จุดประกายเยาวชน ปูรากฐานรองรับโลกยุคใหม่ผ่านสะเต็มศึกษา

จุดประกายเยาวชน ปูรากฐานรองรับโลกยุคใหม่ผ่านสะเต็มศึกษา

จุดประกายเยาวชน ปูรากฐานรองรับโลกยุคใหม่ผ่านสะเต็มศึกษา ในงาน Southeast Asian STEM Education Fair and Exposition 2023

เมื่อพูดถึงทักษะแห่งอนาคตซึ่งเป็นกุญแจสำคัญต่อการพัฒนาประเทศให้เท่าทันโลกยุคศวตรรษที่ 21 ซึ่งกำลังถูก disrupt ด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆ และต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่ไม่คาดคิดมากมายนั้น ทักษะที่ขาดไปไม่ได้สำหรับนาทีนี้คือ “สะเต็มศึกษา” (STEM) หรือการบูรณาการความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรม เทคโนโลยี และคณิตศาสตร์ โดยหลายคนมักจะเข้าใจผิดว่าทักษะดังกล่าวจะต้องเน้นด้านวิชาการเพียงอย่างเดียว แต่ความจริงแล้วสะเต็มศึกษาเป็นการเรียนรู้กระบวนการคิดแก้ปัญหาเชิงปฏิบัติเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง ซึ่งจะเป็น “ภูมิคุ้มกัน” สำคัญที่หลายประเทศต้องเตรียมพร้อมให้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงใน VUCA World หรือโลกที่ผันผวน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม
จุดประกายเยาวชน ปูรากฐานรองรับโลกยุคใหม่ผ่านสะเต็มศึกษา

หากพูดถึงเวทีสำคัญในปีนี้ที่ได้จุดประกายคลื่นลูกใหม่เพื่อพัฒนาสะเต็มศึกษาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คงจะหนีไม่พ้นงาน Southeast Asian STEM Education Fair and Exposition 2023 ที่ ศูนย์ภูมิภาคว่าด้วยสะเต็มศึกษาขององค์การรัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ศูนย์ SEAMEO STEM-ED) ได้จัดขึ้นผ่านการสนับสนุนหลักจาก บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด บริษัทพลังงานระดับโลกที่เชื่อมั่นในพลังคน ภายใต้ธีม Preparing a Prosperous Future for the Next Generation ที่สะท้อนถึงเป้าหมายสำคัญในการสร้างอนาคตเยาวชนไทยให้เข้มแข็งผ่านสะเต็มศึกษา โดยภายในงานมีทั้งหน่วยงานภาครัฐ ผู้กำหนดนโยบาย และนักการศึกษาทั้งในประเทศและต่างประเทศมากมายเข้าร่วม เพื่อเปิดแนวทางการพัฒนาทั้งระดับประเทศและภูมิภาคในบันไดขั้นต่อไป
จุดประกายเยาวชน ปูรากฐานรองรับโลกยุคใหม่ผ่านสะเต็มศึกษา

สำหรับกิจกรรมภายในงาน ได้ออกแบบให้สอดคล้องกับการยกระดับสะเต็มศึกษาด้วย 4 โปรแกรมหลัก ได้แก่ Capacity Building of Educators โปรแกรมออนไลน์แบบ interactive เพื่อเสริมสร้างศักยภาพครูผ่านการนำแนวปฏิบัติสะเต็มศึกษาไปใช้จริงในห้องเรียน โครงการพัฒนาอาชีพ STEM Career Academies โดยตัวแทนในแต่ละสายอาชีพจะขึ้นนำเสนอตัวอย่างความสำเร็จในรูปแบบ TED Talk และ STEM Education Policy Advocacy ซึ่งประกอบด้วยการสัมมนาวิชาการในหัวข้อ “What Works in STEM Education in Southeast Asian Countries” เพื่อให้ผู้มีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายและนักการศึกษา ได้แลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อเตรียมพร้อมเยาวชนสำหรับโลกการทำงานแห่งอนาคต ไปจนถึงไฮไลท์ของกิจกรรมอย่าง STEM Project Competition โครงการแข่งขันเสริมทักษะการแก้ปัญหาผ่านการบูรณาการความรู้ด้านสะเต็มอีกด้วย

จากห้องเสวนา สู่การขยายผลโมเดลสะเต็มสู่ภูมิภาค
สำหรับกิจกรรมในห้องเวทีเสวนา ได้มุ่งนำเสนอผลสำเร็จจากโครงการต่างๆ เพื่อสานต่อในระดับประเทศและภูมิภาค อาทิ Policy Forum on STEM Education ที่เน้นการยกระดับสะเต็มศึกษาสู่ระดับนโยบายผ่านการปฏิบัติที่เห็นผลจริง STEM Professional Academy ซึ่งเน้นการนำเสนอหลักสูตรด้านสะเต็ม และ STEM Career Academies ที่มุ่งเตรียมความพร้อมกำลังคนสำหรับอาชีพยุคใหม่ผ่านการผสานความรู้ด้านสะเต็มศึกษา พร้อมถ่ายทอดกรณีศึกษาจากโรงเรียนมัธยมปลาย Waipahu ในประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อเป็นโมเดลต้นแบบพัฒนาการเรียนการสอน อีกทั้งยังได้จัดบรรยายพิเศษในหัวข้อ STEM for a Prosperous Future โดย Dr George Westerman อาจารย์จากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (MIT) และผู้ก่อตั้งและนักวิทยาศาสตร์ จากสถาบัน Global Opportunity Initiative ของสหรัฐอเมริกา รวมถึงนางสาว รัญชิดา รจนากิจ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียนขอนแก่นวิทยายน ยังได้ร่วมนำเสนอมุมมองจากเยาวชน กับความต้องการด้านการพัฒนาศักยภาพผ่านระบบการศึกษาต่างๆ ที่อยากให้มีอีกด้วย

จุดประกายเยาวชน ปูรากฐานรองรับโลกยุคใหม่ผ่านสะเต็มศึกษา
STEM Project Competition ชูนวัตกรรมยกระดับคุณภาพชีวิตจากเยาวชน
ภายในงาน ได้มีการแสดงผลงานของผู้เข้ารอบการประกวด STEM Project Competition 30 ทีม ซึ่งแต่ละทีมจะได้รับเงินรางวัลมูลค่า 300 ดอลลาร์สหรัฐ อีกทั้งทีมที่ได้รับคัดเลือก 4 ทีม ยังมีโอกาสเข้าร่วมนำเสนอผลงาน ซึ่งเน้นโครงการที่ได้ บูรณาการสะเต็มศึกษามาใช้คิดค้นนวัตกรรมเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจชุมชน โดยเน้นทักษะการแก้ไขปัญหาความท้าท้ายด้านต่างๆ โดยแบ่งเป็น 3 หัวข้อ ได้แก่ ความท้าท้ายในชีวิตประจำวัน (Everyday Life Challenges) ความท้าท้ายในอุตสาหกรรม (Industry Problem/Challenge) และความท้าท้ายในโรงเรียนและชุมชน (Community & School Challenges) อีกทั้งยังมีรางวัลพิเศษสำหรับกลุ่มที่นำโมเดล Bio-Circular-Green (BCG) Economy หรือโมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนมาปรับใช้ในการแก้ไขปัญหา

เพื่อปูรากฐานรองรับโลกยุคใหม่ผ่านการต่อยอดจุดแข็งของประเทศให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะในอุตสาหกรรมแห่งอนาคต หรือ S-Curve บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด ได้มอบรางวัลพิเศษสมทบเพิ่มอีกจำนวน 300 ดอลลาร์สหรัฐสำหรับโครงการที่ตอบโจทย์ความท้าทายของโมเดลเศรษฐกิจ BCG ที่ผสานเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy) โดยโครงการจากโรงเรียนรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์ ได้ชนะเลิศผ่านการคิดค้นเครื่องพ่นสารปรับสภาพดินพลังงานแสงอาทิตย์ 2in1 เพื่อเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุนเกษตรกร พร้อมลดปริมาณขยะแบบครบทุกมิติ ผ่านการคิดวิเคราะห์ แก้ไขปัญหา และบูรณาการองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ตามแนวทาง สะเต็มศึกษาอย่างแท้จริง

จุดประกายเยาวชน ปูรากฐานรองรับโลกยุคใหม่ผ่านสะเต็มศึกษา
นายพงศกร แสนคำ อายุ 18 ปี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จากโรงเรียนรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์ หรือน้องฟอร์ด ตัวแทนนักเรียนผู้ชนะเลิศในโครงการ กล่าวถึงกระบวนการคิดค้นนวัตกรรมดังกล่าวว่า “เราเริ่มต้นไอเดียจากการมองเห็นปัญหาของเกษตรกรที่ได้ผลผลิตไม่ดีเนื่องจากสภาพดินเค็ม ซึ่งทำให้ผลผลิตน้อย และส่งผลต่อรายได้ของชุมชน ดังนั้น เราจึงได้ บูรณาการความรู้ด้านสะเต็มศึกษาเพื่อคิดนวัตกรรมแก้ไขปัญหาได้อย่างครอบคลุม โดยเริ่มต้นจากการศึกษาเกี่ยวกับดินเค็มผ่านกระบวนการสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Enquiry) และค้นพบว่าสารปรับสภาพดินเค็มจากวัสดุอินทรีย์ด้วย น้ำหมัก เป็นตัวเลือกที่เหมาะสม อีกทั้งยังสามารถลดปริมาณขยะจากการใช้เศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรและในชีวิตประจำวัน รวมถึงลดสารปนเปื้อนได้อีกด้วย นอกจากนี้ เพื่อลดต้นทุนค่าใช้จ่ายอย่างมีประสิทธิภาพ เราได้พัฒนาเทคโนโลยีเพื่อสร้างเครื่องพ่นสารปรับสภาพดินจากพลังงานแสงอาทิตย์ 2in1 โดยใช้คณิตศาสตร์ คำนวณหาประสิทธิภาพของการใช้พลังงานแสงอาทิตย์เพื่อให้ใช้งานได้สูงสุดภายในต้นทุนที่จำกัด ซึ่งเราหวังว่าการคิดค้นดังกล่าวจะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตและสร้างรายได้แก่เกษตรกรมากขึ้นต่อไป”

จุดประกายเยาวชน ปูรากฐานรองรับโลกยุคใหม่ผ่านสะเต็มศึกษา
“เราตั้งต้นไอเดียจากความท้าทายเล็กๆ ที่สามารถเกิดขึ้นได้ในชีวิตประจำวันของทุกคน แต่อาจก่อให้เกิดผลกระทบมหาศาลในวงกว้าง” Rahmadi Tri Firmansyah อายุ 16 ปี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียน SMAN1 Giri High School ประเทศอินโดนีเซีย ตัวแทนนักเรียนที่ได้รับคัดเลือกให้นำเสนอผลงานบทเวทีในประเภท ความท้าท้ายในชีวิตประจำวัน (Everyday Life Challenges) ได้กล่าวถึงโครงการ Early Warning System Flood Detector ว่า “ปัญหาอุทกภัยได้สร้างผลกระทบกับชีวิตของผู้คนในวงกว้าง โดยเฉพาะในแถบพื้นที่ Banyuwangi ในชวาตะวันออกของเรา ซึ่งสร้างความเสียหายอย่างมากต่อทรัพย์สินและอาคารบ้านเรือนของคนในชุมชน ดังนั้นเรามองว่าการคิดค้นระบบเตือนอุทกภัยล่วงหน้าเมื่อฝนตกหนักจะช่วยเตรียมความพร้อมให้ผู้คนอพยพได้ทันต่อสถานการณ์ฉุกเฉินและลดการสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินได้อย่างมาก โดยเราได้ติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ และ Ultrasonic ที่ใช้เป็นเซ็นเซอร์ในการวัดระดับน้ำและตรวจจับการสั่นสะท้อนของพื้นผิว ซึ่งเมื่อระดับน้ำอยู่ใกล้เคียงกับเซ็นเซอร์ ตัวเซ็นเซอร์ก็จะแปลงสัญญาณเป็นดิจิทัลผ่านชุดคำสั่งให้ส่งสัญญาณเตือนภัย เพื่อให้คนในชุมชนรับมือได้ทันต่อสถานการณ์ได้ทันท่วงที”

จุดประกายเยาวชน ปูรากฐานรองรับโลกยุคใหม่ผ่านสะเต็มศึกษา แน่นอนว่าการที่จะยกระดับเศรษฐกิจของชุมชนได้นั้น นวัตกรรมและเทคโนโลยีเป็นสิ่งสำคัญในการเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในอุตสาหกรรมได้ โดย James Cedrick F. Zamudio อายุ 16 ปี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนมัธยมปลายนานาชาติ Basud ประเทศฟิลิปปินส์ ตัวแทนนักเรียนที่ได้รับคัดเลือกให้นำเสนอผลงานบทเวทีในประเภท ความท้าท้ายในอุตสาหกรรม (Industry Problem/Challenge) กล่าวว่า “ประเทศของเรามักจะเกิดพายุไต้ฝุ่นบ่อย โดยในหนึ่งปีมักจะเกิดพายุไต้ฝุ่นเฉลี่ยถึง 20 ครั้ง ซึ่งส่งผลกระทบต่อผลผลิตทางการเกษตรอย่างมาก เรามองเห็นถึงปัญหาการขาดแคลนเทคโนโลยีที่ช่วยด้านเกษตรกรรม จึงได้คิดค้นนวัตกรรมที่สามารถช่วยเหลือเศรษฐกิจของชุมชน โดยลดต้นทุนการปลูกพืชเลี้ยงสัตว์ รวมถึงลดต้นทุนด้านเวลาผ่านระบบการเลี้ยงสัตว์แบบผสมผสาน (Aquaponics) หรือการปลูกพืชร่วมกับการเลี้ยงสัตว์น้ำ ดังนั้น Solar Powered SMART Arduino-Based Aquaponics System ที่ทีมได้คิดค้นขึ้นมานี้ ได้ติดตั้งเครื่องวัดระดับน้ำ รวมถึงระดับกรดและเบสสำหรับการเลี้ยงพืชและสัตว์น้ำอย่างมีประสิทธิภาพและสัมพันธ์กัน นอกจากนี้ ยังช่วยปรับสมดุลอุณหภูมิ ความชื้น และสารอาหารได้อีกด้วย โดยโมเดลต้นแบบของเรา ถือเป็นการผสมผสานเกษตรอินทรีย์ระหว่างการ ปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์เข้ากับเทคโนโลยีได้อย่างลงตัว อีกทั้งยังสามารถใช้งานได้สะดวกและมีต้นทุนต่ำ โดยเรามองว่าหากคนในชุมชนนำนวัตกรรมดังกล่าวไปใช้ได้จริง จะช่วยสร้างประโยชน์ทั้งในแง่การสร้างผลผลิตใช้เองในครัวเรือนตามวิถีเกษตรพอเพียง อีกทั้งยังช่วยเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับชุมชนอีกด้วย”

จุดประกายเยาวชน ปูรากฐานรองรับโลกยุคใหม่ผ่านสะเต็มศึกษา
จะเห็นได้ว่าองค์ความรู้ด้านสะเต็มศึกษา ล้วนอยู่รอบตัวเราตั้งแต่การแก้ไขปัญหาในระดับเล็กๆ อย่างการใช้ชีวิตประจำวัน ไปจนถึงระดับมหภาคในการเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศได้ โดยเมื่อพูดถึงการปูรากฐานรองรับโลกยุคใหม่นั้น อีกประเด็นหนึ่งที่ขาดไม่ได้คือความท้าทายด้านสิ่งแวดล้อม โดยภายในงาน บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด ได้ร่วมจัดบูธและกิจกรรมนำเสนอความความสำคัญของการเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาด (Energy Transition) ตอกย้ำพันธกิจหลักของทศวรรษถัดไปในการลดปริมาณความเข้มข้นของการปล่อยคาร์บอนในกระบวนการปฏิบัติงาน เพื่อส่งมอบพลังงานที่สะอาดขึ้น อย่างปลอดภัย และเชื่อถือได้ และการสนับสนุนประเทศไทยในการเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาด

จุดประกายเยาวชน ปูรากฐานรองรับโลกยุคใหม่ผ่านสะเต็มศึกษา
“เชฟรอนเป็นองค์กรที่ให้ความสำคัญอันดับหนึ่งกับศักยภาพพลังคน โดยเรามองว่าสะเต็มศึกษาเป็นทักษะที่สำคัญและจำเป็นต่อการพัฒนาในหลากหลายมิติ ทั้งในด้านการขับเคลื่อนนวัตกรรม การเพิ่มขีดการแข่งขันของประเทศ รวมไปถึงการสร้างสรรค์เทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อตอบโจทย์ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่โลกกำลังเผชิญ โดยเรามองว่า การจะขับเคลื่อนองค์กรสู่เป้าหมายการสร้างความมั่นคงทางพลังงานและใส่ใจสิ่งแวดล้อมได้นั้น เราต้องให้ความสำคัญกับกำลังคนที่จะมาช่วยพัฒนาในด้านนี้ด้วย ซึ่งเชฟรอนได้ให้การสนับสนุนการพัฒนาสะเต็มศึกษาอย่างต่อเนื่องผ่านโครงการ Chevron Enjoy Science ที่ได้ดำเนินมาเป็นระยะเวลา 8 ปี และในก้าวต่อไปนี้ เรายังคงมุ่งขับเคลื่อนการศึกษาไทยผ่านการเสริมสร้างขีดความสามารถเยาวชนและบุคลากรของประเทศ พร้อมขยายผลความสำเร็จของโครงการต่างๆ สู่ระดับประเทศและภูมิภาคต่อไป” นาย ชาทิตย์ ห้วยหงษ์ทอง ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด กล่าว

จุดประกายเยาวชน ปูรากฐานรองรับโลกยุคใหม่ผ่านสะเต็มศึกษา
งาน Southeast Asian STEM Education Fair and Exposition 2023 ถือเป็นก้าวเดินที่สำคัญอันจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ ผ่านการรวมพลังส่งเสริมความร่วมมือพัฒนาสะเต็มศึกษาในระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งการจะมุ่งหน้าสู่เป้าหมายการพัฒนาระบบการศึกษาให้เท่าทันโลกในศตวรรษที่ 21 นั้น ทุกภาคส่วนถือเป็นกำลังสำคัญในการฟูมฟักและเพิ่มศักยภาพเยาวชนที่จะเติบโตมาเป็นกำลังคนที่สำคัญในการพัฒนาประเทศได้ โดยผู้ที่สนใจสามารถร่วมฟังเสวนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นภายในงานได้ที่ https://www.facebook.com/SEAMEOSTEMED