ธนบูรณ์ เกษารัตน์ จิตวิญญาณของนักกีฬาอาชีพ ไม่ได้อยู่แค่ 90 นาทีในสนาม

ธนบูรณ์ เกษารัตน์ จิตวิญญาณของนักกีฬาอาชีพ ไม่ได้อยู่แค่ 90 นาทีในสนาม

จิตวิญญาณของนักกีฬาอาชีพ ไม่ได้อยู่แค่ 90 นาทีในสนาม

ตำแหน่งตัวจริงกองกลางและกองหลังทีมชาติ ที่พาทีมไทยคว้าเหรียญทองซีเกมส์ 2 สมัย ได้ชูถ้วยฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน ติดอันดับ 4 เอเชียนเกมส์ 2014 ที่ประเทศเกาหลีใต้ และมีส่วนนำทีมชนะเลิศไทยลีก จนได้ชื่อว่าเป็นกองกลางอัจฉริยะเจ้าของฉายาบุสเกตส์เมืองไทย เจ้าของเสื้อหมายเลข 17 ผู้สร้างสถิติค่าตัวแพงที่สุดในประเทศด้วยตัวเลขกว่า 50 ล้านบาท !! นี่คือสิ่งที่ช่วยยืนยันว่าอนาคตในเส้นทางอาชีพนักฟุตบอลของ ตั้ม-ธนบูรณ์ เกษารัตน์ ยังไปได้อีกไกลถึงโอกาสการไปค้าแข้งยังต่างประเทศ แต่วินาทีที่บาดเจ็บในวันนั้นเหมือนเป็นเงามืดที่เข้ามาปกคลุมอย่างฉับพลัน สร้างความไม่แน่นอนในใจของนักฟุตบอลวัย 25 ปี คนนี้ แต่หลังจากนั้นไม่นานเขากลับมาสวมเสื้อหมายเลข 17 ได้อีกครั้ง ในฐานะห้องเครื่องทีมการท่าเรือพร้อมฟอร์มการเล่นที่ดีกว่ายิ่งกว่าเดิม เหมือนเป็นเครื่องย้ำเตือนถึงจิตวิญญาณของนักกีฬาอาชีพของชายคนนี้ ที่ไม่ได้อยู่แค่ 90 นาทีในสนามฟุตบอล นอกจากความเป็นนักกีฬามืออาชีพ ไลฟ์สไตล์ชีวิตนอกสนาม หรืออะไรที่มีส่วนสำคัญที่อยู่เบื้องหลังการกลับมาเกิน 100% ของเขา ร่วมหาคำตอบกันได้จากบทสัมภาษณ์พิเศษนี้ ธนบูรณ์ เกษารัตน์ จิตวิญญาณของนักกีฬาอาชีพ ไม่ได้อยู่แค่ 90 นาทีในสนาม ธนบูรณ์: เริ่มเล่นบอลจริง ๆ ตั้งแต่ 8 ขวบ เพราะพ่อพาไปสนามดูพี่ชาย (จิ๊บ-สมเจตน์ เกษารัตน์) เล่นบอลตั้งแต่สมัยอยู่ยาสูบ จากนั้นเลยเริ่มเล่นบอลกับเพื่อน ๆ แถวบ้าน แต่ยังไม่ได้คิดจริงจังว่าจะเป็นอาชีพ แค่เล่นเพราะความสนุก และความรักฟุตบอล พอมัธยมต้นเข้าเรียนที่โรงเรียนกีฬากรุงเทพฯ ได้มาเจอเพื่อนเก่ง ๆ ที่ติดทีมชาติ ทำให้ฝันอยากติดทีมชาติเหมือนกัน เลยไปคัดตัวเยาวชน 19 ปีทีมชาติไทยแต่ไม่ติด ก็รู้สึกท้อ เสียใจ เพราะว่าอยากติดทีมเดียวกับเพื่อน ๆ ตอนนั้นคิดว่าเราอาจยังไม่ดีพอ ไม่เก่งพอ แล้วต้องยอมรับว่าเราไม่ได้เก่งตั้งแต่เด็ก ก็กลับมาฝึกซ้อมเองให้ทันเพื่อน พัฒนาตัวเองตลอดจนมีชื่อในทีมอีกครั้ง เป็นจุดเปลี่ยนที่ได้มาเป็นนักเตะอาชีพ แล้วก็ติดทีมชาติไทยตั้งแต่นั้นมาจนถึงตอนนี้ ช่วงนั้นเป็นยุคทองของบาร์เซโลน่า เซร์คีโอ บุสเกตส์ ก็เพิ่งขึ้นมาจากชุดเยาวชน ผมเองเพิ่งติดทีมชาติชุดอายุ 19 ปีด้วย เลยได้ฉายาว่า “บุสเกตส์เมืองไทย” อาจเพราะเห็นรูปร่าง สไตล์การเล่น ตำแหน่งเราเหมือนกัน ปัจจุบันผมสังกัดการท่าเรือเอฟซี เล่นได้ทั้งตำแหน่งกองกลางและกองหลัง แต่จริง ๆ ตำแหน่งที่ผมชอบคือกองกลาง เพราะว่าเล่นมาตั้งแต่เด็ก ธนบูรณ์ เกษารัตน์ จิตวิญญาณของนักกีฬาอาชีพ ไม่ได้อยู่แค่ 90 นาทีในสนาม The People: จากเด็กที่คัดตัวไม่ผ่าน สู่การเป็นนักเตะที่มีค่าตัวสูงที่สุด ธนบูรณ์: ผมมองว่าตัวเองประสบความสำเร็จเร็วตั้งแต่อายุ 20-21 ปี ได้แชมป์ทั้งฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 2 สมัย ซีเกมส์อีก 2 สมัย ได้แข่งคิงส์คัพ เลยคิดว่าเป็นช่วงที่ดีที่สุด ทั้งฟอร์มการเล่น ความมั่นใจ ทำให้รู้สึกอยากลองไปเล่นต่างประเทศเหมือนที่ฝัน ตอนนั้นเป็นช่วงขาขึ้น ย้ายสโมสรค่าตัวก็เป็นสถิติอีก ทำให้รู้สึกกดดัน เพราะว่าเราไม่ได้เป็นคนตั้งค่าตัว แต่ความกดดันทั้งเรื่องคำวิจารณ์มาอยู่ที่เราหมด จนต้องปรับความรู้สึกว่าเรามาเพื่อเล่นฟุตบอล อยากมาทำหน้าที่ช่วยทีมให้ประสบความสำเร็จ ไม่ได้อยากเป็นนักเตะค่าตัวแพงที่สุดในประเทศ  เอาความกดดันมาผลักดันตัวเอง บางคนว่าผมฟอร์มตก ค่าตัวแพงไป บางทีคอมเมนต์ว่าเล่นไม่เต็มที่ ไม่รักสโมสรเลย ถ้าเรื่องอื่นยังพอรับได้ แต่บอกว่าไม่รักสโมสร ผมไม่ค่อยพอใจเลย เพราะเราทุ่มเทให้กับเพื่อนร่วมทีม กับสโมสร ที่เป็นคนจ่ายเงินเดือน แต่ไม่นานก็ปล่อยวาง แล้วกลับมาโฟกัสตัวเอง ไม่ไปเสียเวลากับเรื่องไม่เป็นเรื่องที่ทำให้เครียด จนอาจทำให้เล่นแล้วรู้สึกว่า performance เราไม่เต็มร้อย ธนบูรณ์ เกษารัตน์ จิตวิญญาณของนักกีฬาอาชีพ ไม่ได้อยู่แค่ 90 นาทีในสนาม The People: ความรู้สึกแรกตอนบาดเจ็บหนักครั้งนั้น ธนบูรณ์: วินาทีแรกที่เจ็บ มันมืดหมดเลย รู้เลยว่าต้องหนักมากแน่ ๆ รู้สึกเสียใจ เสียดายสิ่งที่ได้ทำมาทั้งหมด คิดฟุ้งซ่านในหัวเลยว่าทำไมต้องเป็นเรา ไม่เคยเจ็บแล้วร้องไห้หนัก ๆ เลย ตอนนั้นรู้สึกเหมือนมีคนเอาไม้มาตีเข่า พยายามจะลุกขึ้นขยับตัวแต่ก็ขยับไม่ได้ เป็นอาการบาดเจ็บที่หนักที่สุดในชีวิตแล้ว ตอนแรกหมอบอกไม่น่าจะเกิน 4 เดือน แต่พอผล MRI ออกมาตกใจเพราะว่าเจ็บเยอะมาก ทั้งเอ็นไขว้หน้า เอ็นด้านข้าง หมอนรอง hamstring คือหมดทั้งหัวเข่าเลย ทางทีมก็บอกว่าให้รักษาที่โรงพยาบาล แล้วทำกายภาพทุกส่วน 2 อาทิตย์แรก ยังผ่าไม่ได้เพราะอาจมีโรคแทรกซ้อน ต้องรอให้เข่าหายบวมก่อน หลังจากผ่าตัดเสร็จยังต้องอยู่โรงพยาบาลต่ออีกให้แผลดีขึ้น แล้วต้องไปเช่าโรงแรมใกล้ ๆ เพื่อมาทำกายภาพที่โรงพยาบาลทุกวัน ทำเหมือนเดิมทุกวันเช้าบ่าย ตั้งแต่ 9 โมงเกือบถึงเที่ยง แล้วก็บ่าย 2 ครึ่ง ถึง 5 โมงเย็น ตลอด 4 เดือนเต็ม ๆ ที่ทำแบบนี้ทุกวัน จนบางครั้งรู้สึกท้อ ช่วงอาทิตย์แรก ๆ รู้สึกเหนื่อย ลำบากด้วยตอนที่ต้องใช้ไม้เท้าช่วย แต่พอทำไปทุกวันก็เริ่มชิน ธนบูรณ์ เกษารัตน์ จิตวิญญาณของนักกีฬาอาชีพ ไม่ได้อยู่แค่ 90 นาทีในสนาม The People: อะไรช่วยให้ผ่านช่วงเวลานั้นมาได้ ธนบูรณ์: ช่วงแรกที่บาดเจ็บคุณพ่อรับไม่ได้เลย เพราะไม่เคยเห็นเราเจ็บแบบนี้ พอไปโรงพยาบาลเขาก็ไปช่วยดูแล ไปเยี่ยมเราทุกวัน ให้กำลังใจบอกว่าอย่าคิดมากนะ ให้คิดบวกเข้าไว้ว่าวันหนึ่งเราต้องกลับมาเล่นได้อีกครั้ง เพราะช่วงอายุเรายังสามารถกลับมาเล่นได้อีก ผมทำตามที่คุณพ่อบอกพยายามคิดบวกแล้วสู้ เพื่อว่าวันหนึ่งจะได้กลับมาเล่นฟุตบอลที่เรารักอีกครั้งหนึ่ง ช่วงนั้นไม่รู้ว่าเขาหรือผมร้องไห้ก่อนกัน คือเขาอาจไม่ได้เจ็บเหมือนผม แต่ก็เป็นห่วงมาก เพราะเราเป็นลูกคนเล็กด้วย  ช่วง 4-5 เดือนได้แต่ดูเพื่อนเล่นในทีวี ทั้งที่อยากลงไปทำหน้าที่ กลับกลายเป็นแรงผลักดันให้เราต้องสู้ เพื่อกลับไปยืนจุดนั้นให้ได้ ต้องฝึกซ้อมทำกายภาพให้หนัก ถ้าคนอื่นทำเวลาเดียว เราต้องทำ 2 เวลา ทั้งวัน 5-6 ชั่วโมงต่อวัน เป็นเวลา 4 เดือน จนกลายเป็นกิจวัตรประจำวันที่ขาดไม่ได้ ตื่นมานึกถึงภาพฟุตบอล นอนก็คิดว่าพรุ่งนี้ก็ต้องทำอย่างนี้ ๆ อีก เพื่อที่จะได้กลับมาให้เร็วที่สุด ส่วนมากคนเจ็บเข่าจะหายช้าหรือเร็วอยู่ที่ตัวเราล้วน ๆ เลย คุณหมอหรือเจ้าหน้าที่ฟิตเนสทำหน้าที่เต็มที่อยู่แล้ว อยู่ที่ตัวเราว่าจะมีวินัย มีความรับผิดชอบต่อตัวเองมากน้อยแค่ไหน ถ้าไม่มีวินัยกลับมาเหมือนเดิมช้า ยิ่งทำให้หมดความมั่นใจไปเรื่อย ๆ ธนบูรณ์ เกษารัตน์ จิตวิญญาณของนักกีฬาอาชีพ ไม่ได้อยู่แค่ 90 นาทีในสนาม The People: เรื่องนอกสนามที่ไม่ค่อยมีคนรู้ ธนบูรณ์: ก็หลายอย่าง (หัวเราะ) ใครที่สนิทจะรู้ว่าผมเป็นคนชอบอำ แต่คนที่ไม่รู้จักจะมองว่าเรานิ่ง ๆ มีคนเคยบอกว่าไม่ค่อยชอบเราเพราะหยิ่งขี้แอ็คต์ แต่เราเข้าใจได้ เพราะเขาอาจยังไม่รู้จัก ไม่ได้ลองคุยกับเรา อีกมุมหนึ่งที่ไม่ได้อยู่ในสนามเวลามีวันหยุดสิ่งแรกที่คิดถึงคือไปทะเล (หัวเราะ) ครั้งหนึ่งไปเกาะกูดกับเพื่อน รู้สึกว่าไม่เหมือนทะเลที่ไปประจำได้ไปพายเรือ ดำน้ำ ไปดูปลา ดูปะการัง รู้สึกว่าได้เที่ยวสนุกจริง ๆ ได้ไปทำกิจกรรมเป็นอีกอย่างที่รู้สึกประทับใจ อีกเรื่องที่แอดแวนเจอร์คือได้ไปเล่นบีบีกัน เล่นแล้วรู้สึกสนุกดี เพราะว่าช่วงนั้นติดเกม PUBG (หัวเราะ) เป็นอีกกิจกรรมที่สนุก แล้วยังช่วยสร้างมิตรภาพสปิริตในทีม กับเพื่อน ๆ แล้วก็ทางสตาฟโค้ช ทำให้รู้สึกเป็นทีมมากขึ้น ซึ่งในสนามหรือตอนซ้อมกับทีม เราต้องมีความเป็นมืออาชีพทำให้เพื่อนร่วมทีมเชื่อใจ แล้วไม่ทำให้สปิริตทีมเสีย ธนบูรณ์ เกษารัตน์ จิตวิญญาณของนักกีฬาอาชีพ ไม่ได้อยู่แค่ 90 นาทีในสนาม The People: คิดว่าความเท่ ความสปอร์ตของตัวเองอยู่ที่ไหน ธนบูรณ์: ส่วนสูงหรือเปล่าผมไม่แน่ใจ (หัวเราะ) ถ้าเดินกับเพื่อน ๆ บางคนสูงเท่ากัน แต่สำหรับเราอาจสูงแล้วดูเป็นนักกีฬาจริง ๆ ด้วย แบบสปอร์ต ๆ บางทีเพราะเล่นฟิตเนสด้วย ตอนเด็ก ๆ ผมตัวไม่ใหญ่ ผอมสูงเหมือนเป็นโรค แต่เรารู้ว่าต้องทำอะไรให้ร่างกายมันดีดูเฟิร์มขึ้น เพราะเราเป็นนักกีฬาด้วยต้องใช้ร่างกาย เลยต้องเล่นฟิตเนสเพิ่มขึ้น ยิ่งช่วงยุคพี่โก้ (ซิโก้-เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง) นักฟุตบอลจะเหมือนดารา ไปไหนก็จะมีแต่คนรู้จัก มีคนมาทักขอถ่ายรูป พวกนิตยสารรายการอะไรต่าง ๆ จะติดต่อมาทางเอเยนต์ มีงานอีเวนต์ ถ่ายโฆษณา เป็นพรีเซ็นเตอร์สินค้า ตอนนั้นต้องแบ่งเวลา เพราะหน้าที่หลักเราคือฟุตบอล ต้องไม่ให้เวลาซ้อมแล้วรู้สึกว่าไม่เต็มที่เพราะไปออกงานอื่นมา ยิ่งถ้ามีแข่งต้องเอาฟุตบอลก่อน ธนบูรณ์ เกษารัตน์ จิตวิญญาณของนักกีฬาอาชีพ ไม่ได้อยู่แค่ 90 นาทีในสนาม The People: วางแผนอีก 5 หรือ 10 ปีจะไปยืนอยู่จุดไหน ธนบูรณ์: ผมมองเป็นวันต่อวันมากกว่าว่าวันนี้เราทำดีที่สุดหรือยังสำหรับการเป็นนักฟุตบอล ส่วนอนาคตสำหรับนักกีฬาอาชีพผมก็มองว่า 5 ปี หรือว่า 10 ปีข้างหน้า เลิกเล่นแล้วเราอาจจะไปเป็นโค้ช แต่ปัจจุบันผมก็ยังมองว่าเป็นนักฟุตบอลอาชีพต้องทำให้ดีที่สุด เพราะไม่รู้ว่าวันข้างหน้าจะมีโอกาสไปต่างประเทศแค่ไหน เลยมองว่าทำวันนี้พรุ่งนี้ให้ดีที่สุดก่อน อนาคตก็ยังไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น เคยถามตัวเองว่าถ้าไม่ได้เป็นนักฟุตบอลจะประกอบอาชีพอะไร สิ่งแรกคือเรียน เพราะตอนเด็ก ๆ เรียนเก่งเกรดดีมาก (หัวเราะ) จำได้เลยว่าก่อนเข้าโรงเรียนประจำ ได้เกรดเฉลี่ย 3.97 ตอนนั้นรู้สึกว่าตัวเองเป็นผู้ชายเรียนดี (หัวเราะ) พอเข้ามาคัดบอลโค้ชก็ถามพ่อแม่ผมว่าลูกเรียนดีจะไหวเหรอ ที่นี่ซ้อมหนักเดี๋ยวกลัวเรียนไม่ดีเกรดตก ตอนนั้นผมบอกว่าไม่เป็นไร เราเลือกมาทางนี้เส้นทางนี้แล้วต้องยอมรับให้ได้ พอเข้าไปปีแรกติด ร. กับติด 0 เลยครับ (หัวเราะ) พอเปลี่ยนโรงเรียนเราต้องปรับตัวใหม่กับการเรียนใหม่ แต่ตอนนั้นเรารู้สึกรักฟุตบอลมากขึ้นแล้วพร้อมจะเสียสละเวลากับฟุตบอลเยอะขึ้นกว่าการเรียนแล้ว ธนบูรณ์ เกษารัตน์ จิตวิญญาณของนักกีฬาอาชีพ ไม่ได้อยู่แค่ 90 นาทีในสนาม The People: “ตั้ม-ธนบูรณ์” ที่อยากให้คนอื่นรู้จั ธนบูรณ์: ผมมองตัวเองว่ายังไม่ได้เก่งที่สุด เลยพยายามทำตัวเหมือนน้ำที่ยังไม่เต็มแก้ว ฟังคอมเมนต์ความคิดเห็นจากคนอื่นเพื่อเอามาปรับปรุง และพัฒนายิ่งขึ้นทุกวัน การที่จะเป็นนักกีฬาอาชีพทั้งในและนอกสนาม ผมว่าต้องมีระเบียบวินัยต่อตัวเอง แล้วต้องรับผิดชอบหน้าที่ทำให้ดีที่สุดในหน้าที่ของตัวเอง ผมไม่ได้คิดว่าตัวเองเหนือชั้นกว่าคนอื่น แค่ในสนามเราเป็นคนอ่านเกม คอยดักทางเก่ง สามารถแย่งบอลได้โดยไม่ฟาวล์ ช่วงนั้นได้โค้ชต่างประเทศที่มีความรู้ประสบการณ์มาสอน ทำให้ได้เรียนรู้พัฒนาตัวเองตลอดเวลา ผมมองว่าอาจเป็นจุดที่เราเหนือกว่าคนอื่นแต่ไม่มาก (หัวเราะ) ธนบูรณ์ เกษารัตน์ จิตวิญญาณของนักกีฬาอาชีพ ไม่ได้อยู่แค่ 90 นาทีในสนาม The People: อยากฝากอะไรถึงแฟน ๆ ที่ติดตาม ธนบูรณ์: ขอบคุณแฟนบอลทุกคนจากใจจริง ไม่ว่าจะเป็นของการท่าเรือ หรือว่าทีมชาติไทย ขอบคุณที่เป็นกำลังใจให้ทั้งตัวผม เพื่อน ๆ ร่วมทีมทุกคน อยากฝากถึงแฟนบอลของท่าเรือ หรือว่าทีมชาติไทย ช่วงยังไม่มีแข่งอยากให้ติดตามข่าวสารไปก่อน ถ้ามีแข่งแล้วก็อยากให้เข้ามาเชียร์ในสนามเยอะ ๆ เข้ามาดูนักฟุตบอลที่ชอบ หรือดูทีมที่รัก แล้วพวกผมจะทำให้เต็มที่เพื่อให้ทุกคนมีความสุขกลับออกไปจากสนามครับ ธนบูรณ์ เกษารัตน์ จิตวิญญาณของนักกีฬาอาชีพ ไม่ได้อยู่แค่ 90 นาทีในสนาม ขอบคุณภาพ: Instagram @tk17_fc