'วิชาญ จิตร์ภักดี' นำ SCGP ก้าวข้ามขีดจำกัดของบรรจุภัณฑ์

'วิชาญ จิตร์ภักดี' นำ SCGP ก้าวข้ามขีดจำกัดของบรรจุภัณฑ์
“บรรจุภัณฑ์ไม่ได้ทำหน้าที่แค่ปกป้องสินค้า แต่ยังส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีของแบรนด์สินค้าได้” บริษัทเอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ SCGP จึงไม่ได้ทำธุรกิจผลิตบรรจุภัณฑ์เท่านั้น แต่ยังเป็นผู้ให้บริการ Comprehensive Packaging Solutions Provider หรือ คู่คิดที่ตอบโจทย์ลูกค้าด้านบรรจุภัณฑ์อย่างครบวงจร โดย SCGP ได้พัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการที่หลากหลายเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่เป็นผู้ประกอบการในระดับประเทศและระดับภูมิภาคในอุตสาหกรรมต่าง ๆ และสามารถตอบรับกับการเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานในชีวิตประจำวัน และรูปแบบการใช้ชีวิตของผู้บริโภค ปัจจุบัน SCGP มี วิชาญ จิตร์ภักดี เป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหาร หลังเข้ามารับตำแหน่งผู้นำองค์กรเมื่อปี 2562 โดยมีภารกิจในการรักษาตำแหน่งผู้นำการให้บริการด้านบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจรในประเทศไทย และภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วยการนำเสนอโซลูชันด้านบรรจุภัณฑ์ที่มีคุณภาพผ่านผลิตภัณฑ์ที่มีนวัตกรรมและบริการที่หลากหลาย รวมถึงการดำเนินธุรกิจตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน “หนึ่งในปัจจัยความสำเร็จของการเติบโตในช่วงที่ผ่านมาของ SCGP คือเรามองที่ลูกค้าเป็นหลัก (Customer Centricity) เพื่อเข้าใจความต้องการของลูกค้า ศึกษา Customer Journey ดูปัญหาของลูกค้า หา Voice of Customer และที่สำคัญคือต้องเป็นผู้ให้บริการ Comprehensive Packaging Solutions ที่ช่วยแก้ปัญหาตอบโจทย์ลูกค้าให้ครบถ้วน” (1) 'วิชาญ จิตร์ภักดี' นำ SCGP ก้าวข้ามขีดจำกัดของบรรจุภัณฑ์ ความแข็งแกร่งของ SCGP บนเวทีภูมิภาค “ปัจจุบันผู้ผลิตสินค้ามีความต้องการบรรจุภัณฑ์ที่มีคุณสมบัติพิเศษ มีรายละเอียดที่ซับซ้อนกว่าปกติ หรือมีนวัตกรรมเพิ่มขึ้น ดังนั้นแนวทางการดำเนินธุรกิจของ SCGP จึงไม่ได้เป็นแค่ผู้ผลิต แต่ยังเป็นผู้ให้คำปรึกษา ออกแบบ พัฒนาและช่วยลูกค้าแก้ไขปัญหา เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าในธุรกิจต่าง ๆ เช่น ธุรกิจสินค้าอุปโภคบริโภค ธุรกิจค้าปลีก ธุรกิจอีคอมเมิร์ซ และเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ไม่ว่าลูกค้าจะมีความต้องการบรรจุภัณฑ์แบบใดก็ตาม” วิชาญกล่าวถึงบทบาทบรรจุภัณฑ์ของ SCGP ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร SCGP เล่าว่า SCGP มีกลุ่มลูกค้าหลักในประเทศไทย ประเทศเวียดนาม ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศฟิลิปปินส์ และประเทศมาเลเซีย ลูกค้าส่วนใหญ่เป็นบรรษัทข้ามชาติและผู้ประกอบการรายใหญ่ในระดับประเทศและภูมิภาค ซึ่งอยู่ในธุรกิจที่มีการเติบโตสูง เช่น สินค้าอุปโภคบริโภค เครื่องใช้ไฟฟ้า อาหารและเครื่องดื่ม อีคอมเมิร์ซ ผลิตภัณฑ์ความงามและสุขภาพ ฯลฯ (3) 'วิชาญ จิตร์ภักดี' นำ SCGP ก้าวข้ามขีดจำกัดของบรรจุภัณฑ์ กลยุทธ์ก้าวข้ามขีดจำกัดของบรรจุภัณฑ์ โมเดล Comprehensive Packaging Solutions Provider ทำให้ SCGP มีความแตกต่างจากคู่แข่งรายอื่น ๆ เพราะช่วยเพิ่มขีดความสามารถให้บริการที่ตอบโจทย์ความต้องการเฉพาะของลูกค้าแต่ละราย โดย SCGP มีนักออกแบบและนักวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์รวมกันมากกว่า 130 คน ทำงานใกล้ชิดกับทีมงานฝ่ายต่าง ๆ เพื่อนำเสนอโซลูชันด้านต่าง ๆ ที่มีนวัตกรรมและเพื่อสนับสนุนการให้บริการโซลูชันด้านบรรจุภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ความต้องการที่หลากหลายของลูกค้าอย่างครบวงจร เช่น โซลูชันสำหรับเศรษฐกิจหมุนเวียน โซลูชันสำหรับงานย่อย โซลูชันเพื่ออำนวยความสะดวก โซลูชันบรรจุภัณฑ์อัจฉริยะ โซลูชันสำหรับธุรกิจอีคอมเมิร์ซ และโซลูชันด้านกิจกรรมการตลาด “ในการเติบโตทางธุรกิจ เราต้องปรับปรุงประสิทธิภาพต่อเนื่องเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน (Competitive Advantage) และขยายธุรกิจอย่างหลากหลายทั้งด้าน Scale และ Scope เราก้าวไปเรียนรู้เส้นทางใหม่ ๆ จากการมองเห็นความท้าทายและโอกาสในธุรกิจที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา แล้วพัฒนาผลิตภัณฑ์ขยายกลุ่มลูกค้า เพิ่มช่องทางการขาย มุ่งสู่การพัฒนา Advanced Materials มากขึ้น เช่น ใช้ส่วนผสมพลาสติกรีไซเคิลเป็นองค์ประกอบ หรือใช้วัสดุน้อยลงโดยยังคงคุณสมบัติหรือฟังก์ชันในการใช้งานได้ดีเช่นเดิม นอกจากนี้ ยังมีพาร์ตเนอร์ชั้นนำที่มีความเชี่ยวชาญมาร่วมทุนและพัฒนาในเส้นทางต่าง ๆ ที่เราก้าวไป” (1) โดยผู้บริหารและพนักงานที่ยึดมั่นในอุดมการณ์และหลักการกำกับดูแลกิจการ นับเป็นหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อน SCGP ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นเสมือน DNA ที่ได้รับการถ่ายทอดจาก บริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) (SCC) ประกอบกับการมีความเชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ และแนวคิด Customer Centricity ทำให้บริษัทฯ พร้อมที่จะปรับเปลี่ยน ด้วยความคิดสร้างสรรค์ เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่หลากหลายให้ดียิ่งขึ้น 'วิชาญ จิตร์ภักดี' นำ SCGP ก้าวข้ามขีดจำกัดของบรรจุภัณฑ์ เทรนด์ของธุรกิจบรรจุภัณฑ์ สำหรับภาพรวมธุรกิจบรรจุภัณฑ์ทุกประเภทในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีแนวโน้มเติบโตที่ดีอย่างต่อเนื่อง คาดว่ารายได้ทั้งหมดของผลิตภัณฑ์บรรจุภัณฑ์ในช่วง 5 ปีข้างหน้า (ปี 2562-2567) จะมีอัตราเติบโตเฉลี่ยต่อปีที่ 6.2% หรือมีมูลค่าตลาดในปี 2567 รวมอยู่ที่ประมาณ 7.27 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ (2) จากการเพิ่มขึ้นของประชากรวัยหนุ่ม-สาวที่มีรายได้ระดับปานกลางในประเทศไทย ประเทศเวียดนาม ประเทศอินโดนีเซีย และประเทศฟิลิปปินส์ ส่งผลดีต่ออัตราการบริโภคต่อหัวของประชากรในภูมิภาคนี้ให้เติบโตอย่างก้าวกระโดด พร้อมปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวอย่างรวดเร็วของธุรกิจอีคอมเมิร์ซที่เป็นเมกะเทรนด์ทางเศรษฐกิจที่สำคัญในภูมิภาค “เรามีการพัฒนาและปรับตัวอยู่ตลอดเพื่อรับกับการเปลี่ยนแปลงในธุรกิจบรรจุภัณฑ์ ทั้งวิธีคิด วิธีการทำงาน และกระบวนการ โดยเน้นความสะดวกสบายของลูกค้าเป็นหลัก (Customer Convenience) เราต้องหาสิ่งใหม่ ๆ วิธีการใหม่ ๆ เทคโนโลยีหรือนวัตกรรมมาออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อดำเนินธุรกิจสอดคล้องกับสถานการณ์ตลาดในขณะนั้น” (1)วิชาญกล่าว ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.scgpackaging.com ที่มา : (1) https://www.scgpackaging.com/newsletter/file/aLot%20Vol%2016.pdf (2) รายงานการวิจัยทางการตลาดแบบอิสระของ ฟรอส์ท แอนด์ ซัลลิวัน (3) แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนฉบับเต็มของ SCGP ซึ่งได้ยื่นต่อสำนักงาน ก.ล.ต. ที่ www.sec.co.th