พิ้งกี้-สาวิกา ไชยเดช: เส้นทางชีวิตสาวหน้าคมผู้หลงรักในการแสดง ซอมบี้ และละครผีเรื่องล่าสุดของเธอ

พิ้งกี้-สาวิกา ไชยเดช: เส้นทางชีวิตสาวหน้าคมผู้หลงรักในการแสดง ซอมบี้ และละครผีเรื่องล่าสุดของเธอ
“ตอนเด็กเราแค่รู้สึกอย่างเดียวคือทำไมไม่ได้เล่นกระโดดหนังยางตอนเที่ยง ความรู้สึกคือฉันต้องไปถ่ายละครแล้วเหรอ แบบกำลังจะกระโดดหนังยางแล้วนะ แล้วก็แบบอ้าว! ต้องไปถ่ายละครอีกแล้ว คือถามว่าถ้าเกิดตอนเด็กคืออะไร ก็คือ เฮ้อ! ฉันไม่ได้เล่นกระโดดหนังยาง คือพลาดแล้ว คือรู้สึกว่าตรงนั้นอะขาดไปนิดหนึ่ง” จากเด็กหญิงที่ถูกแมวมองทาบทามให้เข้าวงการบันเทิงตั้งแต่อายุเพียง 7 ขวบ เริ่มจากการถ่ายแบบโฆษณาจำนวนมาก ‘พิ้งกี้’ สาวิกา ไชยเดย ในวัยแรกเริ่มกลายเป็นที่รู้จักในฐานะดาราเด็กจากบทบาทมากมาย โดยมีผลงานสร้างชื่อคือละครเรื่อง ‘ดาวพระศุกร์’ กับบทบาทดาวพระศุกร์ตอนเด็ก ตามมาด้วยบทบาทเอื้อยและอ้ายในวัยเด็กจากละคร ‘ปลาบู่ทอง’ ชีวิตของเธอผูกพันกับการแสดงอย่างแน่นแฟ้นมานับจากนั้น ไม่ว่าจะเป็นละครดังอย่าง ‘สาวน้อยร้อยล้าน’, ‘ธิดาซาตาน’ หรือ ‘วงเวียนหัวใจ’ ฝีไม้ลายมือการแสดงของเธอก็มักปรากฏในจอให้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ได้รับชมอยู่เสมอ The People ชวนพิ้งกี้-สาวิกาคุยย้อนถึงเส้นทางชีวิตในวันวาน ความสุข ความรัก และแพสชันในการแสดงที่มากล้นของเธอ โดยพิ้งกี้บอกกับเราว่า แม้ปัจจุบันเธอจะเคยได้รับบทบาทที่หลากหลาย หากบทที่เธออยากเล่นแต่ยังไม่เคยได้ลองก็คือ ‘ซอมบี้’ ที่เธอได้ถ่ายทอดความหลงใหลในซอมบี้ผ่านบทบาท ‘มาลัย’ ผีอาฆาตจากละครย้อนยุคเรื่องล่าสุดของเธออย่าง ‘เรือนร่มงิ้ว’ ให้แฟน ๆ ได้รับชมผ่านจออีกครั้ง “เราเชื่อว่าการแสดงคือสิ่งที่มันฝากไว้กับโลกนี้ให้ทุกคนจดจำ มันคือผลงานที่เหมือนเราสร้างผลงานเป็นพีระมิดหรืออะไรอย่างนี้ อันนี้คืองานที่จะฝากไว้กับโลกนี้ เพราะฉะนั้นมันจะอยู่ไปจนลูกหลาน”   The People: เล่าย้อนชีวิตวัยเด็กสักนิด พิ้งกี้: ตอนเด็กก็เป็นเหมือนเด็กทั่วไป คือไม่ได้มีการแบบว่าตั้งใจที่จะได้เข้าวงการ แล้วสมัยก่อนมันก็มีแมวมอง ไปเดินห้างก็มีแมวมองมา แล้วก็จับพลัดจับผลูได้เข้ามาในวงการบันเทิง ก็คือถ่ายโฆษณา ถ่ายเยอะมากช่วงหนึ่ง แล้วก็ได้มาเล่นละคร อันนี้ fast speed ชีวิตเร็วมาก คือเป็นเด็กคนหนึ่งที่มีความขี้อายสุด ๆ แต่พอมาได้เล่นละครหรืออะไรอย่างนี้ ก็ไม่ได้มีการเคยเรียนอะไรมาก่อน คือได้เข้ามาแล้วก็ไปเรื่อย ๆ ไปเรื่อย ๆ ก็มีความขัดแย้งในตัวเองสูง ณ ที่นี้ก็คือขี้อายแต่ว่ากล้าแสดงออกเวลาอยู่ในฉาก มันตรงกันข้ามในตัวตนเลย   The People: ตอนนั้นอายุประมาณเท่าไร พิ้งกี้: ตั้งแต่ 7 ขวบค่ะ 7 ขวบนี่ก็คือเริ่มต้นด้วยโฆษณา พอโฆษณาเนี่ยจำได้ว่าช่วงนั้น peak มากถึงขนาดไป cast อะไรก็ได้หมดเลย ตอนเด็กนะ ตอนเด็กก็คือ cast อะไรก็คือได้ ๆ ๆ ๆ เสร็จก็เลยแบบมันมีโฆษณาโทรทัศน์ยี่ห้อหนึ่งในสมัยก่อนแล้วมันดัง ก็เลยมีช่องละครติดต่อให้มาเล่นละคร ก็ไป cast กับเด็กเยอะมาก ก็ได้เล่น เล่นจนกระทั่งแบบพอเรื่องหนึ่ง เรื่องสอง เรื่องสาม มันก็เลยต่อมาเรื่อย ๆ จนกระทั่งมีละครที่ทุกคนก็น่าจะทราบ คือสร้างชื่อเสียงตอนเด็ก ก็อันนั้นน่ะค่ะ เลยทำให้เป็นผลงานที่จริง ๆ มันคือ masterpiece สำหรับเราในช่วงเด็กด้วย แล้วก็คน ประชาชนทุกวันนี้ไม่ว่าจะเป็นคุณพ่อคุณแม่คุณปู่คุณย่ารู้จักหมดเลย   The People: ช่วงแรก ๆ ได้เล่นละครแนวจักร ๆ วงศ์ ๆ อยู่ด้วย พิ้งกี้: ใช่ ก็คือไม่รู้เรื่องอะไรเลย คือเขาให้เล่นอะไรก็เล่นตามเขา เพราะสมัยก่อนในช่อง 7 มันจะมีละครตอนเช้า ละครตอนเย็น แล้วก็ละครกลางคืน ใครที่เริ่มต้นในวงการบันเทิงของช่อง 7 ก็จะต้องไปละครเช้าก่อน คือจะมีรุ่นพี่ ๆ ก็คือพี่กบ สุวนันท์ อะไรอย่างนี้ ละครตอนเช้ามันเหมือนฝึกวิทยายุทธก่อนที่จะไปได้เล่นละครกลางคืน พอได้เล่นอันนั้นเสร็จ ละครเช้า ละครจักร ๆ วงศ์ ๆ ก็จะไปเล่นละครตอนกลางคืน อันนั้นก็คือช่วงดาวพระศุกร์ คือละครกลางคืนที่มัน peak มาก จำได้ว่าโชว์ตัวแบบทั่วประเทศ สามปีสี่ปี มาเรื่อย ๆ อย่างนี้ค่ะ ไม่ได้พักเลย ตอนเด็ก ๆ คือนอกจากเป็นคนตั้งใจเรียนมาก ตั้งใจเรียนสุด ๆ แต่ว่าทำงานก็ตั้งใจสุด ๆ เหมือนกัน คือเป็นคนที่ถือว่าเป็นชีวิตที่เขาเรียกว่าผ่านการทำงานที่โชกโชนมากค่ะ พิ้งกี้-สาวิกา ไชยเดช: เส้นทางชีวิตสาวหน้าคมผู้หลงรักในการแสดง ซอมบี้ และละครผีเรื่องล่าสุดของเธอ The People: ช่วงนั้นแบ่งเวลาอย่างไร กดดันไหม พิ้งกี้: การแบ่งเวลา เราเป็นคนมีวินัยในเรื่องของตั้งใจเรียน คือสอบก็คือบอกได้เลยว่ามันได้ของมันเอง คือ ณ ตอนนั้นเรียนได้เกรด 3 เกรด 4 เราไม่เคยเรียนไม่ดี เราตั้งใจมากกว่าปกติ แล้วเวลาเล่นก็เล่นจริงจัง เวลาทำงานก็คือทำงานจริงจัง แต่ถ้าถามว่าตอนเด็กเราแค่รู้สึกอย่างเดียวคือ ทำไมไม่ได้เล่นกระโดดหนังยางตอนเที่ยง ความรู้สึกคือฉันต้องไปถ่ายละครแล้วเหรอ แบบกำลังจะกระโดดหนังยางแล้วนะ แล้วก็แบบอ้าว! ต้องไปถ่ายละครอีกแล้ว คือถามว่า ถ้าเกิดตอนเด็กคืออะไร ก็คือ เฮ้อ! ฉันไม่ได้เล่นกระโดดหนังยาง คือพลาดแล้ว คือรู้สึกว่าตรงนั้นอะขาดไปนิดหนึ่ง แต่ว่าถ้าถามเรื่องอื่นรู้สึกดีนะ รู้สึกว่ามองย้อนกลับไปคือเป็นชีวิตที่ได้เจอคนเยอะมาก ได้ทำงานกับบุคคลที่เป็นตำนานหลายท่าน ก็ถือว่าคุ้มค่า อันนี้พูดถึงตอนเด็กก่อนนะ   The People: แล้วพอเริ่มโตขึ้นมาหน่อยล่ะ อะไรที่ทำให้พิ้งกี้รู้สึกว่าตัวเองชอบการแสดงและอยากทำมันต่อมาเรื่อย ๆ พิ้งกี้: เรามองการแสดงเป็นเรื่องของความธรรมชาติ เรามองว่าการแสดงคือความธรรมชาตินะตอนเด็ก ตอนที่เราโต ก่อน 14 อะ เราก็คือเล่นตามที่เป็นไป ที่เขาให้เราเล่น เราก็เล่นตามบทไป แต่เราคิดว่าการที่แสดงเยอะคือความไม่ธรรมชาติ อันนั้นเรามองได้แค่มุมเดียว คือมุมของความธรรมชาติในแบบที่เราเล่น แล้วเราไม่สนใจเพราะว่า sphere เราอะ คือรอบข้างเรา เราไม่มีอะไรที่ distract เรา หรือเขาเรียกว่าอะไร ล่อตาล่อใจ หรือทำให้เรามีสมาธิสั้น ตอนเด็กคือพอ 5 4 3 2 คือเราเข้าไปอยู่ใน set แล้วเราก็คือลืมทุกอย่างเลยนะ มันเป็นอย่างนั้น มันถึงจริงมาก ตอนเด็ก แต่พอเราเริ่ม 13 - 14 - 15 เริ่มโตขึ้นมา ถ้าเรามองย้อนกลับไปในการแสดงของเรา เราจะบอกได้เลยว่า ตอน 18 - 19 อันนี้เราไม่เชื่อ เรารู้สึกว่าต่อให้คนจะบอกว่า เฮ้ย! อันนี้ชอบอะ แต่เราบอกว่า อืม...มันเหมือนแบบว่า มีอะไรที่มันไม่เหมือนตอนเด็ก ใช่ ณ ตอนนั้นนะคะ ก็เลยรู้สึกว่าความเป็นเด็กมันก็จะมีความจริงอยู่ในนั้นสูงมาก ความรักในการแสดง เล่ามาเรื่อย ๆ แล้วกัน ก็คือพอ 18 - 19 เรารู้สึกว่ามันค่อนข้างจะเป็นการถ่ายละครที่พูดถึงเม็ดเงินมากกว่า พูดถึงเรื่องของการที่จะแบบ...ทำเวลา เพื่อที่จะไปงาน event แต่ละคน เพราะมันมี event เยอะมาก เราก็เลยรู้สึกว่ามันฉาบฉวย ในเรื่องของการแสดง มันเร็ว ทุกอย่างผ่านไปเร็วมาก พูดแข่งกับเวลา แล้วพอเราผ่านมาในช่วงเวลาของช่อง 7 ก็คือจะมีผลงานที่คนจำได้ สร้างชื่อเสียง อันนั้นเรารู้สึกว่าผลงานมันเยอะมาก เราทำทุกอย่าง เราทำเหมือนเร่งกับเวลา แต่เราตั้งใจนะ เราตั้งใจทุกอันนะ แต่พอเรามาในวัยที่ 28 - 29 - 30 แล้ว จนถึงปัจจุบัน ทุก ๆ ปี ทุก ๆ เขาเรียกว่า quarter เลย พูดถึงเป็น quarter ของปี เปลี่ยนไปแบบค่อนข้างจะเปลี่ยนไป จนกระทั่งปัจจุบันนี้การแสดงเป็นสิ่งที่มหัศจรรย์มากสำหรับเรา มันคือการเรียนรู้บวกกับเรื่องของเข้าใจชีวิต เมื่อเราเข้าใจชีวิตการแสดงก็คือสิ่งที่มันจะเป็นเรื่องเดียวกัน เพราะฉะนั้นมันเหมือนแบบมันไม่มีอะไรที่ไม่เชื่อมโยงกัน เพราะฉะนั้นเราเชื่อว่าวันนี้การแสดงคือสิ่งที่มันฝากไว้กับโลกนี้ให้ทุกคนจดจำ มันคือผลงานที่เหมือนเราสร้างผลงานเป็นพีระมิดหรืออะไรอย่างนี้ อันนี้คืองานที่จะแบบฝากไว้กับโลกนี้ เพราะฉะนั้นมันจะอยู่ไปจนลูกหลาน คือยิ่งเดี๋ยวนี้ HD ทุกอย่าง ทุกอย่างคมชัดหมด มันก็จะเป็นผลงานที่เหมือนสมมติอยู่ในหอสมุด ก็คือเป็นสิ่งที่คนรุ่นหลังเปิดมาก็จะคนนี้ชื่อพิ้งกี้ใช่ไหม อะไรอย่างนี้ มันก็คงจะเป็นงานที่เราอยากให้คนจดจำ เพราะฉะนั้นเรามองมุมมองการแสดงคือมันเป็นเรื่องที่มันมีความมหัศจรรย์ในตัวมัน ซึ่งถ้าอธิบายก็คงใช้เวลาอีกยาว พูดได้ว่าเราหลงเสน่ห์กับมัน แล้วเรารู้สึกว่ามันเป็นการเรียนรู้ที่สนุกมาก   The People: บทบาทการแสดงครั้งไหนที่ทำให้รู้สึกว่าได้เรียนรู้ชีวิตมากที่สุด พิ้งกี้: ต้องบอกเลยว่าพอเราได้เริ่มทำงานกับคนที่หลากหลายขึ้น แล้วก็คนที่มองมุมของการแสดงไม่ใช่ฉาบฉวย เช่นครูของเรา หม่อมหลวงพันธุ์เทวนพ เทวกุล หม่อมน้อยคือครูของกี้ที่กี้บอกได้เลยว่าวันนี้เรามองมุมเปลี่ยนในเรื่องของการแสดง แล้วก็ จริง ๆ แล้วชีวิตของมนุษย์กับชีวิตของการแสดงหรือการถ่ายทอดการแสดงผ่านคาแรกเตอร์นั้น มันคือการถ่ายทอดความจริง การถ่ายทอดความเป็นมนุษย์ให้คนทุกคนได้ดู เพราะฉะนั้นทุกอย่างมันต้องเป็นความจริงก่อน ก่อนที่เราจะแสดง เพราะฉะนั้นเรารู้สึกว่าทุก ๆ ลมหายใจของการเล่น หม่อมน้อยสอนเราให้รู้สึกหลาย ๆ อย่าง แล้วก็ที่บอกว่าการใช้ชีวิตคืออะไร ก็คือเมื่อเราเข้าใจชีวิต เมื่อเรารู้ว่าทุกอย่างมันมี 1 2 3 4 แล้วทุกอย่างมันไม่ต้องเครียด ในความเครียดนั้นหรือความทุกข์นั้นก็มีความสุขอยู่ในเวลาเดียวกัน หรือในเรื่องมัน perfect มันก็จะไม่ perfect เพราะฉะนั้นการ acting ก็คือการ react ก็คือการ เวลาเราคุยกันก็ต้อง react กัน อย่างนี้ มันคือเรื่อง simple เป็นเรื่องที่ธรรมดามาก มองให้มันธรรมดามันก็จะธรรมดา ในเรื่องที่เขาบอกว่าละครเรื่องนี้ยากมากเลยนะ บทนี้มันเครียดมาก มันร้องไห้ มันหนักมาก แต่เรามองเป็นเรื่องสนุก แล้วก็สนุกกับมันทุก ๆ ลมหายใจ อย่างละครเรื่องล่าสุดที่เล่น ‘เรือนร่มงิ้ว’ คือเป็นละครที่เขาบอกมันยากมากในตัวละคร มันมีหลายมิติ แต่เราบอกได้เลยว่าในความยาก ทุก scene มันยากมาก แต่มันคือความง่ายในตัวมันเอง เข้าใจเนอะ เหมือนมีความที่สนุกจังเลยอะ เมื่อก่อนฉากร้องไห้ทำไมเรารู้สึกว่ามันเหนื่อยจัง อันนี้ร้องไห้ไม่เหนื่อยเลย พอเรา cut ปุ๊บ เราออกไปเป็นปกติ เป็นตัวเรา เราจะไม่เก็บอารมณ์นั้นออกไปข้างนอก set เพราะว่าพอ cut ปุ๊บ เราต้องเปลี่ยนเป็นอีกคน ก็คือเป็นตัวเรา ฉะนั้นการเล่นละครก็คือการไม่เล่นละครนั่นแหละ พิ้งกี้-สาวิกา ไชยเดช: เส้นทางชีวิตสาวหน้าคมผู้หลงรักในการแสดง ซอมบี้ และละครผีเรื่องล่าสุดของเธอ The People: อะไรคือบทบาทที่อยากลองเล่นแต่ยังไม่เคยได้เล่น พิ้งกี้: อยากเล่นเป็นผีซอมบี้ค่ะ (หัวเราะ) อยากเล่นเป็นผีซอมบี้ก็คือเป็นคนที่ชอบเสพหนังผี หนังที่มีความแบบนี้อยู่แล้ว ก็เลยรู้สึกว่าถ้าได้เล่นเป็นซอมบี้ก็คงจะต้องทำได้ดี ภูมิใจด้วย ภูมิใจว่าทำได้ดีด้วย คือเราบอกได้เลยว่าเรารู้ขั้นตอนการเป็นซอมบี้ก่อนกลายร่างมันจะมีกี่ stage แล้วเราก็เรียนรู้กับมัน แล้วเวลาเราดูหนังเราก็ชอบมานั่งทำอยู่คนเดียว กับให้น้องดูแบบพี่เป็นซอมบี้ยัง อะไรอย่างนี้ คือมันจะมีซอมบี้หลากหลายมากเลยนะ ถ้ามันมีหนังซอมบี้ในเมืองไทย อย่านะ เล่นได้นะ บอกได้เลย (หัวเราะ) ค่ะ ไม่เคยเล่น อยากเล่น ก็เลยพอเล่นละครเรื่องใหม่ล่าสุดคือ ‘เรือนร่มงิ้ว’ นี่แหละ เล่นเป็นผี ก็เลยจินตนาการเสมือนว่าเป็นซอมบี้ ผู้กำกับบอกว่ามันซอมบี้ไปลูก เอา ลดหน่อยนะ ก็เลยแบบ...อะ โอเค ลดหน่อย พอลดปุ๊บ แต่เราอยู่ในความจะเป็นอะ ความจะเป็นซอมบี้อะ มันแตกต่าง   The People: คลั่งไคล้หนังซอมบี้จริงจังเลยไหม พิ้งกี้: ใช่ ถึงขั้นรู้ด้วยว่าอันนี้ปลอม อันนี้คือแบบ อันนี้ใช่ รู้ถึงขั้นก่อนจะเป็น เราถึงขั้นเคยศึกษาว่าอยากเปิดโรงเรียนสอนซอมบี้ในเมืองไทยจังเลย แต่ว่าเรา ตั้งแต่สมัยก่อนเลยนะ แต่ว่ามันจะดูแบบจะมีคนมาเรียนไหม อย่างนี้ ใช่ แล้วเราก็อยากจะคุยกับคนที่เข้าใจแบบเรา คนที่ชอบหนังซอมบี้ คนที่แบบว่าเล่นแบบเราได้ เล่นแบบความรู้สึกของการเป็นซอมบี้ แล้วเวลาเราเจอคนเล่นซอมบี้เหมือนกัน เราจะรู้สึกว่าอยากเล่น อยากจะเป็นซอมบี้ ต่อให้ไม่ต้องเป็นบทอะไรในเรื่อง เป็นซอมบี้ กลุ่มซอมบี้ ก็พร้อมไปเล่นให้ฟรีนะ เล่นให้ฟรีเลย   The People: อยากให้เล่าถึงช่วงที่เป็นนักร้อง ในชีวิตการทำงานช่วงปีต้น ๆ พิ้งกี้: ตั้งแต่เด็กมาก็คือคิดว่าตัวเองชอบร้องเพลงมาตลอด มากกว่าเล่นละคร ชอบมากกว่าเยอะมาก แล้วทุกวันนี้ เอาอีกแล้วนะ มันก็คือเรื่องเดียวกันอีกแล้วนะ ระหว่างการแสดง การใช้ชีวิต การร้องเพลง คือมันจะเป็นเรื่องเดียวกันหมด คือการร้องเพลงสำหรับในอายุ 14 ‘บั๊ก บันจี้’ (Bug Bunji) ถ้าย้อนกลับไปก็คืออายมาก มันเป็นเด็กน้อยแบบ chubby แก้มกลม ๆ แล้วก็แบบเขินอะ เวลาใครมาพูด วงอะไรนะ บันจี้จัมพ์ ใช่ไหม เราก็แบบ บั๊ก บันจี้ อะไรนะ คือทุกคนจะสงสัยกับคำวงนี้มาก แต่มองย้อนกลับไปมันน่ารัก น่าเอ็นดู อยากจะตีเด็กคนนี้มาก เพราะแก้มเธอนี่แบบเป็นพวงเลย แล้วก็ถือว่าเป็นการร้องเพลงแบบขำ ๆ นะ ณ ตอนนั้นคือการขำ ๆ ร้องเพลงขำ ๆ ไป แต่ปัจจุบันนี้มันไม่ขำแล้ว คือมันเป็นการร้องเพลงที่เรารู้สึกว่า มันเป็นการร้องเพลงที่เรียนรู้ขึ้นไปเรื่อย ๆ ทุกวันนี้การร้องเพลงไม่จบนะ ไม่สิ้นสุดเลยนะ คือเรียนรู้ไปอีก ๆ ๆ ละครหรือการแสดงก็ ได้อีกสิ มันไปได้อีก ก็คือมันไม่มีที่สิ้นสุดเลย   The People: ส่วนตัวเป็นคนชอบเรียนรู้อยู่แล้วด้วยไหม พิ้งกี้: ใช่ เป็นคนชอบเรียนรู้ แล้วก็สอง คือโชคดีที่ได้เจอกับคนที่หลากหลายในเวลาช่วงชีวิตต่าง ๆ ค่ะ ได้ทำงานกับปูชนียบุคคลหลาย ๆ ท่านที่บอกได้เลยว่ามันก็จะไม่มีโอกาสอีกแล้ว หรือได้แง่คิดที่ได้จากรุ่นพี่ต่าง ๆ ที่เขาแชร์เรื่องเกี่ยวกับการใช้ชีวิต philosophy หรือว่าอะไรก็แล้วแต่ ก็เลยทำให้ประมวลผล การประมวลผล ณ ปัจจุบันมันเกิดการประมวลผลที่เป็นเหมือนคอมพิวเตอร์ที่มี ram ที่มีกำลังสูงมากขึ้น แล้วก็เปลี่ยน ios ที่เป็น ios ที่แบบว่า update แต่ก็มีความแบบ ฉันมี back up อยู่นะ อะไรอย่างนี้ เปรียบเสมือนเรามี aura ที่เป็น protect ถ้าสมัยก่อนเรามีจะให้อะไรเข้ามากระทบเราได้ กระทบแล้วมันบาดเจ็บ แต่สมัยนี้ aura นี้มันปกคลุมอยู่ สิ่งที่ไม่ดีหรือสิ่งที่เป็นอะไรไม่ดีมากระทบมันจะสะท้อนกลับ เป็น feel นั้น พิ้งกี้-สาวิกา ไชยเดช: เส้นทางชีวิตสาวหน้าคมผู้หลงรักในการแสดง ซอมบี้ และละครผีเรื่องล่าสุดของเธอ The People: สิ่งไม่ดีเคยเข้ามาหาพิ้งกี้บ้างไหมในช่วงเวลาที่ชีวิตยังไม่มี aura พิ้งกี้: มีนะ คือการเรียนรู้ของมนุษย์ก็คือเราจะรู้ก็ต่อเมื่อเราได้เจอ ประสบพบเจอสิ่งต่าง ๆ เราจะไม่สามารถเรียนรู้ได้ถ้าเราไม่เจอสิ่งต่าง ๆ หรือถ้าเราไม่ suffer พอเราก็จะไม่รู้ว่า โอเค อันนี้เป็นอย่างนี้นะ เราคิดว่าชีวิตของคนเราพอมันผ่านจุดของการเรียนรู้ต่าง ๆ แล้ววันหนึ่ง เส้นทางของชีวิต ใครที่บอกว่าฉันทุกข์จังเลย ฉันทรมานจังเลย จริง ๆ ความทรมานหรือความทุกข์นั้นมันเกิดรอยขีด มันเกิดเหมือนรอย scratch แบบรอยขีดข่วน ยิ่งขีดมากเท่าไร ยิ่งข่วนมากเท่าไร มันเหมือนเป็นแบบมันผ่านพ้นไปได้ด้วยเลือดเนื้อ เขาเรียกว่าเลือดเนื้อของเราเอง มันจะพัฒนาและฝึกฝนเราจนกระทั่งเราเป็น ios ระบบปฏิบัติการที่สูงมาก อะไรอย่างนี้เข้าใจเนอะ แล้วกี้คิดว่ามันเหมือนผ่านการเรียนรู้มาเยอะมาก แล้วมันทำให้เรา up skill ในเรื่องของตัวเอง เรื่องของการใช้ชีวิต และเรื่องของการทำงาน วันนี้ถามว่าวัย ไม่บอกหรอกว่าอายุเท่าไร (หัวเราะ) ก็สามสิบกว่า ๆ ก็กลาง ๆ คนแล้ว ถามว่าวันนี้ aura ของเราที่เราบอก ไม่ใช่ aura แบบเดินไปคุณมี aura จังเลย ไม่ใช่ aura แบบนั้นนะ มันคือถ้าเราพูดถึง energy ของเรา คือเราเป็นแค่ เหมือนเราเป็นเครื่องส่งสัญญาณให้คน เป็น energy อันหนึ่ง energy นี้ เมื่อเรารู้สึกว่าเรา glow ข้างใน เรารู้สึกรักตัวเอง glow จากข้างใน สิ่งที่มันจะกระทบเราหรือสิ่งที่จะ attract เข้ามา มันก็จะเป็นสิ่งที่คน ผู้คนที่ดี energy ที่ดี งานที่ดี อะไรต่าง ๆ ที่มันเข้ามามันก็จะเป็นสิ่งที่ดีหมด เพราะฉะนั้นเราเริ่มรู้สึกรักตัวเอง เมื่อเรารักตัวเอง มันจะมีสิ่งดี ๆ เกิดขึ้น ที่ผ่านมาเรายอมให้คนอื่นมากระทบเรา แล้วเราก็คือแบบรู้สึก เฮ้อ! อย่างนี้ เราจะยอมให้ทุกคนมาทำร้ายหรือเอา energy ไม่ดีเข้ามา แล้วเราเหมือนมีรอยรั่ว เราก็จะเอารอยรั่วกระทบเข้ามาในใจเรา แต่พอเรามี aura ที่ protect เราแล้ว เราจะรู้สึกเราล่องลอย ไม่ใช่แบบว่าลอยไปลอยมานะ เราจะรู้สึกว่าเราเบาสบายค่ะ   The People: เล่าถึงวันที่ได้ไปเล่นภาพยนตร์อินเดียสักหน่อย พิ้งกี้: ก็คือประสบการณ์หนักอีกแล้วล่ะ ประสบการณ์ที่รอดตายมาได้เยอะมาก คือก็ไม่อาจจะมีชีวิตถึงวันนี้ได้ถ้าเกิดมาไม่แข็งแกร่งพอ อินเดียคือสอนอะไรให้เราเยอะมาก ทั้งเรื่องของงาน เราได้ไปพบกับบุคคลที่หลากหลายมาก ได้ไปเรียนรู้สิ่งที่แบบวัฒนธรรม แล้วก็บอกได้เลยว่าวันนี้มองย้อนกลับไปเราภูมิใจมาก ว่าสาวิกา ไชยเดช เธอทำได้ไงเนี่ย เธอสามารถไปพูดบทอะไรก็ไม่รู้ ซึ่งวันนี้มองย้อนกลับไปก็คือ ภาษาเขา ภาษาเขาคือมันซับซ้อนมาก แล้วเราก็คือเป็นแค่คนไทยคนหนึ่งไปเล่น แต่เราสามารถไปรวมเป็นคนอินเดียได้ เป็นเหมือน team work ของเขา ซึ่งมันต้องผ่านความอดทน ความหลาย ๆ อย่างในการที่จะอยู่ตรงนั้น ผ่านการแบบว่าเกือบตายเอาตัวไม่รอดในการใช้ชีวิตเพราะว่าเจอแบบแมลงมันมากัด มันมีเรื่องราวเยอะมาก ก็ผ่านมาได้ แล้วก็ทุกวันนี้มีคนถามเยอะมากว่าไม่กลับไปที่นู่นเหรอ ไม่ไปเล่นอีกเหรอ ก็ตอบว่าใจจริงอยากกลับไป แต่ว่าเหนื่อย มันเหนื่อย แล้วก็มันเหมือนกับว่าที่นู่นมันทำงานหนักกว่าเมืองไทยเยอะมากเลยค่ะ แล้วก็ได้เห็นถึงว่าชีวิตของการเป็นนักแสดงที่นู่นเขาขยันขันแข็งมาก เราได้ผ่านความอดทนในหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นตอนอยู่ช่อง 7 เคยทำงานมันต้องอดทนสูง ไปอินเดียก็ต้องอดทน อดทนแล้วก็ต้องทำให้ได้ ไม่มีคำว่าทำไม่ได้ ก็เลยบอกว่าความตั้งใจที่แยบยลนั่นก็คือความตั้งใจแบบไม่ตั้งใจ เข้าใจ feel ปะ คือตั้งใจมากเกินไปไม่ดี แต่ไม่ตั้งใจเลยก็ไม่ได้ เพราะฉะนั้นตั้งใจแบบไม่ตั้งใจนั่นก็คือสิ่งที่ตั้งใจแบบแยบยล   The People: ประสบการณ์ชีวิตที่เป็นบทเรียนของพิ้งกี้ พิ้งกี้: จริง ๆ อย่างที่บอก บทเรียนมันก็คือรอยขีดข่วนให้กับชีวิต ชีวิตมันก็คือ มันเป็นเหมือนที่เราบอก จำได้หรือเปล่าว่ามันคือการแสดงกับการใช้ชีวิตคือเรื่องเดียวกัน เราจะไม่เข้าใจอะไรละเอียดอ่อนเท่ากับการที่เราไม่ได้เหมือนกับว่าผ่านชีวิตแบบนั้นมา บางทีนักแสดงเมืองนอกหรือนักแสดงบางคน ถ้าเกิดว่าในเรื่องเป็นคนต้องติดยา เขาก็ต้องไปติดยาเพื่อให้รู้สึกนั้น แต่ถ้าถามว่าเรา ไม่ต้องไปติดยาสิ เราใช้ชีวิตให้มันแบบ อ๋อ! มันทุกข์อย่างนี้เหรอ เราใช้ความทุกข์นั้นปรับเปลี่ยนเข้ามาให้มันเป็นเหมือน method acting คือการไปทำอาชีพนั้นให้รู้สึกว่าอาชีพนี้เป็นอย่างนี้แล้วมาเล่นบทนั้น แต่อันนี้เราคือใช้ความ recall ความรู้สึกหรือชีวิตประสบการณ์จริงเอามาใช้ อันนั้นคือขั้นแรกในการแสดง แต่ตอนนี้ไม่ต้องเรียกหรือ recall อะไรทั้งสิ้นแล้ว มันคือหลับตาแล้วก็เข้าไปใน set แล้วก็อยู่กับตรงนี้จริง ๆ เหมือนกับที่อยู่กับความเป็นจริง อยู่กับความเป็นธรรมชาติ อย่างที่เราบอก มันคือการใช้ชีวิตที่แท้จริง   The People: แล้วประสบการณ์ความรักล่ะ พิ้งกี้: จริง ๆ เราว่าความรักในมุมมองของสังคมด้วยแหละ คือสังคมเราจะมองความรักเป็นเรื่องใหญ่ เป็นเรื่องมาก่อน หมายถึงว่ามีความรักหรือยัง ทำไมล่ะ 1 2 3 4 แต่เราไม่ได้มองที่คุณค่าของผลงานก่อน เราชอบบอกกับทุกคนมาก เพราะว่าเราผ่านมาแล้ว เราเลยบอกว่า ตราบใดที่คุณยังไม่ได้รักตัวเอง คุณจะไม่มีวันดึงคนที่คุณคิดว่าคุณอยากได้แบบนั้นเข้ามาในชีวิต ถ้าคุณรักตัวเองหรือว่าคุณรู้สึกว่าภูมิใจจัง รักตัวเองจังเลย วันนี้ฉันอยากให้ทุกคนเห็นฉันว่า 1 2 3 4 งี้ อันนั้นน่ะมันจะดึงคนแบบนั้นเข้ามา ทุกวันนี้บอกน้อง ๆ ทุกคนแบบ ตื่นเช้ามาก็ต้องยิ้มอะ โอเคนะ โอเค รู้สึกยังไง อย่างนี้ แล้วก็บางคนบอก พี่กี้ หนูไม่มีแฟนเลย หนูทำยังไงดี เหมือนเราเคยบ่นกับเพื่อนอะ ไม่มีแฟนเลย ตอนเด็กอะเนอะ ทุกวันนี้เราเหมือนเห็นตัวเอง คือพอเราโตขึ้น เราจะมีวิธีการที่ค่อนข้างจะน่ารักในการแชร์ให้กับคนหรือน้อง ๆ รุ่นหลังดีขึ้นเรื่อย ๆ แล้วรู้สึกว่าบางทีเราหันมาแล้ว เรายิ้มเหมือนมีตัวเองเป็นแฝดอีกคนหนึ่งแล้วมองตัวเองแบบได้อยู่นะเราเนี่ย (หัวเราะ) เหมือนภูมิใจในตัวเอง โอเค เหมือนเราสมมติเรามีความสำเร็จอะไรเล็ก ๆ น้อย ๆ เราใช้เวลาตบมือให้กับตัวเองสักนิดหนึ่ง เหมือนกับว่าชื่นชม เก่งจังเลย ไม่มีใครชมนะก็ไม่เป็นไร แต่ว่าชมตัวเอง ชมตัวเองเหมือนในละครที่แบบว่ามีอย่างนี้ เก่งจริง อะไรอย่างนี้ ก็คือชมตัวเองในมิติของเรา ในมโนค่ะ ก็จะประมาณแบบนั้น เราเลยบอกว่าความรักก็คือมันเป็นเรื่องที่เราไม่ต้องไปคิดในมุมที่แบบต้องมีคู่ แค่เรารู้สึกว่าเราเมตตา เราให้ความรักกับคนอื่น เราว่าเดี๋ยวมันก็มาเอง พิ้งกี้-สาวิกา ไชยเดช: เส้นทางชีวิตสาวหน้าคมผู้หลงรักในการแสดง ซอมบี้ และละครผีเรื่องล่าสุดของเธอ The People: นิยามความสุขในสายตาพิ้งกี้คืออะไร พิ้งกี้: ทุกวันนี้นิยามความสุขมันเป็นนิยามที่ค่อนข้างจะรวมหลาย ๆ เรื่อง ความสุขที่อยู่ทุก ๆ ขณะลมหายใจ ทุกขณะที่เราหายใจ มันมองเป็นเรื่องหายใจเลยนะ หายใจอย่างมีความสุข เริ่มต้นที่การหายใจก่อน ไม่ต้องไปมองภาพอื่นเลยว่าฉันต้องอย่างนี้ ๆ ๆ หายใจก็พอแล้ว แค่นี้มีความสุขแล้ว ไม่พูดเยอะ พี่หายใจพี่ยังมีความสุขเลย ใช่ปะ เหมือนบางทีการถอนหายใจอะไรอย่างนี้เป็นการถอนหายใจที่มีความสุขนะ เราว่านิยามความสุขของเราก็คืออยู่กับปัจจุบันและอยู่กับความจริงที่เป็นอยู่ ในความจริงนั้นคือ ไม่ว่าจะเกิดปัญหาอะไรก็แล้วแต่ เราก็มองให้รู้สึกว่ามันไม่ใช่ความสุขหรอกที่เราต้องเจออะไรแบบนี้ เราอาจจะทุกข์ เรารู้สึกได้ แต่เราต้องมีสติพอที่จะเข้าใจมันว่าเราจะทำยังไงกับมันดี แล้วเราก็ต้องรีบประมวลว่า 1 2 3 โอเค ตั้งสติ ตั้งสติทุกลมหายใจ เราถึงบอกว่าทุกลมหายใจเราต้องเข้าใจมัน แล้วก็เรียนรู้ แล้วก็อยู่กับมันให้ได้ ทุกวันนี้ก็คือใครมีมากกว่าก็ให้คนที่น้อยกว่า คือเป็นระบบแบบที่มนุษย์ต้องให้ มันเหมือนกลับไปในโลกอดีต คือมันกลายเป็น brother system ที่เราต้องแชร์กัน sharing กัน กี้ว่ามันก็คงเป็นการ re ระบบใหม่แหละ   The People: มองย้อนกลับไปถึงตัวเองในวันที่เด็กกว่านี้ มีอะไรที่พิ้งกี้อยากจะบอกตัวเองไหม พิ้งกี้: บอกว่าอะไรดี มองเป็นตัวเองแล้วมองย้อนกลับไป คือเห็นตัวเองที่มันเหมือนแบบ ตั้งแต่ตัวเล็กจนถึงค่อย ๆ step อย่างนี้ แล้วเราก็มองเห็นตัวเองที่แค่มองแล้วสังเกตการณ์ตัวเองว่าเราเรียนรู้มาเยอะเหมือนกัน ผ่านประสบการณ์ที่สั่งสม สั่งสมให้เราเป็นมนุษย์ที่พูดได้เลยว่าเราจะเติบโตอย่างมั่นคง และเราจะสามารถแชร์ให้กับคนรุ่นหลังได้ว่า พี่เป็นอย่างนี้นะ พี่อย่างนี้นะ เราสามารถแชร์ในเรื่องของการแสดง แชร์เรื่องของการใช้ชีวิต แชร์เรื่องการอยู่ให้เป็น อยู่กับปัจจุบันให้ได้ แชร์อะไรหลาย ๆ อย่าง และเราบอกเลยว่าประสบการณ์สอนให้เป็นเราที่แข็งแกร่งมากขึ้น ให้เรารู้ว่าเรา strong พอในทุก ๆ วัน ก็เลยรู้สึกว่ามองเป็นแบบนี้มากกว่า   The People: คำถามสุดท้าย ฝากผลงานหรือแพลนในอนาคตสักหน่อย พิ้งกี้: แพลนสำหรับอนาคตเหรอคะ แพลนของเราก็คือมองแบบให้เรารู้สึกว่าเราเติบโตแล้วก็เราเติบโตในแบบสายงานเรา ก็คือสายงานเราในทางของการเป็นนักแสดงที่ทำงานผลงานที่มีคุณภาพก่อน ณ ตอนนี้ที่ทำได้ สองก็คืองานที่จะเป็นงานที่อยู่ในระยะยาว เราก็กำลังแพลนว่าจะทำสิ่งไหนบ้าง แต่ว่าก็ทำหลายอย่างในเวลาเดียวกันได้ ก็ทำให้มันเป็นงานที่ดี คืออาจจะมีแพลนทำรายการ แพลนทำนู่นทำนี่ ฝากติดตาม เดี๋ยวมันก็จะมาตามเรื่อย ๆ ที่ได้เห็น ส่วนตอนนี้อยู่กับปัจจุบันอีกแล้ว ก็คือละคร ละครก็คือตอนนี้เป็นละครที่ภูมิใจค่ะ ภูมิใจเรื่องหนึ่งเลย เป็นละครที่ได้เล่นกับทางช่อง 8 ซึ่งช่อง 8 เราเคยเล่นหลายเรื่องแล้ว เรื่องนี้ถือว่าเป็นเรื่องที่น่าติดตามมาก เป็นเรื่องที่นักแสดงหลาย ๆ คนอย่างที่บอก เราไปเจอ partner หรือว่าเพื่อนร่วมงานที่ดีมาก ก็คุณกอล์ฟ อนุวัฒน์ พี่อั๋น วิทยา น้องฝ้าย อย่างนี้ค่ะ บอกได้เลยว่าเรื่องเรือนร่มงิ้วทางช่อง 8 ที่ on air แล้วนะคะ เรื่องนี้เข้มข้น part ผี ก็จะไม่ได้เห็น part ผีที่น่ากลัวอย่างนี้มานานแล้วเหมือนกันนะคะ แล้วก็เรื่องความเป็นชายรักชาย เรื่องนี้บอกไว้เลยว่าสายวายต้องห้ามพลาด เพราะว่าจากที่ทุกคนดูสายวายมา อันนี้จะเป็นสายวายในแบบ hard core hard core อย่างไร มันจะน่าติดตามขนาดไหน part ของเราก็คือบอกได้เลยว่าไม่ได้เห็นพิ้งกี้เล่นอย่างนี้นานมากแล้วนะคะ ก็ฝากไว้ด้วยสำหรับเรื่องเรือนร่มงิ้วค่ะ    สัมภาษณ์: จิรภิญญา สมเทพ ภาพ: ดำรงค์ฤทธิ์ สถิตดำรงธรรม