21 ม.ค. 2566 | 11:49 น.
กรุงเทพมหานคร นำโดย รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ศานนท์ หวังสร้างบุญ พร้อมกับคณะบริหารกรุงเทพมหานคร เปิด “เทศกาลภาพยนตร์กรุงเทพมหานคร ประจำปี 2566” (Bangkok Film Festival) อย่างเป็นทางการ ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ซึ่งเทศกาลจัดในช่วงสุดสัปดาห์วันที่ 20-22 ม.ค. 2566
รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ศานนท์ หวังสร้างบุญ กล่าวบนเวทีในงานพิธีเปิดว่า
“กรุงเทพมหานครมีนโยบายด้านเศรษฐกิจดีและสร้างสรรค์ดี เพื่อขับเคลื่อนและยกระดับมหานครให้เป็นเมืองยั่งยืนน่าอยู่สำหรับทุกคน รวมถึงนโยบายจัด 12 เดือน 12 เทศกาล ตลอดปีทั่วกรุงเทพมหานคร โดยเทศกาลภาพยนตร์กรุงเทพมหานคร เป็นส่วนหนึ่งใน 12 เทศกาล เพื่อปลุกกระแสให้ประชาชนมีความสนใจ มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมด้านอุตสาหกรรมภาพยนตร์ในกรุงเทพมหานครมากยิ่งขึ้น” นายศานนท์ กล่าว
ทั้งนี้พิธีเปิดเทศกาลภาพยนตร์กรุงเทพมหานครในครั้งนี้ มีคณะบริหารกรุงเทพมหานครมาร่วมงานอย่าง สมบูรณ์ หอมนาน ผู้อำนวยการสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว, สิงห์ ลิ้มพิรัตน์ รองผู้อำนวยการสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว, เยาวลักษณ์ พิมพะนิตย์ ผู้อำนวยการสำนักงานวัฒนธรรม และการท่องเที่ยว ร่วมถึงแขกผู้เกียรติในแวดวงภาพยนตร์และสารดคี รวมถึงผู้จักและผู้สนับสนุนงานอย่าง อดิศักดิ์ ลิมปรุ่งพัฒนกิจ ที่ปรึกษาพิเศษ เนชั่นกรุ๊ป, ศาสตราจารย์ สุเนตร ชุตินธรานนท์ ผู้เชี่ยวชาญประวัติศาสตร์, หม่อมหลวงปิยาภัสร์ ภิรมย์ภักดี, และยุพา เพ็ชรฤทธิ์ รัตนจันทร์ กรรมการสมาคมผู้ผลิตภาพยนตร์สารคดีไทย จากบริษัทป่าใหญ่ครีเอชั่น
ในงานยังมีการประกาศผู้ชนะรางวัลภาพยนตร์สารคดีสั้นกรุงเทพมหานคร ในหัวข้อ “เชื่อมโยงกรุงเทพมหานคร 2030” (CONNECTING BANGKOK 2030) โดยผู้ส่งเข้าประกวดทั้งนักเรียน นักศึกษา และบุคคลทั่วไปอายุไม่เกิน 28 ปี เพื่อชิงเงินรางวัลรวม 200,000 บาท ซึ่งกรรมการตัดสิน ได้แก่ ชนินทร์ ชมะโชติ นายกสมาคมผู้ผลิตภาพยนตร์สารคดีไทย, ขวัญเรือน ถาวรทวีวงษ์ Executive Director บริษัทสื่อดลใจ, ณัฐพงษ์ โอฆะพนม โปรดิวเซอร์อิสระ และอดีตบก.โต๊ะบันเทิง เนชั่นทีวี
ผลผู้ชนะรางวัลภาพยนตร์สารคดีสั้นกรุงเทพมหานคร ได้แก่
รางวัลชนะเลิศ มูลค่า 65,000 บาท ได้แก่เรื่อง Bangkok and Generation โดย อนุวัตร ด้วงบุญมา
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 มูลค่า 45,000 บาท ได้แก่ เรื่อง ภาพฝันเมืองเขียว(Dreams of a Green City) โดย นายปฏิพัทธิ์ อัคราพูนรัตน์ จาก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
รางวัลรองชนะเลิศรองอันดับ 2 มูลค่า 30,000 บาท ได้แก่ เรื่อง Hallo Bangkok โดย วิทยา ดอกกลาง
รางวัลรางวัลชมเชย 4 รางวัล ๆ ละ 15,000 บาท ได้แก่ เรื่อง Aimagination โดย วรัตต์ บุรีภักดี และ ธนพงศ์ เทพรักษ์ วรัตต์ บุรีภักดี จากมหาวิทยาลัยกรุงเทพ, เรื่อง เรื่อง Memento Melody ท่วงทำนองที่ระลึก (2022) จากทีมบุคคลทั่วไป รายชื่อทีมผู้จัดทำ 1.เอกภพ นนทภา (Director) 2.รัชนีกร บรรพโคตร (Producer) 3.ปาจรีย์ สหัสสพาศน์ (DP) 4.สิริพักตร์ แชทเทลเลียร์ (Art Director) 5.พีรพล สดทรัพย์ (Editor) 6.ชินะพงษ์ เลี่ยนพานิช (Interviewer), เรื่อง ทุบกะลาตาสว่าง โดย จรรยาพร เข็มแก้ว มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, เรื่อง 1 day trip โดย นางสาวณัฐสุดา อู่ทรัพย์, ณภัทร์ เอกคณาสิงห์, นนท์วริศ สระเสียงดี, ณัฐพงศ์ รัญทร, สวิตต์ กิตติกร, พรรษกร กัญชนะ, ศิลป์ศรุต อาจปรุ, นัยนา นาคดี จากมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
กรุงเทพมหานครให้การสนับสนุนผลักดัน Soft Power ด้าน Film ขับเคลื่อน “กรุงเทพมหานคร” สู่มหานครสร้างสรรค์ จัดเสวนา กรุงเทพ “มีดี” Creative City ตลอดทั้ง 3 วัน ณ ห้องอเนกประสงค์ ชั้น 1 และกทม.ยังสนับสนุนเยาวชนที่มาความสามารถทางด้านดนตรี น้องๆนักเรียนนักศึกษารวมตัวกันเพื่อสร้างสรรค์ผลงานเพลง เราจัดให้มีการแสดงดนตรีเยาวชนบนเวทีแห่งนี้ วันละ 2 วง ตลอดทั้ง 3 วัน และการฉายหนังกลางแปลง 3 เรื่องที่ไปไกลระดับโลก สุริโยไท (The Legend of Suriyothai), ฉลาดเกมส์โกง(Bad Genius) และ Blue Again ณ ลานหน้าหอศิลป์ฯอีกด้วย
สุดท้ายกรุงเทพมหานครมีความตั้งใจเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจการค้าภายในกรุงเทพฯ โดยออกบูธขายผลิตภัณฑ์ของดี 50 เขต ขอเชิญชวนประชาชนและนักท่องเที่ยวที่สนใจ ร่วมกิจกรรมต่างๆ ในงาน “เทศกาลภาพยนตร์กรุงเทพมหานคร ประจำปี 2566” ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 20-22 มกราคม 2566 ตั้งแต่เวลา 10.00-22.00 น