูกจำกัดแค่เพศใดเพศหนึ่ง ไปนำเสนอบน Cup sleeve ตามคาเฟ่ ร้านกาแฟในย่านออฟฟิศ เป็นต้น ลองตามหาดูได้นะครับ
”
“อาจจะมองว่าเป็นการโปรโมท Branding ของบริษัท แต่ Birthmark ก็ใช่นะ แต่คำถามที่เกิดขึ้นมาคือ การทำแคมเปญนี้ของเรามันมีประโยชน์กับสังคมด้วย ไม่ใช่กับเราแค่อย่างเดียว มีคนได้เห็น Message เราแล้วเข้าใจคำว่า Unlabeled เรามองว่าแค่ 10 คน มันก็บรรลุเป้าหมายของเราแล้ว และการทำแคมเปญนี้อาจจะไม่ใช่ทางออกที่ดีที่สุด
แต่เราเลือกใช้ความถนัดในการขับเคลื่อนสังคมในประเด็นนี้
’
อย่างน้อยเราอยากที่จะนำสิ่งที่เราสามารถถ่ายทอดได้ดี มาใช้สื่อสารกับคนภายนอกจากกลุ่มคนที่เข้าใจในสิ่งนี้จริง และต้องการแชร์ประสบการณ์เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในองค์กรที่ผลักดันความเท่าเทียมในความหลากหลายให้เป็นเรื่องปกติในอนาคต”
ฟิวเราให้เล่าฟังต่อ
สังคมควรที่จะขับเคลื่อนไปข้างหน้าด้วยทัศนคติที่หลากหลายความคิดเห็น และไม่เหมารวมเพศกับสิ่งของว่าจะต้องคู่กันเสมอไป และการถ่ายทอดแคมเปญ ‘Unlabeled’ จะกลายเป็นจุดเชื่อมความคิดให้คนหันมาใส่ใจและเรียนรู้เกี่ยวกับความหลากหลายไปพร้อมกัน
ทุกอย่างเป็นไปได้ถ้าอยู่บนความเท่าเทียม
ในอนาคตเราอาจจะเห็นผู้หญิงเป็นประธานาธิบดี ผู้ชายเป็นพยาบาล หรือเพศที่สามทำงานข้าราชการมากขึ้น คนทำงานที่มีพื้นฐานจากความหลากหลาย จะดึงความสามารถเฉพาะตัวและประสบการณ์ในการนำเสนอแนวคิด มีความยืดหยุ่นในการปรับตัวเข้ากับความต้องการที่หลากหลายของเหล่าลูกค้าได้ จึงทำให้สามารถสร้างผลงานได้กว้างขวางมากขึ้น และสิ่งที่เราจะเห็นมากขึ้นคือความสามารถของบุคคลที่ไร้ข้อจำกัดจากเพศ สังคมที่ให้คุณได้แสดงศักยภาพในความเป็นตัวคุณอย่างแท้จริง
การตั้งใจสร้างที่ทำงานสำหรับ ‘ทุกคน’ ให้คนทำงานได้เป็นตัวเอง และแสดงศักยภาพออกมาอย่างเต็มที่ของ ฟิว-ธิติวัจน์ เชื้ออาษา Chief Operating Officer และ เอ็ม-ปัณณทัต นาพูนผล Chief Executive Officer สองผู้บริหาร Birthmark ที่ตั้งใจเข้ามาเปลี่ยนแปลงสังคมภายใต้แนวคิด ‘Unlabeled’ จน ‘Birthmark’ กลายเป็นบริษัทเอเจนซี่ที่ไร้ขีดจำกัดในเรื่องของเพศ ส่งให้ Birthmark ได้รับรางวัล Agency of the Year ในสาขา Best Culture เมื่อปี 2021 ถือเป็นรางวัลที่แสดงถึงวัฒนธรรมที่ดีในองค์กร และความสุขของพนักงาน
“
หลังจากนี้
Birthmark
ยังคงเป็นจิ๊กซอว์เล็ก
ๆ
ที่ร่วมต่อภาพ
สร้างสังคมที่มีความเท่าเทียมต่อไป
เพราะเราไม่ได้มองว่าแค่เป็นการทำเพื่อ
CSR
แบบฉาบฉวยแล้วจบไป
แต่เราพยายามเพื่อให้ทุกคนสามารถเรียนรู้ที่จะอยู่กับความหลากหลายได้ในหลากมุมมอง
หมุดหมายต่อไปของเราคือการรับคนที่มีความบกพร่องทางร่างกายเข้ามาทำงาน
โดยที่รับรองว่าเขาจะสามารถทำงานในตำแหน่งนั้นได้
และสามารถแสดงศักยภาพออกมาได้เต็มที่เช่นกัน เป้าหมายเราจึงไม่ใช่แค่ทลายข้อจำกัดทางเพศ แต่เป้าหมายเราคือทลายทุกข้อจำกัดของความแตกต่าง
”
ปัจจุบัน Birthmark ได้เติบโตมากขึ้น มีเพื่อนร่วมทีมมากขึ้น แต่เรายังเปิดรับทุกรูปแบบของความหลากหลาย โดยที่ทุกคนจะมาเรียนรู้ไปพร้อม ๆ กัน และสร้างสรรค์พัฒนาองค์กรที่ดีอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น ‘ทุกความหลากหลายควรได้โอกาสที่เท่ากัน’ ฟิวและเอ็มกล่าว
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
‘บิ๊กโจ๊ก’ พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล ตำแหน่งใหญ่ขณะอายุน้อย บารมีมาก เส้นทางสีกากีติดไฮสปีด
15 ก.ย. 2566
3487
ถอดรหัส ‘Naatu Naatu’ เพลงประกอบหนังอินเดียฉากร้อง-เต้นใน RRR ได้ออสการ์-Golden Globes
13 มี.ค. 2566
6940
‘เอมิลิโอ เฟอร์นันเดส’ ชายผู้เป็นต้นแบบของตุ๊กตารางวัล ‘ออสการ์’
12 มี.ค. 2566
818
แท็กที่เกี่ยวข้อง
ThePeople
Social
PartnerContent