เจมส์ ริชาร์ด อมตวิวัฒน์ CEO แม็คกรุ๊ป ผู้มี P-D-C-A เป็นหลักคิดบริหารองค์กร

เจมส์ ริชาร์ด อมตวิวัฒน์ CEO แม็คกรุ๊ป ผู้มี P-D-C-A เป็นหลักคิดบริหารองค์กร

เจมส์ ริชาร์ด อมตวิวัฒน์’ CEO แม็คกรุ๊ป กับ P-D-C-A (Plan-Do-Check-Action) หลักคิดในการทำงานเพื่อบริหารองค์กรให้เติบโต

จบการศึกษาระดับปริญญาตรีและปริญญาโทสาขาเศรษฐศาสตร์ จาก Maxwell Shcool, Syracuse University ประเทศสหรัฐอเมริกา ผ่านงานที่เวิล์ดแบงก์ ก่อนจะผันมาทำงานด้านการตลาดในองค์กรอินเตอร์อย่าง P&G, Coca-Cola ในเกาหลีใต้ จีน และฟิลิปปินส์, Johnson and Johnson ประจำสิงคโปร์ กระทั่งตัดสินใจกลับไทยมาทำงานในตำแหน่งซีอีโอ ไมเนอร์ ไลฟ์สไตล์ ของ ไมเนอร์ กรุ๊ป และปัจจุบันดำรงตำแหน่งซีอีโอของแมคกรุ๊ป

          นี่เป็นส่วนหนึ่งประสบการณ์การทำงานของ ‘เจมส์ ริชาร์ด อมตวิวัฒน์’ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แม็คกรุ๊ป จำกัด(มหาชน) ซึ่งต้องยอมรับว่า ผ่านงานมาหลากหลายองค์กรในหลายประเทศ โดยเขาบอกว่า สิ่งเหล่านี้ถือเป็นการสร้างประสบการณ์และสอนให้เรียนรู้ เพราะได้ทำงานร่วมกับคนหลายแบ็คกราวน์ หลายความคิด ไม่ใช่แค่ความแตกต่างขององค์กรและประเทศเท่านั้น

"คุณไปในประเทศที่คุณไม่เคยอยู่ คุณต้องไปเรียนรู้ ไม่ใช่เข้าไปแบบเรารู้ทุกอย่าง สิ่งที่สำคัญคือ สนับสนุนทีม ไม่ว่าจะเป็นประเทศไหน deal กับคนจากประเทศอะไร เราต้องมี flexibility เราต้องมีสกิลในการบริหารจัดการคนที่สูงพอสมควร”

เจมส์ ริชาร์ด อมตวิวัฒน์ CEO แม็คกรุ๊ป ผู้มี P-D-C-A เป็นหลักคิดบริหารองค์กร

ซีอีโอผู้ไม่ชอบประชุมนานๆ

          การทำงานไม่ว่าจะในองค์กรต่างประเทศ หรือในประเทศ เจมส์ บอกว่า มีเป้าหมายเหมือนกัน คือ การให้ธุรกิจเติบโต เพียงแต่องค์กรต่างประเทศหรือบริษัทอินเตอร์จะเป็นมีความ multi country การตัดสินใจอาจจะต้องรอดูภาพรวมของทั้งบริษัท ขณะที่องค์กรในประเทศอย่าง แมคกรุ๊ป ข้อดี คือสามารถตัดสินใจอะไรได้รวดเร็ว เพราะการอนุมัติอยู่ในความรับผิดชอบของเรา และมีความยืดหยุ่นทำงานได้รวดเร็ว

ส่วนสไตล์การบริหารงานของเขา จะเป็นคน ‘เร็ว’ ทั้งการทำงานและการตัดสินใจ ยกตัวอย่างเช่นเมื่อเข้ามานั่งบริหารที่แมคกรุ๊ปใช้เวลาเพียง 3 สัปดาห์แรกวางกลยุทธ์องค์กรเสร็จ ที่สำคัญเขาเป็นซีอีโอที่ไม่ชอบประชุมนานๆ เพราะมองเป็นเรื่องไม่ make sense และคิดว่า เวลาส่วนใหญ่ควรเอาไปใช้กับการลงมือทำดีกว่า

“ผมไม่ชอบนั่งประชุมกัน 5-6 ชั่วโมง มันไม่ใช่ที่จะเอาเวลามาหมกมุ่นอยู่กับการประชุม  ผมอยากให้ทีมเวลาคิดมาล่วงหน้าเลยว่า เวลาเราจะประชุม outcome ของประชุมนี้คืออะไร decision ที่อยากได้คืออะไร แล้วสรุปจากนั้นก็แยกย้ายไปทำตามแผนที่วางไว้ ไม่ใช่มานั่งประชุม”

P-D-C-A หลักคิดที่ยึดถือในการทำงาน

เมื่อถามว่า การผ่านองค์กรมามากมายและหลากหลายประเทศ สอนให้เรียนรู้อะไรบ้าง?

เขาตอบว่า หลักๆ คือ flexibility การเรียนรู้และยืดหยุ่นในการทำงาน ส่วนหลักคิดในการทำงานที่ยึดถือมานานจนถึงปัจจุบัน ได้แก่ P-D-C-A ที่ได้เรียนรู้จากสมัยเริ่มทำงานในองค์กรต่างประเทศ โดย P คือ Plan การคิดการวางแผน, D คือ Do การลงมือทำตามแผน

C คือ Check ตรวจสอบสิ่งที่ทำไปว่า ถูกและเป็นไปตามต้องการหรือไม่ สุดท้าย A คือ Action เมื่อเช็คสิ่งที่ทำแล้วถ้าถูกก็โอเค ถ้าไม่ถูกต้อง Take Action จะแก้ไขอย่างไร

          “อย่างแรกต้องเข้าใจก่อนว่า ธุรกิจของเขาคืออะไร โอกาสและความเสี่ยงอยู่ที่ไหน จากนั้นมาวางแผนดูความสามารถขององค์กรอยู่ในระดับไหน แข็งแกร่งหรือต้องพัฒนาอะไร แล้วเราก็ใช้ P-D-C-A มาจับ อย่างแม็คกรุ๊ป สิ่งที่เห็นคือการผลิตมีคุณภาพ ก็นำมาวางแผนในเรื่องโปรดักท์ จากนั้นมาดูด้านมาร์เก็ตติ้งและการขาย  สิ่งที่เปลี่ยนเยอะช่วง 7-8 เดือนไม่ทำเลย คือ ‘การลดแลกแจกแถม’ เพราะผมเห็นว่า ทำลายแบรนด์ เราต้องการสร้าง value ให้แบรนด์ ของเราดี ไม่ต้องทำโปรโมชั่นตลอด เปลี่ยนแล้วก็ทำให้ธุรกิจมันดีขึ้น” 

‘ของเต็ม-ร้านสวย-ขายเก่ง’สูตรสร้าง productivity ที่ดี

นอกจากคุณภาพ และการปรับแผนในการทำโปรโมชั่นแล้ว เจมส์มองว่า ทิศทางการเติบโตของแม็คกรุ๊ปที่มีโอกาสอีกเยอะ เพียงแต่จะเลือกเดินไปในเส้นทางใดก่อน อย่างแรกที่มอง คือ การสร้างประสิทธิภาพในการขายให้สาขาที่ตอนนี้แม็คยีนส์มีอยู่เกือบ 600 แห่ง ภายใต้ 3 กลยุทธ์ง่ายๆ ได้แก่ ‘ของเต็ม-ร้านสวย-ขายเก่ง’

เริ่มต้นที่ ‘ของเต็ม’ เป็นเรื่องของ supply chain ในการเลือกโปรดักท์ไปขายในร้านให้ตรงความตรงความต้องการของลูกค้าในแต่ละโลเคชั่น ทั้งจำนวน, sizing และความหลากหลาย ถัดมา ‘ร้านสวย’ มีการปรับโทนร้านให้สว่างขึ้น ดึงดูดให้ลูกค้าเข้าร้าน สุดท้าย ‘ขายเก่ง’หมายความว่า  PC ต้องมีความสามารถ โดยเราต้องเทรนนิ่งพัฒนาตลอด เพื่อช่วยให้ทำงานได้ดี

เจมส์ ริชาร์ด อมตวิวัฒน์ CEO แม็คกรุ๊ป ผู้มี P-D-C-A เป็นหลักคิดบริหารองค์กร

การสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า หรือ CRM เป็นอีกโอกาสในสร้างการเติบโตให้แม็คยีนส์ โดยเขาบอกว่า ต้องสร้างประโยชน์จากฐานลูกค้าที่ปัจจุบันมีอยู่ 1,800,000 ราย ผ่านรูปแบบต่าง ๆ อาทิ การให้สิทธิพิเศษสำหรับสมาชิก เป็นต้น นอกจากนี้ในระยะยาวแม็คยีนส์ยังสามารถขยายพอร์ตธุรกิจได้อีก แต่เขาขอไม่เปิดเผยรายละเอียด

“การที่แม็คยีนส์ยืนมาได้ถึงตอนนี้ก็ 47 ปีทั้งๆ ที่อยู่ในสนามที่คู่แข่งส่วนใหญ่เป็นแบรนด์อินเตอร์ หลักๆ คือ เรื่องคุณภาพในระดับโกลบอล เข้าถึงง่ายทั้งออฟไลน์และออนไลน์ มีความหลากหลายตั้งแต่หัวจรดเท้า ไม่ว่าจะเป็น หมวก กระเป๋า กางเกงยีนส์ รองเท้า เข็มขัด เสื้อยืด ฯลฯ ถามว่า เรามีแผนไปต่างประเทศไหม คำตอบคือ มีและเราอยากไป ขึ้นอยู่กับว่าจะไปเมื่อไรที่ต้องคำนึงหลายๆ เรื่องเหมือนกัน”  

สนามนี้ไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ คุณภาพคือที่สุด

เจมส์ ริชาร์ด อมตวิวัฒน์ CEO แม็คกรุ๊ป ผู้มี P-D-C-A เป็นหลักคิดบริหารองค์กร

         สำหรับการแข่งขันในตลาดนี้ เจมส์บอกว่า ‘คุณภาพ’ ถือเป็นเรื่องพื้นฐาน ถ้าคุณภาพไม่ดี การสื่อสารหรือกลยุทธ์จะดีแค่ไหน ก็ไม่ประสบความสำเร็จ และในสนามนี้ขนาดขององค์กรไม่ใช่ปัญหา เพราะกว่ารายใหญ่จะใหญ่ได้อย่างที่เห็นในปัจจุบันก็เคยเล็กมาก่อน ทุกอย่างต้องใช้เวลาสร้างขึ้นมา ส่วนจะเร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อม ต้องดูโอกาส ความต้องการของตลาดและลูกค้า

“ความพร้อมนะครับ เริ่มที่สินค้าก่อนนะ สินค้า you ต้องดี เขาซื้อไปแล้วต้องมีความรู้สึกว่าคุ้มค่า มี quality style เหมาะกับไลฟ์สไตล์ของเขา ต้องทำให้คนรู้จักแบรนด์ เดี๋ยวนี้มีโซเชียล มีเดีย ทำให้สามารถทำได้ง่ายในการแนะนำแบรนด์หรือสินค้าใหม่ ไม่เหมือนยุคก่อนที่ต้องมีหน้าร้านหรือสาขา อาจขายทางออนไลน์ ผ่าน IG หรือ TikTok ได้ไม่จำเป็นต้องมีหน้าร้านของตัวเอง”

สำคัญไปกว่านั้น ก็คือ แบรนด์ของคุณต้องมีจุดยืนของตัวเอง ซึ่งสามารถนำมาสร้างความแตกต่างด้าน Emotion ได้ ยกตัวอย่างการเลือกซื้อรถยนต์ Benz กับ BMW ต่างกันอย่างไร ทำไมคนถึงยอมจ่ายเงินซื้อ มาถึงเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย ใส่แล้วคนมองเราหรือเรารู้สึกกับตัวเองอย่างไร สิ่งต่างๆ เหล่านี้ถือเป็นเรื่องสำคัญในการทำการตลาดยุคปัจจุบัน