เบื้องหลังการคืนชีพ "ไดโนเสาร์" จากโชว์ “Walking with Dinosaurs”

เบื้องหลังการคืนชีพ "ไดโนเสาร์" จากโชว์ “Walking with Dinosaurs”

       จะทำอย่างไรกันดีถ้าไดโนเสาร์กลับมามีชีวิตอีกครั้ง? นี่อาจจะเป็นคำถามที่ใครหลายคนเคยคิดเล่น แต่ตอนนี้มันได้กลายเป็นจริงแล้ว หลังจาก จอห์น แฮมมอนด์ ได้ก่อตั้งบริษัท InGen และนำดีเอ็นเอที่อยู่ในเลือดยุงมาสกัดเพื่อโคลนเหล่าไดโนเสาร์ออกมา ก่อนจะเปิดเป็นพาร์คและใช้ชื่อว่า “Jurassic Park”... เดียวก่อนนี่มันเรื่องจากหนังต่างหาก

แม้เรื่องที่เกริ่นตอนแรกจะเป็นเรื่องราวเหนือจินตนาการจากหนัง แต่ความพยายามที่จะนำเอาไดโนเสาร์กลับมามีชีวิตอีกครั้ง (ในหลาย รูปแบบ) ยังคงเป็นเป้าหมายของใครหลาย คน หนึ่งในนั้นคือ บริษัท โกลบอล ครีเชอร์ส (Global Creatures) ที่ใช้เงินลงทุนกว่า 20 ล้านดอลลาร์ ในการเนรมิตไดโนเสาร์ขึ้นมาใหม่ในรูปแบบกึ่งหุ่นยนต์

ถ้าหากใครยังจำหนังเรื่อง Jurassic Park ภาคแรกในปี 1993 ได้ คงจะรู้ว่าเหล่าไดโนเสาร์ในเรื่องคือหุ่นยนต์ที่สร้างขึ้นจากบริษัทวิศวกรรมประเทศออสเตรเลีย ซึ่งเรียกได้ว่านั่นคือจุดเริ่มต้นจริง ของการแสดงไดโนเสาร์เสมือนจริงอย่าง “Walking with Dinosaurs - The Arena Spectacular”

Walking with Dinosaurs - The Arena Spectacular ได้รับการขนานนามว่าเป็นโชว์ไดโนเสาร์ที่ดีที่สุดในโลก ด้วยโปรดักชั่นจัดเต็มและเทคโนโลยีที่จะแสดงให้เห็นวิวัฒนาการอันยอดเยี่ยมในการนำเอาเหล่าไดโนเสาร์กว่า 9 สายพันธุ์กลับมามีชีวิตอีกครั้ง นำโดย เจ้าไทแรนโนซอรัส เร็กซ์ (Tyrannosaurus Rex) หรือ ที-เร็กซ์ (T-Rex) และเจ้ายูทาห์แรพเตอร์ ซึ่งความสำเร็จของโชว์การันตีได้ด้วยยอดผู้ชมที่ผ่านมากว่า 9 ล้านคน จาก 250 เมืองทั่วโลก

[caption id="attachment_11157" align="aligncenter" width="892"] เบื้องหลังการคืนชีพ "ไดโนเสาร์" จากโชว์ “Walking with Dinosaurs” T-rex[/caption]

       ตัวโชว์มีระยะเวลาประมาณ 1 ชั่วโมง 40 นาที เนื้อหาสำคัญเป็นการถ่ายทอดเรื่องราวความเป็นมาของโลก ตั้งแต่การแยกตัวของแผ่นดินและแบ่งออกเป็นทวีปต่าง การเปลี่ยนผ่านจากยุคไทรแอสสิคซึ่งเป็นทะเลทรายที่แห้งผาก ไปยังยุคจูราสสิคที่เต็มไปด้วยทุ่งหญ้าเขียวขจี การกำเนิดของมหาสมุทร การระเบิดของภูเขาไฟ รวมถึงการเกิดไฟป่า ไปจนถึงเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญ ที่ดาวหางขนาดใหญ่พุ่งชนโลก จนนำไปสู่การสูญพันธุ์ของไดโนเสาร์ โดยมีเหล่าไดโนเสาร์ 18 ตัว เป็นผู้เล่าเรื่อง

เมื่อเร็ว นี้ The People มีโอกาสชมการแสดงนี้ที่เมืองโยโกฮาม่า ประเทศญี่ปุ่น และได้พูดคุยกับเหล่าทีมงานคนสำคัญที่อยู่เบื้องหลังความน่าตื่นเต้นในครั้งนี้

ถ้าถามว่ามันกลับมามีชีวิตได้อย่างไร วันนี้เรามีคำตอบให้จาก อแมนดา แมดด็อก หัวหน้าทีมห้องบังคับกลไกพิเศษ ผู้อยู่เบื้องหลังการฟื้นคืนชีพอีกครั้งของเหล่าไดโนเสาร์ (ตัวใหญ่)

เรามีทั้งหมด 3 สถานีในการควบคุมงานทั้งหมด โดยไดโนเสาร์ 1 ตัวจะมีคนควบคุม 2 คนต่อ 1 สถานี การที่ไดโนเสาร์สามารถขยับเขยื้อนได้ก็มาจากทั้ง 2 คนช่วยกันแบ่งหน้าที่ในการบังคับ คนหนึ่งคอยควบคุมหัว คนหนึ่งคุมหางของมัน เป็นต้น นอกจากนี้ก็ยังมีรายละเอียดต่าง อย่างเช่นการกะพริบตาของไดโนเสาร์หรือเสียงคำรามของมัน

[caption id="attachment_11153" align="aligncenter" width="3600"] เบื้องหลังการคืนชีพ "ไดโนเสาร์" จากโชว์ “Walking with Dinosaurs” อแมนดา แมดด็อก หัวหน้าทีมห้องบังคับกลไกพิเศษ[/caption]

       สรุปง่าย คือสำหรับไดโนเสาร์ตัวใหญ่จะมี 1 คนคอยขับโรลเลอร์เบลดบทเวทีแสดง และมีอีก 2 คนคอยบังคับส่วนต่าง ที่เหลือ ซึ่งความเข้าขากันของทีมงานทำให้เจ้าไดโนเสาร์เหล่านี้มีการเคลื่อนไหวที่ดูเหมือนสัตว์จริง นั่นเอง

ถ้าพูดถึงตัวละครสำคัญประจำโชว์นี้ คงต้องยกให้กับเจ้า “Baby T-Rex” ที่มีความแสบซนไม่เหมือนใครเลยทีเดียว ความพิเศษของเจ้าไดโนเสาร์ตัวนี้คือการใช้คนจริง เป็นผู้บังคับ ซึ่งเราก็ได้มีโอกาสพูดคุยกับ แมตต์ โอลเวอร์ ชายที่ต้องมารับหน้าที่นี้ ถึงเบื้องหลังการแสดงและรายละเอียดต่าง ของเจ้า Baby T-Rex

การจะเป็นเจ้า Baby T-Rex สำหรับโชว์นี้ ส่วนมากเราก็ต้องไปเน้นการบริหารทางกายภาพ เสริมความแข็งแรงให้กับร่างกาย เราต้องรักษาหุ่น และเน้นการเสริมสร้างความแข็งแรงช่วงแกนกลางของลำตัว รวมถึงคาดิโอด้วย และเรายังต้องควบคุมอาหารอีกด้วย

"กว่าจะมารับสวมชุดเจ้าตัวนี้ เราออกกำลังกายหนักมากและเทรนไปพร้อม กัน  เพื่อจะได้สื่อสารกับคนดูและแสดงบนเวทีได้ดี นอกจากนี้เราต้องดูสารคดีเกี่ยวกับพวกสัตว์เยอะมาก ว่าพวกมันมีปฏิกิริยาต่อกันและต่อสิ่งต่าง อย่างไร เรายังต้องดูด้วยว่านกหรือพวกสิงโตสื่อสารกันอย่างไร เพื่อที่เราจะได้พอจินตนาการออกว่าไดโนเสาร์จะแสดงท่าทีออกมาอย่างไร

[caption id="attachment_11156" align="aligncenter" width="3600"] เบื้องหลังการคืนชีพ "ไดโนเสาร์" จากโชว์ “Walking with Dinosaurs” แมตต์ โอลเวอร์ กับเจ้า Baby T-Rex[/caption]

       หนังหรือโชว์ที่ดี แน่นอนต้องมีผู้กุมบังเหียนคนสำคัญ ผู้คอยควบคุมดูแลภาพรวมทั้งหมดให้ออกมาเรียบร้อย และสำหรับโชว์ของ Walking with the Dinosaurs พวกเขาได้อดีตผู้กำกับโชว์ Mamma Mia! มารับหน้าที่นี้ ชายคนนั้นมีชื่อว่า เอียน วอลเลอร์

ผมเคยเป็นนักแสดงมาก่อน ก่อนที่จะเปลี่ยนสายงานมาเป็นผู้กำกับ โชว์ที่ผมกำกับมาก่อนหน้านี้ก็คือ Mamma Mia! ซึ่งเป็นบริษัทเดียวกับงานนี้ (Walking with Dinosaurs) และหลังจากหมดภารกิจกำกับโชว์นั้น โปรดิวเซอร์ของ Walking with Dinosaurs ก็ได้ชวนให้ผมมากำกับโปรเจกต์นี้

พวกเราอยู่กันเหมือนเป็นครอบครัว ที่มักจะมีช่วงขึ้น ลง ความเห็นไม่ตรงกันบ้าง แต่ทั้งหลายทั้งปวงทุกคนรักโชว์นี้ ไม่อย่างนั้นพวกเขาคงไม่มาอยู่ที่นี่ ครอบครัวที่ผมว่านี้มีมากกว่า 70 ชีวิต

ก่อนหน้านี้ Walking with Dinosaurs เคยจัดแสดงที่เมืองไทยมาแล้วเมื่อปี 2010 โดย วอลเลอร์ ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า พวกเขาได้อัพเดทด้านกายภาพของตัวไดโนเสาร์ให้มีความเสมือนจริงมากขึ้น รวมถึงฉากต่าง ที่ปรับให้เข้ากับหลาย ประเทศ เป็นการการันตีว่าทุกโชว์จะมีความสดใหม่ตลอดเวลา

พวกเรามีการอัพเดทเกี่ยวกับไดโนเสาร์ตลอด ซึ่งเมื่อไม่นานมานี้เราก็เพิ่งจะรู้ว่าไดโนเสาร์บางสายพันธ์ุอย่างแรปเตอร์หรือทีเร็กซ์มีขนด้วย เราอยากให้มันออกมาเสมือนจริงที่สุด เราจึงนำพวกมันกลับไปที่ออสเตรเลียเพื่ออัพเดท แม้มันจะมีค่าใช้จ่ายที่หนักพอตัว และนับตั้งแต่ปี 2010 เรามีการปรับปรุง พัฒนาหลาย เรื่อง เช่นฉากต้นไม้ แสง สี เสียง โดยในแต่ละประเทศก็จะมีการออกแบบที่ต่างกันไป

[caption id="attachment_11152" align="aligncenter" width="2400"] เบื้องหลังการคืนชีพ "ไดโนเสาร์" จากโชว์ “Walking with Dinosaurs” เอียน วอลเลอร์ ผู้กำกับโชว์[/caption]

       วอลเลอร์ ในฐานะผู้ดูภาพรวมของโชว์ทั้งหมดทิ้งท้ายว่า การไปแสดงในหลาย ประเทศ ทำให้พวกเขาได้เห็นถึงความแตกต่างเรื่องวัฒนธรรมที่ต่างกัน เขาได้ยกตัวอย่างพฤติกรรมของคนดูในญี่ปุ่นที่มักจะนั่งชมเรียบร้อยสุด ส่วนก่อนหน้านี้ที่สเปนคนดูก็มักจะลุกขึ้นมาชมพร้อมส่งเสียงด้วยความตื่นเต้น ก่อนจะกล่าวว่าเขากำลังตั้งตารอที่จะพาเหล่าไดโนเสาร์เหล่านี้ไปเยือนประเทศไทย

เราจะพาคนไทยทุกคนย้อนกลับไปเมื่อ 28,000 ล้านปีก่อนเพื่อไปพบกับเหล่าไดโนเสาร์ตัวใหญ่ 18 ตัวที่จะเคลื่อนที่ไปมาบนเวทีมันต้องเป็นอะไรที่น่าทึ่งสุด

[caption id="attachment_11154" align="aligncenter" width="5184"] เบื้องหลังการคืนชีพ "ไดโนเสาร์" จากโชว์ “Walking with Dinosaurs” เหล่าแรพเตอร์[/caption]

       การแสดง Walking with Dinosaurs - The Arena Spectacular จะมีขึ้นในช่วงวันที่ 12-15 กันยายนนี้ ที่อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี ตอนนี้บัตรมีจำหน่ายแล้วที่ไทยทิคเก็ตเมเจอร์ทุกสาขา

ภาพจาก BEC-Tero

FYI: ไดโนเสาร์ขนาดใหญ่แต่ละตัวมีส่วนประกอบดังนี้ (ตามโครงสร้างของโทโรซอรัส)

สายไฮโดรลิกยาว 132 เมตร

ผ้า 295 ตารางเมตร

โฟม 132 ลูกบาศก์เมตร

สีทา 200 ลิตร

พลังไฟฟ้า 7 กิโลวัตต์จากแบตเตอรี่รถบรรทุก 12 ก้อน

สายเคเบิล 1,000 เมตรในไดโนเสาร์แต่ละตัว

ชิบไมโครโปรเซสเซอร์ 24 ชิ้น เพื่อควบคุมการเคลื่อนไหวไปพร้อมกับแรมไฮโดรลิก 15 ชิ้น และมอเตอร์ไฮโดรลิกอีก 5 ตัว

ไดโนเสาร์ขนาดใหญ่แต่ละตัวมีน้ำหนัก 1,500 กิโลกรัม (ประมาณเดียวกับรถครอบครัวมาตรฐาน) และวิ่งอยู่บนล้อโรลเลอร์เบลด 6 ล้อ

การควบคุมไดโนเสาร์ 1 ตัวต้องใช้ทีมงาน 3 คน คือ คนขับ 1 คน คนเชิดหุ่น 2 คน (คนหนึ่งคุมการเคลื่อนไหวใหญ่ ๆ อย่างหัวและหาง อีกคนหนึ่งคุมการเคลื่อนไหวเล็ก ๆ อย่างปาก การกะพริบตาและเสียงคำราม)

การขนไดโนเสาร์และเครื่องมือใช้รถบรรทุก 23 คัน และคอนเทนเนอร์ขนส่งทางทะเล 27 ตู้

ทีมงานรวม 54 คน ทั้งนักแสดง นักเชิดหุ่น คนขับไดโนเสาร์ ช่างดูแลไดโนเสาร์ ช่างไม้ ริกเกอร์ วิศวกรหลายแขนง เจ้าหน้าที่ควบคุม แสง สี เสียง