เช็คตัวเองให้ดี! เรากำลังมีอาการ ‘ตาล้า’ หรือไม่? พฤติกรรมการใช้สายตาอาจสร้างปัญหากว่าที่คุณคิด : ศราวุฒิ กันธะ

เช็คตัวเองให้ดี! เรากำลังมีอาการ ‘ตาล้า’ หรือไม่? พฤติกรรมการใช้สายตาอาจสร้างปัญหากว่าที่คุณคิด : ศราวุฒิ กันธะ
“ก่อนหน้านี้ประมาณ 3-5 ปี เราอาจใช้เวลาอ่านหนังสือ หรือจ้องหน้าจอคอมไม่เกินวันละ 3-4 ชั่วโมง จากนั้นก็หันไปทำกิจกรรมอย่างอื่น แต่ยุคนี้มีโซเชียลมีเดียเข้ามา เราต้องใช้สายตาเพ่งมองมากขึ้น นานขึ้น ส่งผลให้กล้ามเนื้อตาทำงานหนักมากขึ้น จนเกิดอาการเมื่อยล้าดวงตานั่นล่ะคือปัญหาสายตาของคนยุคนี้” คำอธิบายของ ศราวุฒิ กันธะ หรือ เอก ผู้เชี่ยวชาญด้านแว่นและสายตา จากบริษัท หอแว่นกรุ๊ป จำกัดทำให้คนที่ไม่เคยสนใจเรื่องการดูแลสายตา แอบหันมาสังเกตอาการของตัวเองกันมากขึ้น ไม่ต่างจากคนทั่วไป ก่อนหน้านี้ศราวุฒิเองก็ไม่เคยมีความรู้อะไรเกี่ยวกับเรื่องสายตามาก่อน หลังจากเรียนจบด้านบริหารธุรกิจจากมหาวิทยาลัย เขาก็ลงสนามทำงานในเส้นทางการขายที่ดูเหมือนจะไม่มีอะไรที่เชื่อมโยงได้กับสิ่งที่ทำอยู่ตอนนี้นัก แต่เพราะได้มีโอกาสย้ายสายงานมารับตำแหน่งผู้ช่วยผู้จัดการร้าน ที่จำเป็นต้องประจำอยู่ในร้านแว่นตาทำให้เขาได้มีโอกาสเรียนรู้เรื่องราวด้านสายตา รวมถึงเริ่มมีทักษะในการตรวจวัด ตัดและประกอบแว่นสายตามากขึ้น หลังจากเวลาผ่านไป เขาก็ถูกชวนให้เข้ามาทำงานที่สำนักงานใหญ่ในตำแหน่ง HR ของบริษัท หอแว่นกรุ๊ป จำกัดและนั่นก็คือจุดที่ทำให้เขาได้มีโอกาสใช้ชีวิตอยู่ท่ามกลางข้อมูลข่าวสารด้านสายตาและการทำแว่น ถือได้ว่าเป็นก้าวแรกที่สำคัญ สำหรับการสั่งสมประสบการณ์ในฐานะที่เป็นนักทัศนมาตร ระยะเวลา 12 ปีในบริษัทนี้ค่อย ๆ หล่อหลอมให้ศราวุฒิกลายมาเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านแว่นและสายตา จนเรียกได้ว่าเป็นผู้มีความรอบรู้ที่สุดคนหนึ่งขององค์กร ศราวุฒิเริ่มต้นตั้งคำถามให้หลายคนลองสังเกตตัวเองว่า เคยเป็นกันไหม? ทำงานไปสักพักเริ่มมีอาการตาพร่า แสบตา มากไปกว่านั้นยังมีอาการปวดศีรษะ ปวดท้ายทอย คล้ายจะเป็นไมเกรน ทานยาแล้วก็ไม่หาย อาการเหล่านี้หากได้นอนพักสักหน่อยจะดีขึ้น แต่พอกลับมาใช้สายตามาก ๆ ก็วนกลับมาเป็นเช่นเดิมอีก หากเคยประสบกับสถานการณ์เหล่านี้ จำไว้ให้ดี คุณเริ่มมีปัญหาสายตาแล้ว เช็คตัวเองให้ดี! เรากำลังมีอาการ ‘ตาล้า’ หรือไม่? พฤติกรรมการใช้สายตาอาจสร้างปัญหากว่าที่คุณคิด : ศราวุฒิ กันธะ อาการตาล้า หรือ อาการตาเมื่อยคืออะไร เป็นภาวะที่เกิดจากการที่กล้ามเนื้อตาถูกใช้งานในหลาย ๆ กิจกรรมอย่างหนัก ไม่ว่าจะเป็นการจ้องจอโทรศัพท์มือถือ จอคอมพิวเตอร์ รวมถึงการอ่านหนังสือ และการทํางานฝีมือที่ต้องใช้สายตาเพ่งเพื่อสังเกตรายละเอียดเยอะๆ พฤติกรรมดังกล่าวนอกจากจะส่งผลให้กล้ามเนื้อตาล้า จนเกิดอาการตาพร่า ตาเบลอไปชั่วขณะ แล้วยังทำให้เกิดผลข้างเคียงอย่างการปวดท้ายทอย ปวดบริเวณขมับ บางรายอาจถึงขั้นเวียนหัวไปจนถึงคลื่นไส้เลยก็ได้ มองใกล้นานเกินไปเสี่ยง ‘สายตายาว’ เร็วขึ้นจริงไหม โดยปกติเมื่อใดก็ตามที่เรามองไปในระยะไกล หรือในระยะไม่ต่ำกว่า 6 เมตร กลไกการทำงานของดวงตาจะไม่ต้องทำงานหนัก เพราะไม่ต้องโฟกัส กล้ามเนื้อจึงเกิดการผ่อนคลาย แต่หากเริ่มขยับมามองในระยะใกล้ ไม่ว่าจะระยะต่ำกว่า 6 เมตร หรือเพ่งมองใกล้กว่านั้น สมองจะสั่งการให้ดวงตาปรับโฟกัสทันที เพื่อให้เกิดภาพที่ชัดเจนขึ้น เมื่อกล้ามเนื้อตาต้องทำงานโดยอัตโนมัติในลักษณะนี้บ่อยๆ จึงนำมาสู่อาการตาล้าที่คล้ายกับสัญญาณที่กำลังประท้วงว่า เราใช้งานมันหนักเกินไปแล้ว ที่จริงก่อนหน้านี้ อาการตาล้าเองก็ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่โดยส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นกับกลุ่มคน หรือกลุ่มอาชีพที่ต้องใช้สายตาอย่างหนัก หรือมีกิจกรรมที่ต้องเพ่งระยะใกล้อยู่เป็นเวลานานๆ แต่เพราะปัจจุบัน พฤติกรรมการใช้สายตาของคนทั่วไป เปลี่ยนมาจนถึงยุคสมัยที่เพียงแค่ตื่นนอน ก็ต้องรีบเช็คโทรศัพท์มือถือ ต้องจ้องจอคอมพิวเตอร์วันละหลาย ๆ ชั่วโมง ช่วงเวลาที่ตาของเราเพ่งไปที่อุปกรณ์เปล่งแสงเหล่านี้ รูม่านตาจะหดแคบลงโดยอัตโนมัติ นั่นหมายถึงเราใช้งานสายตาอย่างหนักแทบจะตลอดเวลา ต่อให้ได้นอนหลับก็ยังต้องตื่นมาใช้งานมันอย่างหนักต่อไป เช็คตัวเองให้ดี! เรากำลังมีอาการ ‘ตาล้า’ หรือไม่? พฤติกรรมการใช้สายตาอาจสร้างปัญหากว่าที่คุณคิด : ศราวุฒิ กันธะ “กล้ามเนื้อเมื่อใช้งานไปมาก ๆ ความเสื่อมสภาพก็จะยิ่งมากขึ้น อายุการใช้งานก็อาจจะยิ่งสั้นลง อย่างในกรณีของกล้ามเนื้อตา ผลที่อาจตามมาคืออาการสายตายาว หรือที่เราเรียกว่าสายตายาวสูงอายุ อาการนี้โดยปกติจะเกิดขึ้นจากการเสื่อมสภาพของกล้ามเนื้อตา ที่ทำให้เราไม่สามารถมองเห็นชัดในระยะใกล้ได้ดีเหมือนตอนอายุยังน้อย” โดยปกติแล้วอาการสายตายาวสูงอายุ จะเกิดกับคนอายุ 40 ขึ้นไป ไม่มีใครหลีกเลี่ยงได้ แต่เพราะขณะนี้พฤติกรรมของผู้คนเปลี่ยนไป แน่นอนว่าการเสื่อมสภาพย่อมมาเร็วขึ้น “กรณีที่เราพบคือ คนไข้อายุยังไม่ถึง 40 จำเป็นต้องใส่แว่นสายตายาวแล้ว อีกกรณีที่สังเกตเห็นคือ ปกติคนอายุ 40 จะมีค่าสายตายาวประมาณ +100 แต่ ณ ตอนนี้บางคนมีค่าสายตามากกว่านั้น สิ่งนี้จึงสะท้อนให้เห็นว่า สายตาของคนยุคเรากำลังเสื่อมสภาพเร็วกว่าเมื่อก่อน” Zeen เลนส์ ลดภาระกล้ามเนื้อตา ถนอมการใช้งานสายตาให้นานขึ้น หนทางบรรเทาอาการตาล้าที่ดีที่สุด คือ การพักสายตา อาจจะมองไปที่ไกล ๆ หรือไม่ก็นอนหลับพักผ่อนไปเสีย แต่ถ้าหากว่ายังไม่สามารถพักได้ อีกทางเลือกหนึ่งจึงเป็นการเสริมอุปกรณ์ช่วยเข้าไปเพื่อบรรเทาภาระการทำงานของกล้ามเนื้อตาให้ไม่ต้องทำงานหนักเกินไป เช็คตัวเองให้ดี! เรากำลังมีอาการ ‘ตาล้า’ หรือไม่? พฤติกรรมการใช้สายตาอาจสร้างปัญหากว่าที่คุณคิด : ศราวุฒิ กันธะ ซึ่ง เลนส์ Zeen คือ เทคโนโลยีใหม่จากหอแว่นที่จะเข้ามาตอบโจทย์ เรื่องของการช่วยลดภาระการทำงานของกล้ามเนื้อตา ให้ดวงตาสามารถหดเกร็งน้อยลง และผ่อนคลายขึ้น โดยเป็นมากกว่าเพียงแค่การแก้ปัญหาสายตาแบบทั่วๆไป ด้วยเครื่องมือการผลิตที่ทันสมัย ความพิเศษของเลนส์ชนิดนี้นอกจากบรรเทาอาการเพ่งมอง ก็คือความสามารถกำหนดจุดมองภาพของเลนส์ ให้เหมาะกับการขยับดวงตาของแต่ละคนได้ รวมถึงคำนวณตำแหน่งการมองตามลักษณะการสวมใส่ได้อย่างแม่นยำ และทำให้ได้เลนส์ที่เหมาะสมกับปัญหาของผู้สวมใส่แต่ละคนมากยิ่งขึ้น “กลไกการทำงานของเลนส์จะเป็นการเพิ่มกำลังบวกเข้าไปในแว่นตา เพื่อบรรเทาการเพ่งมองให้ผ่อนคลายยิ่งขึ้น ด้วยกำลังบวกประมาณ +50 ซึ่งเป็นการชดเชยแบบอ่อนๆ จนเราไม่สังเกตุด้วยซ้ำ ว่ามีการไล่กำลังสายตา จากกำลังสายตาปกติ ไปสู่กำลังสายตาแบบผ่อนคลาย ในขณะที่เรากวาดตาขึ้นลงอยู่” เลนส์ Zeen ตัวนี้จึงถูกออกแบบมาเพื่อลดอาการเพ่ง ทั้งยังออกแบบตามอิริยาบถของผู้ใช้งานโดยเจาะจง แล้วยังเพิ่มค่าสายตาเข้าไปที่บริเวณเลนส์ด้านล่างของเลนส์ ซึ่งจะอยู่ต่ำกว่ารูม่านตาราวๆ 10-14 มิลลิเมตร เพื่อให้เหมาะสมกับอิริยาบทเวลากวาดตามองใกล้ ที่ดวงตามักจะคล้อยต่ำลง

เช็คตัวเองให้ดี! เรากำลังมีอาการ ‘ตาล้า’ หรือไม่? พฤติกรรมการใช้สายตาอาจสร้างปัญหากว่าที่คุณคิด : ศราวุฒิ กันธะ

เพื่อถนอมอายุการใช้งานของดวงตาที่ยืนยาวขึ้น อย่าลืมสำรวจและใส่ใจอาการของตัวเองให้ดีเพราะหากยังไม่รีบหาวิธีจัดการเพื่อบรรเทาอาการตาล้า ก็อาจส่งผลให้ดวงตามีการเปลี่ยนแปลงเร็วขึ้น อาจจะยาวเร็วขึ้น เสื่อมเร็วขึ้น และอาการข้างเคียงต่างๆ ที่เจอก็อาจจะยิ่งรุนแรงมากขึ้นด้วย “ลองสังเกตง่าย ๆ ว่าเวลาเราเปลี่ยนโฟกัส จากมองใกล้มาไกล หรือไกลมาใกล้ กว่าจะได้ภาพที่ชัด เราใช้เวลานานกว่าเดิมหรือเปล่า ถ้าใช่ คุณมีอาการตาล้า ตาเพลียแล้ว และถ้าหากคุณมีอาการปวดหัว ปวดท้ายทอย เหมือนเป็นไมเกรนเพิ่มเข้ามาด้วย อันนี้ยิ่งแน่นอน วิธีที่สามารถแก้ไขอาการเหล่านี้ได้ดีที่สุดก็คือการพัก แต่ถ้าพักไม่ได้ ยังต้องทำงาน การมีตัวช่วยก็เป็นอีกทางออกหนึ่ง ที่อาจเหมาะสมกับคุณ” ศราวุฒิ กล่าว   ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ได้ที่ https://www.zenith.in.th/zeen หรือ https://btv.co.th/th/branch/