‘Respect ในความสามารถ มากกว่าสิ่งที่เขาเป็น’ สร้างสังคมแบบ ‘Unlabeled’

‘Respect ในความสามารถ มากกว่าสิ่งที่เขาเป็น’ สร้างสังคมแบบ ‘Unlabeled’
“แมวไม่ว่าจะสีขาว สีดำ ขอแค่จับหนูได้ก็พอ” เป็นคำที่ใครหลายคนอาจจะเคยได้ยินมานานแล้ว แต่...ทำไมการทำงานปัจจุบัน “ความแตกต่าง” ยังถูกนำมาใช้เป็นเงื่อนไขการในการรับคนเข้าทำงาน หรือการจะโปรโมทใครซักคนเพื่อให้ได้รับตำแหน่งที่สูงขึ้น…ทำไม ในยุคที่เพศไม่ได้ถูกจำกัดอยู่แค่เพียงผู้หญิงและผู้ชาย แต่เต็มไปด้วยสีสันแห่งความหลากหลายจากตัวตนของคนนับล้าน การมีทัศนคติ และแนวคิดที่เปิดกว้างด้านความหลากหลายทางเพศ เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยสร้างสังคมที่น่าอยู่ให้กับทุกคน แต่ในสังคมการทำงาน ยังมีคำถามต่อการเปิดกว้างต่อความหลากหลายทางเพศ ว่าทุกคนได้รับการปฏิบัติ อย่างเท่าเทียมกันจริงมั้ย ? การไม่ตัดสินผู้อื่นจากเพศ แต่เลือกมองที่ตัวตนของเขาเป็นหลัก เป็นแนวคิดที่สำคัญของ Birthmark บริษัท Digital Marketing Agency ที่ได้รับรางวัล Agency of the year สาขา Best Culture ที่มุ่งหวังให้ “ความหลากหลายในออฟฟิศเป็นเรื่องธรรมชาติ” ‘Respect ในความสามารถ มากกว่าสิ่งที่เขาเป็น’ สร้างสังคมแบบ ‘Unlabeled’ ใน Birthmark มีความหลากหลาย  ในสังคมที่มีการจำกัดเพศว่าทุกอย่างมีอยู่แค่เพียงสองด้าน จึงทำให้ทุกอย่างบนโลกนี้กลายเป็นสังคมที่คับแคบ พนักงานที่มีความหลากหลายทางเพศมักจะรู้สึกโดดเดี่ยวในที่ทำงาน โดยเฉพาะอย่างกลุ่มที่ไม่ได้เปิดเผยตัวตน ทำให้หลายคนไม่สามารถแสดงศักยภาพของตัวเองอย่างเต็มที่และพลาดโอกาสที่สำคัญในชีวิตไป จนทำให้เรื่องนี้กลายเป็นเรื่องปกติในสังคมและไม่มีใครกล้าที่จะยืนหยัดกับความไม่เท่าเทียมนี้ เราเคยรู้สึกว่าต้องเลือก AE จากผู้หญิงเป็นหลัก เพราะคิดว่าผู้หญิงมีความละเอียดอ่อนมากกว่า แต่เมื่อมาถึงเวลาที่ต้องปฏิบัติงานจริงแล้ว ในแง่ของความละเอียดหรือทักษะในการทำงานมันเกิดจากการเรียนรู้และลงมือทำมากกว่า โดยที่ไม่ได้วัดกันที่เพศ จะบอกว่าคนที่รอบคอบละเอียดมากที่สุดในออฟฟิศนี้คือผู้ชายเอ็ม ปัณณทัต นาพูนผล Chief Executive Officer ของ Birthmark ถ่ายทอดความคิดนี้ให้เราฟัง ว่านี่คือจุดเริ่มต้นส่วนหนึ่ง ที่ทำให้ Birthmark มีนโยบายว่าในทุกขั้นตอนของ People Team ไม่ว่าจะเป็นการรับ การโปรโมท หรือการให้คำแนะนำ จะต้องโยนมายาคติเกี่ยวกับเพศทิ้งไปให้หมด ก่อนเริ่มกระบวนการต่างๆ และในที่สุดทุกคนต้องยอมรับความหลากหลายว่าเป็นเรื่องธรรมชาติ และไม่ตีตรา เพื่อสร้างสังคมในออฟฟิศที่ทุกคนอยู่ร่วมกันได้แบบมีความสุข และรู้สึก “Inclusive” ‘Respect ในความสามารถ มากกว่าสิ่งที่เขาเป็น’ สร้างสังคมแบบ ‘Unlabeled’ การจุดประกายความคิดสำหรับ Birthmark ว่าเพศไม่สามารถเป็นตัวตัดสินคุณสมบัติในการทำงานได้เลย ทัศนคติต่างหากที่เป็นหลักสำคัญในการวัดว่าเขาจะสามารถอยู่กับความหลากหลายได้ และเนื่องจากเราเป็นบริษัทเอเจนซี่ด้วย ความหลากหลายจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น ในแง่ของการทำ Marketing ทำให้เราผลิตงานที่สร้างสรรค์และตอบโจทย์หลาย กลุ่ม เปรียบเสมือน Creativity ที่ให้เราได้จินตนาการเห็นสีสันที่แตกต่างออกไป โดยไม่ไปจำกัดสีสันเหล่านั้น ความหลากหลายจึงไม่ใช่เพียงแค่เป็นวัตถุประสงค์ของ Birthmark แต่ความหลากหลายนั้นคือส่วนหนึ่งสำหรับที่ทำงานไปแล้ว เราอยากสร้างบรรยากาศออฟฟิศที่ไร้แรงกดดัน (Pressure Free) จริง ๆ ไม่ใช่แค่เรื่องเพศด้วยนะ มันรวมถึงเรื่องอื่น ๆ ด้วย เช่น สวัสดิการ การพัฒนาศักยภาพในสกิลการทำงาน แต่เพศมันก็คือเรื่องนึงที่จะทำให้เกิด Pressure Free ได้ คือเข้าจะต้องรู้สึกไม่กดดันที่จะมาทำงานในออฟฟิศ พร้อมการมองด้วยสายตาแปลก หรือการ ถูกเลือกปฏิบัติ การถูกล้อ หรือถูกกดดันว่าเธอเป็นเพศนี้เธอต้องอย่างนี้นะ อะไรแบบนี้” ‘Respect ในความสามารถ มากกว่าสิ่งที่เขาเป็น’ สร้างสังคมแบบ ‘Unlabeled’ ‘Unlabeled’ จึงเริ่มต้นขึ้น ไม่ใช่แค่ใน Birthmark “Unlabeled มันคือ การที่เราไม่เอาป้ายไปแขวนคอใคร โดยตัดสินจากเพศ เช่น ผู้ชาย จะถูกแขวนป้ายว่า ลูกผู้ชายต้องไม่ร้องไห้ ถ้าร้องไห้ = ไม่ใช้ผู้ชาย หรือ ผู้หญิง ต้องถูกแขวนป้ายว่า ต้องเรียบร้อย ละเอียดรอบคอบ ไม่อย่างนั้น ไม่ใช่ผู้หญิง เรามองว่ามันไม่จริงเลย เพราะการทำงานที่ผ่านมาของตัวเองมันพิสูจน์แล้ว ดังนั้นแนวความคิด Unlabeled Campaign เนี่ยมันคือเริ่มต้นมาจากการใช้จัดการกับความหลากหลายในองค์กร มาตั้งแต่ช่วงแรกของการเปิดบริษัทเลย” “อย่างแรกเลยคืออะไรรู้มั้ย สัญญาทำงาน เอาคำนำหน้าชื่ออกเลย รวมถึงเอกสารภายในองค์กรต่างๆ เราเอาคำนำหน้าชื่อออกเลย เรามองว่ามันไม่สำคัญ ไม่มีผลกับสาระ หรือเนื้อหาของเอกสารนั้นเลย มิหนำซ้ำบางคนที่ถูกใส่คำนำหน้าชื่อตามบัตรประชาชนเค้าอาจจะรู้สึกไม่โอเคก็ได้ ซึ่งพอผ่านมาเรื่อยๆ เราไม่ได้ใช้แค่ในองค์กรละ เราเริ่มคุยกับลูกค้า Partner ทางธุรกิจต่างๆ ว่าสามารถเอาออกได้มั้ย ไอ้คำนำหน้าชื่อเนี่ย ซึ่งได้รับผลตอบรับที่ดีมากเลยนะ เกือบทั้งหมดไม่มีปัญหากับการเอาคำนำหน้าชื่อออกไปจากเอกสารต่างๆเลย และทุกวันนี้ดีลงานกันมาก็ไม่พบปัญหาของการเอาคำนำหน้าชื่อออกเลย” ฟิว ธิติวัจน์ เชื้ออาษา Chief Operating Officer เล่าให้เราฟังถึงที่มาของแคมเปญนี้ สิ่งหนึ่งที่พวกเราควรคำนึงคือของบนโลกใบนี้มีหลายฟังก์ชันในการใช้งาน ไม่จำเป็นต้องถูกจำกัดไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง มนุษย์เราก็เช่นกัน ที่หนึ่งคนก็มีหลายความชอบ ความสามารถ และอุปนิสัย จึงไม่ควรมีใครถูก Label จากเพศสภาพและไปเหมารวมว่านั่นคือตัวตนที่แท้จริงของเขา ‘Respect ในความสามารถ มากกว่าสิ่งที่เขาเป็น’ สร้างสังคมแบบ ‘Unlabeled’ เมื่อ Birthmark ได้เริ่ม ‘Unlabeled’ ในองค์กร ก็มองว่าสิ่งนี้มันเป็นสิ่งที่สังคมต้องได้ยินเสียงเหล่านี้ ไม่ใช่แค่การบอกกับผู้มีอำนาจในองค์กรว่าจะต้องทำนโยบายแบบนี้ แต่ Birthmark อยากให้คนที่ได้รับ Message จากแคมเปญนี้ไป เข้าใจเรื่องดังกล่าวมากขึ้น และรู้จักวิธีปฏิบัติกับทุกคนอย่างให้เกียรติที่ความสามารถไม่ใช่เพศ และอยากให้คนที่อาจจะรู้สึกว่าได้รับการปฏิบัติที่ไม่ดีจากบางคน อยากให้มีกำลังใจ และรู้ว่ายังมีเราที่คอยซัพพอร์ตและเข้าใจอยู่ทางนี้ ‘Respect ในความสามารถ มากกว่าสิ่งที่เขาเป็น’ สร้างสังคมแบบ ‘Unlabeled’ “แคมเปญนี้เริ่มจากการมองกลับไปที่สังคม ว่ามันมีหลายความเข้าใจผิดที่เกิดขึ้น จากการ Labelled โดยได้หยิบตัวอย่างมา 3 ความเข้าใจผิดๆ ที่ถูกยึดติดกับเพศ คือ ผู้ชายกินยำ = กระเทย, ผู้ชาย = ไม่ทาลิป, หัวหน้า = ต้องเป็นผู้ชาย คือแบบแค่อ่านก็รู้แล้วว่ามันเป็นประโยคที่ไม่สมเหตุสมผลในตัวของมันเอง แต่ต้องยอมรับว่า มันมีคนคิดอย่างงี้จริงๆนะ แล้วบางคนพูดออกมาแบบไม่รู้ตัวด้วยซ้ำ เราเลยเอาเรื่องเหล่านี้มาเป็นคอนเทนต์ให้คนอ่าน และทำความเข้าใจไปพร้อมๆกัน และเกิดการคิดต่อ บรรลุได้ด้วยตัวเอง”  ‘Respect ในความสามารถ มากกว่าสิ่งที่เขาเป็น’ สร้างสังคมแบบ ‘Unlabeled’ “คำถามต่อมาคือ นอกจากออนไลน์แล้ว ที่โพสต์คอนเทนต์เหล่านี้ เราจะเอาไปกระจายยังไงต่อดีนะให้ตรงกลุ่มเป้าหมาย ก็เลยเกิดการเอาคอนเทนต์เรื่อง #คนและยำ ไปทำเป็นถุงยำแจกตามร้านยำทั่วกรุงเทพฯ และเอาเรื่องหัวหน้างานที่ไม่ได้ถูกจำกัดแค่เพศใดเพศหนึ่ง ไปนำเสนอบน Cup sleeve ตามคาเฟ่ ร้านกาแฟในย่านออฟฟิศ เป็นต้น ลองตามหาดูได้นะครับ “อาจจะมองว่าเป็นการโปรโมท Branding ของบริษัท แต่ Birthmark ก็ใช่นะ แต่คำถามที่เกิดขึ้นมาคือ การทำแคมเปญนี้ของเรามันมีประโยชน์กับสังคมด้วย ไม่ใช่กับเราแค่อย่างเดียว มีคนได้เห็น Message เราแล้วเข้าใจคำว่า Unlabeled เรามองว่าแค่ 10 คน มันก็บรรลุเป้าหมายของเราแล้ว และการทำแคมเปญนี้อาจจะไม่ใช่ทางออกที่ดีที่สุด แต่เราเลือกใช้ความถนัดในการขับเคลื่อนสังคมในประเด็นนี้อย่างน้อยเราอยากที่จะนำสิ่งที่เราสามารถถ่ายทอดได้ดี มาใช้สื่อสารกับคนภายนอกจากกลุ่มคนที่เข้าใจในสิ่งนี้จริง และต้องการแชร์ประสบการณ์เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในองค์กรที่ผลักดันความเท่าเทียมในความหลากหลายให้เป็นเรื่องปกติในอนาคต” ฟิวเราให้เล่าฟังต่อ สังคมควรที่จะขับเคลื่อนไปข้างหน้าด้วยทัศนคติที่หลากหลายความคิดเห็น และไม่เหมารวมเพศกับสิ่งของว่าจะต้องคู่กันเสมอไป และการถ่ายทอดแคมเปญ ‘Unlabeled’ จะกลายเป็นจุดเชื่อมความคิดให้คนหันมาใส่ใจและเรียนรู้เกี่ยวกับความหลากหลายไปพร้อมกัน ‘Respect ในความสามารถ มากกว่าสิ่งที่เขาเป็น’ สร้างสังคมแบบ ‘Unlabeled’ ทุกอย่างเป็นไปได้ถ้าอยู่บนความเท่าเทียม ในอนาคตเราอาจจะเห็นผู้หญิงเป็นประธานาธิบดี ผู้ชายเป็นพยาบาล หรือเพศที่สามทำงานข้าราชการมากขึ้น คนทำงานที่มีพื้นฐานจากความหลากหลาย จะดึงความสามารถเฉพาะตัวและประสบการณ์ในการนำเสนอแนวคิด มีความยืดหยุ่นในการปรับตัวเข้ากับความต้องการที่หลากหลายของเหล่าลูกค้าได้ จึงทำให้สามารถสร้างผลงานได้กว้างขวางมากขึ้น และสิ่งที่เราจะเห็นมากขึ้นคือความสามารถของบุคคลที่ไร้ข้อจำกัดจากเพศ สังคมที่ให้คุณได้แสดงศักยภาพในความเป็นตัวคุณอย่างแท้จริง   การตั้งใจสร้างที่ทำงานสำหรับ ‘ทุกคน’ ให้คนทำงานได้เป็นตัวเอง และแสดงศักยภาพออกมาอย่างเต็มที่ของ ฟิว-ธิติวัจน์ เชื้ออาษา Chief Operating Officer และ เอ็ม-ปัณณทัต นาพูนผล Chief Executive Officer สองผู้บริหาร Birthmark ที่ตั้งใจเข้ามาเปลี่ยนแปลงสังคมภายใต้แนวคิด ‘Unlabeled’ จน ‘Birthmark’ กลายเป็นบริษัทเอเจนซี่ที่ไร้ขีดจำกัดในเรื่องของเพศ ส่งให้ Birthmark ได้รับรางวัล Agency of the Year ในสาขา Best Culture เมื่อปี 2021 ถือเป็นรางวัลที่แสดงถึงวัฒนธรรมที่ดีในองค์กร และความสุขของพนักงาน  ‘Respect ในความสามารถ มากกว่าสิ่งที่เขาเป็น’ สร้างสังคมแบบ ‘Unlabeled’ หลังจากนี้ Birthmark ยังคงเป็นจิ๊กซอว์เล็ก ที่ร่วมต่อภาพ สร้างสังคมที่มีความเท่าเทียมต่อไป เพราะเราไม่ได้มองว่าแค่เป็นการทำเพื่อ CSR แบบฉาบฉวยแล้วจบไป แต่เราพยายามเพื่อให้ทุกคนสามารถเรียนรู้ที่จะอยู่กับความหลากหลายได้ในหลากมุมมอง หมุดหมายต่อไปของเราคือการรับคนที่มีความบกพร่องทางร่างกายเข้ามาทำงาน โดยที่รับรองว่าเขาจะสามารถทำงานในตำแหน่งนั้นได้ และสามารถแสดงศักยภาพออกมาได้เต็มที่เช่นกัน เป้าหมายเราจึงไม่ใช่แค่ทลายข้อจำกัดทางเพศ แต่เป้าหมายเราคือทลายทุกข้อจำกัดของความแตกต่าง ปัจจุบัน Birthmark ได้เติบโตมากขึ้น มีเพื่อนร่วมทีมมากขึ้น แต่เรายังเปิดรับทุกรูปแบบของความหลากหลาย โดยที่ทุกคนจะมาเรียนรู้ไปพร้อม ๆ กัน และสร้างสรรค์พัฒนาองค์กรที่ดีอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น ‘ทุกความหลากหลายควรได้โอกาสที่เท่ากัน’ ฟิวและเอ็มกล่าว