การพัฒนาวัคซีนโควิด-19 จากใบยาสูบโดยคนไทยเพื่อคนไทย - ศ. นพ. ดร.นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล
“ผลข้างเคียง” ของโควิด-19 สร้างผลกระทบที่ร้ายแรงกับประเทศไทยยิ่งกว่า “ผลโดยตรง” เนื่องจากไทยเป็นประเทศที่พึ่งพาการส่งออกและการท่องเที่ยวเป็นสำคัญ แม้อัตราการระบาดในประเทศต่ำ แต่ถ้าการระบาดในต่างประเทศยังสูง การเปิดพรมแดนเพื่อการท่องเที่ยวก็ํเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก เช่นเดียวกัน ภายใต้ภาวะเช่นนี้อัตราการบริโภค และความต้องการสินค้านำเข้าของประเทศต่าง ๆ ก็ลดน้อยลงไปด้วย
หลังการระบาดมานานเกือบครบ 1 ปี ความหวังว่า ประชากรส่วนมากจะเกิด “ภูมิคุ้มกันหมู่” ในเร็ววันคงยังไม่เกิดขึ้น เมื่อตัวเลขการระบาดรอบสองในบางประเทศของยุโรปมีตัวเลขที่สูงยิ่งกว่ารอบแรก (ปัจจัยหนึ่งอาจเป็นเพราะผู้มีความเสี่ยงเข้าตรวจหาเชื้อมากกว่ารอบแรก)
สิ่งที่เป็นความหวังว่าโลกจะกลับมาเป็นปกติได้เร็วที่สุดก็คือ “วัคซีน”
และในปัจจุบัน ทีมวิจัยจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยก็ได้พัฒนาวัคซีนป้องกันโควิด-19 จาก “ใบยาสูบ” จนได้ผลความคืบหน้าเป็นที่น่าพอใจ ส่วนจะคืบหน้าแค่ไหน จะสามารถรับมือกับความสามารถในการ “กลายพันธุ์” ของโคโรนาไวรัสชนิดนี้ได้ดีหรือไม่ ติดตามได้ในการสัมภาษณ์ ศ. นพ. ดร.นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล รองอธิการบดี กำกับดูแลด้านยุทธศาสตร์ แผน และงบประมาณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยซึ่งเป็นผู้มีส่วนดูแลโครงการพัฒนาวัคซีนโควิด-19 โดยทีมวิจัยของจุฬาฯ