28 มิ.ย. 2567 | 18:30 น.
✂️ การซ่อมจะทำให้สังคมดีขึ้นได้อย่างไร แล้วทำไมสินค้าปัจจุบันถึงพังเร็ว ซ่อมยาก?
‘Slow (Fashion) but Save (Planet)’ 🪡
ใครเคยสังเกตคุณลุงคุณป้าเปิดร้านซ่อม เย็บ ปะ เสื้อผ้า รองเท้า กระเป๋า นาฬิกา ริมข้างทางกันบ้างมั้ย แล้วรู้มั้ยว่าพวกเขาเหล่านี้คือมนุษย์รักษ์โลกที่บุกเบิกเรื่องความยั่งยืนผู้มาก่อนกาล แล้วการซ่อมดีต่อโลกยังไง?
ภูมิ - ภาคภูมิ โกเมศโสภา ที่ปรึกษาด้านความยั่งยืนอิสระและผู้อำนวยการคอมมูนิตี้รีไวฟ์ (Reviv Community) หนึ่งในผู้ก่อตั้ง Reviv (รีไวฟ์) กลุ่มคนที่ต้องการปักหมุดด้านการส่งเสริมการซ่อมและการใช้ซ้ำให้เกิดขึ้นอย่างยั่งยืนในประเทศไทย ด้วยความเชื่อที่ว่า “การซ่อมเป็นวิธีการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่ดีที่สุด” เพราะเป็นการรักษามูลค่าของทรัพยากรไว้มากที่สุดนั่นเอง
แต่การซ่อมอยู่ฝั่งตรงข้ามกับระบบเศรษฐกิจในปัจจุบันที่เร่งเร้าให้คนเกิดความต้องการซื้อขายสินค้าชิ้นใหม่อยู่ตลอด หรือ ที่เรียกว่า Planned Obsolescence ถ้าเราสังเกตจะพบว่าผลิตภัณฑ์ปัจจุบันมักมีอายุขัยสั้นลง พังง่าย ซ่อมยาก ผู้บริโภคที่ไม่สามารถซ่อมแซมได้เอง หรือ การทำให้อะไหล่หาซื้อเปลี่ยนได้ยาก เหล่านี้ล้วนเป็นกลยุทธ์ที่ผู้ผลิตคิดมาเพื่อบีบให้ต้องทิ้งและการซื้อใหม่นั้นสะดวกกว่า
สิ่งที่ ภูมิ - ภาคภูมิ และ กลุ่ม Reviv (รีไวฟ์) ต้องการผลักดัน คือการสร้างสิทธิอำนาจให้ผู้บริโภคด้วยการทำให้ภาครัฐ ภาคเอกชนส่งเสริมให้เกิด ‘นโยบายสิทธิในการซ่อม’ ด้วยการกำหนดหน้าที่ให้ผู้ผลิตรับผิดชอบในการออกแบบสินค้าตั้งแต่ต้นทางให้มีความคงทน ใช้ได้นานและรองรับการซ่อมแซม โดยเขาและทีมงานจัดทำสิ่งที่เรียกว่า ‘แบบทดสอบความซ่อมง่าย’ (Repairability Index) เพื่อให้ผู้บริโภคช่วยรีวิวและประเมินความซ่อมง่าย-ยากของผลิตภัณฑ์ตามหัวข้อเช็กลิสต์ เพื่อเก็บเป็นฐานข้อมูลนำไปส่งให้ภาครัฐเพื่อพัฒนานโบายเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ต่อไป โดยมี 3 แนวทางหลักๆ ที่ต้องการผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ได้แก่
🧵✂️ ใครที่อ่านมาถึงตรงนี้แล้วอยากหาแนวร่วมเปลี่ยนพฤติกรรมจากสายทิ้ง มาเป็นสายซ่อม ชวนสำรวจกันว่าทำไมแนวคิดการซ่อม (Repair) ถึงดีกว่าการรีไซเคิล พบกันได้ที่งานงาน ‘Be the Change’ โดย ภูมิ - ภาคภูมิ โกเมศโสภา ที่ปรึกษาด้านความยั่งยืนอิสระ ผู้อำนวยการคอมมูนิตี้รีไวฟ์ หนึ่งในวิทยากรที่จะมาแลกเปลี่ยนแนวคิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการซ่อมและใช้ซ้ำให้กลายเป็นเทรนด์กระแสหลักกับคนไทย ใน Session : 'Small Changes in Everyday Life พลังเล็กที่เปลี่ยนโลก'
✂️ การซ่อมจะทำให้สังคมดีขึ้นได้อย่างไร แล้วทำไมสินค้าปัจจุบันถึงพังเร็ว ซ่อมยาก
🌿 Be the Change ‘ยั่งยืน’ ได้เมื่อเรา ‘เปลี่ยน’
วันพฤหัสบดีที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2567
เวลา 13.00 - 17.30 น.
ณ True Digital Park (West) - Grand Hall ชั้น 3 (BTS ปุณณวิถี)
พร้อมถ่ายทอดบรรยากาศงาน Talk และการเสวนาบนเวทีผ่านช่องทางออนไลน์
ลงทะเบียนเข้าร่วมงานได้ทาง https://www.eventpop.me/e/37584?fbclid=IwZXh0bgNhZW0CMTAAAR2FfdMmiZ9T88ef-E_z64Iazn6e3YKv-O8fl6CJMec80gJIOuOZN7ZIBGQ_aem_Uh2biOeEXfU64yBK6g8k3Q