สวัสดีปีใหม่ไทย กับโลกโซเชียลในวันที่ 'สงกรานต์' หายไป

สวัสดีปีใหม่ไทย กับโลกโซเชียลในวันที่ 'สงกรานต์' หายไป
สวัสดีวันปีใหม่ไทย ปีนี้อาจจะไม่เหมือนเดิม เพราะ "สงกรานต์หายไป" เมื่อวันที่ 25 ม.ค. ที่ผ่านมา พบคนไทยคนแรกที่ติดเชื้อ COVID-19 และหลังจากนั้นไทยก็เข้าสู่สถานการณ์วิกฤตของ COVID-19 อย่างเต็มตัว สิ่งรอบตัวเปลี่ยนแปลงไปมากมาย ทั้งเรื่องชีวิตความเป็นอยู่ หรือธุรกิจเอง ก็ได้รับผลกระทบ รวมถึง “วันสงกรานต์” ที่หายไปในปีนี้ วันนี้เป็นวันสงกรานต์ หรือวันปีใหม่ของไทย ที่ไม่เหมือนเดิมเป็นปีแรก เราเลยขอพาไปฟังเสียงของโซเชียลกันหน่อยว่า คนส่วนใหญ่คิดเห็นอย่างไรเกี่ยวกับประเด็นนี้ สวัสดีปีใหม่ไทย กับโลกโซเชียลในวันที่ 'สงกรานต์' หายไป   ช่องทางทวิตเตอร์มีจำนวนข้อความสูงสุดถึง 25,000,000 ข้อความ จากข้อมูลที่ Wisesight ได้ไปสำรวจและวิเคราะห์จาก ZOCIAL EYE ตั้งแต่วันที่ 20 ม.ค. - 10 เม.ย. พบว่า มีข้อความที่พูดถึงประเด็นสงกรานต์จำนวน 49 ล้านข้อความ ช่องทาง Twitter มีข้อความมากที่สุด 25 ล้านข้อความ หรือ 51% รองลงมาคือ Facebook 22 ล้านข้อความ หรือ 45% ช่องทางอื่น (Youtube, News, Forums) 1.2 ล้านข้อความ หรือ 2.3% และ Instagram 8 แสนข้อความ หรือ 1.7% มียอดเอนเกจเมนท์ทั้งหมด 176 เอนเกจเมนท์ ประเด็นที่ถูกพูดถึงมากที่สุดคือ “รัฐบาลออกมาประกาศว่า สงกรานต์ 13-15 เม.ย. ไม่ใช่วันหยุด” ซึ่งมีเอนเกจเมนท์ถึง 38,530,866 เอนเกจเมนท์ รองลงมาคือ “หลายจังหวัดงดจัดวันสงกรานต์” มีเอนเกจเมนท์ถึง 19,615,431 เอนเกจเมนท์ สวัสดีปีใหม่ไทย กับโลกโซเชียลในวันที่ 'สงกรานต์' หายไป   จากข้อมูลจะเห็นว่า ประเด็น “สงกรานต์ 13-15 เม.ย. ไม่ใช่วันหยุด” ถูกพูดถึงบนโลกโซเชียลมากที่สุด และคนโซเชียลมีความคิดเห็นกับเรื่องนี้อย่างไร พอไปฟังเสียงคนบนโซเชียลก็พบว่า 18% เห็นด้วย โดยคนกลุ่มนี้คิดว่าเหมาะสมแล้ว เพราะสิ่งที่น่ากลัวที่สุดคือ คนอาจออกเที่ยวต่างจังหวัด ทำให้เชื้อแพร่กระจายไปอีก ในขณะที่ 82% ไม่เห็นด้วย โดยให้เหตุผลว่า ควรให้หยุดตามเดิม แล้วห้ามจัดกิจกรรมทุกประเภทน่าจะดีกว่า นั่นหมายความว่าคนโซเชียลส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับประเด็น “สงกรานต์ 13-15 เม.ย. ไม่ใช่วันหยุด” นอกจากนี้ คนโซเชียลยังให้ความคิดเห็นเพิ่มเติมว่า เรื่องนี้ทำให้บางสิ่งหายไปพร้อมกับสงกรานต์ในปีนี้
  • 41% มีความคิดเห็นว่า กิจกรรมครอบครัวหายไป 
คนโซเชียลส่วนใหญ่ให้ความคิดเห็นว่า สงกรานต์ปีนี้คงจะคิดถึงบรรยากาศพี่น้องพบหน้ากัน อยากกลับไปเจอครอบครัว และอยากกลับไปรดน้ำดำหัว ขอพรครอบครัว
  • 34% มีความคิดเห็นว่า วันหยุดหายไป
คนโซเชียลให้ความคิดเห็นว่า วันสงกรานต์ปีนี้ควรเป็นสัปดาห์ที่ได้หยุดยาว ไม่ใช่วันจันทร์ที่ต้องไปทำงาน รู้สึกฝันสลายแทนที่จะได้หยุดพักผ่อน และหลายคนโหยหาคิดถึงวันหยุดยาวที่เกิดมีในทุกๆ ปีที่ผ่านมา
  • 25% มีความคิดเห็นว่า ความสนุกหายไป
พอสงกรานต์ต้องเลื่อนไปก่อน แน่นอนว่าความสนุกต่างๆ ก็คงจะหายไป คนโซเชียลให้ความคิดเห็นว่า อยากเล่นน้ำตามสถานที่จัดงานต่างๆ เช่น สีลม บางแสน เป็นต้น รู้สึกคิดถึงปาร์ตี้ งานสังสรรค์ และที่น่าสนใจคือเหล่าโซเชียลคิดถึงการปะแป้งครับ ซึ่งเป็นกิจกรรมหนึ่งที่ต้องมีในวันสงกรานต์เลยนอกจากการสาดน้ำกัน สวัสดีปีใหม่ไทย กับโลกโซเชียลในวันที่ 'สงกรานต์' หายไป   5 สิ่งที่คนโซเชียลจะทำช่วงสงกรานต์ ในเมื่อในปีนี้สงกรานต์ได้หายไป ไม่ได้ออกไปเล่นน้ำข้างนอกได้เหมือนปีก่อนๆ แล้วชาวโซเชียลจะทำกิจกรรมอะไรแทนในวันสำคัญนี้ จากข้อมูลที่ได้สำรวจและวิเคราะห์มาพบว่า กิจกรรมยอดนิยม 5 อันดับแรกที่ชาวโซเชียลจะทำในช่วงสงกรานต์ก็คือ
  • อันดับ 1 ขอพรออนไลน์ มีมากถึง 30%
  • อันดับที่ 2 นอนพักผ่อน 21%
  • อันดับที่ 3 สาดน้ำออนไลน์ 15%
  • อันดับที่ 4 สรงน้ำพระที่บ้าน 6%
  • อันดับที่ 5 คือ สาดความสุขให้ครอบครัว 6%
จะเห็นได้ว่ากิจกรรมอันดับต้นๆ ยังคงเป็นกิจกรรมที่ยังเชื่อมโยงกับวันสงกรานต์อยู่ไม่ว่าจะเป็นการขอพร และการทรงน้ำพระที่บ้านก็ยังเป็นกิจกรรมทางศาสนาที่มาคู่กับประเพณีสงกรานต์เสมอมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน รวมถึงการให้ความสำคัญกับครอบครัว ในวันครอบครัวของไทยอย่างวันสงกรานต์ และยังไม่ลืมกิจกรรม ประเพณีที่ทำกันมาตลอดอย่าง “การสาดน้ำ” แม้จะออกไปสาดน้ำเล่นข้างนอกไม่ได้ ก็ขอเปลี่ยนมาสาดกันทางออนไลน์น่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด ที่ยังรักษาประเพณี และป้องกันการแพร่เชื้อ COVID-19 ได้ด้วย ส่วนกิจกรรมที่น่าสนใจ และมารองเป็นอันดับ 2 อย่างการนอน ก็ถือว่าเป็นสถิติที่น่าสนใจ สงกรานต์ในปีนี้ ก็ถือว่าเป็นเวลาอันดีที่จะนอนพักผ่อน ชาร์จพลังกัน หยุดเชื้อที่บ้านกันไป แม้ปีนี้สงกรานต์จะหายไป แต่วันสงกรานต์ก็คงยังเป็นวันสงกรานต์ ประเพณีที่ดีงามยังอยู่ แค่เปลี่ยนรูปแบบไปตามสถานการณ์ ที่ ปีนี้อาจจะเงียบเหงา แต่จากการร่วมมือร่วมใจกันงดกิจกรรมในปีนี้ อาจจะทำให้สงกรานต์ที่หายไปกลับมาครื้นเครงยิ่งกว่าเดิมในปีหน้า   นี่คือข้อมูลอินไซท์ที่ทีมงาน Wisesight ได้ไปค้นหาและวิเคราะห์กันออกมา พร้อมกับตัวช่วยอย่าง ZOCIAL EYE เครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูลทางโซเชียลของทาง Wisesight เอง https://bit.ly/2Rzb3lj