ภูมิ เอื้อชูเกียรติ - Defying Decay: เสียงตะโกนใน ‘The Law 112: Secrecy and Renegades’ และวัฒนธรรมไร้ที่พบปะทางดนตรีในไทย

ภูมิ เอื้อชูเกียรติ - Defying Decay: เสียงตะโกนใน ‘The Law 112: Secrecy and Renegades’ และวัฒนธรรมไร้ที่พบปะทางดนตรีในไทย
“ผมรู้สึกผมอยากจะเป็นวงนั้น วงแรกที่เหมือนเปิดโอกาสตรงนี้ให้คนอื่นเห็นว่าจริง ๆ ดนตรีก็เป็น career ได้” คือคำพูดที่ตกผลึกจากเหตุการณ์ฝังใจ ‘เจ - ภูมิ เอื้อชูเกียรติ’ นักร้องนำ ‘Defying Decay’ วงเมทัลสัญชาติไทย เจ้าของ ‘The Law 112: Secrecy and Renegades’ เพลงที่ได้รับความสนใจไม่น้อยจากทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ  เรื่องราวแบบไหนที่ทำให้เขาถ่ายทอดเพลงนี้ออกมาอย่างที่เราได้ฟัง ความฝันแบบไหนที่เขามี และโลกดนตรีแบบไหนที่เขาเห็น ภูมิ เอื้อชูเกียรติ คือนักร้องนำวง ‘Defying Decay’ ที่มีความมุ่งมั่นอยากออกทัวร์ไปทั่วโลก ได้บอกเล่ามุมมองที่แตกต่าง ทั้งทัศนะด้านการเมืองและดนตรี ที่นำมาซึ่งบรรยากาศเสพเพลงที่ไม่เหมือนกันระหว่างซีนดนตรีไทยและเทศเอาไว้ผ่านการสนทนากับเรา   The People: เริ่มสนใจดนตรีตั้งแต่เมื่อไร ภูมิ: จริง ๆ ก็ชอบดนตรีมาตั้งแต่เด็กเลยครับ เพราะตอนเด็ก ๆ ก่อนที่ผมจะมาทำดนตรีเป็นวง ผมก็อยากร้องเพลง ร้องเพลงมาตั้งแต่ตอนประมาณ 3 - 4 ขวบ แล้วก็เล่นระนาดตอน 6 ขวบ เพราะว่าตอนเด็ก ๆ คุณพ่อผมพาไปดูหนังเรื่อง ‘โหมโรง’ เลยอยากเล่น เล่นระนาดได้ประมาณ 2 - 3 เดือนก็เลิกเล่น เพราะอยากเล่นแค่เพลงโหมโรงแบบในหนังเฉย ๆ (หัวเราะ) เล่นได้ก็เลยเลิก แล้วก็มาเริ่มเล่นกีตาร์แล้วก็อะไรพวกนี้ตอนประมาณ 9 ขวบ The People: แสดงว่าที่บ้านสนับสนุนให้เล่นดนตรี เขาเคยให้เหตุผลไหมว่าทำไมถึงสนับสนุน ภูมิ: เขาก็ไม่ได้ให้เชิงเหตุผล แต่เขาก็บอกอยากให้ทำในสิ่งที่ตัวเองชอบมาตั้งแต่เด็ก ถ้าเกิดยูชอบเล่นดนตรีก็เล่นได้ สนับสนุน   The People: ช่วงไหนที่หันมาจริงจังกับการเล่นดนตรี ภูมิ: ก็ตั้งแต่ตอนเด็ก ๆ เลยครับ เพราะตอนเด็กผมเล่นกีตาร์อะไรใหม่ ๆ เด็ก ๆ ผมก็อยากมีวงเลย วง Defying Decay ที่ทำมาอยู่ทุกวันนี้จริง ๆ ผมก็ทำมาตั้งแต่เด็ก ตั้งแต่ตอนอายุ 13 - 14 ปี   The People: ฟังแนวเมทัลตั้งแต่เด็ก? ภูมิ: You could say that. ใช่ครับ เพราะก็ฟังเป็นร็อกมาก่อน ฟังพวก Linkin Park, Deftones แล้วก็พวกสมัยนั้น ยุคนั้น    The People: เล่าจุดเริ่มต้นของวงให้ฟังสักหน่อย ภูมิ: ที่อยากทำ Defying Decay ขึ้นมา จริง ๆ ตอนที่ผมทำมาตั้งแต่ตอนเด็ก ๆ lineup จริง ๆ ก็ถูกเปลี่ยนไปหมดแล้ว ตอนแรกก็เริ่มเจอเพื่อนที่คอนเสิร์ต Linkin Park เขาก็ชวนผมทำวงก่อน แล้วเราก็เริ่มทำ ใช้ชื่อเดิมมาตลอดไม่ได้เปลี่ยน มีเปลี่ยนแค่แต่ก่อนมันเป็น Defying The Decay ตอนนี้ก็เป็น Defying Decay เฉย ๆ    The People: ตอนอายุ 14 คิดไหมว่าอยากพาวงไปถึงจุดไหน ภูมิ: ก็มีคิดไว้ ผมอยากเป็นวงที่ได้ไปทัวร์ ไปเล่นคอนเสิร์ตที่ต่างประเทศเยอะ ๆ เพราะว่าผมโตกับการเห็นคุณพ่อผมเขาเดินทางไปประชุมที่ต่างประเทศที่นู่นที่นี่เยอะ แล้วเขาก็จะชอบพาผมไปด้วยถ้าผมไปได้หรือไม่ได้ติดเรียน ผมก็เลยคิดตั้งแต่เด็กแล้วว่าผมอยากจะทำงานอะไรก็ได้ที่เดินทางได้ ไม่ได้อยู่กับที่ เพราะผมไม่ได้ชอบอยู่ที่เดียว ก็มีความฝันว่าถ้าเกิดผมเล่นดนตรีได้ แล้วสามารถมีคนเชิญไปเล่นที่ต่างประเทศอะไรอย่างนี้บ่อย ๆ ก็คือความฝัน    The People: ตอนทำอัลบั้มแรกมีทัวร์หรือยัง ภูมิ: ยังเลยครับ ผมทำอัลบั้มแรกตอนประมาณปี 2013 - 2014 ปล่อยตอนปี 2015 ตอนนั้นจริง ๆ อัลบั้มแรกผมทำเองหมดเลย เพราะตอนนั้นผมก็สนใจที่จะเรียนเกี่ยวกับเรื่อง Audio Engineering ด้วย ผมก็เลยอัดเองที่บ้านหมดเลยกับเพื่อนเฉย ๆ ช่วงซัมเมอร์ที่ตอนนั้นปิดเทอม    The People: มีที่มาในการทำเพลงในอัลบั้มอย่างไร ภูมิ: จริง ๆ แล้วอัลบั้มแรกพูดตรง ๆ ผมยังเด็กอยู่ ผมไม่ค่อยได้มีคอนเซ็ปต์อะไรขนาดนั้น ผมก็ฟังดนตรีมาตั้งแต่เด็กเหมือนพวก Linkin Park อะไรอย่างนี้ ผมก็ยังเด็กมาก ผมไม่รู้หรอกว่าเขาพูดถึงเรื่องอะไรขนาดนั้น ผมดูเนื้อ แต่ผมก็ไม่ได้รู้ว่าเขาหมายความว่าอย่างไร ตอนผมเขียนพวกเนื้อร้องอะไรอย่างนี้ ผมก็เลยจะเขียนแบบมันไม่ได้ถึงกับมี message แต่แบบ It’s more like a dialogue เหมือนเขียนเป็น dialogue แล้วก็เหมือน describe atmosphere of the song เหมือนว่า describe บรรยากาศของเพลงนี้ว่ารู้สึกอย่างไร เป็นอย่างนั้นมากกว่า    The People: เริ่มทัวร์คอนเสิร์ตในไทยหรือต่างประเทศก่อน ภูมิ: ผมไม่ค่อยทัวร์ในไทยครับ เพราะรู้สึกว่าที่ประเทศไทยมันไม่มีที่ให้ทัวร์สักเท่าไร แล้วก็ไม่มีที่ให้ไปเล่น ทัวร์แรกของผมที่ออกต่างประเทศจริง ๆ ก็คือทัวร์ที่ประเทศจีน กับมาเก๊า กับฮ่องกง ตอนนั้นผมมีเพื่อนคนหนึ่งซึ่งเป็นคนจีน แล้วก็ที่จีนซีนดนตรีเขาก็มีให้ทัวร์มีอะไรได้ เพื่อนผมกับผมก็เลยบุ๊กกันเองเลย  เพื่อนผมกับผมก็ติดต่อไป ตอนแรกหา promotor ที่จีนก่อน แล้วก็คุยกับเขาว่าต้องการจะมาทัวร์ เป็นวงมาจากไทยนะ เขาก็สนใจ แล้วเพลงตอนช่วงนั้นเขาก็โอเค เขาก็เลยช่วยบุ๊กให้ แล้วก็ติดต่อไปที่ livehouse หรือว่าสถานที่เล่นดนตรีแต่ละเมืองเลยว่าสนใจจะมาทัวร์ช่วงนี้รับได้ไหม งานนี้ช่วงนี้ ๆ ทัวร์นั้นเป็นทัวร์แรก แล้วก็ทัวร์มาเรื่อย ๆ เลย   The People: ทัวร์ครั้งไหนที่ประทับใจที่สุด ภูมิ: ทัวร์ที่อังกฤษตอนปี 2019 เมื่อ 3 ปีที่แล้ว เพราะทัวร์นั้นทัวร์ของวง Motionless in White เป็นวงเปิด มีแค่วงผมกับ Skold แล้วก็ Motionless เลย แต่ว่ามันเป็นเหมือนโมเมนต์ที่ dream comes true นิดหนึ่ง เพราะว่างานที่เล่น venue เล่นเป็น venue ที่ใหญ่หมดที่อังกฤษ แล้วผมก็เรียนมหาวิทยาลัยที่อังกฤษ แล้วผมก็เคยไปดูคอนเสิร์ตที่ venue พวกนั้นค่อนข้างบ่อย ก็ไม่คิดว่าวันหนึ่งจะได้มาเล่นเอง มาเล่นแล้วก็มีคนดูแล้วมันก็ sold out  ภูมิ เอื้อชูเกียรติ - Defying Decay: เสียงตะโกนใน ‘The Law 112: Secrecy and Renegades’ และวัฒนธรรมไร้ที่พบปะทางดนตรีในไทย The People: ระหว่างที่ทำวงก็มีการเปลี่ยนสมาชิกเรื่อย ๆ  ภูมิ: มีเรื่อย ๆ ครับ เพราะว่าตอนที่ผมทำมันตอนเด็ก ๆ จริง ๆ สมาชิกชุดแรกของผมก็เป็นเด็กที่เรียนอินเตอร์ด้วยกัน แต่ว่าตอนที่โตขึ้นมาเรื่อย ๆ เราก็เปลี่ยนที่เรียน ผมก็ไปเรียนเมืองนอก เพื่อนผมอยู่เมืองไทย ก็กระจายกันทั่ว เหมือนตอนนั้นมือกีตาร์คนหนึ่งเรียนอยู่ที่อเมริกา ผมเรียนอยู่ที่อังกฤษ อีกคนอยู่สิงคโปร์อะไรอย่างนี้ มันก็เหมือนไม่ค่อยเวิร์กเท่าไร แต่ก็พยายามเกาะทำมาเรื่อย ๆ แต่พอเรียนจบกันแต่ละคนก็ไปทำงาน แยกไปทำอะไรของตัวเอง ผมก็ยังอยากจะทำวงต่อ เพราะว่าผมเคยทัวร์มาแล้ว ก็รู้สึกว่าลงทุนอะไรกับชีวิตไปเยอะแล้วกับเรื่องนี้ แล้วมันก็เป็นความฝันจริง ๆ   The People: หลังการเปลี่ยนสมาชิกแต่ละครั้ง มีวิธีสื่อสารกับสมาชิกใหม่อย่างไรให้สามารถคงความเป็นวงไว้ได้ ภูมิ: ก็ไม่ได้มีอะไรมากนะครับ เพราะผมรู้สึกว่าสมาชิกของผมที่เข้ามาใหม่ก็ค่อนข้างมีประสบการณ์อยู่แล้ว แล้วก็เก่งกันอยู่แล้ว ก็เลยไม่ได้มีอะไรมากขนาดนั้น อาจจะมีบางทีเรื่องชั่วโมงบินการทัวร์ต่างประเทศ แต่ทุกคนก็ enjoy กัน แล้วจริง ๆ การที่มีสมาชิกเซตใหม่เข้ามา หรือ lineup ใหม่มันก็ Like give me motivation again to live continue. เพราะก็รู้สึกว่าบางทีตอนแรกทำมาก็อาจจะเบื่อ ๆ กันบ้าง แต่ว่าพอมีสมาชิกใหม่มา ที่ยังไม่เคยไปทัวร์อะไรเลย บางทีก็เด็กกว่าเราตั้งเยอะ แล้วเขาก็ยังมีไฟที่จะทำอยู่ มันก็ทำให้ผมได้รับแรงบันดาลใจ   The People: มีช่วงไหนที่รู้สึกว่าเหนื่อยกับการทำวงบ้างไหม ภูมิ: ทำมาเยอะ แล้วพอเปลี่ยนสมาชิกบ่อยมันก็มีเหนื่อยบ้าง ทำงานยากเพราะว่าการที่เราจะมีวงหนึ่ง เราก็อยากจะให้สมาชิกอยู่กับเรานาน ๆ จะได้เหมือนโตไปด้วยกัน develop ไปด้วยกัน พอเราเล่นกับสมาชิกเซตหนึ่ง แล้วเล่นไปนาน ๆ ซ้อมไปเยอะ ๆ พอเราเปลี่ยนสมาชิกใหม่ มันก็กึ่งเหมือน start over again มันก็เหมือนกับคนอื่นมา cover เพลงของเราอีกทีหนึ่ง เหมือนมาเรียนอะไรใหม่ มันก็เหนื่อยนิดหนึ่งช่วงนั้น แต่ผมก็อยากทำต่อไปเรื่อย ๆ ไม่เชิงท้อ แต่มันเหมือนคิดกับตัวเองว่าเมื่อไหร่จะเจอ lineup ที่ใช่ แล้วก็อยู่อย่างนี้นาน ๆ   The People: มองวงดนตรีเป็นอะไรสำหรับชีวิตคุณ ภูมิ: เป็นเหมือนครอบครัว ก็เหมือนบริษัทด้วย ซึ่งผมทำมานานสุด แล้วคนที่เข้ามาใหม่ผมก็ต้องเทคแคร์เขาแล้วก็ดูแลเขา ก็มองตัวเองว่าเหมือนเป็นประธานบริษัท (หัวเราะ) ประธานบริษัทที่ว่าต้องดูแลวงคนอื่น   The People: คิดว่าวงการร็อกในไทยเป็นอย่างไร ภูมิ: ผมอาจจะตอบมากไม่ได้ เพราะผมไม่ค่อยได้เป็นวงที่อยู่ในซีนบ้านเราเท่าไร เพราะว่าตั้งแต่ตอนเด็ก ๆ คือผมก็เรียนอินเตอร์มา แล้วไปต่อต่างประเทศ ผมก็เลยไม่ค่อยได้อยู่ในซีน หรือรู้จักซีนของไทยสักเท่าไร แต่ถ้าเกิดให้ผมบอกได้ก็คือช่วงตอนที่ผมเริ่มเลย แล้วปล่อยอัลบั้มแรก ตอนนั้นรู้สึกว่าซีนก็ยังแข็งแรงอยู่เพราะคนยังนิยมฟังเพลงร็อกอยู่ ถ้าเกิดสังเกตช่วงประมาณ ปี 2012 ก็ยังเหมือนพีคกันอยู่ แต่ตอนนี้ก็เหมือนไม่ได้ขนาดเหมือนสมัยก่อนแล้ว ก็ธรรมดาผมรู้สึก เพราะว่ามันเหมือนคนเขาก็ต้องไปสนใจอย่างอื่นบ้าง มันก็เป็นเทรนด์มาแล้วไป หมายถึง  mainstream แต่เพลงเราก็ยังมีอยู่ได้เรื่อย ๆ แต่ว่าก็อาจจะเป็นซีนอยู่ประมาณนี้ เพราะถ้าเกิดคุณสังเกต ถ้าเกิดเราไปเล่นคอนเสิร์ต คนที่มาดูเรา audience เรา แต่ก่อนก็จะเป็นเหมือนพวกเด็กรุ่น ๆ เราเลย แต่ตอนนี้คือคนก็จะเริ่มแก่ขึ้นตามเราไปด้วย รู้สึกอย่างนั้นนิดหนึ่ง    The People: ทราบมาว่าสมาชิกในวงอยากลองทำเพลงอื่นที่ไม่ใช่เพลงรัก? ภูมิ: คือผมเป็นคนฟังเพลงแล้วผมไม่ค่อยฟังเนื้อหาสักเท่าไร ผมสนใจแค่ส่วนใหญ่จะเป็นแค่ melody and music วงหนึ่งที่ผมชอบมากตอนเด็ก ๆ แล้ว Deftones จริง ๆ เขาก็บอกเลยเหมือนเพลงเขาบางเพลงมันไม่มี message ผมไปอ่านเนื้อเขาก็ไม่รู้เขาพยายามพูดถึงเรื่องอะไร แต่มันก็ทำให้เราคิดตามได้ ซึ่งผมรู้สึกอันนั้นคือจุดที่ทำให้ดนตรีน่าสนใจ เพราะบางทีถ้าเกิดเราไม่รู้แน่นอนว่าเขาคิดอะไร แต่เราก็สามารถเอามา interpret เองได้ ว่าเหมือนเขาพูดอย่างนี้ อาจจะแปลว่าอย่างนี้สำหรับเรา แล้วก็สำหรับคนอื่นอาจจะแปลว่าอย่างอื่น แล้วผมก็อาจจะโตมาไม่ค่อยได้ฟังเพลงรัก หรืออะไรพวกอย่างนี้ด้วย    The People: เป็นสิ่งที่คิดเวลาเขียนเพลงเลยไหมว่าจะเขียนให้คนฟังตีความเอง ภูมิ: ส่วนใหญ่จะชอบให้คนฟังเขาตีความกันมากกว่า เพราะว่าตอนที่ผมทำเพลงปกติ จริง ๆ การเขียนเนื้อเพลงของผม ผมจะเขียนตอนที่อัดร้องด้วยซ้ำ บางทีก็เขียนขึ้นมาตรงจุดเลยว่ารู้สึกอยากจะพูดถึงอะไรประมาณไหน อะไรอย่างไร แต่จะไม่ได้เป็น process ที่คิดมาก Oh, not every song ไม่ใช่ทุกเพลงที่จะเขียนอย่างนั้น แต่ว่าส่วนใหญ่จะเป็นอย่างนั้น    The People: หมายถึงเขียนเนื้อหน้าไมค์ ภูมิ: ใช่ครับ เหมือนตอนที่ผมอัดเพลงอยู่ ผมอัดทุกอย่างเสร็จแล้วจะอัดร้อง บางทีก็จะมาเขียนเนื้อร้องตรงนั้นเลยก่อนจะอัด หรือว่าตอนที่อัดอยู่เลย    The People: ตอนเขียนเพลง The Law 112: Secrecy and Renegades ขึ้นมา เขียนจาก process นี้หรือเปล่า ภูมิ: เป็น process นี้ แต่ว่าจริง ๆ มันมาจากตอนแรกที่ผมทำอัลบั้มใหม่อยู่ แล้วอัลบั้มใหม่ผมตั้งใจจะพูด ผมมีคอนเซ็ปต์ที่ชัดเจน แต่ผมก็ไม่ได้มีเขียนบอกว่าเพลงนี้จะพูดถึงเรื่องอะไรอย่างไรแต่ละอย่างบ้างอยู่แล้ว แต่คอนเซ็ปต์ผม ผมก็อยากจะเขียนเกี่ยวกับเรื่องสังคมที่ผมเห็นอยู่ทุกวันนี้ ต้องเล่าคอนเซ็ปต์อัลบั้มก่อนดีกว่า ตอนแรกอัลบั้มใหม่ของผมที่อยากจะทำ ซึ่งผมหวังว่าจะได้ปล่อยปีนี้ มันเป็นครั้งแรกที่ผมทำงานแล้วอยากจะมีคอนเซ็ปต์เล่า รู้สึกเป็น next step เพราะอัลบั้ม 2 อันที่ผ่านมามันก็ไม่ได้มีตรงนี้ คอนเซ็ปต์จริง ๆ ที่อยากพูดถึงก็คือเรื่องสังคมของเราว่าทำไมมันถึงได้เป็นอย่างนี้ อะไร ทำไม  ผมได้ไอเดียมาจากเกม Dark Souls ที่ว่าบนโลกใบนี้ถ้าเกิดมันมีไฟขึ้นมา วันหนึ่งมันก็ต้องมีดับ แล้วมันก็ต้องถึงในยุคของความ dark likes a dark age ในเกมเหมือนในเนื้อเรื่องจริง ๆ ก็พูดประมาณว่าในเกมของเขา เขาก็พยายามฝืน แล้วก็ตัวคนที่เป็นคนจุดไฟเริ่มแรกขึ้นมา ทำให้มีไฟแล้วรุ่งเรืองได้ เขาก็ไม่ยอมที่จะให้มัน fade ดับไปเป็นยุคมืด เผาตัวเองจุดไฟเพื่อยืดเวลาของไฟออกไปอีก แต่สิ่งที่เขาไม่ทราบเลยก็คือตอนที่ทำอย่างนั้น แล้วมันก็มีเหมือน curse หรือคำสาปนั้นขึ้นมา ซึ่งทำให้มีพวก unhallowed หรือคนคอร์รัปชันอะไรเกิดขึ้นในตัว ซึ่งผมแค่รู้สึกว่ามันคล้ายกับทุกอย่างที่เกิดขึ้น ไม่ใช่ในประเทศเราอย่างเดียว แต่ทั่วโลกเลย    The People: ทำไมถึงสนใจเรื่องการเมือง ภูมิ: คือหนึ่งวิชาตอนที่ผมเรียนหนังสืออยู่ ก่อนที่จะเข้ามหาวิทยาลัยไปเรียนอะไรของตัวเอง ผมชอบวิชาประวัติศาสตร์ แล้วผมก็รู้สึกว่ามันน่าสนใจ เพราะผมรู้สึกว่า (การเมือง) มันเป็นเหมือนกับประวัติศาสตร์ แต่เป็นเหมือนเวอร์ชันที่สอนไม่ได้ เหมือนว่าในสังคมเราเคยเกิดอะไรขึ้นมา แล้วที่ผมบอกว่ามัน funny เพราะผมรู้สึกประวัติศาสตร์มันไม่เคยเป็นบทเรียนให้มนุษย์สักเท่าไร ผมรู้สึกว่า People should like repeat it, you know? อย่างที่เราเห็นกันทุกวันนี้ มนุษย์ก็ไม่ได้เปลี่ยนไปเลยในพันปีที่ผ่านมา We’re so like human.    The People: เชื่อว่าประวัติศาสตร์ทำให้เรารู้ว่าประวัติศาสตร์ไม่เคยสอนให้มนุษย์รู้อะไรเลย? ภูมิ: ใช่ครับ ผมชอบประวัติศาสตร์เพราะมันสนุกดี มันเหมือนสตอรี่   The People: เป็นคนเล่นเกมไหม ภูมิ: ก็ไม่ขนาดนั้น ผมเป็นคนที่เล่นดนตรี แล้วผมก็ไม่ค่อยเล่นเกมเลย แต่เกม Dark Souls เป็นหนึ่งในไม่กี่เกมที่ผมชอบเล่นมาก เพราะมันเล่นยาก แล้วเหมือนกับคอนเซ็ปต์ของเกมนี้คือมันทำให้เล่นยาก แล้วสตอรี่จะไม่ได้เล่าอะไรเยอะมาก จะต้องไปอ่าน law เอาเอง แล้วให้คน interpret เอง คิดว่าอะไรเป็นอย่างไร แล้วก็คิดว่า storyline กับโลเคชันอะไรมันสวยดี มันอลังการดี มันสนุกดีก็เลยชอบ แต่ผมก็ชอบเกมนี้ในคอนเซ็ปต์ที่เราพูดว่า ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นมาบนโลกใบนี้มันต้องมีวันจบ แล้วก็ repeat cycle อันนี้คือคอนเซ็ปต์เขามาตลอดตั้งแต่ภาคหนึ่ง แล้วก็ด้วยความที่เขาเปิดให้ทุกคน interpret สตอรี่ของตัวเองได้    The People: สิ่งที่สนใจนอกจากดนตรี ภูมิ: ไม่ค่อยได้มีขนาดนั้นนะครับถ้าพูดตรง ๆ เลย ส่วนใหญ่ผมรู้สึกผมชอบดนตรีที่สุด เพราะว่าผมทำดนตรีทั้งวัน แล้วก็ถ้าได้อะไรมาผมก็เอามาเข้ากับดนตรีผม เหมือนกับเอามาใช้กับดนตรีหมด    The People: กลับจากนี่ไปก็เข้าห้องซ้อมเลยไหม ภูมิ: ก็ไม่ได้เชิงเข้าห้องซ้อม แต่ว่าผมกลับไปจะพยายามไปบุ๊กทัวร์ต่อ แล้วก็ไปคุยกับ agent ต่อว่าปีนี้มีที่ไหนเขาจะรับ offer เราไหมเพื่อให้วงเราเติบโตขึ้น แล้วก็อยากไปเล่นที่ต่างประเทศต่อ เหมือนไม่ค่อยอยากอยู่กับที่ ไม่ค่อยอยากอยู่บ้านเท่าไร จนบ้านมันกลายเป็นเหมือนกับโรงแรมหนึ่งที่เราคุ้นเคยมากกว่า   The People: ครอบครัวคิดอย่างไรกับการที่คุณชอบอยู่นอกบ้าน เคยมีขอให้อยู่บ้านมากขึ้นไหม ภูมิ: ไม่เลยครับ คุณพ่อผมบอกมาตลอดว่าเขาอยากจะให้ผมทำในสิ่งที่ผมชอบ และประสบความสำเร็จเฉย ๆ แล้วไอเดียของเขาที่บอกผมมาตั้งแต่ตอนเด็ก ๆ คือเขาบอกผมว่าการประสบความสำเร็จของคุณพ่อ ไม่ใช่หมายความว่าต้องหาเงินได้หรืออะไรอย่างนั้น แต่ที่อยากให้ทำได้คือต้องเป็นที่ยอมรับของสังคม แล้วเป็นคนดีให้คนอื่น ภูมิ เอื้อชูเกียรติ - Defying Decay: เสียงตะโกนใน ‘The Law 112: Secrecy and Renegades’ และวัฒนธรรมไร้ที่พบปะทางดนตรีในไทย The People: ในสายตาคุณ คุณพ่อเป็นคนอย่างไร ภูมิ: คุณพ่อผม คุณยศ เอื้อชูเกียรติ ก็เพิ่งเสียไปเมื่อปีที่แล้ว วันที่ 16 พฤศจิกายน 2021 ในความคิดของผม ถ้าเกิดพูดถึงคุณพ่อของผม ผมก็มองเขาเป็นคนที่พยายามทำให้สังคมดีขึ้นมาตลอด even though ไม่รู้บางคนถ้าเกิดพูดไปก็อาจจะไม่ได้เห็นด้วย แต่ในสายตาผมก็แล้วกัน เพราะว่าเหมือนทุกอย่างที่เขาโปรเจกต์ อะไรทุกอย่างที่เขาสร้างขึ้นมาทำขึ้นมา เขาก็ทำเพื่อสังคมทั้งหมด แล้วเขามีอะไรเขาก็ให้หมด อย่างเช่นที่เขาไม่อยู่แล้ว สมบัติอะไรที่เหลือของเขา เขาก็บอกให้บริจาคให้หมดจริง ๆ เราก็ไม่ได้อะไรเลย   The People: สิ่งที่คุณพ่อสอนส่งผลต่อตัวตนในวันนี้มากแค่ไหน ภูมิ: มีผลเยอะครับ จะมีผลอย่างไรมันก็แล้วแต่ เหมือนน้องผมก็เป็นอีกแนวอีกเวย์หนึ่งเลย อยากทำธุรกิจอะไรอย่างนี้ แต่ว่าตัวผมเองมันก็อยากประสบความสำเร็จในเรื่องที่ผมชอบ ที่คุณพ่อสนับสนุนมาตั้งแต่เด็ก แล้วก็ทำอย่างนั้น… ให้เป็นเรื่องที่ยอมรับในสังคมได้ แล้วก็ให้เป็นคนดี แล้วก็ทำเพื่อให้คนอื่น    The People: มีสิ่งที่ทำให้ยังยืดมั่นในการทำเพื่อคนอื่นไหม เพราะโลกทุกวันนี้การที่คิดถึงคนอื่นก่อนตัวเองอาจไม่ใช่เรื่องง่าย ภูมิ: จริง ๆ ผมถ้าเกิดจะพูดว่าไม่ได้ประโยชน์มากก็อาจจะไม่ได้ อย่างหนึ่งที่มองว่าอาจจะให้คนอื่น again disclaimer เพราะว่าทุกคนอาจจะไม่เห็นด้วย แต่ผมรู้สึกว่าผมอยู่ประเทศไทยมานาน แล้วก็เกิดที่นี่ แต่ว่าประเทศไทยก็มีคนเล่นดนตรีอะไรเก่งมากหลายคน แล้วก็จริง ๆ ศิลปะก็ไม่แพ้ต่างประเทศเลย ดีกว่าด้วยซ้ำ เพราะผมรู้สึกว่าเหมือนคนที่ประเทศไทยหรือในเอเชีย ด้วยความที่เราอาจจะไม่ค่อยได้มีโอกาส เพราะคนไม่ได้สนับสนุนมาตั้งแต่เด็ก ถ้าเกิดเขาชอบเขาก็ขยันมาก แล้วรายละเอียดมาก เหมือนผมไปทำงานต่างประเทศก็จะบอกว่าเหมือนคนเอเชีย เขารู้สึกว่าจะละเอียดอ่อนกว่าเยอะ แต่ที่เมืองนอกจะได้เปรียบตรงที่เขามีของเล่น มีอุปกรณ์ดีกว่าเยอะ  แล้วผมก็เคยมีความคิดว่าที่ผมทำวง Defying Decay เพราะผมอยากจะเป็นเหมือนวงแรก ๆ ก็แล้วกัน ที่สามารถประสบความสำเร็จ และเป็นที่ยอมรับของต่างประเทศได้ แล้วก็เป็นอย่างที่ทำอยู่ทุกวันนี้ ไปทัวร์เรื่อย ๆ แต่ว่าในเชิงที่ว่ามีคนเหมือนจ้างไปเล่น แล้วก็มีพวกคนตรงนั้นมาดู ไม่ใช่ถ้าเกิดผมไปเล่นแล้วมีแต่นักเรียนไทยมาดู อยากให้เป็นเหมือนผมไปเล่นแล้วคนที่นั่นดูแล้วเป็นที่รู้จักทั่วโลก แล้วผมรู้สึกผมอยากจะเป็นวงนั้น วงแรกที่เหมือนเปิดโอกาสตรงนี้ให้คนอื่นเห็นว่าจริง ๆ ดนตรีก็เป็น career ได้  เพราะว่ามันยังคาใจมากเลย ผมจำได้ตอนนั้นผมไปกินร้านญี่ปุ่นฮินาตะ โอมากาเสะที่เซ็นทรัล เอ็มบาสซี ผมไปกินคนเดียว แล้วก็มีลูกกับแม่อีกคนหนึ่งมานั่ง แล้วผมก็ over conversation ของเขา ลูกเขาบอกว่าเขาอยากได้ไปเรียนมหาวิทยาลัยเบิร์กลีย์ อยากไปเรียนดนตรี คุณแม่เขาบอกเลยว่าดนตรีก็ให้มันเป็น hobby ไปสิ ให้มันเป็นงานอดิเรก เพราะดนตรีหาเงินไม่ได้นึกออกไหม ซึ่งมันไม่จริง ผมรู้สึกว่าใน culture ของเอเชียทั้งหมดมัน not just try มันจะมีความที่เหมือนกับต้องหาเงินมาเลี้ยงตัวเองได้ จะไม่ได้เหมือนที่เมืองนอกที่ผมรู้สึกเหมือนตอนอายุ 16 - 17 ปี เขาก็ปล่อยให้ไปหางานพาร์ทไทม์ทำที่แมคโดนัลด์หรือ whatever แล้วจะทำวงก็เรื่องของเขา เขาก็ปล่อย ของเมืองไทยจะค่อนข้าง fix และจะไม่มีโอกาสตรงนั้นเลย ผมอยากจะ prove จริง ๆ ว่าทำได้ แล้วผมก็มั่นใจว่าทำได้    The People: คิดว่าการห้ามเล่นดนตรีของคนในครอบครัว ส่งผลต่อวงการดนตรีในไทยด้วยไหม ภูมิ: ผมว่ามี 100 เปอร์เซ็นต์ ที่ผมไม่ได้เล่นคอนเสิร์ตที่เมืองไทยเท่าไร ไม่เคยมีทัวร์ที่เมืองไทย เพราะว่า culture ของการดูดนตรีสด ผมรู้สึกเป็น culture ของทางเมืองนอกเขามากกว่า ทางยุโรป อเมริกา เพราะว่าผมจำได้เลยตอนที่ผมทำอัลบั้ม 2 เสร็จ ผมก็มีบริษัท PR ที่เมืองนอก แล้วเขาก็บอกกับผมตรง ๆ ว่าเขาอาจจะยังทำอะไรให้เจมากไม่ได้ เพราะว่าเจยังไม่ค่อยได้มาเล่นที่เมืองนอกเลย แล้วเหมือนถ้าเกิดเขาจะยื่น pitch เรื่องของผมไปให้แมกกาซีนตรงนู้นตรงนี้พูดถึง เขาก็ต้องการจะถามว่าแล้ววงนี้เขาจะมาเล่นที่นี่ time soon ไหม ไปหาดูได้เปล่า ผมรู้สึกว่า culture ของที่นั่นก็คือว่าการเสพดนตรีไม่ใช่การฟังดนตรีจากซีดีหรือแผ่นอย่างเดียว แต่มันคือ culture ของการไป experience หรือดูดนตรีสด สำหรับผมตอนอยู่ที่นั่นคือเหมือนแบบเฮ้ย! วันศุกร์นี้ว่างเปล่า ไปที่ venue มันมีวงนี้เล่นอยู่อะไรอย่างนี้ มันมีบ่อย ที่เมืองไทยการไปดูคอนเสิร์ตมันเหมือนการไปดูหนัง รู้สึกมันเป็นเรื่องใหญ่มาก ต้องแต่งตัวดีนึกออกไหม นาน ๆ ไปที ไม่ได้มีทุกวัน   The People: ที่เมืองนอกคือไปดูได้เลย ภูมิ: ใช่ ก็มีเรื่อย ๆ แล้วคนที่มาดูเขาก็มาดูจริง ๆ เหมือนที่เมืองไทยผมสังเกตว่าปกติคนมาดูเขาก็จะ… you know? เหมือนปาร์ตี้ หรือไปกินเหล้ากับเพื่อน จะนั่งโต๊ะอะไรอย่างนี้ มันจะไม่ได้มีเป็น venue ที่แบบเป็น venue จริง ๆ เหมือนกับมีคนมายืนดูสักเท่าไร มี 2 สเกลเลย ก็มีอิมแพคอารีน่าไปเลย มันจะไม่มี mid-sized venue สักเท่าไร    The People: โชว์ดนตรีในไทยถ้าไม่อยู่ในฮอลล์ใหญ่ก็อยู่ในผับ ภูมิ: ใช่ ซึ่งประเด็นคือตอนอยู่ในผับคนเขาก็ไม่ได้สนเราหรอก คนเขาก็ expect จะมา… นึกออกไหม มากินเหล้า แล้วส่วนใหญ่มันก็จะเป็น cover band มันมีวงที่ทำจริง ๆ จัง ๆ อยู่ แต่ว่าแบบ… มันถึงได้เป็นไปไม่ได้ไงที่ผมพยายามพูด ที่เหมือนกับในประเทศไทยมันไม่ใช่เป็น culture เราจริง ๆ เราจะไปถึงอิมแพคอารีน่า ไม่ได้มีจุดอื่น   The People: จะมีโอกาสกลับมาทำโชว์ในไทยไหม ภูมิ: ก็อยากมานะครับ เพราะก็เป็นบ้านเกิดตัวเอง what’s my dream จริง ๆ ก็คืออยากจะทัวร์ที่ประเทศไทยแหละ แต่ผมไม่รู้จะเกิดขึ้นได้เมื่อไหร่จริง ๆ เพราะว่าอย่างที่บอกไป ตอนนี้ถ้าเกิดผมอยากจะไปทัวร์ในประเทศไทย ผมก็อาจจะต้องติดต่อร้านเหล้าหรือผับแต่ละอันไป แต่มันก็คงไม่ได้มีใครมาดูหรอก เขาขายคนละแนว มันไม่ใช่เป็นที่ให้ดนตรีร็อกหนัก ๆ มาเล่น    The People: แม้แต่ในร็อกผับ หรือเมทัลผับด้วยไหม ภูมิ: หมายถึงมันก็ได้ แต่มันก็มีไม่เยอะหรือเปล่าพวกนั้น เหมือนกับมันก็มีผับที่กรุงเทพฯ แล้วที่อื่นมีที่ไหนอีกไหมครับ ผมก็นึกไม่ออก    The People: ในต่างประเทศมีสถานที่ชมดนตรีทุกหัวเมืองไหม ภูมิ: ใช่ครับ จะมีหมดเลย แต่ละที่ก็จะมี venue เยอะมาก มันก็จะมีตั้งแต่สเกลเล็กเหมือนร็อกผับ แล้วก็มีแบบเหมือนสเกล 500 800 1,000 2,000 4,000 5,000 อะไรไปเรื่อย ๆ ไปจนถึง 20,000 มันจะมีหมด แล้วพวกสเกลกลาง ๆ เหมือนกับ 1,000 2,000 มันก็มีวงเล่นเรื่อย ๆ ก็ไปดูได้    The People: อยากถามถึงสัญญะที่ปรากฏใน MV เพลง The Law 112 ภูมิ: I just self-reflect บอกว่าสังคมเราเป็นอย่างไร แล้วยูก็จะเห็นกราฟิกพวก เหมือนที่ฝรั่งเศสสมัยก่อน แวร์ซายอะไรอย่างนี้ แต่อันนี้ผมแค่ต้องการจะเปรียบเทียบให้ดูว่าสังคมมนุษย์เราไม่เคยเปลี่ยนไปเลยใน 1,000 ปี 2,000 ปี whatever เราก็ยังเหมือนเดิม แล้วก็ยังไม่ได้มีอะไรดีขึ้นเลย แล้วที่เราทำไป มันก็ยังไม่รู้จะเกิดอะไรขึ้น    ตั้งใจสะท้อนความเจ็บปวดของผู้คนที่ได้รับผลกระทบผ่าน MV ภูมิ: ใช่ เพราะต้องการจะให้คนเขาเห็นว่าผมคิดว่าอย่างไร คือผมก็คิดว่าทุกอย่างที่มีอยู่ทุกวันนี้มันก็ไม่มีอะไรถูกต้องเลย แล้วผมก็ไม่ได้เห็นด้วยนะ แต่ก็ยังมองไม่เห็นทางออก    The People: ฟีดแบ็กที่ได้รับหลังปล่อย MV  ภูมิ: ถ้าพูดตรง ๆ ผมไม่ได้ expect สองเรื่อง เรื่องหนึ่งคือโอเคก่อนเลย เพลงผมจะสามารถขึ้นชาร์ตที่ต่างประเทศได้ ชาร์ตเรดิโอ มันคือชาร์ตคลื่นเพลงวิทยุของ Billboard ไม่คิดว่าจะขึ้นได้ เพราะตอนแรกผมทำเพลงนี้เสร็จก็เป็นเพลงที่ผมจะเอาอยู่ในอัลบั้มใหม่ผมแหละ แล้วผมก็ตั้งใจจะปล่อย ก่อนเพราะช่วงนี้มีทัวร์ แต่ยังไม่ได้ประกาศเป็นอัลบั้ม เหมือนปล่อยเพลงนี้ออกมาก่อนเพราะจะมีทัวร์ แล้วพอผมส่งไป อันนี้ก็คือครั้งแรกที่เหมือนบริษัทพวก PR ที่ผมทำงานด้วยแต่ละที่ ที่อังกฤษกับที่อเมริกา เขาก็บอกว่าคิดว่าเพลงนี้เจ๋งมาก เขาคิดว่าเราควรจะทำวิดีโอแคมเปญส่งไปที่วิทยุ เขาน่าจะสนใจนะ แล้วตอนแรกผมก็บอกว่า Sound cool แต่ผมก็ไม่คิดว่ามันจะได้รับความสนใจขึ้นไปอยู่บนชาร์ตเบอร์สูง ๆ อะไรอย่างนี้ได้ นั่นก็คือเรื่องหนึ่ง เรื่องที่สองคือหลังจากที่ขึ้นชาร์ตแล้ว ก็ไม่เคยคิดเลยแบบว่าคนไทยจะมาสนใจ เพราะว่าถ้าพูดตรง ๆ ผมก็ทำวงนี้มานานแล้ว แล้วก็มีอัลบั้มมา 2 อัลบั้ม แล้วก็ไม่ค่อยมีคนมาสนใจเท่าไร แต่พอผมทำเกี่ยวกับเรื่องนี้ เรื่องคอนเซ็ปต์ที่ผมจะทำอัลบั้มนี้ แล้วด้วยความที่อาจจะชื่อเพลงมันเขียนว่า 112 คนก็มาสนใจกันทันที ก็ไม่ได้ expect อย่างนั้น  ภูมิ เอื้อชูเกียรติ - Defying Decay: เสียงตะโกนใน ‘The Law 112: Secrecy and Renegades’ และวัฒนธรรมไร้ที่พบปะทางดนตรีในไทย The People: คิดอย่างไรที่คนไทยมาสนใจเพลงของคุณ ภูมิ: ผมคิดว่าดีแล้วนี่ ก็ You know? เป็นความคิดของผม What I think. Even though. ผมก็อยากให้คน interpret เนื้อเพลงว่าพูดถึงอะไรยังไง ผมจะไม่บอก แต่ว่าก็ดีแล้วนี่นึกออกเปล่า (หัวเราะ)    The People: แล้วถ้ามีคนเห็นแย้งกับเพลงนี้ ภูมิ: ก็ไม่เป็นไร เพราะว่าผมรู้สึกว่าเราไม่สามารถบังคับให้ทุกคนชอบอะไรเหมือนเรา และคิดอะไรเหมือนเราได้อยู่แล้ว นึกออกไหม เราไม่สามารถบังคับความคิดคนอื่นได้ คิดดูสิหนึ่งในที่สังคมเราไม่ชอบ ที่อาจจะบอกไม่ชอบคนนู้นคนนี้ อาจจะเป็นผู้ใหญ่อะไรอย่างนี้ เขาก็ยังไม่สามารถมาเปลี่ยนความคิดเราได้เลย ที่เราไม่ชอบพวกเขา ผมว่าหนึ่งอย่างแล้วก็คือเราไม่ชอบความคิดเห็นเขา นึกออกไหม     The People: เคยต้องปะทะทางความคิดกับคนรอบตัวไหม ภูมิ: ไม่เคยมีครับ คือผู้ใหญ่คนหนึ่งที่สนิทกับผม เขาก็บอกเขาเป็นห่วงเรื่องเพลงนี้ แล้วพอผมอธิบายให้เขาฟัง เขาก็บอกเขายังเป็นห่วงอยู่ เขาพูดประมาณว่าตอนเด็ก ๆ เขาเคยถูกสอนมาอย่างนี้ เหมือนบอกว่าอันนี้คือของสูงหรือว่าอะไร เราห้ามพูดถึง แต่คนสมัยใหม่อาจจะไม่คิดอย่างนั้น ผมก็เห็นคนเขาเถียงกันเรื่องการเมืองหรือว่าเรื่องความคิดเห็นอะไรไม่เหมือนกัน แต่ผมก็ทำอะไรกับมันไม่ได้นอกจากนั่งฟัง ผมก็ทำในสิ่งที่ผมทำได้เฉย ๆ ผมก็เก็บมาแล้วผมก็เลยคิดจะเอามาทำเป็นคอนเซ็ปต์อัลบั้ม แล้วมันก็มีคนมาสนใจจริง ๆ ก็เลย Cool!    The People: เคยสัมภาษณ์ว่าอยากทัวร์คอนเสิร์ตปีละ 300 โชว์? ภูมิ: ก็จริงครับ เพราะว่าถ้าคุณไปอ่านประวัติหลาย ๆ วงอย่างเช่นวง Linkin Park ผมมีหนังสืออยู่เล่มหนึ่ง ตอนช่วงที่เขาทำอัลบั้ม Hybrid Theory ถึง Meteora ช่วงปี 2002 เขาทัวร์ 1 ปี เขามีเล่นคอนเสิร์ตกันประมาณ 290 หรือ 300 จำเลขไม่ได้แล้ว หรือ 300 กว่าโชว์เลย เพราะชีวิตการเป็นอยู่ของวงที่ประสบความสำเร็จ คือหนึ่งมันต้องเล่นเยอะ ๆ ก่อน ซึ่งมันก็เป็นอย่างนั้นจริง ๆ   The People: กลัวไหมว่าถ้าได้แสดงเยอะ ๆ แล้วอาจกระทบถึงปัญหาสุขภาพหรือจิตใจ ภูมิ: ถ้าพูดตรง ๆ ผมก็ตอบไม่ได้ เพราะผมยังไม่ได้อยู่จุดนั้น แต่ในความคิดผม ผมไม่ได้คิดอย่างนั้น หนึ่ง - เรื่องสุขภาพจิตใจ ผมรู้สึกว่าผมรู้สึกดี ผมสนุกกับมัน ผม enjoy กับมัน เหมือนหนึ่งในเหตุผลที่ผมชอบเล่นดนตรีเลย เพราะว่าคุณเชื่อเปล่าทั้ง ๆ ที่ผมไปทัวร์อยู่ ที่เพิ่งกลับมาที่อเมริกา ตอนที่ผมทัวร์อยู่ทุกวัน อยู่บนรถบัสอย่างนี้ ผมจะไม่รู้ว่าวันนี้คือวันพุธ จันทร์ อังคารอะไรอย่างไร ผมรู้แค่อย่างเดียวคือตื่นมาผมมีเล่นคอนเสิร์ต แล้วผมอยู่เมืองอะไรก็ไม่รู้ แล้วเวลาตื่นมาพอคนอื่นเขาไปเซตของอะไรอย่างไร ผมก็มีเวลาถึงแค่ประมาณ 6 โมงที่จะต้องกลับมาเตรียมตัวขึ้นเวที ผมก็มีเวลา explore เมืองนั้นอยู่แค่ประมาณ 4 ชั่วโมง 6 ชั่วโมง จะไปทำอะไรในเมืองก็ไปทำให้เสร็จ มันก็เป็น… ผม enjoy แล้วมันก็รู้สึกสดชื่นดีออก แบบไม่ได้อยู่ในบ้านอยู่ที่เดียว ส่วนเรื่องสุขภาพก็อาจจะเป็นปัญหาแหละ ใช่ เพราะเหมือนกับมันก็เหนื่อยทุกวัน แล้วกินข้าวก็อาจจะไม่ได้กินอาหารที่ดี ๆ อะไรอย่างนั้น อย่างเช่นแฮมเบอร์เกอร์    The People: ตอนนี้ทัวร์ไปกี่เปอร์เซ็นต์ของเป้าหมายแล้ว ภูมิ: ตอบยากเพราะว่าช่วงโควิด-19 ที่ผ่านมาผมก็ไม่ได้ออกไปทัวร์เลย จริง ๆ ถ้าพูดตรง ๆ วงผมก็เริ่มได้ทัวร์เยอะขึ้นหลังจากทัวร์ที่อังกฤษ คือเหมือนทัวร์ที่ผมรู้สึกว่า agent ที่ต่างประเทศ และคนดูเขาเห็นบอกเลยว่าเฮ้ย! มันมีวงนี้มาจากประเทศไทยด้วยน่าสนใจดี แปลกใหม่ดี ไม่เคยเห็น แล้วก็เจ๋งดี เขาก็เลยสนใจบุ๊กมาเยอะ แล้วจริง ๆ ปี 2020 ตอนนั้นผมมีคอนเสิร์ต ผมมีโชว์อยู่ 120 กว่าโชว์มั้งทั้งปี ตอนนั้นที่บุ๊กมาที่ต่างประเทศหมด แต่มันก็ถูกแคนเซิลไปหมด ได้ไปแค่ญี่ปุ่นตอนแรก ๆ นิดหน่อย ไม่กี่เดตกับศิลปินแล้วก็จบ ตอนแรกก็มีเวิลด์ทัวร์ไว้แล้วตอนปี 2020 ตอนนี้ผมก็เลยพูดตรง ๆ ว่าตอบยากนิดหนึ่ง    The People: คิดว่าสังคมไทยยังขาดอะไรอยู่ไหมในการทำให้ดนตรีเติบโต ภูมิ: ผมว่ามันขาดไปก็คือมัน culture ไม่เหมือนกัน อย่างที่ผมพูดไปเหมือนที่เขาบอกว่าตอนเล่นดนตรีมันหาเงินไม่ได้ แล้วเขาก็ไม่ได้มองว่ามันเป็นอาชีพจริง ๆ culture ทางด้านนี้ก็ไม่ค่อยได้เงินขนาดนั้น ผมรู้สึกอย่างนั้น ยกตัวอย่างอันนี้ไม่รู้เกี่ยวหรือเปล่า ดูอย่างลิซ่า Blackpink ซึ่งผมก็ชอบมากนะ เขาเก่งมากนะผมว่า แล้วจริง ๆ เขาเป็นคนไทยแล้วเขาก็อยู่ไทยมา เขาเก่งตั้งแต่อยู่ที่ไทยแล้วไม่ได้เกี่ยวอะไร แต่คนไทยก็ไม่สามารถพาเขาไปถึงจุดที่เขาอยู่ได้ทุกวันนี้ เพราะว่าเหมือนบ้านเราไม่ได้มีความเชื่อในด้านนี้ หรือ culture ในด้านนี้ หรือไม่ได้คิดว่ามันทำเงินได้ ซึ่งจริง ๆ มันไม่ใช่เลย เพราะตอนนี้ลิซ่าก็ไปอยู่ที่เกาหลี แล้วเขาก็ทำรายได้อะไรให้เกาหลีตั้งเยอะนึกออกไหม แล้วเขาก็ congratulations แล้วเขาก็เจ๋งดี    The People: แสดงว่าการสนับสนุนจากภาครัฐหรือภาคส่วนอื่นก็สำคัญ ภูมิ: ผมว่าก็น่าจะใช่ในมุมหนึ่ง ด้วยการที่เหมือนมันไม่เคยทำเรื่องนี้มาก่อน แล้วอยู่ดี ๆ พอจะให้มาทำ มันก็ทำไม่ได้หรอก เราก็คงสู้ที่อื่นไม่ได้หรือเปล่า   The People: วงดนตรีไทยเก่ง ๆ มี แต่ก็กระจุกตัว ภูมิ: ใช่ ๆ เหมือนจะกระจายไม่ได้ ความฝันคือผมก็อยากกระจาย อยากเล่นดนตรีให้มีคนมาดู แล้วก็สนุกด้วย แล้วก็อยากจะทำเพลง แล้วให้คนได้ฟัง อย่างน้อยลองฟังดู   The People: มีอะไรอยากฝากเกี่ยวกับการทำอาชีพนักดนตรีไหม ภูมิ: ผมว่ามันก็หางานได้ ถ้าเกิดสมมติว่ามีวงดนตรีวงไหนเขาทำอยู่ อย่างหนึ่งเลย คือเป็นวงร็อกผมรู้สึกว่ามันเหมือนกับมันค่อนข้างเป็น career path ที่ทำไปได้ตลอดจนถึงแก่เลย เหมือนอย่างที่เห็น Metallica แล้วก็มีตั้งหลายวงที่ทำได้ จริง ๆ มันทำได้และมันก็ทำได้ตลอด แต่ว่าที่สำคัญเลยคืออย่าไปยอมแพ้กับมัน ถ้าเกิดเราอาจจะตั้งใจปล่อยเพลงมาเพลงหนึ่ง ทำอะไรก็อย่าไปยอมแพ้ ก็เหมือนผมอย่างนี้ผมก็ทำมาแล้ว 2 อัลบั้ม มันก็ไม่เคยประสบความสำเร็จขนาดนั้น มันก็มีทัวร์อยู่ แต่ก็ไม่ได้มีคนมาสนใจซะขนาดนั้นเลย ผมกล้าพูดเลยตอนที่ผมทำเพลง ‘The Law 112’ มา เหมือนยอดทุกอย่าง สตรีม แล้วก็วิว แล้วก็ขึ้นชาร์ตดีกว่าทุกอย่างที่ทำมาทั้งหมดใน 2 ปีเลย ซึ่งทำมาตั้งหลายปี So you don’t give up    The People: มองภาพตัวเองในอีก 20 - 30 ปีอย่างไร ภูมิ: ถ้าพูดตรง ๆ ผมว่าคงทำไปเรื่อย ๆ แหละครับ ก็ไม่ได้มีอะไรมาก อยู่ที่ว่าเหมือนกับจะไปได้ถึงแค่ไหน ผมก็ไม่รู้ จริง ๆ ก็ไม่อยากจะไป set bar หรือ goal ไว้ขนาดนั้น เพราะว่าถ้าเกิดไปคิดอะไรกับมันมาก ถ้ามันไม่เกิดขึ้นเราก็อาจจะผิดหวัง ก็อย่างที่บอก ผมก็ทำไปเรื่อย ๆ แล้วก็หวังว่ามันจะมีแต่เรื่องดี ๆ เกิดขึ้น แล้วก็คนจะชอบกัน แล้วก็ได้รู้จักกันมากขึ้น ภูมิ เอื้อชูเกียรติ - Defying Decay: เสียงตะโกนใน ‘The Law 112: Secrecy and Renegades’ และวัฒนธรรมไร้ที่พบปะทางดนตรีในไทย The People: ฝากผลงานสักหน่อย ภูมิ: เดี๋ยวปีนี้วง Defying Decay ของผมจะปล่อยอัลบั้มอันใหม่ออกมา แต่ยังไม่มีวันที่อะไร จะมีอัลบั้มใหม่ออกมาปีนี้ครับ Defying Decay ยังไม่ได้มีรายละเอียดอะไรมาก แต่รอติดตามก็แล้วกัน แล้วก็เดี๋ยวเดือนหน้าเราจะมีคอนเสิร์ตกันนะครับที่ลิโด้ วันที่ 12 หรือ 19 ก็ไม่รู้ ถ้าสนใจมาดูก็มาเจอกันแล้วกันนะครับ เพราะเราก็ไม่ค่อยมีคอนเสิร์ตเล่นที่ไทย (หัวเราะ)   สัมภาษณ์: จิรภิญญา สมเทพ ภาพ: ดำรงค์ฤทธิ์ สถิตดำรงค์ธรรม