มงคล โบไธสง ชายหนุ่มที่แม้ไร้ใบปริญญา แต่ใช้ความมุ่งมั่นคิดค้นนวัตกรรมสร้างสรรค์ให้ผู้ป่วย

มงคล โบไธสง ชายหนุ่มที่แม้ไร้ใบปริญญา แต่ใช้ความมุ่งมั่นคิดค้นนวัตกรรมสร้างสรรค์ให้ผู้ป่วย
แม้จะไม่เคยได้รับปริญญาบัตรตามที่เคยใฝ่ฝันมาตั้งแต่เด็ก แต่ เป๊ก-มงคล โบไธสง ผู้ช่วยพยาบาล งานการพยาบาลผ่าตัด ฝ่ายพยาบาล โรงพยาบาลศิริราช ซึ่งตัดสินใจเข้ากรุงเทพมาแสวงหาโอกาสที่ดีกว่าตั้งแต่จบชั้นมัธยม ก็สามารถประสบความสำเร็จในอาชีพผู้ช่วยพยาบาล จนสามารถคิดค้นนวัตกรรม “รองเท้าช่วยป้องกันเท้าตกและข้อเท้าเขย่งในผู้ป่วยใส่ Ring External Fixation” ที่ไปคว้ารางวัล Routine to Research (R2R) ดีเด่น ระดับนวัตกรรม/สิ่งประดิษฐ์ ในการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากงานประจำสู่งานวิจัย ครั้งที่ 29 มาได้อย่างน่าภาคภูมิใจ ย้อนไปช่วงที่เขาอยู่หัวเลี้ยวหัวต่อของการตัดสินใจเส้นทางเดินชีวิตครั้งสำคัญ ระหว่างเลือกการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาซึ่งใช้เวลาเล่าเรียนนานหลายปี กับการหางานทำเพื่อช่วยเหลือที่บ้านซึ่งกำลังลำบาก ในวันนั้นเด็กหนุ่มที่สวมกางเกงขาสั้นจากจังหวัดบุรีรัมย์เลือกตัดสินใจเก็บกระเป๋าเพื่อเข้ามาหาโอกาสที่ดีกว่าในเมืองหลวง  โชคดีที่มีคนแนะนำให้มงคลลองมาเรียนผู้ช่วยพยาบาล ที่เป็นหลักสูตรระยะสั้น ใช้เวลาเรียนเพียง 1 ปี แล้วได้รับประกาศนียบัตร พร้อมกับได้งานทำเลย นั่นเป็นที่มาให้มงคลได้เข้าทำงานที่ศิริราช สถานที่ทำงานซึ่งตอนนี้เขาสังกัดอยู่ต่อเนื่องจนอายุย่าง 38 ปี “ผมเป็นลูกคนกลาง และเป็นคนเดียวที่เข้ามาทำงานอยู่ในกรุงเทพ โดยที่มีคนแนะนำให้มาเรียนผู้ช่วยพยาบาล เป็นหลักสูตรระยะสั้นใช้เวลาเรียน 1 ปี เรียนจบได้ประกาศนียบัตร คล้าย ๆ กับอนุปริญญา แล้วก็สามารถทำงานที่ศิริราชได้เลย” มงคล โบไธสง ชายหนุ่มที่แม้ไร้ใบปริญญา แต่ใช้ความมุ่งมั่นคิดค้นนวัตกรรมสร้างสรรค์ให้ผู้ป่วย แม้ในตอนแรกมงคลมีความใฝ่ฝันว่าอยากทำอาชีพครู แต่ด้วยระยะเวลาเรียนกว่า 5 ปี ตามหลักสูตร ซึ่งนานเกินไปสำหรับคนที่มีหลายอีกหลายชีวิตทางบ้านรอคอยด้วยความหวัง มงคลตัดใจจากความฝันแล้วหันหน้ามาสู่ความจริงบนเส้นทางการเป็นผู้ช่วยพยาบาล เพราะเป็นหนทางที่สั้นกว่า และน่าจะพาเขาไปถึงจุดหมายคือการหาเลี้ยงตนเอง และการดูแลครอบครัวให้ได้อยู่ดีกินดีได้เช่นกันแม้ว่าจะไร้ใบปริญญาบัตร “ช่วงวัยเด็ก พ่อกับแม่ผมไม่ได้อยู่ที่บ้านเพราะต้องเข้ามาทำงานที่กรุงเทพ ตัวผมอยู่กับยาย ยายก็เลี้ยงมาตั้งแต่เด็กจนจบมัธยม ตอนเด็กเราก็ค่อนข้างลำบาก เพราะที่บ้านไม่มีฐานะ บางทีเวลาจะไปโรงเรียน ไปทำกิจกรรม หรือไปเที่ยวไหน ๆ เราก็แทบไม่มีโอกาสไปเลย อย่างช่วงประถมไปโรงเรียนได้เงินใช้วันละ 5 บาทเอง แล้วก่อนจะไปโรงเรียนก็ยังต้องช่วยที่บ้านทำงานด้วยถึงจะไปโรงเรียนได้” จากจุดเริ่มที่ไม่ต้องการรบกวนขอเงินจากที่บ้านแล้วตัดสินใจเข้ากรุงเทพด้วยหวังจะมาทำงานหารายได้แบ่งเบาภาระครอบครัวในวันนั้น ทำให้วันนี้มงคล ได้มีหน้าที่การงานที่มั่นคงด้วยการเป็นผู้ช่วยพยาบาล งานการพยาบาลผ่าตัด ฝ่ายพยาบาล โรงพยาบาลศิริราช “คืออาชีพมันมีหลากหลายอยู่แล้วครับ อยู่ที่ว่าเราจะมีความพร้อมและเจอช่องทางเข้าไปรึเปล่า อย่างเพื่อนผมเรียนจบปริญญาตรีแล้วมาเรียนผู้ช่วยพยาบาลก็มีนะ คืองานตอนนี้มันหายาก บางคนจบปริญญาตรีมาแล้วแต่ไม่มีงานรองรับ แล้วบางทีสายวิชาที่เขาเรียนมันหางานยาก เขาก็มาเรียนกับผมก็มีหลายคน ผมว่าอาชีพไหน ๆ ก็สามารถเป็นอาชีพที่มั่นคงได้เหมือนกัน ไม่ได้มีแค่อาชีพที่ต้องการใบปริญญาเท่านั้นถึงจะเป็นอาชีพมั่นคง” งานในหน้าที่ของมงคลส่วนใหญ่จะเป็นการช่วยแพทย์ทำหัตถการต่าง ๆ ทั้งงานทำแผล ตัดไหม ใส่เฝือก ช่วยแพทย์ฉีดยา และไม่เพียงแค่ทำงานไปตามหน้าที่เท่านั้น มงคลมีโอกาสเห็นสภาพความเป็นอยู่ของคนไข้ ซึ่งแม้ว่าจะมีโอกาสเข้ามารับการรักษาที่โรงพยาบาลชั้นนำของประเทศแล้ว แต่หลายคนก็ยังมีความยากลำบากบางอย่าง เป็นจุดเริ่มต้นให้เขาคิดค้นสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการบริการอย่างครบถ้วนและสามารถรองรับผู้มาใช้บริการได้มากขึ้น โดยนวัตกรรมนี้ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานที่เขาสังกัดอยู่ตลอด “พอดีที่หน่วยงานจะมีโครงการสนับสนุนผลงานของบุคลากร อาจจะเป็นนวัตกรรม เป็นการทำคู่มือ หรืออาจจะเป็นเชิงวิชาการ ซึ่งนอกเหนือจากเป็นการเพิ่มผลตอบแทนของเราแล้ว เหตุผลที่สำคัญไม่แพ้กันคือ เราเห็นคนไข้ที่มาใช้บริการบางคนที่อยู่ต่างจังหวัดไม่มีเงิน แต่ต้องมาผ่าตัดหลายรอบแล้ว ก็เลยอยากจะทำนวัตกรรมขึ้นมาเพื่อให้คนไข้ไม่ต้องมาผ่าตัดซ้ำอีก” มงคล โบไธสง ชายหนุ่มที่แม้ไร้ใบปริญญา แต่ใช้ความมุ่งมั่นคิดค้นนวัตกรรมสร้างสรรค์ให้ผู้ป่วย มงคลอาจจะเป็นคนหนึ่งที่รู้สึกว่าตัวเองตัดสินใจเลือกเส้นทางอาชีพได้เหมาะสมจากการแนะนำของคนรู้จัก แม้ว่าก่อนหน้านั้นจะไม่เคยรู้ถึงโอกาสในอาชีพผู้ช่วยพยาบาลมาก่อน ซึ่งโอกาสในการเข้าถึงข้อมูล และการได้พัฒนาทักษะอันเป็นพื้นฐานอาชีพนี้ สอดคล้องกับแนวทางและเป้าหมายของโครงการ Career Academies ซึ่งมงคลได้รับเลือกเป็นบุคคลต้นแบบในอาชีพผู้ช่วยพยาบาล โครงการพัฒนาโมเดลสะเต็มศึกษาสู่โลกอาชีพ (Career Academies) เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ “Chevron Enjoy Science: สนุกวิทย์ พลังคิด เพื่ออนาคต” ระยะที่สอง โดยความร่วมมือของ ศูนย์ภูมิภาคว่าด้วยสะเต็มศึกษาขององค์การรัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asian Ministers of Education Organization Regional Centre for STEM Education : SEAMEO STEM-ED) ซึ่งเป็นองค์กรระหว่างรัฐบาลส่วนภูมิภาค ภายใต้ความเห็นชอบของกระทรวงศึกษาธิการประเทศไทย และ บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด  มงคล โบไธสง ชายหนุ่มที่แม้ไร้ใบปริญญา แต่ใช้ความมุ่งมั่นคิดค้นนวัตกรรมสร้างสรรค์ให้ผู้ป่วย เนื่องจากสถานการณ์ผู้เรียนในสายวิทยาศาสตร์หรือที่เกี่ยวข้องกับสะเต็มศึกษายังเป็นสัดส่วนที่ต่ำกว่าสายสังคมศาสตร์อยู่มาก เพราะผู้เรียนขาดความสนใจและความมั่นใจในการเรียนเพราะคิดว่ายากเกินไป นอกจากนั้น ระบบการศึกษาในสายสามัญไม่ได้ให้ความสำคัญกับการแนะแนวอาชีพ หรือการพัฒนาความรู้และทักษะที่เชื่อมโยงกับอาชีพเท่าที่ควร โดยไปมุ่งเน้นทฤษฎี และมุ่งส่งเสริมให้นักเรียนเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัย นอกจากนี้ ยังมีเยาวชนอีกจำนวนหนึ่งที่ขาดแรงจูงใจหรือขาดทุนทรัพย์ในการเรียนต่อและต้องออกจากการเรียนกลางคันเพื่อมาประกอบอาชีพ  โครงการ Career Academies จึงเข้ามาสร้างโอกาสทางการศึกษาที่พัฒนาเยาวชนที่ขาดโอกาสสู่การเป็นบุคลากรที่มีคุณภาพ ที่มีความพร้อมทั้งความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะที่เหมาะสมและก้าวทันโลกอาชีพสอดรับกับกลุ่มอุตสาหกรรม S-Curve และกลุ่มอาชีพที่ขาดแคลน โดยร่วมมือกับพันธมิตรในภาคต่างๆ เพื่อสร้างแรงจูงใจในเด็กที่สนใจเรียนต่อ เพื่อความก้าวหน้าในอาชีพ ลดอัตราการออกเรียนกลางคัน แนะนำให้เด็กรู้จักกับโลกของงาน อบรมพัฒนาทักษะด้านอาชีพในสายต่างๆ พร้อมทั้งให้ความรู้ในด้านอาชีพที่สำคัญ เพื่อผลิตกำลังคนคุณภาพเข้าสู่ตลาดแรงงาน เพื่อสร้างรายได้เลี้ยงตัวเองให้ได้เร็วที่สุด มงคล โบไธสง ชายหนุ่มที่แม้ไร้ใบปริญญา แต่ใช้ความมุ่งมั่นคิดค้นนวัตกรรมสร้างสรรค์ให้ผู้ป่วย จากประสบการณ์ที่พบเจอ มงคลเห็นด้วยว่าการที่มีโครงการแบบนี้จะช่วยเพิ่มโอกาสในทางเลือกอาชีพให้กับเด็ก ๆ เป็นจำนวนมาก ได้ค้นพบเส้นทางเดินอย่างที่ตัวเองต้องการ “ผมว่าน้อยคนจะรู้จักว่ามีอาชีพอะไรบ้างที่เป็นอาชีพที่มั่นคง เป็นอาชีพที่ใครก็สามารถเรียนได้ ใครก็สามารถฝึกได้ อย่างอาชีพผู้ช่วยพยาบาล ผู้ช่วยทันตแพทย์ ซึ่งจริง ๆ มีมากกว่านี้ แต่บางคนเขาไม่รู้จัก ว่าคืออาชีพอะไรทำยังไงถึงจะได้เป็น ควรต้องมีโครงการแบบ Career Academies นี้เยอะๆ โครงการที่จะช่วยทำให้เด็กได้รู้จักแล้วช่วยเพิ่มทางเลือกมากขึ้น เด็กบางคนที่ไม่มีทางเลือกเพราะอาจไม่รู้จักอาชีพพวกนี้ อย่างตัวผมเองตอนนั้นก็รู้จักแต่ผู้ช่วยพยาบาล ไม่รู้ว่ามีอื่น ๆ อีกเยอะแยะ ไม่รู้ว่ามีอาชีพเชฟ ที่ไม่ต้องใช้เวลาเรียนมาก ใช้ทุนน้อย แต่สามารถจบมามีงานมั่นคงรองรับได้เช่นกัน” โดย มงคล โบไธสง เจ้าของผลงานนวัตกรรม “รองเท้าช่วยป้องกันเท้าตกและข้อเท้าเขย่งในผู้ป่วยใส่ Ring External Fixation” ที่ไปคว้ารางวัล Routine to Research (R2R) ดีเด่น ได้ฝากถึงน้อง ๆ หลายคนที่วันนี้ยังมองหาโอกาสเหมือนสมัยเขาในช่วงที่เพิ่งเรียนจบมัธยมปลายแล้วอยู่ในทางแพร่งของการตัดสินใจว่า โครงการพัฒนาโมเดลสะเต็มศึกษาสู่โลกอาชีพ (Career Academies) แม้จะเป็นตัวช่วยเปิดทางเลือกเพื่อให้น้องสามารถเลือกเส้นทางเดินใหม่ ๆ แต่สุดท้ายแล้วการจะประสบความสำเร็จได้หรือไม่อยู่ที่ความมุ่งมั่นและความตั้งใจพยายามในการเดินตามเส้นทางนั้นไปให้สุดทาง “อยากฝากและให้กำลังใจน้อง ๆ หลายคนที่ไม่มีโอกาส ว่าเราต้องสร้างโอกาสให้ตัวเอง บางคนอาจจะท้อ แล้วล้มเลิกความตั้งใจไป แต่ถ้าเรามีแรงผลักดันให้ไปถึงเป้าหมายจะช่วยให้เรามีแรงพยายามที่จะทำให้ดีที่สุด และถ้ามีโอกาสที่ดีเข้ามาอย่างเช่นโครงการดี ๆ แบบนี้ ให้รีบคว้าโอกาสเอาไว้ เพื่อจะได้เข้ามาศึกษาว่า อาชีพที่เราชอบนั้นมีการทำงานอย่างไร จะเป็นอาชีพที่เรารักได้ในอนาคตหรือเปล่า เพื่อที่วันข้างหน้าเราจะได้มีโอกาสสร้างชีวิตใหม่ของตัวเองเช่นกัน” มงคล โบไธสง ชายหนุ่มที่แม้ไร้ใบปริญญา แต่ใช้ความมุ่งมั่นคิดค้นนวัตกรรมสร้างสรรค์ให้ผู้ป่วย สำหรับผู้ที่สนใจโครงการ Career Academies สามารถติดตามรายละเอียดโครงการได้ที่เพจ Chevron Enjoy Science II https://www.facebook.com/chevronenjoysciencephaseII