21 ต.ค. 2565 | 10:40 น.
เอสเต ลอเดอร์ คอมพานีส์ สานต่อพันธกิจอันยิ่งใหญ่ของเอเวอลีน เอช. ลอเดอร์ในการร่วมขจัดภัยมะเร็งเต้านม พร้อมก้าวสู่ปีที่ 30 ของการทำแคมเปญกระตุ้นเตือนภัยมะเร็งเต้านม หรือ Breast Cancer Campaign เพื่อรณรงค์ให้ผู้หญิงทั่วทุกมุมโลกตระหนักถึงภัยของโรคนี้ โดยประกาศความร่วมมือกับสถาบันมะเร็งแห่งชาติ เพื่อส่งมอบบริการรถตรวจมะเร็งเต้านมเคลื่อนที่ให้กับสตรีผู้ขาดโอกาสตามชุมชนราว 600 คน พร้อมเชิญชวนทุกคนร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมรณรงค์ผ่านผลิตภัณฑ์สีชมพู (Pink Products) ของแบรนด์ต่างๆ ในเครือเอสเต ลอเดอร์ โดยยอดขายหลังหักค่าใช้จ่ายจะนำไปสนับสนุนการดำเนินงานขององค์กรอิสระด้านการค้นคว้าวิจัย บริการทางการแพทย์ ตลอดจนโครงการเพื่อให้ความรู้สู่สาธารณะ
สำหรับในประเทศไทย เอสเต ลอเดอร์ ได้ร่วมบริจาคเงินเพื่อช่วยเหลือหน่วยงานด้านโรคมะเร็งมาเป็นระยะเวลากว่า 19 ปีแล้ว โดยเราสามารถระดมทุนได้มากกว่า 20 ล้านบาท ที่สามารถนำไปใช้สนับสนุนงานวิจัย การศึกษา และการเพิ่มศักยภาพของบริการด้านการแพทย์เพื่อผู้ป่วยมะเร็งเต้านมในประเทศไทย
ซึ่งในวาระครบรอบ 30 ปีของแคมเปญในปีนี้ เราต้องการกระตุ้นเตือนภัยมะเร็งเต้านมแบบเชิงรุก จึงเป็นที่มาของการจับมือกับสถาบันวิจัยมะเร็งแห่งชาติเพื่อส่งรถตรวจมะเร็งเต้านมเคลื่อนที่ถึงในชุมชน เพื่อให้ผู้หญิงสามารถมาตรวจและเฝ้าระวังโรคนี้ได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย”
แผนการดำเนินงานในวาระครบรอบ 30 ปีของโครงการกระตุ้นเตือนภัยมะเร็งเต้านมของเอสเต ลอเดอร์ คอมพานีส์ในปีนี้ประกอบด้วย
ซึ่งในปีนี้ถือว่าเป็นวาระที่พิเศษยิ่งขึ้นในโอกาสครบรอบ 30 ปีแคมเปญกระตุ้นเตือนภัยมะเร็งเต้านม ที่เราจะมีการจัดบริการรถตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมเคลื่อนที่ลงไปถึงชุมชนต่าง ๆ มะเร็งเต้านมเป็นปัญหาสาธารณสุขที่ทั่วโลกให้ความสำคัญเพราะเป็นโรคที่เกิดได้กับผู้หญิงทุกคนโดยเฉพาะกลุ่มที่อายุมากกว่า 40 ปี
หากตรวจพบตั้งแต่ระยะเริ่มแรกก็มีโอกาสรักษาให้หายได้ ปัจจุบันพบผู้ป่วยมะเร็งเต้านมรายใหม่ทั่วโลกประมาณ 2.2 ล้านคน และเสียชีวิตราว 684,996 คน สำหรับประเทศไทย มะเร็งเต้านมเป็นมะเร็งที่พบมากที่สุดในผู้หญิงไทย
แต่ละปีมีผู้ป่วยด้วยมะเร็งเต้านมรายใหม่ราว 17,043 คน หรือคิดเป็น 47 คนต่อวัน และมีผู้เสียชีวิตถึง 13 คนต่อวัน และคาดการณ์ว่าน่าจะมีจำนวนเพิ่มมากกว่า 22,000 รายในปีหน้า[1] ดังนั้นมะเร็งเต้านมจึงเป็นโรคที่เราควรให้ความใส่ใจเพื่อลดโอกาสที่จะเสียชีวิตจากมะเร็งชนิดนี้”
พร้อมทั้งมีเครื่องตรวจเต้านมด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงแบบอัตโนมัติสามมิติ (Automated Breast Ultrasound Scanner) ที่เหมาะสำหรับการให้บริการในพื้นที่ชุมชนได้อย่างคล่องตัวและเข้าถึงประชาชนได้ง่ายขึ้น
อย่างไรก็ตาม ประชาชนทั่วไปสามารถคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยวิธีที่เป็นมาตรฐานสากลได้หลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการตรวจเต้านมด้วยตนเองเป็นประจำทุกเดือน การเข้ารับการตรวจจากแพทย์หรือพยาบาลอย่างน้อยปีละครั้ง หรือการเข้ารับการตรวจด้วยวิธีเอกซเรย์และอัลตราซาวด์เต้านม (Mammogram) ในผู้ที่อายุ 40 ปีขึ้นไป หรือผู้ที่มีประวัติญาติสายตรงเป็นมะเร็งเต้านม
[1] ข้อมูลและสถิติจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ ปี พ.ศ. 2565