พื้นที่ท้าทายใหม่ของเนวิเกเตอร์หนุ่ม “เจษฎาภรณ์ ผลดี” ที่ดินแดนห่างไกลในทวีปแอฟริกา

พื้นที่ท้าทายใหม่ของเนวิเกเตอร์หนุ่ม “เจษฎาภรณ์ ผลดี” ที่ดินแดนห่างไกลในทวีปแอฟริกา
แม้เหตุการณ์พายุไซโคลนอิดาอิที่พัดถล่มประเทศโมซัมบิก มาลาวี และซิมบับเวตั้งแต่เดือนมีนาคม จะเป็นเรื่องไกลตัวคนไทยหลาย ๆ คน แต่สำหรับขาลุยอย่าง "พี่ติ๊ก-เจษฎาภรณ์ ผลดี" เขากลับไม่คิดเช่นนั้น โดยนักแสดงและพิธีกรขวัญใจชาวไทย ถือว่านี้เป็นอีกหนึ่งภารกิจใหม่ ในการเดินทางไปประเทศโมซัมบิกพร้อมกับทีมงานยูนิเซฟ เพื่อเยี่ยมเด็ก ๆ และครอบครัวที่ประสบภัย และนำเรื่องราวมาถ่ายทอดสู่สาธารณชนในประเทศไทย “ผมเป็นคนสนใจธรรมชาติ สังคม และสิ่งแวดล้อมอยู่แล้ว เห็นได้จากรายการเนวิเกเตอร์ของผม ถึงแม้ว่าตอนนี้รายการจะยุติลงแล้ว แต่ผมก็ยังอยากทำตรงนี้ต่อไปและถึงแม้ว่าพวกเขาจะอยู่ไกล แต่เขาก็ถือว่าเป็นเพื่อนร่วมโลกเดียวกันกับพวกเรา” พายุไซโคลนอิดาอิที่พัดถล่มประเทศโมซัมบิก มาลาวี และซิมบับเวตั้งแต่เดือนมีนาคม นับเป็นภัยพิบัติครั้งร้ายแรงที่สุดทางแอฟริกาใต้ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา สร้างความเสียหายให้กับบ้านเรือน สถานีอนามัย และโรงเรียนเป็นอย่างมาก รวมถึงถนน ทางรถไฟ และการคมนาคมต่าง ๆ ได้รับความเสียหายอย่างหนัก  ซึ่งทำให้ความช่วยเหลือเข้าไปถึงได้ลำบาก พื้นที่ท้าทายใหม่ของเนวิเกเตอร์หนุ่ม “เจษฎาภรณ์ ผลดี” ที่ดินแดนห่างไกลในทวีปแอฟริกา แม้ว่าเหตุการณ์จะผ่านมานานมากกว่าสามเดือนแล้ว แต่ยังส่งผลกระทบต่อประชากรมากกว่า 3 ล้านคนในประเทศโมซัมบิก มาลาวี และซิมบับเว ซึ่งในจำนวนนี้มีเด็กกว่า 1.6 ล้านคน กำลังเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากการติดเชื้อและภาวะขาดสารอาหารรุนแรง อันเนื่องจากการขาดน้ำสะอาด การขาดสุขอนามัยที่ดี และความแออัดในศูนย์พักพิงชั่วคราว ด้วยสภาพแวดล้อมส่งผลให้เกิดโรคระบาดได้ง่าย เช่น ท้องร่วง มาลาเรีย และอหิวาตกโรค โดยเฉพาะเด็กที่เปราะบางกว่าผู้ใหญ่ และความโชคร้ายไม่หมดเพียงเท่านั้น เมื่อปลายเดือนเมษายนที่ผ่านมา ประเทศโมซัมบิกต้องเจอกับภัยธรรมชาติที่ร้ายแรงอีกครั้งหนึ่ง เมื่อพายุไซโคลนเคนเนธได้เคลื่อนขึ้นฝั่งทางเหนือของประเทศ เป็นพายุขนาดใหญ่ลูกที่สองที่พัดถล่มในระยะเวลาไม่ถึงหกสัปดาห์ ทำให้เกิดฝนตกหนัก และสร้างความเสียหายเป็นอย่างมาก เด็ก ๆ และครอบครัวในพื้นที่ต้องเผชิญกับน้ำท่วมและดินถล่ม ซึ่งกองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติหรือยูนิเซฟ (UNICEF) เป็นหนึ่งในหน่วยงานหลักของโลกในการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่เด็กที่ประสบภัยฉุกเฉินทั่วโลก ทั้งเหตุภัยพิบัติและสงคราม ควบคู่ไปพร้อม ๆ กับงานพัฒนาในระยะยาวเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของเด็กและครอบครัวอย่างยั่งยืน พื้นที่ท้าทายใหม่ของเนวิเกเตอร์หนุ่ม “เจษฎาภรณ์ ผลดี” ที่ดินแดนห่างไกลในทวีปแอฟริกา ฮวน แซนทานเดอร์ (Juan Santander) รองผู้แทนองค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย เผยว่า “ตลอดระยะเวลาหลายเดือนที่ผ่านมา ยูนิเซฟมุ่งมั่นทำงานอย่างหนักเพื่อให้ความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อช่วยเด็ก ๆ ให้รอดชีวิต ผ่านการจัดกาวัคซีนป้องกันโรค สารทำน้ำสะอาด อาหารบำบัดฉุกเฉิน และสิ่งของจำเป็นอื่น ๆ ในการดำรงชีพ นอกจากนี้ ยังมีการส่งมอบอุปกรณ์การเรียนการสอน ควบคู่ไปกับการซ่อมแซมระบบสาธารณูปโภค โรงเรียน โรงพยาบาล และวางรากฐานของประเทศเพื่อการพัฒนาระยะยาวอย่างยั่งยืน” และประเด็นเร่งด่วนจากสถานการณ์ล่าสุด เนื่องจากการขาดแคลนน้ำสะอาดและการขาดสุขอนามัยที่ดีอย่างที่เคยกล่าวไปข้างต้น รวมไปถึงการที่บ้านเรือนเสียหายจนไม่สามารถอาศัยอยู่ได้ทำให้ ผู้ประสบภัยต้องอพยพมาอยู่ในศูนย์อพยพจนเกิดความแออัด อาจกลายเป็นแหล่งแพร่เชื้อโรคได้ โดยที่ผ่านมาโมซัมบิกได้เผชิญกับการแพร่ระบาดของอหิวาตกโรคและมาลาเรีย พื้นที่ท้าทายใหม่ของเนวิเกเตอร์หนุ่ม “เจษฎาภรณ์ ผลดี” ที่ดินแดนห่างไกลในทวีปแอฟริกา นอกจากนี้เด็ก ๆ ยังขาดสารอาหารอย่างรุนแรง เนื่องจากพายุไซโคลนได้พัดเข้ามาในช่วงเวลาก่อนการเก็บเกี่ยวเพียงแค่ไม่กี่สัปดาห์ ซึ่งเป็นอาหารหลักของประชาชนในประเทศและสำหรับประเทศมาลาวี ที่ตั้งแต่ก่อนจะเกิดพายุไซโคลนที่มีปัญหาความมั่นคงทางอาหารอยู่แล้ว จึงทำให้เรื่องอาหารเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง ความปลอดภัยของเด็ก และปัญหาด้านการศึกษาก็เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่ต้องคำนึงถึง เด็ก ๆ ต้องมาอยู่รวมกันอย่างแออัด หลายคนถูกพลัดพรากจากครอบครัว และแน่นอนเลยว่าพวกเขาไม่ได้ไปโรงเรียน เนื่องจากโรงเรียนในหลายพื้นที่ได้รับความเสียหายอย่างหนัก หรือในบางพื้นที่โรงเรียนต้องกลายไปเป็นศูนย์อพยพชั่วคราวแทน ถึงแม้ว่าขณะนี้ยูนิเซฟกำลังทำงานอย่างเร่งด่วนในประเทศโมซัมบิก มาลาวี และซิมบับเว รวมถึงการนำทีมที่มีความเชี่ยวชาญทั้งด้านสาธารณะสุข โภชนาการ การปกป้องคุ้มครองเด็ก น้ำและสุขอนามัย เข้าไปในพื้นที่ประสบภัยเพื่อให้ความช่วยเหลือเด็กและครอบครัว  ตั้งแต่วันแรกที่เกิดภัยพิบัติ ยูนิเซฟได้จัดส่งความช่วยเหลือขั้นพื้นฐาน เช่น ยารักษาโรค อาหาร เครื่องใช้เพื่อสุขอนามัย (แปรงสีฟัน ยาสีฟัน สบู่ และเสื้อผ้า) และอื่น ๆ อีกมากมาย พื้นที่ท้าทายใหม่ของเนวิเกเตอร์หนุ่ม “เจษฎาภรณ์ ผลดี” ที่ดินแดนห่างไกลในทวีปแอฟริกา นอกจากนี้ ยูนิเซฟยังจัดให้มีพื้นที่ปลอดภัยสำหรับเด็ก และโรงเรียนชั่วคราวเพื่อปกป้องคุ้มครองเด็กจากอันตรายและความเสี่ยงต่าง ๆ พื้นที่ปลอดภัยยังช่วยให้เด็ก ๆ ได้มีโอกาสเล่น เรียนรู้ ทำกิจกรรม และได้รับการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการเยียวยาพวกเขาจากเหตุการณ์เลวร้าย แซนทานเดอร์ ยังกล่าวต่อว่า “อย่างไรก็ตาม ยูนิเซฟยังขาดเงินทุนในการดำเนินการอยู่อีกมาก จึงได้จัดทำโครงการ #ไทยช่วยภัยไซโคลน เพื่อสร้างความตระหนักถึงวิกฤตร้ายแรงครั้งนี้และระดมทุนจากประชาชนไทยเพื่อช่วยเหลือเด็ก ๆ และครอบครัวกว่า 3 ล้านคนในแอฟริกาที่กำลังเดือดร้อนอย่างหนัก” พื้นที่ท้าทายใหม่ของเนวิเกเตอร์หนุ่ม “เจษฎาภรณ์ ผลดี” ที่ดินแดนห่างไกลในทวีปแอฟริกา นอกจากพี่ติ๊กแล้ว เมื่อไม่นานมานี้ ออร์แลนโด บลูม (Orlando Bloom) นักแสดงหนุ่มชื่อดังระดับโลกและเป็นทูตสันถวไมตรีขององค์การยูนิเซฟ ได้เดินทางไปเยี่ยมผู้ประสบภัยที่ประเทศโมซัมบิก และได้ส่งไม้ต่อให้กับพี่ติ๊ก-เจษฎาภรณ์ ผลดี นักแสดงและพิธีกรขวัญใจชาวไทยของเรา โดยเข้าร่วมเป็นตัวแทนภารกิจพิเศษของโครงการระดมทุนครั้งนี้ และเดินทางไปประเทศโมซัมบิกพร้อมกับทีมงานยูนิเซฟ เพื่อเยี่ยมเด็ก ๆ และครอบครัวที่ประสบภัย และนำเรื่องราวมาถ่ายทอดสู่สาธารณชนในประเทศไทย พี่ติ๊กยังได้เผยอีกว่า เมื่อได้รับรู้เรื่องราวของเด็ก ๆ ที่ประสบภัยพิบัติในทวีปแอฟริกาแล้ว ก็รู้สึกเห็นใจเป็นอย่างยิ่งและยังหวังว่าการเดินทางไปเยี่ยมผู้ประสบภัยยังสามารถทำให้พวกเขามีกำลังใจ สามารถผ่านเรื่องร้าย ๆ และกลับมาใช้ชีวิตอย่างปกติอีกครั้งหนึ่ง “ถึงแม้ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นทางตอนใต้ของแอฟริกาจะดูห่างไกลจากประเทศไทย เมื่อได้ยินเรื่องราวของเด็ก ๆ ที่ต้องสูญเสียบ้านและครอบครัว รวมถึงเรื่องราวของเด็กที่แม้จะรอดชีวิตแต่กลับต้องตกอยู่ในสถานการณ์ที่เสี่ยงต่อโรคระบาด และภาวะขาดสารอาหาร  เด็ก ๆ หลายคนต้องพลัดพรากจากครอบครัว หรือกลายเป็นเด็กกำพร้า บ้างตกอยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการขาดสารอาหาร บ้างก็ตกอยู่ในสถานการณ์อันตราย ถูกเอารัดเอาเปรียบ และต้องขาดเรียน เนื่องจากโรงเรียนถูกแปรสภาพเป็นศูนย์อพยพไปเสียแล้ว ทำให้ผมรู้สึกว่า ในฐานะที่พวกเราทุกคนคือประชากรบนโลกใบเล็ก ๆ ที่เชื่อมต่อถึงกัน การสนับสนุนจากคนไทยในเวลาวิกฤตเช่นนี้จะกลายเป็นพลังสำคัญที่จะช่วยชีวิต ช่วยให้เด็กๆ สามารถผ่านพ้นวิกฤตครั้งนี้ และกลับมามีชีวิตที่เป็นปกติอีกครั้ง” พื้นที่ท้าทายใหม่ของเนวิเกเตอร์หนุ่ม “เจษฎาภรณ์ ผลดี” ที่ดินแดนห่างไกลในทวีปแอฟริกา สำหรับโครงการ #ไทยช่วยภัยไซโคลน เราสามารถช่วยผู้ประสบภัยเพื่อให้เขากลับมาใช้ชีวิตปกติได้โดย พิมพ์ 100 และส่งมาที่เบอร์ 4712225 (100 บาทต่อ 1 ข้อความ) ช่องทางออนไลน์ได้ที่ http://www.unicef.or.th/cyclone หรือจะเป็นการโอนผ่านบัญชีธนาคาร: ธนาคารกรุงเทพ หมายเลขบัญชี 201-3-01324-4 กรุณาส่งข้อมูลติดต่อ (ชื่อ ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์) พร้อมใบสลิปมาที่ยูนิเซฟ โดยระบุ “ไซโคลน” มาที่ [email protected] หรือแฟ็กซ์ 02-356-9299 เพื่อบรรลุเป้าหมายของยูนิเซฟที่ว่า ภายในปี 2562 นี้ ต้องการให้ความช่วยเหลือเด็กและครอบครัวของทั้ง 3 ประเทศ ดังนี้ พวกเขาจะสามารถเข้าถึงน้ำสะอาด วัคซีนป้องกันโรค ได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน การศึกษาที่มีคุณภาพ และได้รับการเยียวยาจิตใจ จากความช่วยเหลือของคนไทยผ่านโครงการ #ไทยช่วยภัยไซโคลน พื้นที่ท้าทายใหม่ของเนวิเกเตอร์หนุ่ม “เจษฎาภรณ์ ผลดี” ที่ดินแดนห่างไกลในทวีปแอฟริกา