มนร.-บพท.วิจัยแก้ปัญหา ช่วยผู้ประกอบการ ยกคุณภาพทุเรียนกวนเจาะไอร้อง

มนร.-บพท.วิจัยแก้ปัญหา ช่วยผู้ประกอบการ ยกคุณภาพทุเรียนกวนเจาะไอร้อง

ทีมวิจัยมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์(มนร.)สานพลัง บพท. และภาคเครือข่ายวิจัยพัฒนาชุดความรู้ยกระดับคุณภาพทุเรียนกวน ช่วยผู้ประกอบการแปรรูปทุเรียนเจาะไอร้อง สร้างความเข้มแข็งเศรษฐกิจชุมชนในพื้นที่

มนร.-บพท.วิจัยแก้ปัญหา ช่วยผู้ประกอบการ ยกคุณภาพทุเรียนกวนเจาะไอร้อง ผศ.ดร.บงกช กมลเปรม คณบดีคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ในฐานะหัวหน้าโครงการวิจัยพัฒนาตัวแบบเชิงรุกและการยกระดับผลิตภัณฑ์แปรรูปจากทุเรียนแบบครบวงจร เพื่อแก้ปัญหาผลกระทบจากภาวะวิกฤตของกลุ่มผู้ประกอบการฐานรากแบบมีส่วนร่วมในจังหวัดนราธิวาส โดยการสนับสนุนทุนวิจัยจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ เปิดเผยว่า  แรงจูงใจของงานวิจัยโครงการนี้ เกิดจากพบว่า กลุ่มผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์แปรรูปจากทุเรียนในอำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีการประกอบกิจการแปรรูปทุเรียนเป็นทุเรียนกวนมากที่สุดในจังหวัดชายแดนใต้ ประสบปัญหาทุเรียนกวนคุณภาพต่ำ มีอายุการเก็บรักษาสั้น ทำให้ขายไม่ได้ราคา อีกทั้งยังขาดทักษะการจัดการ

"ทีมวิจัยได้ดำเนินกระบวนการวิจัย โดยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์แปรรูปจากทุเรียนจำนวน 10 กลุ่มแล้วจัดเวทีประชุมทำความเข้าใจเป้าหมายร่วมกัน และวิเคราะห์ความต้องการ ปัญหาของกลุ่มผู้ประกอบการฯ วิเคราะห์ศักยภาพและความพร้อมของกลุ่ม เพื่อออกแบบแนวทางแก้ไขปัญหาบนความสอดคล้องกับเงื่อนไขข้อจำกัดของกลุ่มผู้ประกอบการฯ"

มนร.-บพท.วิจัยแก้ปัญหา ช่วยผู้ประกอบการ ยกคุณภาพทุเรียนกวนเจาะไอร้อง ผศ.ดร.บงกช กล่าวว่าในการดำเนินกระบวนวิจัยพบว่าสาเหตุหลักของปัญหาอยู่ที่กรรมวิธีการคัดเลือกวัตถุดิบคุณภาพ และกระบวนการผลิตทุเรียนกวนที่ถูกสุขลักษณะ  ตลอดจนการบริหารจัดการ จึงได้พัฒนาชุดความรู้ถ่ายทอดแก่กลุ่มผู้ประกอบการฯ โดยสานความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคมในพื้นที่

"หัวใจสำคัญของการผลิตทุเรียนกวนคุณภาพ ที่จะช่วยให้ขายได้ราคาดี เริ่มต้นตั้งแต่ขั้นตอนการคัดเลือกเนื้อทุเรียนที่ดี ปราศจากการปนเปื้อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเชื้อราและแบคทีเรีย ซึ่งทีมวิจัยได้ถ่ายทอดชุดความที่ผู้ประกอบการสามารถดำเนินการได้ไม่ยาก ด้วยการนำเนื้อทุเรียนไปผ่านกระบวนการนึ่งฆ่าเชื้อราและแบคทีเรียก่อนนำไปกวน และในขั้นตอนการกวน ต้องกวนให้เหลือความชื้นน้อยที่สุด แล้วนำผึ่งให้เย็น ก่อนจะบรรจุใส่ภาชนะจำหน่าย ภายใต้กระบวนการผลิตดังกล่าวจะทำให้ได้ผลิตภัณฑ์ทุเรียนกวนคุณภาพดี เก็บรักษาได้นานขึ้น และขายได้ราคาดีขึ้น"

หัวหน้าโครงการวิจัยฯกล่าวด้วยว่า คณะวิจัยยังได้ถ่ายทอดชุดพัฒนาทักษะการจัดการทางการเงิน และการตลาดทั้งแบบออนไลน์และออฟไลน์ แก่กลุ่มผู้ประกอบการฯ และส่งเสริมให้เกิดการรวมกลุ่มกันเป็นวิสาหกิจชุมชน

"ผู้ประกอบการฯที่ตำบลบูกิต อำเภอเจาะไอร้อง มีการรวมกลุ่มกันจัดตั้งเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน บริหารห้องเย็น สำหรับเก็บรักษาเนื้อทุเรียน เพื่อยืดอายุเนื้อทุเรียนก่อนการนำเข้าสู่กระบวนการแปรรูปเป็นทุเรียนกวน"

มนร.-บพท.วิจัยแก้ปัญหา ช่วยผู้ประกอบการ ยกคุณภาพทุเรียนกวนเจาะไอร้อง มนร.-บพท.วิจัยแก้ปัญหา ช่วยผู้ประกอบการ ยกคุณภาพทุเรียนกวนเจาะไอร้อง ผศ.ดร.บงกช ชี้แจงว่ากระบวนการพัฒนาและถ่ายทอดองค์ความรู้ภายใต้โครงการวิจัยดังกล่าวช่วยให้กลุ่มผู้ประกอบการฯ มีรายได้เพิ่มขึ้น 30% จากการขายทุเรียนกวนดีขึ้น และมีช่องทางการตลาดในการจำหน่ายผลผลิตได้มากขึ้น ขณะเดียวกันก็ยังส่งผลดีต่อกระแสเศรษฐกิจหมุนเวียนที่ดีขึ้นในชุมชน รวมทั้งมีนวัตกรในการถ่ายทอดองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของกลุ่มผู้ประกอบการ ชุมชนและสังคมต่อไป

มนร.-บพท.วิจัยแก้ปัญหา ช่วยผู้ประกอบการ ยกคุณภาพทุเรียนกวนเจาะไอร้อง

มนร.-บพท.วิจัยแก้ปัญหา ช่วยผู้ประกอบการ ยกคุณภาพทุเรียนกวนเจาะไอร้อง

มนร.-บพท.วิจัยแก้ปัญหา ช่วยผู้ประกอบการ ยกคุณภาพทุเรียนกวนเจาะไอร้อง มนร.-บพท.วิจัยแก้ปัญหา ช่วยผู้ประกอบการ ยกคุณภาพทุเรียนกวนเจาะไอร้อง มนร.-บพท.วิจัยแก้ปัญหา ช่วยผู้ประกอบการ ยกคุณภาพทุเรียนกวนเจาะไอร้อง