ชิลีภายใต้การนำของ 'เซบัสเตียน ปิญเญรา' กับการปราบผู้ชุมนุมด้วยความรุนแรง

ชิลีภายใต้การนำของ 'เซบัสเตียน ปิญเญรา' กับการปราบผู้ชุมนุมด้วยความรุนแรง

เกิดอะไรขึ้นที่ชิลี? ทำไมเจ้าหน้าที่ถึงโยนร่างเด็กลงจากสะพาน และยิงน้ำแรงดันสูงใส่คนพิการบนรถเข็น?

ในตอนนี้โลกทวิตเตอร์ (Twitter) ต่างพากันผลักดันให้แฮชแท็ก #NoEsLaForma ที่มีความหมายว่าไม่ใช่หนทางหรือทางเลือกนี้ ผ่านตาชาวโลกให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ภาพและคลิปวิดีโอจำนวนมากในแฮชแท็กเผยให้เห็นความรุนแรงในการสลายการชุมนุมของเจ้าหน้าที่ คลิปชายบนรถเข็นที่ถูกฉีดน้ำแรงดันสูงจนกลิ้งล้มอยู่กลางถนน ท่ามกลางเสียงด่าทอของผู้พบเห็น เจ้าหน้าที่ขี่มอเตอร์ไซค์ไล่ชนคน และเมื่อคนล้มลงเขาก็ขี่รถทับร่าง ไม่สนเสียงห้ามรอบตัว รวมถึงการวิพากษ์วิจารณ์ร้อนแรงเมื่อมีภาพเจ้าหน้าที่โยนร่างผู้ประท้วงลงจากสะพาน ก่อให้เกิดคำถามแก่โลกว่า การสลายการชุมนุมนี้เป็นการกระทำที่เกินกว่าเหตุหรือไม่ ? การประท้วงในประเทศชิลีไม่ได้เพิ่งเกิดขึ้นเร็ว ๆ นี้ ทว่าเกิดขึ้นนานนับปีตั้งแต่เดือนตุลาคมปี 2019 เมื่อประชาชนจำนวนมากรู้สึกว่ารัฐบาลไม่สามารถแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ ปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ และค่าครองชีพที่พุ่งสูงขึ้นได้เลย ผู้ชุมนุมเรียกร้องให้ประธานาธิบดี เซบัสเตียน ปิญเญรา (Sebastian Pinera) ลาออกจากตำแหน่ง ชิลีภายใต้การนำของ 'เซบัสเตียน ปิญเญรา' กับการปราบผู้ชุมนุมด้วยความรุนแรง เซบัสเตียน ปิญเญรา เป็นมหาเศรษฐีจากตระกูลดังที่หันมาเล่นการเมือง เขาจบการศึกษาระดับปริญญาตรีคณะวิศวกรรม ในมหาวิทยาลัยชื่อดังของชิลี จากนั้นเรียนปริญญาโทและเอกในคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ก่อนจะเป็นที่ปรึกษาให้กับธนาคารหลายแห่ง โดยนายเซบัสเตียนมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิราว 2.8 พันล้านดอลลาร์ (จากการสำรวจข้อมูลของ Forbes เมื่อปี 2019) และเป็นนักการเมืองที่ชูนโยบายอนุรักษนิยมเข้มข้นคนแรกที่ชนะการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย การดำรงตำแหน่งสมัยปัจจุบันของเขาอยู่ในสมัยที่สองแล้ว โดยการดำรงตำแหน่งครั้งแรกคือช่วงปี 2010-2014 และคว้าชัยอีกครั้งในเดือนธันวาคม 2019 นโยบายหลักของเขาที่พยายามจะทำให้ได้และถูกประชาชนโจมตีหนักคือการพยายามนำนโยบายเสรีนิยมทางเศรษฐกิจกลับมาใช้ใหม่ ซึ่งคนส่วนใหญ่มองว่าเขาไม่ได้ต้องการพัฒนาสภาพความเป็นอยู่ของประชาชน แต่พยายามจะเอื้อประโยชน์ให้กลุ่มพรรคพวกนายทุนต่างหาก ชิลีภายใต้การนำของ 'เซบัสเตียน ปิญเญรา' กับการปราบผู้ชุมนุมด้วยความรุนแรง การประท้วงในเดือนตุลาคมปี 2019 เกิดขึ้นจากกลุ่มนักเรียนนักศึกษาและประชาชนที่ไม่พอใจการประกาศขึ้นค่าโดยสารรถไฟฟ้า ผู้คนหลั่งไหลมารวมตัวกันมากขึ้นเรื่อย ๆ จนเกิดเหตุรุนแรงถึงขั้นเผาสถานีรถไฟฟ้า เผารถเมล์ในหลายพื้นที่ ทำให้รัฐบาลชิลีต้องประกาศภาวะฉุกเฉิน ส่วนตัวของประธานาธิบดีเซบัสเตียนได้ออกแถลงการณ์ให้คำมั่นว่าจะปฏิรูปเศรษฐกิจ ค่าครองชีพ และสวัสดิการให้เร็วที่สุด แต่ถึงอย่างนั้นเขาจะไม่ลาออก อย่างไรก็ตาม แถลงการณ์ดังกล่าวของประธานาธิบดีเซบัสเตียนไม่สามารถซื้อใจผู้คนได้ ประชาชนจำนวนมากยังคงรวมตัวกันออกมาประท้วงแม้จะมีประกาศใช้ภาวะฉุกเฉิน มีรายงานว่ามีผู้เข้าร่วมกันชุมนุมในหลายพื้นที่ในคราวเดียวรวมแล้วแตะหลักล้านคน ทางรัฐบาลจึงต้องให้เจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ปราบปรามด้วยการใช้ปืนฉีดน้ำแรงดันสูง แก๊สน้ำตา กระสุนยาง เกิดการปะทะกันจนมีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บหลายสิบคน ส่วนด้านการจับกุม มีคนถูกจับมากถึง 7,000 คน ชิลีภายใต้การนำของ 'เซบัสเตียน ปิญเญรา' กับการปราบผู้ชุมนุมด้วยความรุนแรง เดือนตุลาคม 2020 มีประชาชนจำนวนมากออกมารวมตัวกันที่จัตุรัสอิตาเลีย ในกรุงซานติอาโก ส่งเสียงกู่ร้องถึงการประท้วงเมื่อปีที่แล้ว พวกเขาเริ่มปราศรัยเรียกร้องให้ทำประชามติเห็นชอบในการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เนื่องจากรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันที่ใช้อยู่ถูกเรียกว่า ‘มรดกของเผด็จการปิโนเชต์’ ทุกอย่างเริ่มต้นขึ้นอย่างสันติ ไม่มีการใช้ความรุนแรงในการชุมนุม ผู้คนนั่งฟังผู้ขึ้นปราศรัยอย่างสงบเรียบร้อย จนกระทั่งขอบวงชุมนุมเกิดเหตุเพลิงไหม้ สถานการณ์ที่สงบเรียบร้อยจึงเปลี่ยนเป็นวุ่นวาย เพราะไม่สามารถควบคุมความตื่นตระหนกของคนในพื้นที่ได้   สื่อหลายประเทศต่างพากันจับตาการประท้วงที่ยกระดับความรุนแรงขึ้นอย่างใกล้ชิด มีรายงานว่าเหตุเพลิงไหม้เกิดขึ้นจากการขว้างระเบิดทำเองใส่ตึกสำนักงานตำรวจแห่งชาติและโบสถ์อีกสองหลัง นอกจากนี้ยังมีผู้ไม่หวังดีอาศัยช่วงชุลมุนปล้นร้านค้าที่กำลังหนีเพลิงไหม้ จนทำให้เจ้าหน้าที่ต้องออกมาปราบปรามความรุนแรงในเขตชุมนุมที่ยกระดับกลายเป็นเหตุจลาจลด้วยการใช้น้ำแรงดันสูงยิงใส่ผู้ประท้วง รวมถึงการใช้แก๊สน้ำตาเพื่อสลายการชุมนุมเพื่อเร่งเข้าจับกุม ชิลีภายใต้การนำของ 'เซบัสเตียน ปิญเญรา' กับการปราบผู้ชุมนุมด้วยความรุนแรง ชิลีภายใต้การนำของ 'เซบัสเตียน ปิญเญรา' กับการปราบผู้ชุมนุมด้วยความรุนแรง การปราบม็อบคงไม่ถูกประชาคมโลกจับจ้องมากขนาดนี้ จนกระทั่งมีคนลงคลิปเจ้าหน้าที่ฉีดน้ำแรงดันสูงใส่คนพิการบนรถเข็นลงไปกองกับพื้น ขี่มอเตอร์ไซค์ชนผู้ชุมนุมคนหนึ่งจนกระเด็นแล้วขับรถไปตามทับซ้ำ และภาพที่ถูกพูดถึงอีกหนึ่งเหตุการณ์ที่สร้างความโกรธแค้นไม่แพ้กันคือการจับเด็กอายุ 16 ปี โยนลงสะพาน เด็กชายวัย 16 ปี ที่อยู่ในม็อบถูกเจ้าหน้าที่หิ้วร่างโยนลงสะพานร่วงลงสู่แม่น้ำมาโปโช นอนคว่ำหน้าหมดสติอยู่กลางแม่น้ำ กลุ่มแกนนำที่เห็นเจ้าหน้าที่โยนเด็กลงจากสะพานจึงรีบวิ่งลงไปช่วยเหลือ ก่อนที่เจ้าหน้าที่ดับเพลิงจะเข้ามาดูอาการภายหลัง เหตุการณ์ดังกล่าวกลุ่มผู้ชุมนุมรู้สึกโกรธแค้นจนพากันขว้างปาก้อนหิน ขวดน้ำ หรือสิ่งของอะไรก็ตามที่มือหยิบถึงใส่เจ้าหน้าที่ที่มีชุดเกราะและอาวุธครบมือ ชิลีภายใต้การนำของ 'เซบัสเตียน ปิญเญรา' กับการปราบผู้ชุมนุมด้วยความรุนแรง หลังใช้ความรุนแรงปราบปรามผู้ชุมนุม แทนที่ทุกอย่างจะจบลงกลับกลายเป็นสุมไฟให้ความโกรธแค้นของประชาชนโหมกระหน่ำกว่าเดิม เพราะคลิปและภาพการใช้ความรุนแรงของเจ้าหน้าที่จำนวนมากถูกถ่ายลงสื่อโซเชียลฯ ซึ่งภาพที่โลกได้เห็นแตกต่างกับสิ่งที่เจ้าหน้าที่ตำรวจออกมาแถลงการณ์อย่างสิ้นเชิง พวกเขากล่าวว่าการตกสะพานของเด็กอายุ 16 ปี เกิดขึ้นในช่วงชุลมุน และเด็กคนดังกล่าวอยู่ ๆ ก็เสียการทรงตัวและตกสะพานลงไป แต่ภาพที่คนส่วนใหญ่เห็นกลับไม่เป็นดั่งคำแถลง ทางด้านโลกออนไลน์ก็กดดันรัฐบาลหนักขึ้น จนสำนักงานอัยการสูงสุดชิลียืนยันจะเข้ามาตรวจสอบการกระทำของเจ้าหน้าที่ในเหตุการณ์สลายการชุมนุม ส่วนนักการเมืองฝ่ายค้านหลายคนออกมาเรียกร้องให้พลเอกมาริโอ โรซาน หัวหน้าหน่วยคาราบิเนโรที่เข้าสลายการชุมนุมลาออกจากตำแหน่ง ซึ่งคาดว่าความรุนแรงระหว่างเจ้าหน้าที่และประชาชนชาวชิลีจะยังไม่จบลงเร็ว ๆ นี้อย่างแน่นอน หากประธานาธิบดีเซบัสเตียน ปิญเญรา ยังคงยืนยันที่จะไม่ลาออกและใช้ความรุนแรงปราบปรามผู้ชุมนุม ชิลีภายใต้การนำของ 'เซบัสเตียน ปิญเญรา' กับการปราบผู้ชุมนุมด้วยความรุนแรง ปัจจุบันการชุมนุมประท้วงในประเทศชิลีมีผู้ถูกจับกุมมากกว่า 28,000 คน บาดเจ็บราว 11,000 คน และมีผู้เสียชีวิต 36 คน แต่กลับมีเจ้าหน้าที่หน่วยคาราบิเนโรไม่ถึง 20 คนที่ถูกนำตัวขึ้นศาลเพื่อพิจารณาคดีเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชน   ที่มา https://www.bbc.com/news/world-latin-america-54594707 https://www.forbes.com/profile/sebastian-pinera/#733e79217a75 https://www.britannica.com/biography/Sebastian-Pinera   เรื่อง: ตรีนุช อิงคุทานนท์