04 ส.ค. 2565 | 11:43 น.
พร้อมรีโนเวทพื้นที่แห่งการเรียนรู้ครั้งใหม่ ให้กลายเป็น Lifestyle & Learning Space สำหรับเด็กหัวการค้า ประเดิมปีการศึกษา 2565 ตั้งแต่ Student Lounge ไปจนถึงห้องปฏิบัติการสำหรับทุกคณะและสาขาวิชา ส่งเสริมการปฏิบัติจริงนอกเหนือจากตำรา ตามคอนเซ็ปต์ Practice Universityรองศาสตราจารย์ ดร.ธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า “ภารกิจการปรับภูมิทัศน์ของ ม.หอการค้าไทย ได้ริเริ่มมาตั้งแต่ยุคการบริหารงานของ รศ.ดร.เสาวณีย์ ไทยรุ่งโรจน์ อดีตอธิการบดีฯ ซึ่งมีการสร้างอาคารสัญลักษณ์และดำเนินการปรับภูมิทัศน์ที่นักศึกษานิยมใช้ โดยเริ่มต้นจากห้องสมุดของมหาวิทยาลัย และมีการปรับปรุงภูมิทัศน์ส่วนอื่น ๆ ภายในมหาวิทยาลัย ให้มีความสวยงามทันสมัยเรื่อยมา”
รศ.ดร.ธนวรรธน์ กล่าวเพิ่มเติมว่า “จากการสำรวจพฤติกรรมของกลุ่มนักศึกษาในปัจจุบันที่ยังศึกษาอยู่ในรั้ว ม.หอการค้าไทย โดยเฉพาะในระดับปริญญาตรีซึ่งเป็นกลุ่ม Generation Z พบว่าความสะดวกสบายเป็นโจทย์สำคัญของการใช้ชีวิตของเด็กรุ่นใหม่ โดยที่ขนาดพื้นที่ไม่ใช่สิ่งจำเป็นเท่ากับการเชื่อมต่อไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตที่ตอบโจทย์ สิ่งที่สำคัญไม่น้อยไปกว่าห้องเรียน คือพื้นที่ส่วนกลางที่นักศึกษาทุกคนจะได้ใช้ชีวิตอย่างผสมผสานระหว่างการศึกษาที่ควบคู่ไปกับความบันเทิง นำไปสู่แนวคิด Edutainment ซึ่งสอดคล้องกับคอนเซ็ปต์ Lets play to win และ Follow Your Dreams ทำให้โจทย์การพัฒนาภูมิทัศน์ภายในมหาวิทยาลัยฯ เต็มไปด้วยสีสันและความสนุกที่นักศึกษาจะได้ใช้ชีวิตในพื้นที่ส่วนกลาง เริ่มจากการสร้างห้อง IDE Learning Space ที่อาคาร 1 ซึ่งในอนาคตนักศึกษาสามารถมาใช้เป็นพื้นที่ Co-Working Space ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
หรือบริเวณใต้อาคาร 3 ซึ่งเป็นพื้นที่อากาศปรอดโปร่ง จึงได้มีการตกแต่งในลักษณะ Wall paint เพื่อเป็นจุดเช็คอินถ่ายภาพ พร้อมติดกระจกเพื่อให้เด็ก ๆ นักศึกษา ได้มีพื้นที่ฝึกซ้อมสำหรับการเต้น Cover dance และในพื้นที่เดียวกัน เราติดตั้ง Wall screen สำหรับเหล่าเกมเมอร์ สามารถใช้เป็นพื้นที่แห่งความสนุกร่วมกัน และยังสร้างสไลเดอร์ไว้เป็นกิมมิคของอาคารและเคยเป็นกระแสไวรัลมาแล้วในสื่อสังคมออนไลน์ จัดเป็น Entertainment space สำหรับนักศึกษาโดยเฉพาะ และบนชั้น 2 ของอาคารเดียวกันนี้ เราได้รีโนเวทเป็นพื้นที่ของสโมสรนักศึกษา ตกแต่งใหม่และแบ่งโซนพื้นที่เป็นห้อง Meeting room ห้องล็อคเกอร์สำหรับเก็บสัมภาระ และชั้น 4 ได้จัดเป็นพื้นที่สำหรับห้องจัดเลี้ยง กล่าวคือทั้งหมดของพื้นที่อาคาร 3 ทางมหาวิทยาลัย จะยกให้เป็นอาคารสำหรับกิจกรรมสันทนาการของนักศึกษา ที่สามารถใช้งานได้อย่างเต็มรูปแบบ” “การออกแบบภูมิทัศน์สำหรับมหาวิทยาลัยฯ เราอาศัยแนวคิด Design thinking ที่ผ่านกระบวนการ Social listening เพื่อสำรวจความต้องการ และทำความเข้าใจความคิดของนักศึกษา ซึ่งเป็นกลุ่มหลักที่ใช้พื้นที่ของมหาวิทยาลัยเป็นสำคัญ เจตนารมณ์อย่างหนึ่งของ ม.หอการค้าไทย มากไปกว่าการเป็นสถาบันการศึกษาสำหรับนักศึกษา หรือที่ทำงานสำหรับคณาจารย์และบุคลากรก็ดี เราอยากให้มหาวิทยาลัยฯ เป็นเสมือนบ้านหลังที่สองสำหรับทุกคน ซึ่งอบอวนไปด้วยบรรยากาศการอยู่ร่วมกันแบบครอบครัว และเป็นพื้นที่แห่งความสุขในทุกจังหวะของชีวิต” รศ.ดร.ธนวรรธน์ กล่าวทิ้งท้าย
ในปัจจุบัน ม.หอการค้าไทย ได้เดินหน้าปรับปรุงภูมิทัศน์ พัฒนาสถานที่ภายในมหาวิทยาลัยแล้วกว่า 40 จุด โดยมุ่งเน้นการเป็นพื้นที่ของสถาบันการศึกษาที่ให้ทั้งไลฟ์สไตล์และประสบการณ์การปฏิบัติงานเสมือนจริงแก่ผู้เรียน โดยเฉพาะ ห้องปฏิบัติการซึ่งมีความใกล้เคียงกับโลกการทำงานจริง อาทิ คณะบริหารธุรกิจ
ม.หอการค้าไทย ส่งเสริมการเรียนรู้ให้นักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ มีความร่วมมือในภาคธุรกิจ ทั้ง Corporate และ Startup ที่มีชื่อเสียง และทุ่มทุนสร้าง “ห้องเทรดหุ้น” ให้เด็กหัวการค้า ได้ลองปั้นพอร์ทการลงทุนควบคู่ไปกับการเรียน นอกจากนี้ ม.หอการค้าไทย ยังเป็นพื้นที่แห่งโอกาสในการสร้างคอนเนคชั่นทางธุรกิจผ่านเครือข่ายนักธุรกิจจากหอการค้าไทย และ YEC (Young Entrepreneur chamber of commerce) ซึ่งเป็นเครือข่ายนักธุรกิจรุ่นใหม่ระดับประเทศ ที่จะสร้างโอกาสการต่อยอดทางธุรกิจที่เปิดกว้าง สามารถมีธุรกิจจริงได้ อาทิ โซเชียลคอมเมิร์ซ
คณะนิเทศศาสตร์
ห้องปฏิบัติการสตูดิโอจากคณะนิเทศศาสตร์ จะเป็นพื้นที่ให้ผู้เรียนได้สัมผัสการเรียนรู้พร้อมกับการมอบประสบการณ์ด้านความคิดสร้างสรรค์ การสื่อสารและธุรกิจ เรียนให้ตรงใจ ทำงานได้ตามจริง ผู้เรียนจะได้ฝึกฝนทั้งในภาคทฤษฎีและปฏิบัติกับนักนิเทศศาสตร์มืออาชีพในโลกธุรกิจ ฝึกใช้อุปกรณ์การทำงานที่ครบครัน ใช้งานโปรแกรม Adobe ลิขสิทธิ์แท้ตลอดการเรียน หลักสูตรนิเทศศาสตร์ มี 3 กลุ่มวิชา ได้แก่ นิเทศศาสตร์การตลาดดิจิทัล, การออกแบบและผลิตสื่อดิจิทัล, ภาพยนตร์ดิจิทัล ภายใต้หลักสูตรที่นักศึกษาจะได้รับการบ่มเพาะอย่างเข้มข้น เพื่อสร้างเด็กนิเทศหัวการค้า ให้เป็นเด็กนิเทศยุคใหม่ ที่มีความคิดสร้างสรรค์และทำธุรกิจได้คณะการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมบริการ
ด้วยมติสภามหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ต้องการยกระดับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการบริการของประเทศ ม.หอการค้าไทย จึงได้พัฒนาหลักสูตรต่างๆ ที่ทำให้ผู้เรียนมีประสบการณ์การทำงานจริงจากห้องปฏิบัติการที่ทันสมัย และอาจารย์ที่มีประสบการณ์การทำงานจากภาคธุรกิจ เช่น สาขาวิชาศิลปะการประกอบอาหารและการจัดการภัตตาคาร ซึ่งมีรายวิชาที่สามารถต่อยอดสู่อาชีพเชฟได้ทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็น การออกแบบและสร้างสรรค์รายการอาหาร การผลิตเบเกอรี่ ศิลปะการทำกาแฟ (Barista) การเป็นผู้ประกอบการธุรกิจภัตตาคาร โภชนาการสำหรับการประกอบอาหาร มีห้องปฏิบัติการเพื่อรองรับการเรียนรู้ในวิชาด้านการประกอบอาหารและการจัดการภัตตาคารไว้อย่างเต็มรูปแบบ มีอุปกรณ์ที่ครบครัน ทันสมัย ออกแบบเพื่อรองรับการประกอบอาหารที่สอดคล้องกับรายวิชาต่างๆ และความต้องการของผู้เรียนเป็นสำคัญหากมีฝันอยากเป็นแอร์-สจ๊วต หรือทำงานในธุรกิจการบิน สาขาวิชาการจัดการธุรกิจการบิน ของคณะท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมบริการ สามารถตอบโจทย์ทุกความฝันด้วยวิชาที่ครอบคลุมทุกสายงานในธุรกิจการบิน เช่น การจัดการงานบริการภาคพื้น การจัดการงานบริการบนเครื่องบิน การจัดการท่าอากาศยาน ระบบการสำรองที่นั่งและการออกบัตรโดยสาร การจัดการงานบริการจราจรทางอากาศ การจัดการงานบริการขนส่งสินค้าทางอากาศ และการจัดการครัวการบิน ที่สำคัญคณะฯ มีห้องปฏิบัติการเครื่องบินจำลองที่ทันสมัยมาก เพื่อให้นักศึกษาได้มีโอกาสฝึกปฏิบัติงานในระหว่างเรียนสำหรับนักศึกษามีฝันอยากเป็นออแกไนซ์เซอร์ หรือนักจัดงานอีเว้นท์มืออาชีพ ทางคณะการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมบริการ ยังมีห้องปฏิบัติการอีเว้นท์ UTCC Event Lab ของสาขาวิชาการผลิตและการจัดการอีเว้นท์ ที่มีศักยภาพมาก สามารถเปิดให้บริการแก่หน่วยงานภายนอก โดยนักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการจัดงานอีเว้นท์ต่าง ๆ ตั้งแต่การออกแบบระบบแสง เสียง และภาพ การกำกับเวที เพื่อสร้างประสบการณ์ทำงานจริงให้แก่นักศึกษานอกจากนี้ คณะการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมบริการยังมีสาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยวและนวัตกรรมบริการ ซึ่งมีรายวิชาที่ทันสมัย ตอบโจทย์การทำงานด้านการท่องเที่ยวและการบริการทั้งในปัจจุบันและอนาคต รวมถึงมีบริษัทนำเที่ยวเพื่อให้นักศึกษาได้ฝึกปฏิบัติในระหว่างเรียน และยังมีสาขาวิชาการจัดการการโรงแรม ที่มีห้องปฏิบัติการในทุกส่วนงานของโรงแรม ทั้งส่วนหน้า ห้องพัก ห้องปฏิบัติการอาหารและเครื่องดื่ม และห้องปฏิบัติการงานแม่บ้าน
ด้าน จตุพร อุทาพร นายกสโมสรนักศึกษา ปีการศึกษา 2564 มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวในฐานะตัวแทนศึกษาเกี่ยวกับการมุมมองต่อการพัฒนาพื้นที่เพื่อสร้างสรรค์ภูมิทัศน์ของมหาวิทยาลัยฯ ว่า “องค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญในการตัดสินใจเลือกมาเรียนที่ ม.หอการค้าไทย นอกจากเรื่องของวิชาการ โอกาสและประสบการณ์ดี ๆ ระหว่างการเรียนแล้ว อีกข้อสำคัญคืออาคารสถานที่ ภูมิทัศน์ภาพรวมของมหาวิทยาลัยฯ ซึ่งถึงแม้ว่าจะเป็นมหาวิทยาลัยใจกลางกรุงเทพ พื้นที่ไม่กว้างขวาง ซึ่งเราคน Gen Z ไม่ได้มองว่าสถานที่กว้างขวางเป็นเรื่องสำคัญที่สุด แต่ส่วนใหญ่เรากลับมองเรื่องสิ่งอำนวยความสะดวก ที่เอื้อต่อไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ ซึ่งมากไปกว่าเรื่องของห้องเรียนแล้ว สิ่งที่สถานศึกษาควรให้ความสำคัญคือการสร้างพื้นที่ให้นักศึกษาได้ใช้ชีวิตอย่างมีความสุข สะดวกสบาย เต็มไปด้วยโมเม้นท์แห่งความสุขเหมือนบ้านหลังที่สอง ซึ่ง ม.หอการค้าไทย ตอบโจทย์ข้อนี้ได้อย่างชัดเจน ตั้งแต่พื้นที่ส่วนกลางที่ร่มรื่น ส่งเสริมการเรียนรู้และการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ พร้อมด้วยห้องปฏิบัติการที่ให้โอกาสการปฏิบัติงานจริงแก่ผู้เรียนในทุกคณะ ทุกสาขาวิชา และเป็นการสร้างสรรค์พื้นที่ซึ่งมาจากการฟังความเห็นของนักศึกษา ซึ่งพวกเราคือผู้ที่ใช้ชีวิตในสถานที่นั้นอย่างแท้จริง หากมีโอกาสได้แนะนำน้อง ๆ รุ่นต่อไปเรื่องการเลือกศึกษาต่อ เรื่องสถานที่เป็นอีกหนึ่งปัจจัยประกอบที่ควรให้ความสำคัญ เพราะนอกจากวิชาการ ความเชี่ยวชาญของผู้สอน สิ่งแวดล้อมและสังคมเป็นอีกส่วนที่จะทำให้เราใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขไปอีกอย่างน้อย 4 ปีการศึกษา นำไปสู่การตั้งต้นคุณภาพชีวิตก่อนลงสู่สนามการทำงานจริง ซึ่งจะเป็นสเต็ปต่อไปของชีวิตครับ”
สำหรับผู้สนใจศึกษาต่อ สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มได้ที่ LINE Official : @utcccare เว็บไซต์ www.utcc.ac.th/admission หรือติดต่อ ศูนย์รับสมัครนักศึกษาใหม่ อาคารสัญลักษณ์ (อาคาร 24) ชั้น 2 โทร 02-6976767 เปิดทำการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.30-17.00 น.