26 เม.ย. 2566 | 10:38 น.
โลกโซเชียลร้อนระอุหลังพบว่าบิลค่าไฟแต่ละบ้านผิดปกติไปจากเดิม แม้บางบ้านใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าตัวเดิมและมีพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าไม่ต่างจากเดิม แต่ค่าไฟกลับพุ่งสูงขึ้นเป็นเท่าตัว อีกทั้งยังพบว่า ‘จำนวนหน่วยไฟฟ้า’ ในบิลนั้นมีตัวเลขการใช้งานเพิ่มขึ้น ทั้งบริษัทเอกชน ดารา นักแสดง หรือคนทั่วไปไม่ว่าใครก็เจอปัญหานี้ทั้งนั้น ทำให้ชาวโซเชียลหลายๆ คนตั้งข้อสงสัยว่าเกิดการทำงานผิดพลาดหรือสาเหตุที่แท้จริงมาจากอะไรกันแน่
ซึ่งนอก #เลือกตั้ง66 ที่เป็นกระแสอย่างมากบน Twitter ก็มี #ค่าไฟ ที่มีการพูดถึงมากกว่า 3,000,000 เอ็นเกจเมนต์ บริษัท ไวซ์ไซท์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้ทำการเก็บข้อมูลจากเครื่องมือ ZOCIAL EYE ระหว่างวันที่ 16-22 เมษายน 2566 พบว่า จากทุกช่องทางมีข้อความมากกว่า 25,000 ข้อความ รวมทั้งสิ้นคิดเป็นเอ็นเกจเมนต์รวมเกือบ 5,000,000 เอ็นเกจเมนต์ เฉลี่ยแล้วมีเอ็นเกจเมนต์ต่อวันมากกว่า 700,000 เอ็นเกจเมนต์ โดยเราจะเน้นวิเคราะห์ข้อมูลในแฮชแท็ก #ค่าไฟ และ #ค่าไฟแพง และข้อมูลจากทางช่องทาง Twitter เป็นหลัก เพื่อติดตามประเด็นปัญหาร้องทุกข์ที่ประชาชนประสบพบเจอโดยตรง ซึ่งความความคิดเห็นส่วนมากเป็นไปในแง่ลบ คิดเป็น 73.4% รองลงมาความคิดเห็นแบบเป็นกลาง 17.55% และในแง่บวก 9.05%
ซึ่งนอก #เลือกตั้ง66 ที่เป็นกระแสอย่างมากบน Twitter ก็มี #ค่าไฟ ที่มีการพูดถึงมากกว่า 3,000,000 เอ็นเกจเมนต์ บริษัท ไวซ์ไซท์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้ทำการเก็บข้อมูลจากเครื่องมือ ZOCIAL EYE ระหว่างวันที่ 16-22 เมษายน 2566 พบว่า จากทุกช่องทางมีข้อความมากกว่า 25,000 ข้อความ รวมทั้งสิ้นคิดเป็นเอ็นเกจเมนต์รวมเกือบ 5,000,000 เอ็นเกจเมนต์ เฉลี่ยแล้วมีเอ็นเกจเมนต์ต่อวันมากกว่า 700,000 เอ็นเกจเมนต์ โดยเราจะเน้นวิเคราะห์ข้อมูลในแฮชแท็ก #ค่าไฟ และ #ค่าไฟแพง และข้อมูลจากทางช่องทาง Twitter เป็นหลัก เพื่อติดตามประเด็นปัญหาร้องทุกข์ที่ประชาชนประสบพบเจอโดยตรง ซึ่งความความคิดเห็นส่วนมากเป็นไปในแง่ลบ คิดเป็น 73.4% รองลงมาความคิดเห็นแบบเป็นกลาง 17.55% และในแง่บวก 9.05%
เมื่อลองมาดูกระแสทั้งหมด พบว่าชาวทวิตเตอร์มีการพูดถึง 4 ประเด็นหลัก คือ
1. เหตุผลของค่าไฟแพง และสิ่งที่ต้องเฝ้าระวัง
ชาวโซเชียลหลายคนพยายามให้ความรู้เรื่องที่มาของค่าไฟแพงว่าเป็นผลจากการที่ภาครัฐบาลยุคก่อนหน้าทำสัญญาซื้อไฟฟ้าจากเอกชนรายใหญ่ และทำให้แผนการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทยนั้นล้นเกินการสำรองไปอย่างมหาศาล รัฐบาลปัจจุบันเองก็ไม่สามารถที่จะสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเพิ่มเติมไปอีก 10 ปี ภาระต้นทุนด้านพลังงานที่เพิ่มสูงขึ้นจึงตกเป็นของประชาชนซึ่งต้องเผชิญกับค่าไฟฟ้าที่แพงขึ้นทุกปี
อีกประเด็นคือ ใน 4 เดือนข้างหน้าค่าไฟฟ้าจะแพงขึ้นอีก โดยการไฟฟ้านครหลวง ชี้แจงว่าค่าไฟฟ้าผันแปร Ft เดือนพฤษภาคม-สิงหาคม จะเท่ากับ 98.27 สตางค์ต่อหน่วย ไม่รวม VAT โดยเดือนนี้ค่า Ft 93.43 สตางค์ต่อหน่วย ไม่รวม VAT โดยเน้นให้ทุกคนตรวจค่าไฟให้ดีเพราะมีหลายคนที่ตรวจสอบเลขหน่วยที่เกิดขึ้นและพบว่าผิดไปจากความเป็นจริง
2. ลดค่าไฟไม่ได้ แก้ปัญหาเองเลยแล้วกัน
แม้รัฐบาลจะแนะนำให้ประชาชนแก้ปัญหาค่าไฟแพงด้วยการประหยัดไฟและไปศึกษาธรรมะเพิ่มเติม แต่ชาวโซเชียลหลายคนก็ยังคงถือคติ ‘ปัญหาสามารถแก้ได้จากตัวเอง’ บางคนจึงผุดไอเดียประหยัดค่าไฟด้วยตนเอง เช่น ข่าวหนุ่มพิษณุโลก ตัดสินใจเรียนรู้การใช้พลังงานแสงอาทิตย์จากอินเทอร์เน็ตและพัฒนาติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์เพิ่มจนเปิดแอร์ได้ 4 ตัวและเสียค่าไฟไปเพียง 71 บาท เท่านั้น หรือนำเทคนิคการประหยัดค่าไฟแอร์ด้วยพัดลมจากประเทศญี่ปุ่นมาประยุกต์ใช้ในประเทศไทย และจากประเด็นนี้ทำให้ประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับพลังงานทางเลือกอย่างโซลาเซลล์ถูกพูดถึงอย่างมากในโลกโซเชียล
3. ประชาชนเสียค่าไฟ แต่บางบริษัทได้กำไรจากสิ่งนี้!
มีชาวโซเชียลหลายคนออกมาแสดงความไม่พอใจเหตุจากประชาชนต้องทนเเบกรับ ค่า Ft ที่เพิ่มขึ้น แต่บริษัทที่สัมปทานพลังงานนี้กลับกวาดกำไรไปมากกว่า 10,000 ล้านบาท นายทุนรวยขึ้น แต่ประชาชนจนลง
4. ถ้าคุณไม่สนใจการเมือง การเมืองจะมาหาคุณถึงหน้าตู้ไปรษณีย์
หลายคนสร้างการตระหนักรู้เรื่องค่าไฟที่แพงขึ้นว่าหากเราไม่ตื่นตัวกับเรื่องนี้ มันจะกลายเป็นปัญหาที่จ่อหน้าบ้านโดยไม่รู้ตัว โดยแนะนำว่าในการเลือกตั้งที่จะมาถึงให้เลือกพรรคที่มีการจัดการนโยบายในด้านนี้อย่างเหมาะสมและไม่สร้างภาระให้แก่ประชาชนเพิ่มเติม