‘ป้ายต่อความสุข’ ส่งรอยยิ้มคืนสู่สิ่งแวดล้อม..ต่อชีวิตให้ชุมชน

‘ป้ายต่อความสุข’ ส่งรอยยิ้มคืนสู่สิ่งแวดล้อม..ต่อชีวิตให้ชุมชน

โครงการ ‘ป้ายต่อความสุข’ สิ่งดี ๆ ที่ส่งรอยยิ้มคืนสู่สิ่งแวดล้อม..ต่อชีวิตให้กับชุมชนกลับมามีชีวิตอีกครั้งหนึ่ง

ภาพรถติดในวันที่ฝนตกหนัก ภาพน้ำท่วมขังบริเวณที่เราขับผ่าน ภาพแสงไฟจากรถยนต์ที่ติดชะงัก สารพัดความทุลักทุกเลจนทำให้เรารู้สึกว่าชีวิตในเมืองมันแสนยากลำบาก สิ่งเหล่านี้เป็นเพียงยอดน้ำแข็งของปัญหาส่วนหนึ่ง ที่เรามองเห็นผ่านสื่อโซเซี่ยลต่าง ๆ แต่เราอาจลืมมองไปปัญหาที่ซ่อนอยู่อย่างคนในชุมชนซึ่งไม่ได้อยู่บนตึกสูง หรือไม่ได้มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความมั่นคงว่าพวกเขาต้องอยู่กันอย่างไร อย่าง ชาวชุมชนเฟื่องฟ้า เขตประเวศ เพราะทันทีที่ได้เข้าไปยังชุมชนนี้ เราจะได้พบเห็นบ้านเรือนที่สร้างจากแผ่นสังกะสีผุเก่า แลดูทรุดโทรมและไม่มั่นคง ส่งผลให้คนในชุมชนเองอยู่กันอย่างลำบาก ยิ่งในเวลาที่ฝนตก

‘ป้ายต่อความสุข’ ส่งรอยยิ้มคืนสู่สิ่งแวดล้อม..ต่อชีวิตให้ชุมชน "ชุมชนของเราส่วนมากบ้านเรือนเป็นแผ่นไม้อัดเก่า ๆ ที่มุงหลังคาด้วยสังกะสี ซึ่งแต่ละหลังพอเก่าไปก็เริ่มทรุดโทรมไปตามสภาพขึ้นเรื่อย ๆ เวลาที่มีฝน ชาวบ้านแถวนี้เลยต้องอยู่กันอย่างลำบาก ซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นคนที่มีรายได้น้อย การซ่อมแซมบ้านเรือนเล็ก ๆ น้อย ๆ เลยเป็นเรื่องใหญ่มาก เพราะหากนำเงินที่ได้ไปซ่อมบ้านแล้วก็อาจไม่เหลือนำมาดูแลตัวเองเรื่องอื่น ๆ ได้”

ผุสดี ปั้นเลิศ ประธานชุมชนเฟื่องฟ้าพัฒนา เล่าให้เราฟังถึงสภาพความเป็นอยู่ของคนในชุมชนที่อยู่กันอย่างลำบากเมื่อยามถูกฝนกระหน่ำ ทำให้เกิดปัญหาเรื่องที่พักอาศัยของคนในชุมชน อย่างเช่นบ้านคุณยายหลังหนึ่งที่ต้องกางร่มถึงจะนอนได้ เพราะหลังคาบ้านมีรอยรั่วอยู่เป็นจำนวนมาก 

“เดือนที่แล้วมีพายุเข้า แล้วต้นไม้ใหญ่ล้มทับบ้านเรือนพี่น้องเราพังเสียหายทั้งหลังไปประมาณ 3 – 4 บ้าน ส่วนบ้านทางท้ายซอยก็จะเป็นบ้านไม้ชั้นเดียวจำนวนมากซึ่งมีสภาพเก่า เพราะเราอยู่กันมานาน ปัญหาของเราเลยคือสภาพบ้านเรือนในชุมชนที่ความช่วยเหลือของภาครัฐยังไม่สามารถเข้าถึงได้ในทันที เนื่องจากเป็นชุมชนที่มีไม่ครบ 100 หลังคาเรือน” 

‘ป้ายต่อความสุข’ ส่งรอยยิ้มคืนสู่สิ่งแวดล้อม..ต่อชีวิตให้ชุมชน
หากลองย้อนดูกันจริง ๆ แล้ว คราใดที่คนในชุมชนได้รับความเดือดร้อนเรื่องที่อยู่อาศัย ก็จะส่งผลกระทบกันเป็นห่วงโซ่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของรายได้ เชื่อมโยงถึงเรื่องของสภาพแวดล้อม สภาพกาย สภาพใจ ไปจนถึงสุขภาพ เรียกได้ว่าส่งผลกระทบไปในทุกมิติ

กฤตภาส โพธิ์นิ่มแดง ประธานสภาองค์กรชุมชนเขตประเวศ เสริมว่า “ชุมชนของเรายังไม่ได้รับการจดทะเบียนกับทาง กทม. ที่จะไปเชื่อมโยงกับเขตโดยตรง ด้วยระเบียบของ กทม. ไม่สามารถมาทำงานกับชุมชนของเราได้ เพราะข้อจำกัดเรื่องกฏระเบียบ ดังนั้นสิ่งแรกที่เราต้องทำคือการลุกขึ้นมาช่วยเหลือตัวเอง มองปัญหาของตัวเองก่อนแล้วเอาปัญหานั้นมาเป็นตัวตั้ง ก่อนจะหาวิธีการแก้ไขว่าจะใช้วิธีไหน เรามีทั้งเครือข่ายที่อยู่อาศัย และสภาองค์กรชุมชน เลยเลือกใช้สองทางนี้เป็นภาคีเครือข่ายเชื่อมโยงออกไป จนไปเจอกับโครงการเล็ก ๆ โครงการหนึ่งโครงการป้ายต่อความสุข”
‘ป้ายต่อความสุข’ ส่งรอยยิ้มคืนสู่สิ่งแวดล้อม..ต่อชีวิตให้ชุมชน

ในช่วงที่ฝนฟ้ากำลังเป็นปัญหาและอุปสรรคสำหรับคนในชุมชน ก็มีโครงการเล็ก ๆ โครงการหนึ่งเดินเข้ามาในแบบที่เรียกได้ว่า ถูกจังหวะ ถูกเวลา นั่นคือโครงการป้ายต่อความสุข เป็นโครงการที่เกิดขึ้นจากการที่ อินิชิเอทีฟ ประเทศไทย มองเห็นปัญหา ‘คาร์บอนฟุตพริ้นท์’ ที่เกิดจากป้ายไวนิลโฆษณาต่าง ๆ ที่ใช้แล้วถูกทิ้งไว้จนเกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม จึงคิดว่าจะนำป้ายไวนิลเหล่านั้นมาใช้ใหม่ให้เกิดประโยชน์กับสังคม โดยเฉพาะสำหรับคนในชุมชนที่มีรายได้น้อย

ดร.สร เกียรติคณารัตน์
เริ่มต้นโครงการ
โครงการป้ายต่อความสุข

“จุดเริ่มต้นมาจาก อินิชิเอทีฟ มีนโยบายสนับสนุนเรื่องของการรักษาสิ่งแวดล้อม การลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ให้กับทั่วโลก ด้วยการที่ media planning เอง สามารถเลือกสื่อที่ทำให้เกิดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ที่น้อยที่สุดได้ จากจุดเริ่มต้นตรงนี้ทำให้เราอยากจะต่อยอดจากสิ่งที่วิชาชีพของเรามีอยู่ แล้วเอาพลังที่เรามีช่วยเหลือคนข้าง ๆ หรือมาดูแลสิ่งแวดล้อม ก็เลยเป็นประเด็นจุดประกายมาว่ามี waste อะไรบ้างจากการใช้สื่อ ก็ได้ไปเห็นว่าป้ายไวนิลว่าพอหมดประโยชน์แล้วนำไปใช้ต่อได้ น้อง ๆ ทีมงานก็เริ่มเข้ามาศึกษาว่าป้ายสามารถทำอะไรได้บ้าง เราก็เลยได้รู้ว่าป้ายไวนิลนำมาทำเป็นหลังคาได้ นำเอามาใช้ใหม่ได้ไม่ว่าจะเป็นกระเป๋า หรืออุปกรณ์ของใช้ในบ้านต่าง ๆ อย่างเก้าอี้ชายหาด”

ดร.สร เกียรติคณารัตน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร อินิชิเอทีฟ ประเทศไทย เล่าให้เราฟังที่จุดเริ่มของไอเดียการนำป้ายโฆษณาไวนิลมาใช้ต่อให้เกิดประโยชน์

‘ป้ายต่อความสุข’ ส่งรอยยิ้มคืนสู่สิ่งแวดล้อม..ต่อชีวิตให้ชุมชน ‘ป้ายต่อความสุข’ ส่งรอยยิ้มคืนสู่สิ่งแวดล้อม..ต่อชีวิตให้ชุมชน จากไอเดียที่คิดมา อินิชิเอทีฟ ได้ไปปรึกษากับทางชุมชนว่ามีความต้องการมากน้อยแค่ไหน บางชุมชนเองก็มีความต้องการ ซึ่งบางชุมชนเองก็ไปเอามาใช้ต่อกันเองอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเอามาคลุมเฉย ๆ หรือใช้บังแดด เลยติดต่อไปยัง คุณพาขวัญ วงศ์พลทวี ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาดและพันธมิตรธุรกิจ ของทาง บริษัท แพลน บี มีเดีย จำกัด (มหาชน) ที่เป็นพาร์ทเนอร์กัน ว่าต้องการให้ทางแพลนบี ช่วยซัพพอร์ทในเรื่องของป้ายไวนิล ด้วยวิสัยทัศน์ที่ตรงกันในเรื่องการช่วยเหลือสังคม ทำให้ คุณพาขวัญ ตอบตกลง ซึ่งทาง แพลน บี ได้ให้ความร่วมมือด้วยการส่งทีมงานเข้ามาช่วยเหลือ พร้อมกับนำพวกป้ายที่ไม่ได้ใช้แล้ว มามอบให้กับโครงการนี้เพื่อนำมาสร้างประโยชน์ 

“เอาของที่เรามีแล้วไม่ได้ใช้ประโยชน์ นำมาก่อให้เกิดประโยชน์ต่อไปดีกว่าทิ้งไว้” คือสิ่งที่ คุณพาขวัญ บอกให้เราฟัง ซึ่งทาง แพลน บี ได้ใจดีนำหลอดไฟ LED ประหยัดพลังงานที่สามารถใช้ได้นาน เข้ามาติดให้กับชุมชนเพิ่มเติมอีกด้วย

“ทางทีมงาน อินิชิเอทีฟ ก็ได้ติดต่อไปยัง คุณองอาจ ฟูชื่น รองกรรมการผู้จัดการ บริษัทอาร์ตแอนด์เทคโนโลยี จำกัด เจ้าของแบรนด์ PINN SHOP ที่เชี่ยวชาญในเรื่องของการตัดเย็บมา 30 ปี เข้ามาให้ความรู้กับทีมงาน อินิชิเอทีฟ เพื่อมาสอนคนในชุมชน ในการนำป้ายไวนิลมาตัดเย็บทำเป็นกระเป๋า และของใช้อื่น ๆ นี่คือสิ่งที่ คุณองอาจ บอกกับเรา โดยทาง PINN SHOP ได้มาให้ความรู้กับคนในชุมชนเพิ่มเติมสำหรับการทำกระเป๋ารูปแบบต่าง ๆ เพื่อเป็นพื้นฐานในการต่อยอดของคนในชุมชนต่อไป พร้อมแนะนำผลิตภัณฑ์จากป้ายไวนิลอย่างอื่นด้วย อย่างเช่น เก้าอี้ชายหาด เป็นต้น”

สำหรับความร่วมมือของหลายภาคส่วนจนเกิดเป็นกิจกรรมแบ่งปันความสุขเพื่อสิ่งแวดล้อมในชุมชนให้ผู้คนได้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นจากโครงการ ป้ายต่อความสุข

คุณกนกวรรณ อำไพวรรณ์, คุณผุสดี ปั้นเลิศ, คุณกฤตภาส โพธิ์นิ่มแดง, ดร.สร เกียรติคณารัตน์, คุณพาขวัญ วงศ์พลทวี, คุณท็อป พิพัฒน์ อภิรักษ์ธนากร, คุณจันทนี เจริญจารุวงศ์

ส่งต่อความสุขให้ชุมชน

“โครงการนี้มาตรงกับสถานการณ์เลย เพราะฝนฟ้ากำลังเป็นปัญหาและอุปสรรคสำหรับชุมชนอย่างพวกพี่ ที่บอกว่ามีบ้านเรือนที่แบบเก่า หลังคาจะรั่ว สังกะสีเก่าจะพังอะไรพวกนี้ จะทำยังไงเงินก็ไม่มี เขาเข้ามาได้ถูกจังหวะ ถูกช่วง ช่วยในเรื่องของลดรายจ่าย ในเรื่องของซ่อมแซมบ้านไปช่วงนี้ ลดได้เลยไม่งั้นก็ต้องไปซื้อกระเบื้องใหม่ สังกะสีใหม่มาทำกัน” ผุสดี ปั้นเลิศ ประธานชุมชนเฟื่องฟ้าพัฒนา พูดให้เราฟังอย่างมีความสุขสำหรับโอกาสที่ชุมชนจะได้รับ

“การที่เข้ามาสอนทำกระเป๋าเนี่ย ช่วยให้ชาวบ้านมารวมกลุ่มมีรายได้เพิ่มขึ้น ในยุคสมัยนี้ข้าวของแพงเรื่องออมทรัพย์ทำได้ยาก เราต้องช่วยลดรายจ่าย แล้วหารายได้มาเพิ่ม การฝึกอาชีพที่เขาจะมาฝึกช่วยต่อยอดการเพิ่มรายได้เพื่อเอาไปออมทรัพย์ แม้จะไม่มากแต่ช่วยได้แน่นอน แล้วยังมีความรู้ติดตัวไปได้ อันนี้คือสิ่งที่ดี ๆ ที่พวกเราได้รับในวันนี้” พี่เล็ก กฤตภาส โพธิ์นิ่มแดง ประธานสภาองค์กรชุมชนเขตประเวศ ฉายให้เห็นภาพชุมชนที่ได้รับการส่งต่อความสุขผ่านโครงการนี้

‘ป้ายต่อความสุข’ ส่งรอยยิ้มคืนสู่สิ่งแวดล้อม..ต่อชีวิตให้ชุมชน ดร.สร เกียรติคณารัตน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร อินิชิเอทีฟ ประเทศไทย ได้ทิ้งท้ายเพื่อย้ำถึงเป้าหมายของอินิชิเอทีฟ ที่นอกจากใช้พลังและความรู้ในการเป็น media agency ช่วยบรรเทาปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัยของคนในชุมชนแล้ว ยังสามารถทำให้คนในชุมชนมีอาชีพและสร้างรายได้จนมีเงินเก็บเพื่อไปพัฒนาตัวเองต่อกับมีเงินในการใช้ชีวิตต่อไปในสังคมได้ผ่านโครงการป้ายส่งต่อความสุข

“เราไม่ได้ให้ปลาไปทานอย่างเดียว แต่เราให้เบ็ดตกปลาไปด้วย เพื่อที่จะได้ตกปลาไปได้ตลอด”