ผู้ใหญ่บ้านสมบัติ ยกเชื้อ กับการสร้างความมั่นคงให้ผู้คนอิ่มท้อง อิ่มใจ และขยายความสุขไปไกลกว่าในหมู่บ้าน

ผู้ใหญ่บ้านสมบัติ ยกเชื้อ กับการสร้างความมั่นคงให้ผู้คนอิ่มท้อง อิ่มใจ และขยายความสุขไปไกลกว่าในหมู่บ้าน
“มาที่นี่ก็จะได้กินอาหารที่ปลอดภัย มีสุขภาพที่ดี ได้แช่เท้าสมุนไพรต่าง ๆ สภาพของตำบลโคกกลอยยังมีพื้นที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติอีกเยอะ มีชายทะเล มีน้ำตก มีภูเขาที่จะเดินป่า อีกหลาย ๆ หมู่บ้านก็มีศักยภาพในการท่องเที่ยว” ผู้ใหญ่สมบัติ ยกเชื้อ ประธานคณะกรรมการหมู่บ้านนากลาง กล่าวถึงจุดเด่นหนึ่งของหมู่บ้านแห่งนี้ซึ่งอยู่ในเขตการปกครองของตำบลโคกกลอย อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา  ในมุมนักท่องเที่ยว ‘บ้านนากลาง’ นับเป็นสถานหย่อนใจอันสมบูรณ์พร้อมด้วยความเงียบสงบและธรรมชาติอันหลากหลาย ส่วนมุมของผู้อยู่อาศัย บ้านนากลางคือพื้นที่ที่มีรากฐานอันมั่นคงสำหรับผู้คนในท้องถิ่น ทั้งความมั่นคงทางอาหาร รายได้ และการบริหารจัดการ ทำให้ได้รับรางวัลชนะเลิศหมู่บ้านเข้มแข็ง ตามแนวทาง "แผ่นดินธรรม แผ่นดินทอง" หมู่บ้านอยู่เย็น ระดับภาค ประจำปี 2563 ผู้ใหญ่บ้านสมบัติ ยกเชื้อ กับการสร้างความมั่นคงให้ผู้คนอิ่มท้อง อิ่มใจ และขยายความสุขไปไกลกว่าในหมู่บ้าน สร้างความมั่นคง มั่งคั่งและคุณภาพชีวิตที่ดี หนึ่งในผลงานดีเด่นของหมู่บ้านนากลางที่ทำให้ได้รับรางวัลนี้ คือการสร้างคลังอาหารหมู่บ้าน ซึ่งเกิดขึ้นจากการเก็บข้อมูลของคณะกรรมการหมู่บ้านร่วมกับ อสม. ในช่วงวิกฤตโควิด-19 “เราพบปัญหาในเรื่องของความมั่นคงทางอาหาร เราจึงทำในเรื่องของคลังอาหาร ครัวหมู่บ้าน ครัวชุมชน ซึ่งเรามีเงินส่วนหนึ่งจากการทำงานแล้วหักผลกำไรมา 10 เปอร์เซ็นต์ สมทบไว้ในกองทุนพัฒนาหมู่บ้าน แล้วก็จัดเป็นสวัสดิการ ซื้อสิ่งที่เราไม่มี หรือเรานำสิ่งที่เรามีไปแลกเปลี่ยนมา เช่น ข้าวสาร น้ำมันพืชต่าง ๆ แล้วก็มารวบรวมวิเคราะห์ว่าจะช่วยเหลือกลุ่มไหนเป็นอันดับแรกที่เดือดร้อนที่สุด แล้วก็อันดับที่เดือดร้อนน้อย ๆ ลงไป เราก็ช่วยเหลือทุกกลุ่ม” เมื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร อีกเรื่องสำคัญในช่วงที่สถานการณ์ของโรคระบาดยังไม่คลี่คลาย คือการสร้างความมั่นคงทางอาชีพและรายได้ให้กับคนในหมู่บ้าน “หมู่บ้านนากลางเรามีกองทุนหมู่บ้าน เรื่องการปล่อยเงินกู้เราก็มีแผนให้กู้ไปเพื่อไปประกอบอาชีพ แล้วก็มีการติดตาม เพื่อให้คนใช้เงินได้อย่างถูกต้อง ประหยัด พอเพียง แล้วก็มีการรณรงค์การออมในกองทุนหมู่บ้าน ไม่ว่าจะเป็นออมสัจจะ หรือกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต หรือในเรื่องของการกู้เพื่อไปประกอบอาชีพต่าง ๆ ซึ่งเราก็มีเครื่องไม้เครื่องมือ อุปกรณ์ที่อยู่ในศูนย์แห่งนี้ที่พร้อมจะให้สมาชิกทุกคนเข้ามาประกอบอาชีพเป็นของตัวเองได้ และยังมีสวัสดิการทั้งในเรื่องของเกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นสวัสดิการของชุมชนสำหรับสมาชิกและคนในหมู่บ้าน” ชาวบ้านนากลางจึงมีความมั่นใจว่าท่ามกลาง ‘วิกฤต’ พวกเขาจะมี ‘โอกาส’ และ ‘คุณภาพชีวิต’ ที่ดีในหมู่บ้านแห่งนี้เสมอ ซึ่งความสำเร็จเหล่านี้ ส่วนหนึ่งมาจากวิธีการบริหารงานของประธานคณะกรรมการหมู่บ้านนากลาง และทีมงานคณะกรรมการหมู่บ้าน ที่ผนวกรวมกับคนในหมู่บ้านซึ่งให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ผู้ใหญ่บ้านสมบัติ ยกเชื้อ กับการสร้างความมั่นคงให้ผู้คนอิ่มท้อง อิ่มใจ และขยายความสุขไปไกลกว่าในหมู่บ้าน บริหารงานด้วยการพัฒนา ‘ผู้ตาม’ ให้เป็น ‘ผู้นำ’ ผู้ใหญ่สมบัติบริหารงานในหมู่บ้านภายใต้ความเชื่อที่ว่า ‘ผู้ตาม’ ทุกคนสามารถพัฒนามาเป็น ‘ผู้นำ’ ได้ “ไม่ว่าผมจะเป็นผู้นำหรือผู้ช่วย ผมก็พยายามบอกเสมอว่าทุกคนไม่ใช่ผู้ตาม จากผู้ตามทุกคนต้องพัฒนาศักยภาพตัวเองให้มาเป็นผู้นำให้ได้ ถ้าทุกคนพัฒนาตัวเองจากผู้ตามมาเป็นผู้นำได้ ก็จะทำให้การพัฒนาไปได้เร็วแล้วก็ยั่งยืน แต่ส่วนสำคัญของการเป็นผู้นำก็ต้องอยู่ในใจของสมาชิกหรือของชาวบ้าน เพราะงั้นผู้นำต้องเสียสละในหลาย ๆ เรื่องประกอบกัน ต้องทำตัวเป็นต้นแบบ ที่สำคัญ คือต้องพัฒนาจิตใจให้มีคุณธรรม” ผู้ใหญ่สมบัติกล่าวว่า หมู่บ้านแห่งนี้โดดเด่นเรื่องการพัฒนาผู้นำ ซึ่ง ‘ผู้นำ’ ในที่นี้ คือการนำกลุ่มอาชีพต่าง ๆ อย่างเรื่องการเกษตร สินค้าแปรรูป สินค้า OTOP  “ทุกกลุ่มจะมีผู้นำที่มีศักยภาพ เราก็ทำงานเป็นทีม ซึ่งเราก็ได้เชื่อมโยงขยายเครือข่ายเพื่อสร้างพื้นที่แห่งความสุข หรือพื้นที่แห่งแผ่นดินธรรมแผ่นดินทองไปในรอบหมู่บ้าน ในตำบลโคกกลอย”  ผู้ใหญ่บ้านสมบัติ ยกเชื้อ กับการสร้างความมั่นคงให้ผู้คนอิ่มท้อง อิ่มใจ และขยายความสุขไปไกลกว่าในหมู่บ้าน จากความร่วมมือภายในหมู่บ้าน แน่นอนว่านอกจากการบริหารงานของผู้ใหญ่สมบัติ ยกเชื้อ ยังมีอีกส่วนสำคัญของความสำเร็จ คือการมีส่วนร่วมของผู้คนในหมู่บ้านและคณะกรรมการหมู่บ้าน “การมีส่วนร่วมของประชาชนบ้านนากลาง คือการเปิดโอกาสให้ทุกกลุ่ม ทุกอาชีพ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มสินค้า OTOP และกลุ่มประมงพื้นบ้านที่เข้ามาร่วมกันในการดำเนินงาน ขับเคลื่อนเพื่อสร้างงานสร้างอาชีพ แล้วก็โรงเรียนต่าง ๆ ที่อยู่ในบริเวณนี้เด็กนักเรียนนักศึกษา เราก็เปิดโอกาสให้มีส่วนร่วม และพยายามจะสร้างเครือข่ายเพื่อสร้างความมั่นคงในเรื่องของอาหาร ในเรื่องของรายได้ เรื่องของอาชีพ ในเรื่องของความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน เพื่อนำไปสู่ความสุขที่ยั่งยืน” ส่วนคณะกรรมการหมู่บ้านก็เปรียบเสมือนผู้ช่วยเหลือผู้ใหญ่บ้าน เหมือนที่บอกว่าประเทศต้องมีรัฐบาล หมู่บ้านต้องมีคณะกรรมการหมู่บ้านเป็นเหมือนคณะรัฐมนตรีที่คอยช่วยเหลือ ปรึกษาหารือ หรือทำงานที่ผู้ใหญ่บ้านมอบหมายให้ไปทำตามหน้าที่ที่แบ่งกันในทุกด้าน ไม่ว่าในเรื่องด้านของเศรษฐกิจ ด้านของสังคม ด้านของวัฒนธรรม ด้านของสิ่งแวดล้อม” สำหรับคณะกรรมการหมู่บ้านของบ้านนากลางมีทั้งหมด 13 คน ประกอบด้วยคณะกรรมการที่มาโดยตำแหน่งได้แก่ ประธาน คือผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน 3 คน และผู้นำกลุ่มต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น อสม. หรือผู้นำกลุ่มอาชีพ ส่วนคณะกรรมการที่มาจากการเลือกตั้งคือ ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 2 คน รวมทั้งทีมที่ปรึกษาซึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดราษฎร์โยธี โดยเป็นที่ปรึกษาด้านเกษตร และสถาบันการศึกษาเป็นหลัก ผู้ใหญ่บ้านสมบัติ ยกเชื้อ กับการสร้างความมั่นคงให้ผู้คนอิ่มท้อง อิ่มใจ และขยายความสุขไปไกลกว่าในหมู่บ้าน สู่การประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หลังจากการขับเคลื่อนภายในหมู่บ้านมีความเข้มแข็งและสามัคคี ขั้นต่อไปคือการต่อยอดและร่วมมือกับหน่วยงานภายนอกทั้งภาครัฐ เช่น มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต มหาวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีพังงา กศน. และภาคเอกชน เช่น ธนาคารออมสิน ธนาคาร ธกส. ที่เข้ามาสนับสนุนช่วยเหลือโดยเฉพาะเรื่องการทำวิจัย อย่างเช่นวิจัยที่ทำร่วมกับยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนมาจากธนาคารออมสิน หรือการสร้างเครือข่ายการท่องเที่ยวในชุมชน โดยมีเครือข่ายระหว่างหมู่บ้านและมีแผนว่าจะกระจายเงินรายได้รวมทั้งเครือข่ายดังกล่าวไปทั่วทั้งตำบลในอนาคต ผู้ใหญ่บ้านสมบัติ ยกเชื้อ กับการสร้างความมั่นคงให้ผู้คนอิ่มท้อง อิ่มใจ และขยายความสุขไปไกลกว่าในหมู่บ้าน บ้านนากลาง ศูนย์กลางแห่งความสุข ผู้ใหญ่สมบัติกล่าวว่าการพัฒนาหมู่บ้านและสร้างความมั่นคงให้กับประชาชนทั้งหมดนี้ก็เพื่อให้เป็นไปตามความตั้งใจและคำขวัญของหมู่บ้าน นั่นคือ “บ้านนากลางเป็นศูนย์กลางแห่งความสุข” ก่อนจะส่งต่อและขยายผลของความสุขไปยังหมู่บ้านอื่น ๆ ทั้งในตำบลโคกลอย อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา และหมู่บ้านอีก 70,000 แห่งทั่วประเทศ  “หมู่บ้านเปรียบเหมือนฐานรากของประเทศ ถ้าได้มีการพัฒนา ไม่ว่าทางผู้นำ หรือพัฒนาในเรื่องของโครงสร้างพื้นฐาน อาชีพ ความเป็นอยู่ ความมั่นคงในชีวิตและทรัพย์สินต่าง ๆ ให้ได้เหมือนกันทุก ๆ หมู่บ้าน ก็จะเป็นการสร้างความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน รวมทั้งความเจริญให้กับประเทศไทย” ผู้ใหญ่สมบัติกล่าว