03 ม.ค. 2566 | 16:14 น.
- HR หรือ ทรัพยากรบุคคล กลายเป็นตำแหน่งที่มีความหมายต่อการเติบโตธุรกิจ และแนวทางของ C-suite
- เกณฑ์การรับสมัครพนักงานใหม่ในปี 2023 มีหลายทักษะ และมุมมองที่น่าสนใจ เพื่อสอดคล้องกับสถานการณ์โลกที่มีหลายปัญหา
การระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อมายังการปลดพนักงานในหลายอุตสาหกรรมมากขึ้น โดยเฉพาะในธุรกิจเทคโนโลยี ขณะเดียวกันก็มีปัจจัยอื่นภายนอก เช่น สงคราม, ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์, วิกฤตเงินเฟ้อ ฯลฯ ที่เกิดขึ้นตลอด 2-3 ปีที่ผ่านมา ซึ่งล้วนมีส่วนทำให้ตลาดงาน HR ปรับเปลี่ยนไปมาก และมีเกณฑ์การคัดเลือกบุคคลที่เข้มข้นมากขึ้นด้วย
เมื่อขึ้นปีใหม่ตำแหน่งการรับสมัครงานจะเริ่มทยอยประกาศมากขึ้น หลังจากที่แช่แข็งตำแหน่งพนักงานใหม่มาหลายปีช่วงโควิด-19 ดังนั้น บทความนี้จะทำให้เข้าใจว่าทิศทางใหม่ของ HR ในปี 2023 จะเป็นอย่างไร และการเฟ้นหาพนักงานคุณภาพจะมีเกณฑ์เรื่องไหนเป็นพิเศษ
ทั้งนี้ ตอนนี้ฟีดบน LinkedIn แอปพลิเคชั่นเครือข่ายสังคมที่มีฟังก์ชั่นการประกาศตำแหน่งว่างงาน เริ่มประกาศรับสมัครพนักงานใหม่มากขึ้น ขณะที่ตำแหน่งงานสาย ‘ทรัพยากรบุคคล’ (HR) ถูกยกให้เป็นตำแหน่งที่มีความสำคัญเชิงกลยุทธ์ต่อ C-suite (ฝ่ายบริหารระดับสูง) และการเติบโตของธุรกิจ
เหตุผลเพราะตำแหน่ง HR มีความสำคัญในการกำหนดคุณภาพและคุณสมบัติของพนักงานใหม่ที่จะรับในงบประมาณของปีนี้ หลังจากที่หลายบริษัทตัดสินใจเลิกจ้างพนักงานกว่า 150,000 ตำแหน่ง (ข้อมูล Layoffs.fyi) ขณะเดียวกัน ก็จำเป็นต้องรับพนักงานใหม่ทดแทนบางส่วน แต่ยังต้องคัดเลือก และสอดคล้องกับแผนการเติบโตของบริษัทภายใต้งบประมาณการเงินที่ถูกตีกรอบมากขึ้น
ทั้งนี้ หน้าที่รับผิดชอบของ HR ยุคใหม่ และเกณฑ์การคัดเลือกพนักงานใน 7 ด้านที่เราหยิบมาสรุปให้อ่านกัน
ให้ความสำคัญกับการพัฒนาตนเอง
ในเมื่อจำนวนพนักงานลดลง ดังนั้น การเปิดรับสมัครพนักงานใหม่ HR ให้ความสำคัญกับปัจจัยที่เกี่ยวโยงกับความสำเร็จของธุรกิจ นั่นก็คือ ความคล่องตัวในการเรียนรู้ ก็คือ มีความพร้อมที่จะเรียนรู้ และเชื่อในหลักการนึกถึงประโยชน์ส่วนรวมเพื่อการเติบโตขององค์กรและตัวเอง
ความเท่าเทียมของเครือข่ายก็เป็นเรื่องสำคัญเช่นกัน เพราะความสำเร็จของบริษัทจำเป็นต้องมีพนักงานที่มีมากกว่าความรู้และประสบการณ์ที่สอดคล้อง แต่เป็นการให้ความสำคัญเรื่องเครือข่าย การสร้างเครือข่ายเชิงรุกได้ การปลดพนักงานหลายแสนตำแหน่งปีที่ผ่านมาสอนให้รู้ว่า เราจำเป็นต้องลงทุนในตัวเองด้วย ไม่ใช่แค่นายจ้างลงทุนกับเรา
ทบทวนผลตอบแทนโดยรวมในยุคความโปร่งใส
ยุคนี้เป็นยุคที่คนให้ความสนใจในเรื่องความเท่าเทียม ความโปร่งใส ดังนั้น ‘ค่าตอบแทน’ ก็เป็นหนึ่งในสิ่งที่ HR ต้องใส่ใจและรอบคอบ ไม่ใช่แค่ตำแหน่งงาน HR แต่หมายถึงรวมตำแหน่งอื่น ๆ ที่ HR มีอำนาจในการตัดสินใจด้วย
ทั้งนี้ ในเดือนมกราคมนี้ รัฐแคลิฟอร์เนีย ได้เข้าร่วมกับรัฐอื่น เช่น รัฐโคโลราโด, นิวยอร์ก, วอชิงตัน ฯลฯ ที่กำหนดไว้ว่า ต้องเปิดเผยค่าตอบแทนในรายละเอียดงานทันทีที่คุยกันกับผู้ที่สมัคร ถึงแม้ว่ามีหลายบริษัทที่อ้างว่า ไม่สะดวกเข้าร่วมเพราะอยู่ไกล หรือข้ออ้างอื่น แต่ก็ตกลงร่วมกันว่าค่าจ้างจะต้องอยู่ที่ 140,000-340,000 ดอลลาร์สหรัฐ แต่ให้เป็นไปตามกำหนด เป็นต้น
ยึดกระแส DEIB
ต้องทำความเข้าใจกระแสใหม่ก่อนว่า DEIB คืออะไร และทำไมถึงสำคัยกับองค์กรยุคใหม่?
DEI คือความหลากหลาย ความเสมอภาค และการรวมกลุ่มกัน ส่วน B มาจากคำว่า Belonging (ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน) ความหมายรวม ๆ ก็คือ คนในองค์กรเมื่ออยู่รวมกันแล้วต้องไม่มีคนใดคนหนึ่งรู้สึกโดดเดี่ยวหรือไม่มีส่วนร่วม เพราะมันต้องรับรู้ความแตกต่างและต้องทำให้ทุกคนรู้สึกอยู่ในจุดเดียวกัน
ซึ่ง mindset แบบนี้ตั้งแต่ HR เองไปจนถึง พนักงานระดับปฏิบัติงาน จะช่วยให้ธุรกิจมีความเติบโต เพราะทุกคนอยู่ในจุดประสงค์เดียวกัน สำคัญคือ ต้องมีพื้นฐานการคิดและมีมุมมองรูปแบบนี้ โดยการคิดแบบนี้จะสะท้อนมาถึงความเท่าเทียม และการรับความแตกต่างระหว่างบุคคได้นั่นเอง
นวัตกรรมการข้ามสาย (cross-pollination innovation)
สถานการณ์การปลดพนักงานในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีมีนัยยะบางอย่างให้กลุ่ม HR ต้องพิจารณา คนยุคใหม่จะเริ่มมองการข้ามสายมากขึ้น ก็คือ โยกย้ายไปในตำแหน่งที่ไม่เกี่ยวกับประสบการณ์เดิม แต่จะมีบางคุณสมบัติที่สามารถยอดต่อได้ ซึ่ง HR ต้องพยายามเข้าใจความเป็นไปลักษณะนี้ให้มากขึ้น ซึ่งจริง ๆ แล้วปรากฏการณ์นี้เคยเกิดขึ้นมาก่อนในช่วงหลายปีก่อนมีที่จะโควิด-19
HR ยุคใหม่มีอำนาจและทักษะในเรื่องค่าใช้จ่าย
เมื่อเรากำลังเข้าสู่ช่วงการเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงพื้นฐาน ทั้งหลัก, มุมมองเรื่องการจ้างงานและการพัฒนาบุคลากรที่มีสามารถ ดังนั้น หน้าที่รับผิดชอบของ HR ยุคใหม่จำเป็นต้องมีทักษะในเรื่องการใช้จ่ายของบริษัทด้วย พูดง่ายๆ ก็คือ HR ต้องเป็นคนคัดกรองค่าใช้จ่ายให้กับบริษัทด้วย ในยุคที่เศรษฐกิจถดถอยเช่นนี้ โดยจะมีผลในการเลือกบุคคลเข้ามาสัมภาษณ์งาน
'ฮาร์ดคอร์' ไม่ใช่กลยุทธ์ที่เน้นความยั่งยืนได้
ในขณะที่มีการลาออก หรือการเลิกจ้างพนักงานครั้งใหญ่ที่ผ่านมา บริษัทต่าง ๆ เริ่มคิดโซลูชั่นที่จะรักษาบุคลากรที่มีความสามารถไว้ รวมทั้งดึงดูดพนักงานหัวกะทิให้เข้ามาทำงานที่องค์กร
อย่างไรก็ตาม การทำงานที่ไม่มี work-life balance ถือเป็นรูปแบบการทำงานแบบฮาร์ดคอร์อย่างหนึ่ง ซึ่งพนักงานยุคใหม่ค่อนข้างให้ความสำคัญกับเรื่องสุขภาพจิตและสุขภาพร่างกายมากขึ้น ดังนั้น ผลประโยชน์ด้านสุขภาพจิตไปจนถึงการทำงานทางไกล (remote working) หรือการทำงานแบบไฮบริด ล้วนเป็นความยืดหยุ่นที่คนรุ่นใหม่ต้องการ และบริษัทก็สามารถสร้างความยั่งยืนในแง่ของการทำงานได้
ทั้งนี้ การทำงานของ HR ยุคใหม่ รวมทั้งคุณสมบัติของพนักงานใหม่ก็ตาม ต้องสร้างความเข้าใจตรงกันเรื่องนี้ และการเน้นแนวคิดแบบยั่งยืนทั้งทางกายภาพและสุขภาพทางใจด้วย นี่คือรูปแบบขององค์กรยุคใหม่ที่มีความยั่งยืนที่แท้จริง
ยุคของ AI ที่ต้องปรับตัว
ในยุคที่เทคโนโลยีก้าวหน้า และเป็นโลกของ AI (เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์) ที่มีบทบาทมากขึ้น ทำให้กระบวนการสัมภาษณ์งานและคำถามต่าง ๆ ที่ใช้ถามผู้สมัคร ควรต้องเกี่ยวข้องกับค่านิยมเรื่อง AI ด้วย ซึ่ง HR จำเป็นต้องเข้าใจเรื่องนี้มากกว่าคนอื่นในระดับปฏิบัติงาน
นอกจากความเข้าใจ HR ควรต้องใช้ประโยชน์จาก AI ให้เป็นด้วย เพื่อหาบุคคลหรือตำแหน่งงานที่เหมาะสมกับองค์กร เพราะสุดท้ายผลประโยชน์ที่จะวนกลับมาก็คือ การเติบโตของบริษัทที่ HR จะมีส่วนอย่างมากในการค้นหาคนที่มีคุณสมบัติได้ดี และเหมาะสมกับตำแหน่ง ดังนั้น การเป็น HR ในปี 2023 ถือว่าไม่ง่ายเลยที่จะสร้าง impact บางอย่างให้สะท้อนไปถึงองค์กรได้
ภาพ: Getty Images
อ้างอิง: