จากเด็กชายช่างฝัน เติบโตผ่านคืนวันมาเป็นนายท หารหนุ่ม ผู้ขับเครื่องบินฝ่าสมรภูมิ รบในช่วงสงครามโลก กว่าจะเบนเส้นทางชีวิตมาประ กอบอาชีพเปี่ยมจินตนาการอย่ าง “นักแต่งนิทาน” ที่สร้างสรรค์ผลงานชื่อดังอ ย่าง Charlie and the Chocolate Factory (1964), James and the Giant Peach (1961), Matilda (1988), The Witches (1983) และ The BFG (1982) ฯลฯ จนขึ้นแท่นเป็นงานเขียนระดั บตำนานที่ครองใจนักอ่านทั่ว โลก ดูเหมือนว่าประสบการณ์ชีวิต ของ โรอัลด์ ดาห์ล (Roald Dahl) จะล้มลุกคลุกคลานไม่น้อยทีเ ดียว
ก่อนจะกลายเป็นเจ้าของผลงาน วรรณกรรมเด็กชื่อก้องโลก โรอัลด์ ดาห์ล เติบโตมาพร้อมกับนิทานปรัมป รา ตำนานพื้นบ้าน และเทพนิยายที่แม่เขาชอบเล่ าให้ฟังตอนที่นอนไม่หลับ เขาค่อย ๆ เติบโตมาเป็นเด็กชายช่างจิน ตนาการ ที่ชอบสร้างตัวละครและสถานก ารณ์สมมติขึ้นมาในอากาศ
เพราะพ่อของดาห์ลเสียชีวิตต อนที่เขาอายุ 4 ขวบ แม่ที่แต่งงานใหม่จึงย้ายดา ห์ลไปอยู่โรงเรียนประจำในดา ร์บีไชร์ เมืองใหญ่ที่สามีของเธออาศั ยอยู่ ดาห์ลนิยามช่วงเวลานั้นว่าเ ป็น “วันคืนแสนเลวร้าย” ที่เด็กชายผู้รักอิสระอย่าง เขาอยากจะหนีไปเพราะมัน “มีแต่กฎ กฎ และกฎที่ต้องทำตามเต็มไปหมด ” ประสบการณ์แสนเลวร้ายกลายเป ็นวัตถุดิบชั้นดีที่ดาห์ลหย ิบยกมาใช้สร้างตัวละครผู้ให ญ่ในนิทานของเขา
“หลังเรียนจบจากโรงเรียนประ จำ แม่พยายามแนะนำให้ผมเข้าเรี ยนต่อมหาวิทยาลัยที่เคมบริด จ์ไม่ก็อ็อกซ์ฟอร์ด แต่ผมตอบไปทันทีเลยว่า ‘ไม่ล่ะ ขอบใจ ผมอยากเริ่มต้นทำงานกับบริษ ัทที่จะส่งผมไปที่ไกล ๆ อย่างแอฟริกา ไม่ก็จีนมากกว่า’” ตอนอายุ 18 ปี ดาห์ลจึงหนีไปทำงานกับบริษั ทน้ำมันในลอนดอน ก่อนจะถูกส่งตัวไปประจำที่แ ทนซาเนีย
ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ดาห์ลตัดสินใจลาออกจากงาน และสมัครไปเป็นทหารในสังกัด กองทัพอากาศ ช่วงเวลานั้นดาห์ลได้มีโอกา สเดินทางและเห็นโลกกว้างจาก บนท้องฟ้า (ดาห์ลเป็นนักบินประจำเครื่ องบินขับไล่ของอังกฤษ) เขากลั่นกรองประสบการณ์ในตอ นนั้นออกมาเป็น The Gremlins (1943) ผลงานเรื่องสั้นเรื่องแรก
ตอนนั้นเองที่ดาห์ลเริ่มค้น พบความสนุกของการถ่ายทอดจิน ตนาการออกมาเป็นเรื่องเล่า หลังจบสงครามเขากลับมาลงหลั กปักฐานในเมืองบัคคิงแฮมเชอ ร์ และเริ่มต้นทำงานในอาชีพนัก เขียน ตอนอายุ 37 ปี ดาห์ลแต่งงานกับนักแสดงสาวผ ู้ร่ำรวย แพทริเซีย นีล ก่อนจะมีลูกสาวและลูกชายร่ว มกันถึง 5 คน
อาจเพราะต้องใช้ชีวิตร่วมกั บเด็ก ๆ ดาห์ลจึงได้มีโอกาสพัฒนาขีด ความสามารถด้านจินตนาการของ ตัวเองให้ยิ่งหลากหลาย เขาแต่งนิทานเรื่องใหม่ขึ้น มามากมายเพื่อเล่าให้ลูก ๆ ฟังก่อนที่พวกเขาจะนอนหลับ หลายไอเดียสามารถต่อยอดไปเป ็นผลงานนิทานของเขาได้ หนึ่งในนั้นก็คือเรื่องที่ห ลายคนรู้จักดี “ชาร์ลีกับโรงงานช็อกโกแลต (Charlie and the Chocolate Factory)”
ดาห์ลเล่าว่า ที่จริงไอเดียเกี่ยวกับโรงง านขนมหวานเป็นสิ่งที่เขาขุด ขึ้นมาจากความทรงจำในวัยเด็ ก สมัยอยู่โรงเรียนประจำ ดาห์ลจำได้ว่าเขามักจะได้ลอ งกินขนมหวานฟรีจากโรงงานทำช ็อกโกแลต Cadbury ที่ชอบส่งตัวอย่างขนมมาให้เ ด็ก ๆ ชิมเพื่อคิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม ่ ตอนนั้นดาห์ลมักจะจินตนาการ ว่าเขาได้เข้าไปทำงานในโรงง านที่มีขนมให้กินทั้งวัน แน่นอนว่ามันช่างเป็นความฝั นแสนหวานสำหรับเด็ก ๆ
แต่ระหว่างที่กำลังเริ่มต้น เขียนนิทานจากไอเดียโรงงานช ็อกโกแลต ดาห์ลก็ต้องหยุดทุกอย่างไว้ ก่อน เพราะปี 1960 รถเข็นของ “ธีโอ” ลูกชายเพียงคนเดียวของเขา ถูกแท็กซี่คันหนึ่งขับรถชน เด็กชายวัยไม่ถึง 3 ขวบลอยละลิ่วไปหล่นลงอีกฝั่ งถนน จนส่งผลให้เกิดภาวะกระโหลกร ้าว โพรงสมองมีเลือดคั่ง และตาบอดชั่วคราวเพราะถูกกร ะทบกระเทือนเส้นประสาท
เป็นเวลา 2 ปีกว่าที่ธีโอต้องเข้ารับกา รผ่าตัดอีกหลายครั้ง กว่าอาการเลือดคั่งจะค่อย ๆ หาย ระหว่างนั้นดาห์ลทำได้แค่นั ่งดูแลลูกชายที่กำลังทุกข์ท รมาน จนไม่มีกะจิตกะใจจะเขียนนิท านเรื่องไหนทั้งสิ้น และนั่นก็ยังไม่ใช่ตอนสุดท้ ายที่เรื่องเลวร้ายเกิดขึ้น กับชีวิตเขา เพราะในปี 1962 ช่วงที่ธีโอยังเข้ารับการบำ บัดรักษา “โอลิเวีย” ลูกสาวคนโตวัย 7 ขวบของดาห์ลก็กลับบ้านมาด้ว ยอาการคล้ายไข้หวัด
“ตอนแรกเรานึกว่ามันเป็นแค่ อาการป่วยไข้ธรรมดา เพราะเธอไม่ได้มีสีหน้าเจ็บ ปวดอะไรให้เราเห็น” ดาห์ลเล่า “แต่แล้วเช้าวันต่อมา เธอก็เริ่มมีอาการแปลก ๆ” ขณะที่ดาห์ลหยิบสมุดภาพระบา ยสีไปให้เธอ เขาสังเกตเห็นว่าสายตากับนิ ้วมือของโอลิเวียทำงานไม่สั มพันธ์กันแปลก ๆ เธอระบายสีไปทั้งที่มือสั่น โดยไม่รู้ตัว ตอนนั้นดาห์ลตัดสินใจพาเธอไ ปหาหมอ และพบว่าโอลิเวียเป็น “โรคหัด” ที่ลามขึ้นสมองไปจนเธอมีอาก ารสมองอักเสบ
“คืนนั้นเธอบอกผมว่าเธอง่วง นอนมาก” ดาห์ล เล่า ตอนนั้นเขาคงนึกไม่ถึงเลยว่ าอีกไม่กี่ชั่วโมงต่อมา เธอจะไม่ตื่นขึ้นมาอีก
ความตายของโอลิเวีย และอาการของธีโอที่ยังไม่ดี ขึ้น ผลักให้ดาห์ลรู้สึกว่า ครอบครัวเขาอาจจะถูกสาป เขาเข้าสู่ภาวะซึมเศร้าไปช่ วงหนึ่งจนแพทริเซีย ผู้เป็นภรรยาออกมาบอกทีหลัง ว่า “ฉันนึกว่าเขาจะเสียสติไปแล ้ว” กว่าจะกลับมาดำเนินชีวิตต่อ ได้ ดาห์ลก็หายหน้าไปจากวงการวร รณกรรมอีกเกือบ 2 ปี แต่ในที่สุดเขาก็กลับมาพร้อ มกับผลงานนิทานเรื่องใหม่ใน ปี 1964
ดาห์ลพยายามแบกจิตใจอันบอบช ้ำไปพึ่งพิงศาสนา เขาเข้าโบสถ์บ่อยขึ้นเพราะห วังว่ามันจะช่วยได้ สุดท้ายมันก็ไม่ได้ช่วยให้เ ขาดีขึ้นเท่าไหร่ ดาห์ลตัดสินใจหลีกหนีความจร ิงแสนเจ็บปวด กลับเข้าไปอยู่ในโลกของจินต นาการ และเริ่มต้นรังสรรค์ผลงานแส นโลดโผน งดงาม และมีชีวิตชีวาอย่าง “ชาร์ลีกับโรงงานช็อกโกแลต”
“เขาเขียนมันขึ้นมาในช่วงเว ลา 4 ปีที่ยากลำบากที่สุดในชีวิต ของเขา ผมคิดว่าความเศร้า ความสิ้นหวังของตัวเขา มันทำให้นิทานเรื่องนั้นมีช ีวิตขึ้น” โดนัล สเตอร์รอค ผู้เขียนชีวประวัติของ โรอัลด์ ดาห์ล กล่าว “ทั้งความเด็ดเดี่ยว แข็งแกร่ง แต่ก็อ่อนไหวของวิลลี วองกา เห็นได้ชัดว่าเขาใช้ตัวเองม าเป็นแบบของตัวละครตัวนี้”
ทั้งสำนวนการใช้ภาษาแสนสร้า งสรรค์ การดำเนินเรื่องน่าตื่นเต้น และตัวละครอันน่าจดจำ ทั้งหมดล้วนทำให้นิทานเรื่อ งชาร์ลีกับโรงงานช็อกโกแลต กลายเป็นหนึ่งในผลงานชั้นยอ ด ที่ถูกเลือกให้เป็น 1 ใน 50 วรรณกรรมที่ต้องอ่านก่อนโต เช่นเดียวกับผลงานขึ้นหิ้งอ ีกหลายเรื่องของเขา
ผลงานของโรอัลด์ ดาห์ล ได้รับการดัดแปลงเป็นบทเพลง ภาพยนตร์ ละครทีวี โอเปร่า งานศิลปะอีกมากมาย จนถึงตอนนี้ความนิยมที่ยังไ ม่เสื่อมคลายคงเป็นเหตุผลที่ชื่อของ “โรอัลด์ ดาห์ล” กลายมาเป็นหนึ่งในนักแต่งนิทานชื่อ ก้องโลก
ที่มา https://www.biography.com/ news/ real-story-behind-charlie-a nd-the-chocolate-factory-r oald-dahl https://www.biography.com/ news/ roald-dahl-daughter-measles -death https://www.biography.com/ writer/roald-dahl
Content Creator of Social