เมื่อโควิด-19 ทำให้การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ถดถอย

เมื่อโควิด-19 ทำให้การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ถดถอย
รายงานการพัฒนาที่ยั่งยืนฉบับใหม่เผย โควิด-19 ส่งผลให้ความก้าวหน้าเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ‘ถดถอย’ และเรียกร้องให้เพิ่มพื้นที่ทางการคลังในประเทศกำลังพัฒนา 14 มิถุนายน 2021 ณ เมืองนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ได้มีการเปิดตัว รายงานการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Report: SDR) ซึ่งรวมถึง ดัชนี SDG และแดชบอร์ด (SDG Index and Dashboards) ประจำปี 2021 เพื่อติดตามความคืบหน้าของเป้าหมายระดับโลกในปี 2030 (Global Goals 2030) นี่เป็นครั้งแรกที่รายงานประจำปีแสดงความก้าวหน้าในการดำเนินงานที่ถดถอย นับตั้งแต่ผู้นำประเทศสมาชิกสหประชาชาติทั้ง 193 ประเทศได้รับรองเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ในการประชุมสมัชชาสหประชาชาติครั้งประวัติศาสตร์เมื่อปี 2015  รายงานฉบับนี้จะชี้ให้เห็นผลกระทบระยะสั้นของโควิด-19 ต่อ SDGs และอธิบายว่า SDGs จะช่วยวางกรอบการฟื้นฟูได้อย่างไร ซึ่งทีมผู้เขียนรายงานนำโดยศาสตราจารย์เจฟฟรีย์ แซคส์ (Prof. Jeffrey Sachs) ประธาน Sustainable Development Solutions Network (SDSN) และตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ Cambridge University เมื่อโควิด-19 ทำให้การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ถดถอย สำหรับประเด็นสำคัญจากายงานการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Report: SDR) ประจำปี 2021 มีดังนี้
  • คะแนนดัชนี SDG เฉลี่ยทั่วโลกปี 2020 ลดลงจากปีก่อนหน้าเป็นครั้งแรกตั้งแต่มีการรับรอง SDGs เมื่อปี 2015 โดยคะแนนที่ลดลงนี้มาจากอัตราความยากจนและการว่างงานที่เพิ่มขึ้นตามมาหลังการระบาดของโควิด-19
  • ประเทศกำลังพัฒนารายได้ต่ำขาดพื้นที่ทางการคลังในการจัดหาเงินทุนเพื่อการตอบสนองภาวะฉุกเฉินและแผนการฟื้นฟูโดยการลงทุนเป็นหลักที่สอดคล้องกับ SDGs
  • SDGs สามารถใช้เป็นหลักการสำหรับแนวทางในการฟื้นตัวที่ยั่งยืน ครอบคลุม และยืดหยุ่นจากโควิด-19
  • ประเทศร่ำรวยยังคงส่งผ่านผลกระทบทางลบระหว่างประเทศที่ลดทอนความสามารถของประเทศอื่นในการบรรลุ SDGs ทั้งผ่านการค้า ห่วงโซ่อุปทานที่ไม่ยั่งยืน และการโอนกำไรไปต่างประเทศ
  • การระบาดใหญ่ได้เน้นให้เห็นถึงความจำเป็นในการเร่งความก้าวหน้าไปสู่การดูแลสุขภาพถ้วนหน้าและการเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญอย่างทั่วถึง โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล
  • ช่องว่างของข้อมูลและความล่าช้าทางด้านเวลาในสถิติทางการยิ่งทำให้เห็นความจำเป็นในการเพิ่มการลงทุนเพื่อพัฒนาความสามารถทางสถิติและแนวทางใหม่ ๆ สำหรับติดตามความมุ่งมั่นและความก้าวหน้าของประเทศต่าง ๆ ในการเปลี่ยนแปลงระดับรากฐานเพื่อบรรลุ SDG ที่สำคัญ
  ดาวน์โหลด รายงานการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Report: SDR) ประจำปี 2021 ได้ที่ https://www.sdgindex.org และในรูปแบบ Data visualization: https://dashboards.sdgindex.org