คาดการณ์ภาพรวมการจ้างงานในปี 2566
จากผลสำรวจ โดย WTW พบว่าในปี 2566 แนวโน้มอัตราการขึ้นเงินเดือนค่ าเฉลี่ยของไทยนั้นอยู่ที่ 5% ส่วนอัตราการออกจากงานโดยสมั ครใจคือ 10.9% และออกโดยไม่สมัครใจ 4.9% ทั้งนี้ 28% ของบริษัทที่เข้าร่วมการสำรวจมี แผนที่จะปรับเพิ่มจำนวนพนั กงานภายในปี 2566 โดยมีตำแหน่งที่ต้องการหลักๆ ได้แก่ งานด้านการขาย งานวิศวกรรม งาน IT และช่างเทคนิค ซึ่งตำแหน่งงาน IT นั้นถือว่าติดอันดับต้นๆ มาแล้วถึง 3 ปีซ้อน
ส่วนงานที่มาแรงและได้ค่ าตอบแทนสูงสุดคืองานในสาย Data Science และ Business Intelligence นอกจากนี้ ผู้ทรงคุณวุฒิระดับแนวหน้ าของไทยยังได้วิเคราะห์ไว้ว่าอา ชีพด้านเทคโนโลยี และDigital Marketing จะเป็นอาชีพที่ติดอันดับดาวรุ่ งในปี 2566 เนื่องจากบริษัทต่างๆ ให้ความสำคัญกับตำแหน่งงานที่ เกี่ยวข้องกับดิจิทัลอย่างมาก
ยิ่งไปกว่านั้น ผลกระทบจากสถานการณ์โควิดก็เป็ นอีกหนึ่งตัวเร่งให้องค์กรต้ องปรับตัวไปสู่รูปแบบดิจิทัลอย่ างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ปัจจุบัน องค์กรต่างๆ ต่างมุ่งเน้นไปที่การพัฒนารู ปแบบการดำเนินงานดิจิทัลให้มี
ประสิทธิภาพมากขึ้น โดยกว่า 60% ระบุว่าความสามารถในการดึงดู ดและรักษาบุคลากรด้านดิจิทัลคื อสิ่งสำคัญที่จะทำให้องค์กรเปลี่ ยนผ่านไปสู่ความดิจิทัลได้อย่ างราบรื่นมากที่สุด ซึ่งเป็นอัตราที่สูงขึ้นกว่าเมื่ อปี 2020 ซึ่งอยู่ที่ 42% และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้ นอีกเรื่อยๆ
ก้าวต่อไปของการพิจารณาสวัสดิ การ ค่าตอบแทน ให้กับคนทำงานสายดิจิทัล
ขณะนี้คือเวลาที่นายจ้างต้องลุ กขึ้นมา “คิดใหม่ทำใหม่” ในการออกแบบแพ็คเกจค่าจ้ างและสวัสดิการให้กับลูกจ้าง เนื่องจากปัจจุบัน การดึงดูดและรักษาพนั กงานในตำแหน่งงานด้านดิจิทัลถื อเป็นความท้าทายสูงสุดสำหรั บองค์กรในทุกอุตสาหกรรมและทุกภู มิภาค องค์กรในประเทศไทยจำนวนมากเริ่ มตระหนักถึงความจำเป็นที่ต้ องเสนอค่าจ้างและสวัสดิการที่ดี กว่าค่าเฉลี่ยในตลาดสำหรั บตำแหน่งงานสำคัญๆ เช่น Digital Marketing, Data Scientist และนักพัฒนาแอปพลิเคชัน
ข้อมูลที่ WTW ได้รวบรวมมาจากบุคลากรใน 41 ตำแหน่งเฉพาะทาง จากทั้งหมด 8 กลุ่มงานที่เกี่ยวกับดิจิทั ลในกว่า 200 บริษัทในประเทศไทย พบว่า ปัจจุบันมีจำนวนพนักงานในตำแหน่ งงานเฉพาะทางด้านดิจิทัลมากกว่ าปีที่ผ่านมาถึง 20% ซึ่งประกอบไปด้วยตำแหน่งเช่น Cloud Computing Engineering, Machine Learning, Full Stack Development และ Technology Product Development – Prototypes and Trials เป็นต้น
นอกจากนี้ จากการสำรวจยังพบว่าอัตราการจ้ างบุคลากรในตำแหน่งงานดิจิทั ลในเมืองไทยเพิ่มสูงขึ้นกว่าปี ที่แล้วจาก 12,937 คนเป็น 16,891 คน หรือคิดเป็น 31% โดยผู้ที่มีประสบการณ์ด้านดิจิ ทัลแบบพร้อมใช้ ไม่จำเป็นต้องผ่านการอบรมใหม่ จะมีแนวโน้มที่ได้รับเงินเดื อนสูงกว่าคนที่จบใหม่ หรือไม่มีประสบการณ์ถึง 39%-42% (ในระดับปฏิบัติการ)
ในด้านของอัตราเงินเดื อนในสายงานดิจิทัล แม้จะเป็นตำแหน่งเดียวกัน ในต่างอุตสาหกรรม เงินเดือนก็อาจแตกต่างกัน เช่น Data Scientist ระดับ Manager ในกลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยี สื่อ และเกม (Tech, Media and Gaming) ได้รับค่าตอบแทนที่สูงกว่ากลุ่ มอุตสาหกรรมทั่วไปถึง 15-20% ส่วนบทบาทการทำงานที่องค์กรต่ างๆ ขาดแคลนและมองหามากที่สุดในวั นนี้ ได้แก่ Blockchain, Agile Development & Team Collaboration และ Data Science and Business Intelligence โดยกลุ่มธุรกิจที่มีความต้ องการจ้างงานตำแหน่งเกี่ยวกับดิ จิทัลมากที่สุด ได้แก่ เทคโนโลยี สื่อ และเกม (Tech, Media and Gaming) สินค้าอุปโภคบริโภคและธุรกิจค้ าปลีก (Consumer Products and Retails) และประกันชีวิต (Life Insurance)
องค์กรต้องตอบตัวเองให้ได้ว่ าจะรักษาคนเก่า มองหาคนใหม่ หรือทำควบคู่ทั้งสองทาง
ก่อนจะดำเนินการเฟ้นหาบุคลากรที่ มีความสามารถทางดิจิทัลมาเสริ มทัพการทำงาน องค์กรจำเป็นต้องประเมินจุดอ่ อนและจุดแข็งของตัวเอง พร้อมกับต้องตอบตนเองให้ได้ว่ าแท้จริงแล้วเป้าหมายขององค์ กรคืออะไร ระหว่างการดึงดูดพนักงานใหม่ การรักษาพนักงานเก่า หรือทั้งสองอย่าง เพราะแต่ละโจทย์นั้นนำไปสู่ การดำเนินการที่แตกต่างกัน เช่น ปัจจัยที่ดึงดูดพนักงานใหม่ได้ มากที่สุด คือ เงินเดือน ชื่อเสียงขององค์กร สภาพแวดล้อมการทำงานที่ดี
ความน่าสนใจของสินค้าหรือบริ การขององค์กร และโอกาสที่บุคลากรนั้นๆ จะได้สร้างผลงานในองค์กร ส่วนปัจจัยที่จะรักษาพนักงานเดิ มให้อยู่กับองค์กรได้มากที่สุด คือ เส้นทางการเติบโตและการเลื่ อนตำแหน่งที่ชัดเจน เนื้องานที่มีความน่าสนใจ ท้าทาย และหลากหลาย เงินเดือนที่เป็นที่น่าพอใจ และโอกาสในการเรียนรู้และพั ฒนาตนเอง
งานดี เงินดี แล้วทำไมสายดิจิทัลจึงยัง Turnover สูง?
สิ่งที่น่าเซอร์ไพรส์ในข้อมูลที่ พบคืออัตราการลาออก (Turnover Rate) ของคนทำงานด้านดิจิทัลกลั บสวนทางกับดีมานด์อย่างสิ้นเชิง โดยถือเป็นหนึ่งในตำแหน่งงานที่ ครองแชมป์ลาออกมากที่สุด ด้วยอัตราการลาออกที่มากกว่าค่ าเฉลี่ยทั่วไปถึง 9% หรือคิดเป็นเกือบ 20% โดยเฉพาะงานด้าน IT Developer, Digital Marketing และ Online Community Marketing ซึ่งเหตุผลโดยท้ายที่สุดนั้นก็ เป็นเพราะองค์กรไม่ สามารถตอบโจทย์ความต้องการของบุ คลากรได้นั่นเอง
ปัจจุบัน สิ่งที่บุคลากรสายดิจิทั ลมองหาไม่ได้มีแค่เรื่องของเม็ ดเงินค่าตอบแทนที่ดีเท่านั้น แต่องค์กรยังต้องให้ความมั่ นใจกับบุคลากรได้ด้วยว่างานที่ ทำจะนำพาไปสู่การเรียนรู้อย่ างต่อเนื่อง และพวกเขาจะมีโอกาสในการพัฒนาทั กษะควบคู่ไปกับการทำงาน และรายล้อมไปด้วยคนที่เข้ าใจและพร้อมปรับตัวสู่ Digital Transformation ไปด้วยกัน ทั้งนี้ WTW ระบุว่า กลุ่มงานสายดิจิทัลของบริษั ทในประเทศไทยมักสูญเสียบุ คลากรไปเนื่องจากการแข่งขันแย่ งชิงตัวในตลาด โดยตำแหน่งงานที่มีพนั กงานลาออกสูงสุด 5 อันดับแรก
ได้แก่ Application Development (Internet/Web Application Development), Data Science และ Business Intelligence, IT Architecture (Systems Design), Digital Marketing, และ Agile / Scrum Master Project / Program Management ด้วยเหตุนี้ องค์กรและนายจ้างยุคปี 2566 จึงจำเป็นต้องตื่นตัวและคอยอั ปเดตข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งที่กลุ่ มบุคลากรสายดิจิทัลมองหาอยู่ เสมอ จึงจะสามารถโน้มน้าวให้ พวกเขาเข้ามาทำงาน และอยู่กับองค์กรในระยะยาวได้
จะเอาชนะใจคนเก่งได้ ต้องแตกต่างไม่เหมือนใคร
3 ปัญหาหลักที่องค์กรต่างๆ ต้องเผชิญระหว่างการขับเคลื่อนก ารเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล (Digital Transformation) คือ ความท้าทายในการสรรหาและรั กษากลุ่มพนักงานที่มี ความสามารถด้านดิจิทัล ความจำเป็นที่ต้องตั้ งงบประมาณการจ่ายในเชิงรุก และการออกแพ็คเกจผลตอบแทนให้สู้ กับองค์กรอื่นๆ ได้
ยุคนี้เป็นยุคที่คนเก่งเลื อกองค์กร ไม่แพ้องค์กรเลือกคน การขาดแคลนแรงงานในสายดิจิทั ลอย่างต่อเนื่องได้บีบคั้นให้ องค์กรต่างๆ ต้องปรับตัว พร้อมกับหันมาใช้แนวทางที่แตกต่ างไปจากเดิม ด้วยเหตุนี้ บริษัทต่างๆ จึงจำเป็นต้องสามารถเข้าถึงอิ นไซต์ที่ชี้ให้เห็นภูมิทัศน์ ของตลาดแรงงานด้านดิจิทัลให้ได้ โดยเฉพาะข้อมูลในเรื่องของทั กษะที่กำลังมาแรง ทักษะที่มีดีมานด์น้อยลง รวมถึงคุณค่า (Value) และผลตอบแทนที่บุคลากรสายดิจิทั ลต้องการ เช่น โอกาสในการ Training พัฒนาศักยภาพกับหลักสูตรชั้นนำ/ หน่วยงานชั้นนำ, เวลาการทำงานที่ยืดหยุ่น/กำหนดเ องได้, stock option, โอกาสทำงานในต่างประเทศ
การที่องค์กรยื่นข้อเสนอและสวั สดิการที่ตรงใจและแตกต่างจากคู่ แข่ง จะเป็นการส่งสัญญาณไปยังแคนดิ เดตว่าองค์กรนั้นตระหนักถึงศั กยภาพของพวกเขาอย่างแท้จริ งและไม่ได้ใช้สวัสดิการสู ตรสำเร็จ หรือที่เรียกกันว่า One-size-fits-all กับพนักงานทุกคน นอกจากนี้ องค์กรต้องไม่ลืมที่จะสนับสนุ นให้เกิดการพัฒนาผู้เชี่ยวชาญด้ านทรัพยากรบุคคลอย่างต่อเนื่อง และใช้เครื่องมือที่มีประสิทธิ ภาพ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่เหมาะสมกั บแต่ละตำแหน่งงานควบคู่กันไปด้ วย