28 เม.ย. 2563 | 12:12 น.
ช่วงนี้เราอาจเห็นอักษรย่อ CPTPP ผ่านตาอยู่บ่อย ๆ รวมถึงกระแสคัดค้านจากหลายภาคส่วนที่ไม่ต้องการให้ประเทศไทยเข้าร่วมเป็นสมาชิกในภาคีหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิกนี้ อธิบายง่าย ๆ เพราะแม้จะมองเห็นช่องทางขยายตลาดของสินค้าบางชนิดไปสู่ประเทศอื่น ๆ ที่เป็นสมาชิกอยู่ใน CPTPP แต่เมื่อลองสังเกตข้อตกลงก่อนเข้าเป็นสมาชิกที่ทำให้ไทยจำเป็นต้องแก้กฎหมายบางฉบับ ก็ทำให้หลายฝ่ายมีความกังวลว่าจะเกิดผลกระทบต่อภาคธุรกิจบริการ การเกษตร และระบบสาธารณสุข โดยเฉพาะประเด็นสิทธิเมล็ดพันธุ์พืช และการคุ้มครองสิทธิบัตรยา หลายฝ่ายมองว่า สำหรับประเทศไทยซึ่งมีภาคการส่งออกสินค้าเกษตรเป็นหนึ่งในธุรกิจหลัก การตัดสินใจครั้งนี้อาจได้ไม่คุ้มเสีย ด้วยกระแสในโลกออนไลน์ที่พูดถึงประเด็นนี้อย่างเผ็ดร้อน ทำให้ในที่สุด จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ต้องถอนเรื่องนี้ออกจากการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี พร้อมบอกว่า จะไม่เสนอเรื่องนี้เข้าสู่ที่ประชุม ครม. อีก ตราบใดที่สังคมยังมีความเห็นขัดแย้งกันอยู่ The People พูดคุยกับ วิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ ผู้อำนวยการมูลนิธิชีววิถี หรือไบโอไทย เพื่อทำความเข้าใจข้อกังวลดังกล่าว และพบว่า แม้ CPTPP จะเป็นข้อตกลงเขตการค้าเสรี ที่หากไทยอยากจะเข้าร่วมก็ต้องเปลี่ยนแปลงกฎหมายหลายประเด็น แต่สิ่งที่ส่งผลกระทบต่อภาคเกษตรกรรมของไทยมากที่สุด คือ อนุสัญญาคุ้มครองพันธุ์พืช หรือ UPOV 1991 ที่มูลนิธิชีววิถีขนานนามไว้ว่า เป็น "อนุสัญญาโจรสลัดชีวภาพ" The People: ในมุมของคุณ UPOV 1991 เป็นโจรเพราะอะไร และกำลังจะปล้นอะไรไปจากเกษตรกรไทยบ้าง วิฑูรย์: UPOV มีชื่อเต็มอย่างเป็นทางการ คือ อนุสัญญาระหว่างประเทศเพื่อการคุ้มครองพันธุ์พืชใ