ทีมงาน ‘เส้นด้าย’ กับเบื้องหลัง อุปสรรค และความหวังของทีมอาสาช่วยผู้ป่วยโควิด-19 

ทีมงาน ‘เส้นด้าย’ กับเบื้องหลัง อุปสรรค และความหวังของทีมอาสาช่วยผู้ป่วยโควิด-19 
ความเหลื่อมล้ำ ไม่ได้มีแค่เรื่องรายได้ ความเหลื่อมล้ำ ไม่ใช่ปัญหาที่ควรเคยชิน  และความเหลื่อมล้ำ อาจทำให้ใครบางคนจากโลกใบนี้ไปอย่างที่ไม่ควรจะเป็น ท่ามกลางสถานการณ์ที่ประเทศไทยมีผู้ติดเชื้อโควิด-19 จากหลักพันเป็นหลักหมื่นต่อวัน คนบางกลุ่มสามารถเข้าถึงการรักษาได้ ขณะที่คนบางกลุ่มยังไม่สามารถเข้าถึงการรักษาและเยียวยาได้ทัน ปลายเดือนเมษายน 2021 กลุ่ม ‘เส้นด้าย’ จึงก่อตั้งขึ้นจากไอเดียที่ต้องการเป็นเหมือน ‘เส้น’ ให้กับคนที่ ‘ไม่มีเส้น’ ไม่ว่าจะเป็นการพากลุ่มเสี่ยงเข้ารับการตรวจ การพาผู้ป่วยเข้ารับการรักษา และการให้คำปรึกษา ผ่าน 3 ช่องทางหลัก ได้แก่ เพจเฟซบุ๊ก ‘เส้นด้าย - Zendai’ เบอร์โทร. 0 2096 5000 และกลุ่มเครือข่ายของเส้นด้ายในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ทีมงาน ‘เส้นด้าย’ กับเบื้องหลัง อุปสรรค และความหวังของทีมอาสาช่วยผู้ป่วยโควิด-19  ตลอด 3 เดือนที่ผ่านมา ทีมเส้นด้ายขยายจากกลุ่มเล็ก ๆ เป็นเครือข่ายนับร้อยคน ช่วยเหลือผู้ป่วยกว่า 2,000 คน พาผู้มีความเสี่ยงเข้าตรวจโควิด-19 ราว 5,000 คน ทั้งยังมีการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ การตั้งคำถามถึงปัญหาเชิงโครงสร้าง และร่วมมือกับหน่วยงานรัฐบางแห่ง ไปจนถึงการแจกจ่ายอาหารให้กับผู้ที่เดือดร้อน  ชวนมาฟังเบื้องหลัง อุปสรรค และความหวังในช่วงวิกฤตโควิด-19 จากมุมมองของทีมงานเส้นด้าย ผ่านบทสนทนากับตัวแทนอาสาสมัครทั้ง 4 คน ได้แก่ เจตน์-ภูวกร ศรีเนียน ผู้ร่วมก่อตั้งเส้นด้าย, แก้ว-กุลนัฐญ์ ปาละกะวงศ์ อาสาสมัครคอลเซ็นเตอร์, วู้ดดี้-ชยพล สท้อนดี อาสาสมัครงานฉุกเฉิน และ วุธ-วีรวุธ รักเที่ยง อาสาสมัครดูแลภาพรวมพื้นที่ลาดกระบัง   เส้นของคนที่ไม่มีเส้น  เจตน์-ภูวกร ศรีเนียน ผู้ร่วมก่อตั้งเส้นด้าย เล่าว่าทีมอาสาสมัครนี้เริ่มมาจากงานศพของ อัพ-กุลทรัพย์ วัฒนผล ซึ่งไม่สามารถเข้ารับการรักษาได้ทันจนเสียชีวิต เจตน์จึงร่วมมือกับ คริส โปตระนันทน์ และอุ๋ย-กุลเชษฐ์ วัฒนผล พี่ชายของอัพ ก่อตั้งกลุ่ม ‘เส้นด้าย’ ขึ้น ทีมงาน ‘เส้นด้าย’ กับเบื้องหลัง อุปสรรค และความหวังของทีมอาสาช่วยผู้ป่วยโควิด-19  หลังจากนั้นทีมงานจึงค่อย ๆ ขยับขยายเป็นหลักสิบ ไปจนถึงหลักร้อย แต่ยิ่งสถานการณ์รุนแรงขึ้นในเดือนกรกฎาคม ยิ่งทำให้มีสายโทรฯ เข้ามาเฉลี่ยต่อวันราว 2,000-3,000 สาย ขณะที่ทีมอาสาคอลเซ็นเตอร์มีเพียง 10-15 คนเท่านั้น จึงมีผู้ขอความช่วยเหลือตกหล่นไปบางรายหรือเกินกำลังที่ทีมเส้นด้ายจะรับไหว เช่นเดียวกับงานฉุกเฉินที่บางคนต้องผันตัวจากการรับ-ส่งผู้ป่วย มาปฐมพยาบาลเบื้องต้นเพื่อยื้อชีวิตให้ผู้ป่วยรอดก่อนไปถึงมือแพทย์ ฉะนั้นทีมเส้นด้ายจะสามารถดูแลระหว่างการประสานงานได้ในระดับหนึ่ง แต่ไม่สามารถรองรับผู้ป่วยฉุกเฉินได้ครอบคลุมเท่าหน่วยงานที่มีแพทย์ประจำอยู่ หรือเตรียมพร้อมเคสฉุกเฉินอย่าง 1669 ทีมงาน ‘เส้นด้าย’ กับเบื้องหลัง อุปสรรค และความหวังของทีมอาสาช่วยผู้ป่วยโควิด-19  ทีมงาน ‘เส้นด้าย’ กับเบื้องหลัง อุปสรรค และความหวังของทีมอาสาช่วยผู้ป่วยโควิด-19  สู่เส้นด้ายที่รั้งลมหายใจสุดท้าย วู้ดดี้-ชยพล สท้อนดี คือหนึ่งในทีมฉุกเฉินเล่าถึงสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปในช่วงหนึ่งเดือนให้หลังนี้ว่า “มีบางคืนที่เราเจอผู้ป่วย เราปฐมพยาบาลเขาเบื้องต้น จนเขาสามารถที่จะหายใจได้ด้วยตัวเอง แล้วเราก็ออกรถ ตอนนั้นประมาณเที่ยงคืน ออกรถกันถึงตีสามตีสี่ ไปเคาะตามโรงพยาบาล ไล่ตามโรงพยาบาลตามสิทธิ์ โรงพยาบาลรัฐ ถามเขาไปทีละคน เอาคลิป เอาภาพ เอาอาการทุกอย่างให้เขาดู คุยกับหมอพยาบาลว่าเขาพอที่จะเปิดช่องรับให้สักนิดได้ไหม คือการหวังไปตายดาบหน้าอย่างเดียวเรื่อย ๆ เลย “ส่วนใหญ่จะสามารถประสานหาได้ทันนะครับ คือพอมันวิกฤตจริง ๆ มันจะยังมีช่องทางอยู่แหละ เราไม่เคยปล่อยให้ตัวเองถึงทางตัน มันต้องมีใครสักคนที่ยังมีเตียงว่างอยู่ มันต้องมีผู้ป่วยสักคนที่สักโรงพยาบาลแหละ ที่ถูก discharge ออกมาพอดี แต่เราจะไม่เจอถ้าเกิดเรายอมแพ้  “มันก็เลยทำให้เราต้องไปต่อ เพราะไม่รู้ว่าเราจะกลับบ้านไปนอนยังไง ถ้าเกิดเราทิ้งให้ใครสักคนหายใจพะงาบ ๆ อยู่ที่บ้าน” ทีมงาน ‘เส้นด้าย’ กับเบื้องหลัง อุปสรรค และความหวังของทีมอาสาช่วยผู้ป่วยโควิด-19  มากกว่าตัวเลขผู้ป่วย ผลกระทบที่เกิดขึ้นยังรวมถึงคนจำนวนมากที่ประสบปัญหาทางการเงินซึ่งแก้วเล่าถึงประเด็นนี้ว่า “ไม่ใช่มีแค่คนที่เป็นโควิด-19 นะคะ ปัญหาหลัก ๆ เลยคือตอนนี้คนไม่มีกิน เพราะว่าคนไทย หาเช้ากินค่ำเยอะ พอไม่ได้งานทำก็ไม่มีเงิน พอพ่อแม่ไม่มีงานทำก็ไม่มีเงินให้ลูก ไม่มีเงินซื้อข้าว ซื้อนมก็โทรฯ มาขอ เราช่วยได้ก็ช่วย “เขาเดือดร้อนอยู่แล้วแหละที่เขาโทรฯ มาหาเรา เราก็ให้เขาคลายกังวลก่อน พยายามฟังเขาก่อน ค่อยมาแก้ปัญหาช่วยเขา ถึงเราจะแก้ไม่ได้ทั้งหมด แต่เราก็ช่วยแนะนำ บางทีเขาโทรฯ มา เขาไม่ได้ต้องการอะไรเลย เขาต้องการแค่คำแนะนำ เพราะว่าโทรฯ ไปหาใครไม่ได้ ปรึกษาใครไม่ได้” ทีมงาน ‘เส้นด้าย’ กับเบื้องหลัง อุปสรรค และความหวังของทีมอาสาช่วยผู้ป่วยโควิด-19  ทีมงาน ‘เส้นด้าย’ กับเบื้องหลัง อุปสรรค และความหวังของทีมอาสาช่วยผู้ป่วยโควิด-19  ย้อนไปยังรากของปัญหา “ถ้าย้อนไปคือมันเป็นเรื่องที่ผ่านมาแล้ว จริง ๆ ประเทศเราควรจะมีวัคซีนที่ดีและมากพอเร็วกว่านี้ มันควรจะมีสิ่งนี้พร้อมไว้ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ...เราควรจะเตรียมงบประมาณสร้างสถานพยาบาลรองรับไว้ล่วงหน้ากว่านี้ พอไม่มีสิ่งนั้น มันจึงเดินมาสู่ในสถานการณ์ที่เขื่อนมันแตก” เจตน์เล่าย้อนถึงจุดเริ่มต้นของปัญหาที่ไม่ได้เตรียมความพร้อมไว้ตั้งแต่ต้น จำนวนเตียง อุปกรณ์ และบุคลากรทางการแพทย์จึงเริ่มมีน้อยกว่าจำนวนผู้ป่วยในอัตราส่วนที่น่าเป็นห่วง ซึ่งนอกจากเรื่องวัคซีนแล้ว ในแง่การตรวจหาเชื้อโควิด-19 โดยเฉพาะการตรวจเชิงรุกนั้นยังไม่ทั่วถึง ส่วน Antigen Test ก็นับว่าราคาสูงสำหรับหลายครอบครัว จนทำให้ผู้ป่วยที่พลาดการตรวจ กลายเป็นสาเหตุหนึ่งของการแพร่เชื้อโดยที่ไม่รู้ตัว ทีมงาน ‘เส้นด้าย’ กับเบื้องหลัง อุปสรรค และความหวังของทีมอาสาช่วยผู้ป่วยโควิด-19  และหากมองลึกลงไปยังปัญหาเหล่านี้ สิ่งที่กลายเป็นอุปสรรคต่อการทำงาน อาจมาจากระบบราชการที่ไม่ได้รองรับสถานการณ์ฉุกเฉิน โดยเจตน์ให้มุมมองในประเด็นนี้ว่า “หน่วยงานหลัก หน่วยงานรัฐ หน่วยงานราชการไม่ใช่ความผิดของเขานะครับ กติกา กฎระเบียบงานต่าง ๆ เขาถูกออกแบบในสถานการณ์ปกติ  ไม่มีใครคิดล่วงหน้าว่าจะเกิดเหตุการณ์มหันตภัยไวรัสแบบนี้ ...พอเกิดสถานการณ์นี้ขึ้น ผู้ปฏิบัติงานในระดับปฏิบัติงานจึงยังจำเป็นจะต้องรักษากฎระเบียบในหน่วยงานตัวเองอยู่ เพราะฉะนั้นสิ่งนี้จึงเป็นอุปสรรคต่อการทำงานครับ” เช่นเดียวกับวุธที่มองว่า หากหน่วยงานรัฐสามารถตัดบางขั้นตอน ก็อาจทำให้การดำเนินงานรวดเร็วขึ้นได้ อีกทั้งการเข้าใจปัญหาของผู้มีอำนาจนั้นควรมีมากกว่าตัวเลขสถิติของผู้ป่วยและผู้เสียชีวิต แต่เป็นการเข้าใจถึงสถานการณ์หน้างานที่มีรายละเอียดยิบย่อยและต้องสัมผัสจากพื้นที่จริง “คุณต้องออกนอกกรอบ เดินเข้าไปในเส้นทางที่มันไม่เคยได้เดินเข้าไป ไปในรูปแบบที่ไม่ได้มีลูกน้องเป็นคน set up ไว้ให้ ถ้าอย่างนี้ถึงจะเข้าใจ หรือถ้าจะใช้ประโยชน์จากหน่วยงานที่เขาทำอยู่แล้ว อย่างกลุ่มที่ผมทำอยู่ เสียงสะท้อนพวกนี้ใช้ประโยชน์ได้ เพราะว่าเราคุยกับผู้ป่วยจริง เราพบกับปัญหาจริง ๆ แต่เราไม่แน่ใจว่าเสียงสะท้อนพวกนี้เข้าไปถึงบ้างหรือเปล่า”   การก้าวผ่านโรคระบาดและม่านหมอกแห่งความกลัว ปัญหาหนึ่งที่อาสาสมัครพบระหว่างการทำงานคือคนจำนวนมากยังไม่มีความเข้าใจ ทั้งอาการของโรคโควิด-19 การรับมือ การปฏิบัติตัว รวมถึงสถานการณ์ปัจจุบันที่เข้าขั้นวิกฤต แก้วจึงย้ำเตือนให้ทุกคนไม่ตื่นตระหนกจนเกินไป เพราะโควิด-19 เป็นโรคที่สามารถรักษาให้หายและป้องกันการติดเชื้อได้  ทีมงาน ‘เส้นด้าย’ กับเบื้องหลัง อุปสรรค และความหวังของทีมอาสาช่วยผู้ป่วยโควิด-19  ฉะนั้นขั้นแรกคือการตั้งสติ สังเกตอาการ และหากติดเชื้อต้องเข้าไปลงทะเบียนเพื่อให้ชื่ออยู่ในระบบ เพราะก่อนส่งตัวผู้ป่วยสู่โรงพยาบาล จำเป็นต้องทราบโรงพยาบาลที่ผู้ป่วยมีสิทธิ์รักษาก่อน “อันดับแรกเลยคือเข้าไปลงทะเบียนของ สปสช. (สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ) เพื่อที่ให้รายชื่อเราเข้าระบบ เพื่อให้รู้ว่าเรามีสิทธิ์ 30 บาท หรือสิทธิ์ประกันสังคม พอรายชื่อเข้าไปในระบบปุ๊บ โรงพยาบาลสิทธิ์ของเรา เขาจะทำหน้าที่ส่งยามาให้ โดยมีแพทย์อาสาโทรฯ หาเราก่อนภายใน 48 ชั่วโมง  “แต่ถ้ายังไม่มีเจ้าหน้าที่โทรฯ หา เราก็สามารถโทรฯ ไปตามสิทธิ์ได้ที่ 1330 คือตอนนี้เขาจะให้ข้อมูลของทุกคนที่เป็นโควิด-19 มารวมอยู่ที่เดียวกัน คือของ สปสช. จะได้แยกสิทธิ์ของผู้ป่วยได้ ถ้าเป็นคนต่างชาติ ก็ลงทะเบียนได้เหมือนกัน โดยใช้หมายเลข passport ค่ะ” นอกจากความรู้เรื่องโควิด-19 แล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญคือความเข้าใจสถานการณ์ปัจจุบันว่าเข้าขั้นวิกฤต ซึ่งการยอมรับความจริงข้อนี้ ไม่ได้หมายถึงการยอมแพ้และทำให้เกิดความหวาดกลัว หากเป็นการยอมรับปัญหาและชี้แผลเพื่อให้แก้ไขได้ถูกจุดอย่างที่เจตน์กล่าวว่า “คือความจริงมันก็ต้องบอก ...ถ้าสังคมเราอ่อนแอที่จะหวาดกลัวความจริงจนเกินไป จนตื่นตระหนก จนทำให้ทุกอย่างมันวุ่นวาย มันก็ถือเป็นความล้มเหลวของสังคมของเราที่ต้องรับร่วมกัน แต่ความจริงต้องบอกอยู่วันยังค่ำครับ” ส่วนวุธมองว่าการที่รัฐบาลไม่ได้ออกมายอมรับปัญหาและชี้แจงถึงแนวทางแก้ไขอย่างชัดเจนตามความเป็นจริง ทำให้รัฐไม่สามารถสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้คนบางส่วน  ทีมงาน ‘เส้นด้าย’ กับเบื้องหลัง อุปสรรค และความหวังของทีมอาสาช่วยผู้ป่วยโควิด-19  “คือผมเข้าใจว่ามันเป็นเรื่องของศรัทธาด้วยนะ เขาไม่เชื่อมั่นอีกต่อไป บอกให้เขากักตัว บอกให้เขาจำกัดนู่นนี่นั่น จากจำกัดการใช้ชีวิตของเขาเอง แต่ทั้งหมดทั้งปวง เขารู้สึกเหมือนกับว่าเขาถูกกระทำอยู่ฝ่ายเดียว เขาเป็นคนที่ต้องเปลี่ยนตัวเองอยู่ฝ่ายเดียว ผมอยากจะได้ยินที่ผู้ใหญ่ออกมาบอกว่า เฮ้ย! ฉันผิดพลาดอะไรไปบ้าง เพื่อเรียกศรัทธาของคนออกมาให้ได้  “กลุ่มเส้นด้ายเราเริ่มมีหน่วยงานหลาย ๆ หน่วยงานเข้ามาจับมือกันโดยที่เราวางพรรคการเมืองวางสีไว้ก่อน ภาพนี้มันเกิดขึ้นไปแล้วกับกลุ่มกลุ่มหนึ่ง แต่เราไม่เห็นภาพของผู้ใหญ่ที่ออกมายอมรับว่า ผมตัดสินใจพลาด 1-2-3-4 แล้วหลังจากนี้ เพื่อที่จะแก้ไข ผมอยากจะทำแบบนี้ อยากจะให้ทุกคนร่วมมือ ผมเชื่อว่าคนไทยจะยอม  “แม้กระทั่งวัยรุ่นหรือกลุ่มไหนก็แล้วแต่ ทุกกลุ่ม ทุกสี ถ้าเพียงผู้ใหญ่ออกมาสารภาพว่า เฮ้ย! สถานการณ์บ้านเมืองเราตอนนี้เป็นแบบนี้ แพทย์ที่เขาทำงานกันล้าจนเขาไม่ไหวแล้วเนี่ย เขาก็พร้อมที่จะเอาพลังของเขาลุกขึ้นมาสู้อีกเหมือนกัน ถ้ามันรวมเป็นหนึ่งได้ ผมว่ามันจะผ่านไปได้ดีกว่านี้ แต่จากการสื่อสารของรัฐ ณ ตอนนี้ ช่วย ๆ กันก็ช่วย ๆ กัน มันเป็นลักษณะเหมือนกับว่า พวกคุณแม่งไม่ช่วยนี่หว่า แต่คนก็มองว่า เฮ้ย! รัฐ คุณเป็นคนพลาด ฉันสู้กันมาแล้ว”   ความหวังและหนทางที่เป็นไปได้ “งานอาสาคือสิ่งที่เกิดขึ้น เพราะความบกพร่องของโครงสร้างของรัฐ ถ้ารัฐสามารถที่จะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำโครงสร้างทุกอย่างอย่างดี คนสามารถเข้าถึงการรักษาได้ คนสามารถเข้าถึงจุดตรวจได้ มันจะไม่ต้องเกิดหน่วยงานอาสาต่าง ๆ นี้ขึ้นมาเลย แม้แต่อาสากู้ภัยต่าง ๆ “มันคือการที่เราแค่มาแปะรอยรั่วไว้ชั่วคราวเฉย ๆ เพื่อให้ไม่ให้เกิดความเสียหายไปมากกว่านี้ แต่ระหว่างนี้ คนที่มีอำนาจรับผิดชอบก็ควรจะต้องตื่นตัวพอที่จะมาแก้ไขปัญหาอย่างนี้อย่างยั่งยืนเหมือนกันครับ” แม้วู้ดดี้จะมองว่างานอาสาเป็นเหมือนการอุดรอยรั่ว และไม่สามารถแก้ปัญหาได้ในระยะยาว อีกมุมหนึ่งเจตน์มองว่างานเหล่านี้ก็เปรียบเสมือนความหวังว่า หากองค์กรหรือทีมงานเล็ก ๆ สามารถทำได้ ผู้มีอำนาจก็สามารถนำโมเดลนี้ไปปรับใช้เพื่อการแก้ปัญหาได้เช่นเดียวกัน “ถ้าเป็นรูปธรรมที่สุดก็คือการมาของแพทย์ชนบทรอบล่าสุด นี่คือเรียกว่าเป็นแสงสว่างแห่งความหวังนะครับ โมเดลนี้ช่วยได้มากจริง ๆ มันก็ยังคงมีการสูญเสียแหละครับ ยังมี แต่เราเห็นแล้วแหละว่า ตรวจเร็ว ตรวจเยอะ จ่ายยาเร็ว รีบจัดระเบียบสถานพยาบาล คนที่สีเขียวอยู่บ้านไม่ต้องไปโรงพยาบาล สถานพยาบาลรอสำหรับอันตรายฉุกเฉิน ผู้ป่วยเปราะบาง คนท้อง คนติดเตียง เด็กเท่านั้นรีบปรับตัวสิ่งนี้ให้ได้ภายในสองเดือน ทุกอย่างจะค่อย ๆ ดีขึ้นตามลำดับครับ ทีมงาน ‘เส้นด้าย’ กับเบื้องหลัง อุปสรรค และความหวังของทีมอาสาช่วยผู้ป่วยโควิด-19  “โควิด-19 จะยังไม่หมดไปจากโลกใบนี้ง่าย ๆ เพียงแต่มันจะปรับลดไปเป็นโรค หรือว่าเป็นอะไรที่อยู่คู่กับสังคม วันหนึ่งวัคซีนถึงจะมาช้า มันก็จะมา จนเราทยอยได้รับกันพอสมควร แล้วเราก็จะอยู่ในลักษณะที่มันก็จะอยู่คู่กับเรา แล้วสังคมก็จะเริ่มกลับมาปกติ “อันดับแรกคือเข้าใจ เข้าใจให้มากกับโควิด-19 ถ้าสมมติตัวท่านเองอายุไม่อยู่ในเกณฑ์เสี่ยง ไม่ติดโรค ไม่อยู่ในโรคเสี่ยง ถ้ายังไม่รับเชื้อก็อย่ารังเกียจคนที่รับเชื้อจนเกินไป ใส่หน้ากากอยู่ห่างสองเมตร ไม่ติดแน่นอน ทางการแพทย์ออกมาบอกแล้วว่าเป็นศูนย์นะครับ  “อันดับสองก็คือ เส้นด้ายนี่เป็นโมเดลให้ผู้มีอำนาจจริง ๆ ตัวจริงดูว่า คนเรามีแค่นี้ เราทำได้แค่นี้ เรายังทำได้ขนาดนี้ ถ้าผู้มีอำนาจทำได้จริง ๆ มีความตั้งใจ หรือมุ่งที่จะทำ หรือมีพลังใจที่จะทำจริง ๆ โดยไม่มีเงื่อนไขอื่น หรือองค์ประกอบอื่นด้านหลัง ผมว่าทุกอย่างจะไม่แย่ขนาดนี้ครับ” ทีมงาน ‘เส้นด้าย’ กับเบื้องหลัง อุปสรรค และความหวังของทีมอาสาช่วยผู้ป่วยโควิด-19  ทีมงาน ‘เส้นด้าย’ กับเบื้องหลัง อุปสรรค และความหวังของทีมอาสาช่วยผู้ป่วยโควิด-19