หยง-ตปนีย์ ติลา แรงบันดาลใจของการให้ สู่การแบ่งปันให้ชุมชนและหมาแมว

หยง-ตปนีย์ ติลา แรงบันดาลใจของการให้ สู่การแบ่งปันให้ชุมชนและหมาแมว

ผู้หญิงที่เลือกทำตามแพชชันที่เรียกว่า “ความสุข” ซึ่งนิยามความสุขของเธอคือการได้ทำงานศิลปะ พร้อมกับหาเงินเพื่อช่วยหมาแมวที่ไร้บ้านไปด้วย

"เป็นคนชอบงานศิลปะ พวกตัดเย็บเสื้อผ้า แต่แพทเทิร์นเสื้อผ้าคนต้องอาศัยความละเอียดค่อนข้างมาก แล้วก็ชอบสัตว์เลี้ยงหมาแมวมาตั้งแต่เด็ก เราเลยคิดว่าไม่เอาแล้ว มาทำปลอกคอให้หมาแมวใส่ดีกว่า ทั้งที่ตัวเองก็ไม่ได้มีสัตว์เลี้ยงที่บ้านนะ เพราะที่กรุงเทพฯ เราอยู่คอนโดคนเดียว เลี้ยงสัตว์ไม่ได้ แต่ก็ลองตัดไปให้หมาแมวของเพื่อนลองใส่" ใครจะไปเชื่อว่าด้วยเหตุผลง่าย ๆ นี่ เป็นจุดเริ่มให้ “หยง-ตปนีย์ ติลา” สาวแพร่ที่ตอนนี้ทำงานเป็นนักการตลาดอยู่บริษัทบัตรเครดิต KTC กลายมาเป็นอีกหนึ่งคนที่ออกงานเพื่อหารายได้ช่วยเหลือน้องหมาแมวที่ถูกทิ้งอยู่เป็นประจำ   หยง-ตปนีย์ ติลา แรงบันดาลใจของการให้ สู่การแบ่งปันให้ชุมชนและหมาแมว   ตอนแรกเธอได้ลองดัดแปลงแพทเทิร์นเสื้อผ้าสำหรับคนเ เพื่อทำเป็นโบว์สำหรับผูกคอน้องหมา โดยมีเหล่าหมาแมวของเพื่อนเป็นนายแบบให้ ความประณีตในการตัดเย็บและการเลือกลวดลายสวยงาม ทำให้งานอดิเรกของเธอเริ่มได้รับความสนใจ จนเธอต้องพัฒนาจากตอนแรกที่มีเพียงแค่โบว์ผูกคอ มาเป็นผ้าพันคอแบบสามเหลี่ยมแล้วลงมือขายอย่างจริงจังในแบรนด์ Handi Made by Tila  “ตอนแรกแค่อยากเห็นน้องหมาแมวใส่อะไรน่ารัก ๆ เลยตั้งราคาไม่แพง ชิ้นหนึ่งแค่ 50-60 บาท จริง ๆ ตอนแรกจะขายแค่ 40 บาทด้วย แต่มีคนมาเห็นงานแล้วบอกว่าขึ้นราคาเถอะ เราไม่ได้คิดอะไรมาก แค่อยากให้เพื่อนเอาไปใช้กับสัตว์เลี้ยงของเขา จนเสียงตอบรับค่อนข้างดี เลยค่อยพัฒนาสินค้าแล้วขยับราคาเพิ่มขึ้น เอาไปขายแบกะดินที่จตุจักรคืนวันเสาร์อาทิตย์บ้าง มีออกร้านบ้าง มีบางคนซื้อไปขายต่อก็มี” ด้วยความที่เธอเป็นคนแพร่โดยกำเนิดทำให้เธอมีความสนใจผ้าพื้นเมืองอย่างผ้าหม้อห้อมที่เธอคุ้นชินมาตั้งแต่เด็ก ซึ่งเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ย้อมสีฟ้าครามสร้างลวดลายสวยงามอันเป็นเอกลักษณ์ให้กับผ้าแต่ละผืน ก่อนหน้าเธอจะมาทำงานที่ KTC เธอมีโอกาสทำงานในบริษัทที่เกี่ยวกับเสื้อผ้าแห่งหนึ่ง ช่วยให้เธอได้เก็บเกี่ยวประสบการณ์เรื่องผ้าพอสมควร จนเมื่อสี่ปีที่แล้วเธอได้ลองใช้ความคลุกคลีเกี่ยวกับธุรกิจเสื้อผ้าสมัยใหม่ มาประยุกต์เข้ากับการทำผ้าหม้อห้อม ผลิตภัณฑ์แรกของเธอคือกระเป๋าคลัทช์ใบเล็ก ๆ ที่เกิดมาจากความชอบส่วนตัว ประกอบกับเธอเองมีกระเป๋าคลัทช์ที่ทำจากผ้ายีนส์อยู่หนึ่งใบ เลยเกิดไอเดียว่าผ้าหม้อห้อมที่มีสีน้ำเงิน น่าจะเอาภูมิปัญญาพื้นบ้านมาต่อยอดให้กลายเป็นสินค้าโมเดิร์นทันสมัย ที่สาวออฟฟิศในกรุงเทพฯ ใช้ได้อย่างไม่รู้สึกเคอะเขิน   หยง-ตปนีย์ ติลา แรงบันดาลใจของการให้ สู่การแบ่งปันให้ชุมชนและหมาแมว   เธอได้กลับไปที่ทุ่งโฮ้ง จังหวัดแพร่บ้านเกิด ที่มีชื่อเสียงด้านการผ้าหม้อห้อมเป็นที่ยอมรับระดับประเทศ เพื่อเรียนรู้การทำศิลปะการทำผ้าหม้อห้อมจาก “ป้าเหงี่ยม-ประภาพรรณ ศรีตรัย” ตัวจริงด้านผ้าหม้อห้อมแห่งทุ่งโฮ้ง ที่เปิดบ้านเป็นศูนย์การเรียนรู้ ให้สามารถเข้าไปศึกษาเทคนิคการทำผ้าหม้อห้อม ตปนีย์ได้ลงเรียนเพื่อหาความรู้อย่างจริงจัง ก่อนนำเทคนิคชิโบริ วิถีการมัดย้อมแบบญี่ปุ่นเข้ามาประยุกต์กับศิลปะหม้อห้อมแบบไทย ๆ ทำให้งานมัดย้อมของเธอมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว “ตอนไปเรียนมัดย้อมกับป้าเหงี่ยมที่ทุ่งโฮ้ง เพราะเราเป็นคนชอบพวกงานศิลปะ ยิ่งได้มาคลุกคลีกับมันยิ่งชอบ เลยเอามาต่อยอดกับสินค้าของเรา จากลายพื้น ๆ ก็ได้ลายแปลก ๆ สวย ๆ พวกลายดอกลายเลขาคณิตที่ใช้เทคนิคญี่ปุ่นเข้ามาช่วย” ความตั้งใจหนึ่งที่เธอเลือกนำผ้าหม้อห้อมมาประยุกต์ให้กลายเป็นสินค้าโมเดิร์นคือเป็นการช่วยประชาสัมพันธ์ให้คนรู้จักผ้าหม้อห้อม แล้วหันมาใช้สิ่งของที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น   หยง-ตปนีย์ ติลา แรงบันดาลใจของการให้ สู่การแบ่งปันให้ชุมชนและหมาแมว   นอกจากนี้ ด้วยความที่เธอเป็นคนรักสัตว์ เลยได้ออกแบบผ้าพันคอหมาแมวเป็นพิเศษจำนวนหนึ่ง เพื่อไปเปิดบูธรับบริจาคตามงานสัตว์เลี้ยงต่าง ๆ ที่รวมสังคมคนที่มีความชอบเหมือนกัน โดยรายได้จากการจำหน่ายผ้าพันคอรุ่นลิมิเต็ด พวกปลอกสร้อยมุก แบบติดลูกไม้ระบาย ติดเพชรสวยงามนั้น เธอได้บริจาคทั้งหมด เพราะมีความคิดว่าแม้รายได้ที่อาจไม่มากมายนี้ ก็สามารถช่วยเติมเต็มความหวังให้กับสัตว์เลี้ยงที่กำลังต้องการความช่วยเหลือได้ไม่มากก็น้อย ซึ่งในบางงานของที่เอาไปบริจาคมีจำนวนมากกว่าของที่จำหน่าย แถมคนยังให้ความสนใจมากกว่าอีกด้วย “แพชชันคือความสุข เราเลือกทำอะไรที่ทำแล้วมีความสุข ทั้งงานศิลปะ ทั้งการช่วยหมาแมว อย่างเดือนหน้าพอจะได้ออกงานแค่เตรียมตัวเราก็มีความสุขแล้วว่าจะได้ทำอะไรออกไปขายในงาน จะมีสินค้าอะไรใหม่ ๆ สวย ๆ ให้คนได้เอาไปให้หมาแมวได้ใส่ และบริจาคเงินช่วยเหลือด้วย ในตะกร้านี้จะมีอะไรมาวางบ้าง มันมีความสุขที่ไปพร้อมกัน เรารู้สึกอย่างนี้” แม้เธอจะบอกอยู่ตลอดว่าสิ่งที่เธอทำถือเป็นเพียงจุดเล็ก ๆ ของสังคมแห่งการแบ่งปัน เพราะงานหนึ่งอาจได้เงินบริจาคเพียงแค่ 4-5 พันบาท แต่เธอคาดหวังว่าอย่างน้อยถ้ามีคนเห็นสิ่งที่เธอทำอาจนำไปต่อยอด ทั้งการช่วยเหลือสนับสนุนหรือแม้แต่รู้สึกอยากทำอย่างอื่นที่แต่ละคนถนัด เหมือนที่เธอได้ช่วยสร้างงานให้กับชุมชนทุ่งโฮ้ง ซึ่งแม้ออร์เดอร์จะถือว่าน้อยมาก แต่ก็มีส่วนช่วยอีกทางหนึ่ง   หยง-ตปนีย์ ติลา แรงบันดาลใจของการให้ สู่การแบ่งปันให้ชุมชนและหมาแมว   หยง-ตปนีย์ บอกว่าต้นแบบแรงบันดาลใจของเธอมาจากคุณยายและคุณแม่ ที่แม้ฐานะจะไม่ได้ดีมาก พออยู่พอกินไม่ได้ร่ำรวย แต่ทั้งคู่ก็ทำมาหากินสุจริต แล้วคอยช่วยเหลือวัดและชุมชนมาตลอด โดยคุณแม่เธอเป็นครู ที่เธอบอกว่าตั้งแต่เด็กเธอเห็นแม่สอนให้รู้จักการให้และการแบ่งปันอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งเธอได้ใช้โอกาสการเป็นนักประชาสัมพันธ์เป็นกระบอกเสียงให้คนได้มาเห็นคุณค่าต่อยอดภูมิปัญญาชาวบ้าน และเผื่อแผ่แบ่งปันให้กับทั้งคนและสิ่งมีชีวิตอื่น อย่างน้องหมาแมว “คุณแม่เขาบอกเราเสมอว่า ไม่ต้องรวยหรอกเอาแค่พอมีพอกินก็สามารถช่วยคนอื่นได้ เราก็เอาตรงนั้นจากเขามา ไม่รวยแต่มีความสุขก็พอแล้ว”