05 ก.ค. 2565 | 17:44 น.
“ตอนที่ผมไปอยู่ซิลิคอน แวลลีย์ ผมชอบสิ่งหนึ่ง เขาบอกว่าเมื่อคุณลงมาที่แผ่นดินที่โน่น คุณจะได้ใบอนุญาต 2 ใบทันที permission to fail ใบอนุญาตที่จะล้มเหลวกี่ครั้ง คุณก็ยังได้รับโอกาสเสมอ กับ permission to change the world และทุก ๆ คนไม่ว่าคุณจะเป็นใคร คุณไม่จำเป็นต้องยิ่งใหญ่มาจากไหน คุณก็สามารถฝันอะไรที่ยิ่งใหญ่ และคุณก็สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ตามที่คุณเชื่อได้”
จากวัยเด็กที่ตื่นตี 4 ทุกวันเพื่ออ่านหนังสือ จนกลายเป็นตัวแทนประเทศไทยไปแข่งขันฟิสิกส์โอลิมปิก สู่การเป็นหนุ่มโรงงาน, การเดินทางสู่ซิลิคอน แวลลีย์, ความสำเร็จที่ไปต่อ ความล้มเหลวที่เรียนรู้ ไปจนถึงเรื่องราวของหนังสือ 3 เล่มอย่าง The Magic of Thinking Big, Principles และ Zero to One ที่จะพาไปสู่คำตอบที่ว่า ที่มาของพลังงานอันล้นเหลือของชายคนนี้มาจากอะไร
The People : ทราบมาว่าก่อนหน้านี้ตอนเรียนจบใหม่ ๆ เป็นหนุ่มโรงงาน
เรืองโรจน์ : ผมเริ่มงานครั้งแรกหลังจากจบวิศวะไฟฟ้า จุฬาฯ เมื่อหลายปีมาแล้ว ตอนนั้นผมทำงานอยู่บริษัท Procter & Gamble ตอนนั้นผมเป็นหนุ่มโรงงาน เป็นคนปั่นแชมพูวิดัล แซสซูน แชมพูแพนทีน พวกนี้ตั้งแต่สมัยเมื่อ 25 ปีที่แล้ว ตอนนั้นผมต้องเดินทางไปนิคมอุตสาหกรรมเวลโกรว์ เป็นนิคมอุตสาหกรรมที่อยู่บางนา-ตราด กม.36 ไปกลับวันหนึ่งเกือบ 100 กิโลเมตรทุกวัน เป็นหนุ่มโรงงานมาทั้งหมด 4 - 5 ปี แล้วผมก็ย้ายมาอยู่ฝ่ายขายและฝ่ายการตลาดของบริษัท P&G เช่นเดียวกัน ก่อนที่ผมจะมาที่ Silicon Valley ผมเป็นตำแหน่ง Marketing Strategy and Planning ดูแล 2 โปรดักส์ ก็คือเฮดแอนด์โชว์เดอร์ และรีจอยส์ เป็นแชมพู 2 ตัว
แล้วหลังจากนั้นช่วงนั้นอินเทอร์เน็ตมันโผล่เข้ามามีบริษัทที่เปลี่ยนแปลงโลก คนสองคน Jerry Yang กับ David Filo ของ Yahoo จบจากสแตนฟอร์ดมา ยังไม่จบด้วย เป็นนักศึกษาปริญญาเอก เจอกันแล้วก็สร้างเว็บไซต์ที่เปลี่ยนแปลงโลกในยุคนั้นแบบมหาศาลก็คือ Yahoo แล้วเราก็เห็นโมเดลธุรกิจใหม่ ๆ ไม่ว่าจะเป็น eBay หรือว่า Amazon ก็เกิดขึ้นช่วงนั้นเช่นเดียวกัน เราก็รู้สึกว่าเราอยากเข้ามามีส่วนร่วมกับการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ ซึ่งเราเชื่อว่ามันจะเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ของโลก ไม่ใช่แค่โลกเทคโนโลยีแน่นอน ผมก็เลยลาออกจากบริษัท P&G มาเรียนที่ Stanford Business School แล้วหลังจากนั้นผมก็ทำงานที่ Google และอยู่ที่ Silicon Valley ทั้งหมด 7 ปี แล้วผมก็กลับมาที่ประเทศไทย
ตอนกลับมาที่ประเทศไทย ผมกลับมาปี 2012 ตอนนั้นความฝันของผมก็คือ bringing Silicon Valley to Thailand ความมหัศจรรย์ของ Silicon Valley มาที่ประเทศไทย และเป็นสะพานเชื่อมโยงระหว่างประเทศไทยกับ Silicon Valley แล้วก็ตอนนั้นเนื่องจากสิ่งหนึ่งที่ผม passionate มาก ๆ ผมเชื่อมั่นและผมชอบมาก ๆ มันคือเรื่องของ startup ตอนผมกลับมาปุ๊บ เรื่องของ startup เป็นเรื่องใหม่มาก ๆ พูดไปไม่มีใครเข้าใจ แต่นั่นคือสิ่งที่ผมเชื่อ ผมก็เปิดโรงเรียนสอนผู้ประกอบการ startup ชื่อ Disrupt University แล้วก็สอนผู้ประกอบการ startup ขึ้นมา หลังจากนั้นผมก็ก่อตั้งโครงการบ่มเพาะผู้ประกอบการ โดยร่วมมือกับ dtac ชื่อ dtac Accelerate โครงการบ่มเพาะและเร่งเครื่องผู้ประกอบการ startup
แล้วหลังจากนั้น หลักการใช้ชีวิตของผมมันคือสิ่งนี้ อะไรไม่มี แต่มันต้องมี ผมก็สร้างมันขึ้นมา พอเราบ่มเพาะเสร็จปุ๊บ ปรากฏว่าเมล็ดพันธุ์ startup เหล่านี้ไม่มีเงินทุน ผมก็เปิดกองทุนเพื่อลงทุนกับผู้ประกอบการ startup เหล่านั้น แล้วเสร็จปุ๊บสิ่งหนึ่งที่ผมก็รู้สึกว่ามัน fascinating มันมหัศจรรย์มาก ๆ ในโลกของเทคโนโลยีและโลกของ startup มันคือเรื่องของ FinTech และ Financial Service และผมก็ได้มีโอกาสมารู้จักกับคุณบัณฑูร ล่ำซำ ที่ให้ผมเป็นที่ปรึกษาท่านตอนท่านยังเป็น CEO ธนาคารกสิกรไทยอยู่ และปัจจุบันผมก็เป็น Group Chairman ของ KASIKORN Business-Technology Group แล้วก็ run ตัว KBTG หรือ KASIKORN Business-Technology Group ซึ่งเป็นหน่วยงานทางด้านเทคโนโลยีของ KBank และอีกบทบาทหนึ่งผมก็ยังไม่ได้ทิ้งเรื่องของ startup ผมยังเป็นผู้จัดการกองทุน 500 TukTuks และผู้จัดการกองทุน ORZON Ventures ที่เป็นหน่วยงาน Venture Capital ที่เราจับมือกันกับ OR เพื่อทำการลงทุนใน series A กับ startup ไทยระดับภูมิภาคเพื่อสร้าง ecosystem ของ OR และนี่คือบทบาทของผมทั้งในมุมมองของ startup และมุมมองของโลกการเงิน
The People : สิ่งที่ขับเคลื่อนให้คุณกล้าก้าวสู่ระดับโลก
เรืองโรจน์ : สิ่งหนึ่งผมอยากบอกว่าสิ่งนี้มันเป็นแรงผลักดันของผม และเป็นความเชื่อของผมมาโดยเสมอ คือผมเชื่อว่าไม่ว่าคุณจะเป็นใครก็ตาม ไม่จำเป็นต้องยิ่งใหญ่มาจากไหน ไม่ต้องมีนามสกุลยิ่งใหญ่อะไร คุณก็สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ได้ นั่นคือสิ่งที่ผมเชื่อมาโดยตลอดตั้งแต่เด็ก ๆ คุณพ่อผมทำโครงการพัฒนาที่ดินแถบชนบท สิ่งหนึ่งที่ท่านทำตอนท่านเสียชีวิตปี 2019 คุณพ่อผมเขาจะเขียนไว้ในสมุดที่อยู่ตรงศีรษะเขา ตอนท่านเสียชีวิตท่านกำสมุดนั้นไว้ ในสมุดนั้นเขียนถึงความภูมิใจของท่านว่า ท่านสร้างที่ดิน พัฒนาที่ดินและชุมชน รวมทั้งชลประทาน แล้วก็โรงเรียน ให้กับ 5,000 ครัวเรือนที่ตรงชายแดนอำเภอพบพระ จังหวัดตาก นั่นคือสิ่งที่ผมเห็น เฮ้ย! คุณพ่อผมสร้างความมหัศจรรย์และเปลี่ยนแปลงชีวิตคนขนาดนั้น อุดมการณ์ตรงนั้นและความมหัศจรรย์ของการเปลี่ยนแปลงชีวิตคน มันทำให้ผมรู้สึกว่าผมอยากสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ขึ้นมาบ้าง โดยเดินตามรอยคุณพ่อของผมที่เป็นแรงบันดาลใจ
แล้วก็อีกสิ่งหนึ่งสมัยเด็ก ๆ ผมจะอ่านเรื่องราวของคนที่ดัง ๆ ระดับโลก สมัยนั้นผมอยู่จังหวัดกำแพงเพชร ผมก็จะอ่านเรื่องราวจากพวกชัยพฤกษ์วิทยาศาสตร์อะไรพวกนี้ อ่านเสร็จปุ๊บ เฮ้ย! เรื่องวิทยาศาสตร์ เรื่องเทคโนโลยี มันเป็นเรื่องมหัศจรรย์มาก ๆ ตั้งแต่สมัยนั้น เป็นเรื่องของไอน์สไตน์หรืออะไรก็ตาม แล้วผมก็เลยบอก สิ่งนี้แหละคือสิ่งที่ผมอยากทำตั้งแต่เด็ก ๆ เลย มันเป็นเรื่องวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และเรื่องของการนำ 2 สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้มาสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นให้กับสังคม นั่นคือสิ่งที่ผมเชื่อ
แต่ว่าความฝันที่ยิ่งใหญ่อย่างไรก็ตาม มันก็ย่อมมาด้วยภาระอันใหญ่ยิ่ง ยิ่งความฝันคุณใหญ่เท่าไร ยิ่งคุณมีความเชื่อที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่เท่าไร คุณยิ่งต้องพยายามมากขึ้นเท่านั้น โดยเฉพาะถ้าคุณเป็นคนที่ไม่ได้มีต้นทุนทางสังคม หรือต้นทุนทางนามสกุลหรืออะไรก็ตาม ตอนผมไปเรียนที่สแตนฟอร์ดสนุกมาก เพื่อนผมบอกว่าเฮ้ย! แกนามสกุลอะไร ผมบอกผมนามสกุลพูนผล เขาบอกว่านามสกุลแกแค่ 2 พยางค์ แสดงว่าแกต้องจนแน่เลย เพราะจำนวนพยางค์ในนามสกุลคือเลข 0 ในบัญชี ผมบอกถูกต้อง พูนผลนี่แหละ ฉันคือพูนผล นามสกุลแค่ 2 พยางค์ ดังนั้น ถ้าคุณมีความฝันที่ยิ่งใหญ่ คุณต้องมีวินัยและความพยายามที่ใหญ่ยิ่ง หลาย ๆ สิ่งในชีวิตผมมันไม่ได้มาด้วยความง่ายดายเลย
อย่างสมัยเด็ก ๆ ผมมีความฝันว่าผมอยากสอบฟิสิกส์โอลิมปิกให้ได้ ผมก็ตื่นขึ้นมาตั้งแต่ตี 4 ทุกวันเป็นเวลา 6 ปี ตื่นขึ้นมา นาฬิกาปลุกดังกริ๊งผมตบปั้ง! ในห้องนอนเล็ก ๆ ที่นอนกัน 5 คน ผมต้องรีบตบให้เร็วที่สุด เพื่อไม่ให้น้องและคุณแม่ผมตื่น ผมลุกขึ้นมาอย่างนั้นทุกวัน ตื่นตี 4 มาอ่านหนังสือทางด้านฟิสิกส์และคณิตศาสตร์ทุกวัน ไม่มีวันหยุดใด ๆ เลยเป็นเวลา 6 ปี จนสุดท้ายผมก็ได้เหรียญทองฟิสิกส์โอลิมปิกระดับประเทศเป็นคนแรกของจังหวัดกำแพงเพชร ก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ผมภูมิใจมาก ๆ อันนี้มันคือต้นทุนของความฝันของคนธรรมดา ดังนั้น ยิ่งคุณธรรมดา มีต้นทุนน้อยเท่าไร คุณยิ่งต้องใช้ความพยายาม ความมุมานะ และสิ่งที่สำคัญคุณต้องมี faith หลาย ๆ ครั้งภาษาอังกฤษเรียกว่า blind faith เลย ความเชื่อจนกระทั่งเรากับคุณตาบอด เชื่อมั่นอย่างที่ unshakable ไม่มีใครมาสั่นสะเทือนได้ ไม่ว่าใครจะมาบอกคุณว่าคุณทำไม่ได้ก็ตาม คุณอย่าไปเชื่อมัน
ตอนที่ผมไปอยู่ Silicon Valley สิ่งหนึ่งที่ผมชอบมาก ๆ มันคืออะไรรู้ไหมครับ ผมชอบสิ่งหนึ่ง เขาบอกว่าเมื่อคุณลงมาที่แผ่นดินที่โน่น คุณจะได้ใบอนุญาต 2 ใบทันที permission to fail ใบอนุญาตที่จะล้มเหลวกี่ครั้ง คุณก็ยังได้รับโอกาสเสมอ กับ permission to change the world และทุก ๆ คนไม่ว่าคุณจะเป็นใคร คุณไม่จำเป็นต้องยิ่งใหญ่มาจากไหน คุณก็สามารถฝันอะไรที่ยิ่งใหญ่ และคุณก็สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ตามที่คุณเชื่อได้ แต่คุณต้องมี unshakable faith, unshakable believe และคุณต้องมีศรัทธาในตัวคุณเอง ในสิ่งที่คุณทำแบบมหาศาล และสิ่งเหล่านี้นี่แหละคือสิ่งที่เราเรียกว่า passion แต่ passion เนี่ยสิ่งหนึ่งที่ผมเชื่อคือ Passion without discipline is illusion.
คุณมี passion คุณพูดได้หมด เป็นคำที่เกร่อ แต่การกระทำในทุก ๆ วัน ความเชื่อในทุก ๆ วินาทีของคุณนี่แหละ การกระทำอย่างของผม ตื่นตี 4 ทุกวัน หรือแม้กระทั่งปัจจุบันนี้ผมก็ยังนอน ปัจจุบันเพิ่มมากขึ้น นอนวันละประมาณ 5 ชั่วโมง แต่ผมก็ยังลุกขึ้นมา ตื่นขึ้นมาทำงานเสมอด้วยพลังงาน ด้วยความเชื่อ เพราะการลงมือทำงานหนัก คือวิธีการเดียวที่จะทำให้ความฝันของคนธรรมดา ๆ อย่างผมเป็นจริงได้ unshakeable believe แต่คุณต้องมี Passion without discipline is illusion. passion ที่ไม่มีวินัยในการลงมือทำสิ่งที่น่าเบื่อในทุกวันมันก็เป็นแค่ภาพลวงตา นั่นคือสิ่งที่ผมเชื่อ
The People : คิดว่าจะเกิด Silicon Valley ในประเทศไทยไหม
เรืองโรจน์ : ผมคิดว่าอย่างนี้ ตอนผมกลับมาจาก Silicon Valley เมื่อตอนปี 2012 คือ 10 ปีที่แล้ว นี่คือครบรอบหนึ่งทศวรรษของการเกิดขึ้นของ startup ecosystem ของประเทศไทย ความฝันของผมตอนนั้นผมอยากเอาความมหัศจรรย์ของ Silicon Valley ขึ้นมา สิ่งหนึ่งคุณรู้ไหมว่าทุกประเทศที่บอกว่าฉันอยากจะเป็น Silicon Valley ของภูมิภาคนี้ A-B-C-D ทุกคน fail 100 เปอร์เซ็นต์เลย แต่พอประเทศเหล่านั้นเริ่มตระหนักว่าฉันไม่จำเป็นต้องเป็นเหมือน Silicon Valley ปุ๊บ กลายเป็นว่าประเทศเหล่านั้นดันสร้าง ecosystem ที่มันมหัศจรรย์ขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็นประเทศเพื่อนบ้านเราอย่างอินโดนีเซีย หรือว่าประเทศอย่างเยอรมนี หรืออิสราเอล เขาไม่พยายามที่จะเข้าไปลอกแบบเป๊ะ ๆ แต่สิ่งหนึ่งของเขาคืออะไรครับ นี่คือตัวตนของฉัน นี่คือจุดแข็งของฉัน และดึงความมหัศจรรย์หลาย ๆ อย่างของ Silicon Valley เข้ามา แล้วก็สร้าง ecosystem ของเขาขึ้นมา
ผมว่าประเทศไทยเราเป็นประเทศที่โชคดี เราเป็นประเทศที่มี asset มหาศาลเลย และ ecosystem ของไทยสามารถสร้างความแข็งแกร่งในแง่ธุรกิจ startup ได้ในหลาย ๆ เรื่อง อย่างเช่นเรื่องของ food เราพูดกันมา 30 ปีแล้ว ครัวไทยจะเป็นครัวโลก ผมว่ามันถึงเวลาแล้วที่เราจะ modernize มันขึ้นไป หรืออีกเรื่องหนึ่ง travel การท่องเที่ยว ประเทศไทยเป็นประเทศก่อนโควิด-19 มีนักท่องเที่ยวมา 30 ล้านคน คือทำไมเราถึงไม่สามารถสร้าง TravelTech ขึ้นมาได้เช่นเดียวกันเรื่องที่สอง และเรื่องที่สามอย่างนี้เป็นต้น ประเทศไทยถ้าคุณไปดูในแง่ของ Digital Asset หรือ Cryptocurrency คนไทยเป็นชาติที่ใช้มากที่สุดในโลกอันดับหนึ่งของโลกอย่างนี้เป็นต้น เราสามารถสร้างความก้าวหน้าในแง่ของ Digital Asset ได้เช่นเดียวกัน แล้วไม่ใช่แค่นั้นมีอีกหลาย area มาก ที่ประเทศไทยมีจุดแข็งที่สามารถที่จะสร้างธุรกิจชั้นนำระดับภูมิภาคได้ ไม่ว่าจะเป็น gaming หรือธุรกิจที่ bring เรื่องของ creativity ขึ้นมา แฟชั่นพวกนี้เป็นต้น ประเทศไทยมี asset เหล่านี้ เรามีหน้าที่แค่ modernize มัน
ผมยกตัวอย่าง ผมไปเห็นที่ต่างประเทศ ดูแล้วช็อกครับ คือต่างชาติมาซื้อมะพร้าวในเมืองไทย เหมาซื้อมะพร้าวในเมืองไทย แล้วก็สุดท้ายแปรรูปออกมาเป็นน้ำมะพร้าวไปขายที่ต่างประเทศขวดละ 200 เกือบ 300 บาท ซึ่งวัตถุดิบอยู่ที่เมืองไทย หรือแม้กระทั่งสมุนไพรหลาย ๆ อย่าง ต่างชาติเอาไปแปรรูปเพิ่มมูลค่า ทำแพ็กเกจจิ้งสวย ๆ แล้วออกมาขายเป็นอะไรครับ เราขายเขาเป็นตัน ต่างประเทศเขาขายเป็นหยด เขาขายเป็นกรัม นั่นคือสิ่งที่เขาทำ ดังนั้น เรามองสินทรัพย์และ asset ในประเทศไทย และสร้าง Silicon Valley ในแบบของเรา อย่าไปเดินตามแบบเขา ให้เราไปแข่งเรื่อง AI แบบ 100 เปอร์เซ็นต์เราทำได้ไหม ทำไม่ได้หรอก แต่จงยืนบนจุดแข็งของเรา เมื่อนั้นเราถึงจะมีพื้นที่ในระดับโลกได้
The People : หน้าที่ของผู้นำ KBTG และ Key Success ขององค์กรคืออะไร
เรืองโรจน์ : KASIKORN Business-Technology Group คือหน่วยงานทางด้านเทคโนโลยีที่สนับสนุนธนาคารกสิกรไทยในการเข้าสู่ vision เป็น The best regional digital bank ของภูมิภาคนี้ KBTG เราถึงต้องทำเรื่องของเทคโนโลยีทั้งหมด เราพัฒนาแอปพลิเคชัน ดูแลระบบ data platform แล้วก็ทำเรื่องของ innovation แล้วก็ดูแล infrastructure ทั้งหมดที่ตอบโจทย์ลูกค้า เราดูแลแอปพลิเคชันและพัฒนาแอปพลิเคชันให้ KBank กว่า 400 ตัว หนึ่งในแอปพลิเคชันนั้นคือ K Plus ที่เป็น mobile banking application ที่มีผู้ใช้งานมากที่สุดในประเทศไทย และเป็น mobile banking อันดับหนึ่งของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ที่มีผู้ใช้งานถึง 17 ล้านคน เราพัฒนาแอปพลิเคชันต่าง ๆ เหล่านี้ให้กับ KBank
แล้วก็อีกอย่างหนึ่งที่เราดูแลมันคือเรื่องของการสร้าง New S-Curve ใหม่ ๆ ยกตัวอย่างบริษัทอย่างเช่น Kubix ที่ทำให้ธนาคารกสิกรไทยเป็นธนาคารแรกในประเทศไทยที่ได้รับ ICO license แล้วก็เรื่องของการออก NFT Marketplace ก็คือ Coral นั่นคือหน้าที่หลัก ๆ ของ KASIKORN Business-Technology Group แล้วก็ KASIKORN Business-Technology Group เราเติบโตตั้งแต่ปี 2019 - 2020 เราเพิ่มจำนวนประเทศ เราขยายไปที่ประเทศจีนเพื่อสนับสนุนการเติบโตของ KBank จนตอนนี้ประเทศจีนเรามีลูกค้าแล้ว 1 ล้านคน เราพัฒนาโปรดักต์ที่นั่นหลายตัวเลย เราขึ้นสาขาแล้วก็ขึ้น digital banking ที่เวียดนาม เราสนับสนุนการเติบโตของ KBank จำนวนพนักงานเราเติบโตจาก 1,100 คน จนปีนี้เป็น 1,800 คน เพิ่มประเทศที่เราขยายไป จำนวนโปรเจกต์ที่เราทำโตขึ้นกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ แล้ว financial transaction ที่เราซัพพอร์ตและจำนวนลูกค้าโตขึ้นเกือบ 50 เปอร์เซ็นต์เช่นเดียวกัน
ผมว่าสิ่งที่สำคัญของ KBTG ผมจะพูดเสมอ สิ่งแรกที่ KBTG สำคัญที่สุด และเป็นสินทรัพย์ที่ดีที่สุดของ KBTG คือคน KBTG แล้ววัฒนธรรมองค์กร วิธีการทำงาน และความเชื่อของคน KBTG เพราะ vision ของเรา เราต้องการเป็น regional technology company ระดับท็อปของภูมิภาค เราไม่คิดว่าเราเป็นแค่หน่วยงานไอทีภายใต้ธนาคารอย่างเดียว เราคิดว่าเราต้องการเป็นบริษัทเทคโนโลยีระดับภูมิภาค ดังนั้น สิ่งที่เราทำก็คือเรื่องของการ benchmark และเปรียบเทียบตัวเราเองในแง่คิด ความสามารถกับบริษัทเทคโนโลยีที่ระดับโลก และระดับภูมิภาคคือตอน 2019 KBTG มีขีดความสามารถเต็ม 5 เนี่ย 5 นี่คือบริษัทระดับ Netflix ระดับ Google ตอนนั้นเราอยู่ประมาณ 3 ต้น ๆ ตอนนี้ 3 ปีผ่านไป เราเพิ่มขีดความสามารถของเราขึ้นมา 1 ขั้น ตอนนี้อยู่ที่ 4 ครับผม เป้าหมาย 3 ปีของเราคืออยู่ที่ 4.5 ซึ่งนั่นก็คือเกือบจะถึงระดับโลกแล้ว นั่นคือเป้าหมายของเรา แล้วเราต้องการขยายไปทั่วภูมิภาค Southeast Asia เลย ไม่ใช่แค่ที่จีนและแค่ที่เวียดนาม
The People : เคล็ดลับในการดึงดูดและรักษาคนเก่ง ๆ
เรืองโรจน์ : ในแง่ของ KBTG สิ่งหนึ่งที่สำคัญมากเวลาคุยกับ talent สิ่งที่สำคัญมาก ๆ ที่จะทำให้ talent อยากมาทำงานกับคุณ หนึ่งคืออะไรรู้ไหมครับ หนึ่ง, คือ vision คุณต้องมี vision ที่มัน inspired และสามารถ attract talent เหล่านั้นได้ vision นั้นมันต้องยิ่งใหญ่ และเขาสามารถกลับมาปุ๊บ เขาสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับองค์กรและให้กับสังคมได้ คนเก่ง ๆ หลาย ๆ คนเขาไม่ได้อยากอะไร เขาสามารถเลือกได้ทุกบริษัทในประเทศไทย แต่สิ่งที่เราต้องมีมันคือมีพื้นที่ให้เขาปล่อยของ และสอง, เราต้องสร้าง talent environment คือ talent เขาจะดึงดูด talent กันเข้ามา เราต้องมีพื้นที่ให้เขา
แล้วที่สำคัญมันคือเรื่องของ culture talent ทุกคนที่ผมสัมภาษณ์ ทุกคนจะถามหมดว่า culture เราคืออย่างไร นอกจากตัว vision นอกจากตัวพื้นที่ นอกจาก assignment ที่เรามอบให้เขาแล้ว นอกจาก career growth อีกอันหนึ่งคือ culture สิ่งหนึ่งที่ผมพยายามทำที่ KBTG คือเราเรียกว่าวัน KBTG culture เราอยากให้มันเป็นการทำงานเหมือนการทำงานที่ผมเคยผ่านมาที่ Silicon Valley ให้มันเป็นพื้นที่ที่เป็นพื้นที่ที่คนอยากสร้างนวัตกรรมขึ้นมา อยากร่วมมือกันทำงานเป็นทีม เรียกว่า One KBTG และแก่นอีกอันหนึ่งของ KBTG คือเรียกว่า One Step Ahead Forever มันคือเราทำอย่างไรถึงจะคิดนำหน้าการเปลี่ยนแปลง และนำหน้าคนอื่น 1 ขั้นเสมอ ทำอย่างไรให้ innovation มันถึงอยู่ใน DNA ของคน KBTG และทำอย่างไร
สิ่งหนึ่งที่ผมในฐานะผู้นำพยายามทำ คือผมจะบอกผู้นำทุกคนใน KBTG เสมอว่า leader is the culture ผู้นำนี่แหละคือตัวแทนของ culture และสิ่งหนึ่งถ้าคุณต้องการสร้าง culture of innovation ที่ดึงดูด talent ได้ คุณต้องให้เกิด safe space สำหรับคนที่กล้าลองผิดลองถูก คนจะกล้าลองผิดลองถูกได้ด้วยอะไรบ้าง หนึ่งคืออะไรครับ ผมชอบภาษาไทยนะ ภาษาไทยนี่มันสวยมาก ผู้นำจะต้องรับผิดชอบ และมันรับผิดก่อนชอบไงมันถึงเรียกว่ารับผิดชอบ คือเวลาลูกน้องทำพลาด หัวหน้าต้องรับผิดก่อนเสมอ และชอบมอบให้ลูกน้อง ลูกน้องถึงจะกล้าทดลองอะไรใหม่ ๆ แล้วเรื่องที่สอง คำว่ารับผิดชอบมันคืออย่างนี้ครับ คุณทำผิดคุณก็ยอมรับมัน เห็นไหมภาษาไทยมันสละสลวยมาก ดังนั้น สิ่งที่ผมทำก็คือเวลาผมทำอะไรพลาดผมก็จะมีแชร์ แล้วก็คือคล้าย ๆ อย่างนี้เหมือน fail ศาสตร์ มันคือ fail สัตว์ ๆ ครับผม มันคือ fail ศาสตร์ครับผม ผมก็จะเล่าให้ฟังว่ากระทั่งผมที่เป็นผู้นำสูงสุดทำอะไรพลาดมาบ้าง แล้วนี่คือสิ่งที่ผมเรียนรู้ และคราวหน้าผมจะทำอย่างไรไม่ให้มันผิดพลาดอีก คือทำให้มันดีขึ้นอีก เมื่อกระทั่งผู้นำสูงสุดยังกล้ายอมรับเลยว่าฉันเองก็ยังทำผิด แล้วก็ให้ลูกน้องทุกคนเปิดใจแล้วนั่งคุยกัน มันเป็นสิ่งที่มหัศจรรย์มาก และพอคุณร่วมรับผิดชอบกับลูกน้อง ให้ลูกน้องรับชอบ คุณรับผิด ลูกน้องก็จะยิ่งกล้าสร้างนวัตกรรมและเสนอไอเดียใหม่ ๆ
แล้วพอคุณมี culture of innovation ผมยกตัวอย่างไอเดียหลาย ๆ อย่างเกิดจากพนักงานทั้งนั้น อย่างขุนทองที่เป็นแชทบอทในการช่วยบริหารจัดการการเงิน make by KBank หรือเรื่อง AI เทคโนโลยีที่เรานำไปทำในการทำออโต้เคลม หรือกระทั่ง Kubic ที่เป็นบริษัท ICO Portal พวกนี้เกิดจากการที่เรา brainstorm กันบนคาเฟ่เอกมัย เราออกไป brainstorm กันนอกสถานที่ แล้วเราก็คิด ๆ กัน เสนอกันเต็มไปหมดเลย ซึ่งมันดูฟุ้งมาก แต่สุดท้ายคือผมอยากบอกว่า เมื่อไหร่ที่คุณ take it seriously ไม่ใช่หัวเราะว่า โอ๊ยเป็นไปไม่ได้หรอก นู่นนั่นนี่ คุณสร้างบรรยากาศแห่งการเป็นไปได้ ยอมรับไอเดียใหม่ ๆ ที่บางครั้งมันฟังดู crazy แล้วก็สุดท้ายเอามาลองทำกัน เฮ้ย! เรามาลองทำกันสิ สุดท้ายมันออกมาเป็นรูปธรรม
มันมีนวัตกรรมอีกมากมายที่มันเกิดจากการ brainstorm เหล่านี้ คุณเปิดพื้นที่ให้เขา ถึงจะสร้าง culture of innovation ขึ้นมาได้ และสิ่งที่สำคัญอีกอันหนึ่งคือ empowerment คุณต้องมอบอำนาจให้เขา และอำนาจนั้นมันต้องเกิดจากความเชื่อใจซึ่งกันและกัน คุณสร้าง culture ที่มันมี mutual trust culture ที่คนกล้าจะ experiment คนกล้าที่จะลองอะไรใหม่ ๆ เพราะหัวหน้ารับผิด และมีผลงานก็มอบให้ลูกน้อง นั่นคือรับผิดชอบถูกไหมครับ
และสิ่งที่สำคัญอีกอันหนึ่งคืออะไรรู้ไหมครับ ที่สำคัญมันคือเรื่องที่ผมบอกเสมอว่าหัวหน้า leader is the culture สิ่งที่หัวหน้าทำมันไปสะท้อนความเชื่อขององค์กร ถ้าคุณบอกว่าเฮ้ย! bullshit มันเป็นไปไม่ได้ และอีกอันหนึ่งทุกคนย่อมทำผิดพลาด หัวหน้ายอมรับ และอีกอันหนึ่งคืออะไรรู้ไหมครับ ทุกครั้งที่มีความผิดพลาด คุณอย่าไป blame คุณอย่าไปชี้นิ้วด่าลูกน้อง คุณแยกปัญหาออกมาจากตัวคน separate problem from people และช่วยกันแก้ปัญหา สร้าง culture ที่คนซัพพอร์ตซึ่งกันและกัน และอย่าเอาแต่พูดเอาหล่อ คุณต้องลงมือทำ มันลำบาก มันเหนื่อยไหม มันเหนื่อยแน่นอน แต่นั่นคือหน้าที่ของผู้นำ และเมื่อคุณสร้าง culture ต่าง ๆ เหล่านี้ได้ มีพื้นที่มันจะเป็น magnet ที่มันดึงดูด talent ขึ้นมาเอง แล้วคุณได้ talent มาปุ๊บ พอเขามาทำงานกับคุณแล้วเขาชอบ เขาก็จะบอกคนอื่น ๆ ต่อเพื่อมาจอยคุณเอง
นั่นคือสิ่งที่คุณต้องทำ และ leader is the culture สิ่งที่สำคัญถึงต้องเรียกว่า leader ต้อง walk the walk คุณพูดอย่างเดียวไม่ได้ สมัยนี้คุณต้องมีความจริงใจ authenticity แล้วมันจะออกมาทุก ๆ conversation ทุก ๆ ครั้งที่คุณพูดกับพนักงานเลย นั่นคือสิ่งที่มันจะเกิดขึ้น แล้วสุดท้ายพอคุณเชื่อ คุณลงมือทำ ทำซ้ำ ๆ ในทุก ๆ วัน เล่า vision ของคุณซ้ำ ๆๆ จนตัวคุณเองโคตรเบื่อเลย เวลาผมเล่า vision ให้พนักงานฟัง ผมทำสิ่งที่เรียกว่า employee empathy ผมนั่งคุยกับพนักงาน KBTG มีพนักงาน 1,800 คน ผมนั่งคุยกับพนักงานเป็นพันคน เป็น ground table นั่งฟังเขา ถอดหมวก Chairman ออกไป ถอดหมวกประธานกลุ่มออกไป แล้วนั่งคุยกับเขา as a person เพราะสิ่งหนึ่งที่ผมเชื่อ คือผู้นำยิ่งสำเร็จมากเท่าไร ยิ่งอยู่สูงเท่าไร คุณจะได้ยินแต่สิ่งที่คุณอยากจะ… จนบางทีก็ไม่ได้ยินเสียงที่ลูกน้องพูด
ดังนั้น ผู้นำคุณต้องอันดับแรก คือเรียกว่า deep listening คุณฟังอย่างตั้งใจ ฟังเพื่อรับฟังสิ่งที่เขาอยากพูด ผมทำสิ่งเหล่านี้ empathic listening กับพนักงานเป็นพัน ๆ คน เรียกว่า deep listening ฟังให้ลึก ฟังให้เข้าใจ คำว่าเข้าใจเป็นภาษาไทยที่เพราะอีกเช่นเดียวกัน เพราะคุณตั้งใจปุ๊บ ฟังแล้วเข้าใจคือมันจะเข้าไปถึงใจคุณ คุณจะสะท้อนปัญหาของเขา เข้าใจอารมณ์ความรู้สึกของเขา แล้วพนักงานจะเปิดใจ แล้วเขาจะเชื่อมั่นในตัวคุณ แล้วหลายครั้งจะบอกผู้นำต้องขาย vision ผมบอกว่านั่นคือ bullshit ผู้นำไม่สามารถขาย vision ได้ แต่คุณสามารถเล่าให้ฟังในสิ่งที่คุณเชื่อ สิ่งที่คุณมีความฝันกับองค์กรได้ แล้วชวนเขามาร่วมเดินทางด้วยกัน คือผมเจอพนักงานเป็นพันคน ผมพูดเรื่อง vision ของ KBTG ที่ผมอยากจะไป ผมพูดเป็นหมื่นครั้ง แต่ผมก็ยังพูด มีอยู่บางครั้งผมแบบโอ๊ยล้า ทำไมฉันต้องพูดเรื่องนี้โคตรเบื่อเลย เรื่องของ vision แต่สุดท้ายคืออะไรรู้ไหมครับ ผมก็ค้นพบว่าไอ้คนที่เบื่อมันมีแค่ผมคนเดียว เพราะพนักงานบางคนเขาฟังผมแค่ครั้งแรกเอง แล้วเขาบางทีได้ฟังจาก town hall มันไม่ได้พูดคุยแบบนี้ ไม่ได้แลกเปลี่ยน แล้วพอเราชวนเขามาเป็นส่วนหนึ่งของ vision เขาช่วยเราคิดเรื่องของ vision vision มันจะคมขึ้นมหาศาล เพราะมันสะท้อนความเป็นจริง และมันสะท้อนความต้องการของคนที่จะเป็นผู้สร้าง vision นั้นร่วมกันกับคุณ
ผมยกตัวอย่าง Product Manager ของผมบางคนเป็นน้องอายุ 24 ปี ซึ่งผมไม่มีทางเข้าใจเขาเลย เพราะเขาเด็กกว่าผม 20 กว่าปี น้องเขาเด็กกว่าผม 20 กว่าปี แต่เขาเข้าใจคนรุ่นเขา เขาทำโปรดักต์เพื่อคนรุ่นเขา นั่นคือคุณต้องพึ่งคนเหล่านี้ในการทำ vision ร่วมกันกับคุณ ดังนั้น คุณถึงต้อง empower คุณต้อง trust เขา และคุณช่วยขจัดอุปสรรคให้เขา ผู้นำบางครั้งคุณไม่จำเป็นต้องลงไปทำเองทั้งหมดทุกอย่าง หรือคุณไม่จำเป็นต้องมาลุยแบบบุกเบิกถางทาง หลาย ๆ ครั้งคุณมีหน้าที่เพื่อยกคนอื่นขึ้นมาให้เขาเป็น hero in their own story
The People : อะไรคือสิ่งที่ล้มเหลว แต่ทำแล้วกลายเป็นบทเรียนสำคัญ
เรืองโรจน์ : ผมยกตัวอย่าง fail ศาสตร์ จริง ๆ มันคือ fail สัตว์ ๆ ครับผม ที่จริงมันเป็นเรื่องที่ผู้นำทุกคนต้องเจอนั่นแหละ แล้วจริง ๆ ไม่ใช่แค่ผู้นำหรอก ทุกคนต้องเจอเสมอ ไม่ว่าคุณจะยอมรับหรือเปล่าก็ตาม สิ่งหนึ่งคือคุณต้องตระหนักก่อนว่า ทุก ๆ การ fail ที่เป็น fail สัตว์ ๆ ขอโทษด้วยนะครับถ้าผมพูดไม่เพราะ ไอ้ fail ศาสตร์หรือ fail สัตว์ ๆ ทุกครั้ง สิ่งหนึ่งไอ้ความล้มเหลวหรือวิกฤตมันมักจะเป็น opportunity in disguise มันคือโอกาสที่มันแฝงลอยมาเสมอ
ยกตัวอย่างตอนที่ผมเพิ่งมาทำงาน KBTG 1 เดือน 31 มกราคม 2019 เป็นวันที่ผมไม่ลืมครับ มีสื่อเหมือน The People นี่แหละ เปิดตัวกระทิง พูนผล 42 คน แล้วก็วันนั้นเปิดตัวที่โรงแรมโอกุระเพรสทีจ ผมไม่มีวันลืม 6 โมงครึ่งครับ คำถามแรกที่สื่อถามผมเมื่อ 3 ปีที่แล้ว คุณกระทิง K Plus จะล่มไหม ผมตอบด้วยความมั่นใจครับ ไม่ล่มแน่นอนครับ แล้ววันนั้นลูกน้องผมโทรฯ มาทันทีหลังจากที่ผมตอบคำถามนั้น แล้วผมรู้ทันทีว่าพี่คนนี้โทรฯ มามันล่มแน่นอน ผมรับโทรศัพท์แล้วก็เดินออกไป หน้าซีดเดินกลับมา สื่อ 42 คนวันเปิดตัวกระทิง พูนผล แล้วผมก็บอกว่าขอโทษครับ ผมขับรถกลับมาเลย มาที่ KBTG มาที่ตึกนี้ลงไปชั้น 8 แล้วก็ run war room ครั้งแรก ซึ่งตอนนั้นโอ้โห ขึ้นมากันเต็มไปหมด ทั้งเสียหน้า ทั้งเจอปัญหาลูกค้าว่าไปหมดเลย แต่ตอนนั้นมันทำให้ผมเห็นว่าการจัดการในแง่ของ war room ข้อมูลที่เรามีหรืออะไรทั้งหลายแหล่ เรามีโอกาสอีกมหาศาลในการปรับปรุง
จนสุดท้ายเราก็เอาสิ่งที่เราเรียนรู้และปัญหาตอนนั้นเอามาแก้ไข จนกระทั่งสุดท้ายปี 2019 เราไม่มีปัญหายาวต่อเนื่องคือ greensheet ถึง 9 เดือน และปี 2021 เราปรับปรุงระบบใหม่ทั้งหมดเลย เราทำ transformation เพื่อ infrastructure เรา ทั้ง ๆ ที่ลูกค้าเราเพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่า financial transaction 20,000 กว่าล้าน financial transaction โตขึ้นมา โดยเฉพาะในช่วงโควิด-19 เรากลับเป็นธนาคารที่มีเสถียรภาพที่สุด ทุก ๆ crisis ยิ่งปัญหาใหญ่เท่าไร ยิ่ง crisis ใหญ่เท่าไร มันยิ่งเป็น opportunity in disguise เท่านั้น เมื่อคุณเห็นพวกนี้ พยายามเข้าใจ crisis มัน
สิ่งที่ผมได้เรียนรู้คืออะไรรู้ไหมครับ คือความสำคัญของทีมอย่าง KBTG เป็นองค์กรที่ยิ่งเจอวิกฤตยิ่งแกร่ง คือวิกฤตเป็นตัวอะไรคุณมองได้ 2 อย่าง วิกฤตในบางครั้งภาษาอังกฤษบอกว่าคือ shit hit the fan เหมือนมีพัดลมอยู่ตรงนี้ แล้วขี้ลอยมาโดนพัดลมแล้วระเบิดตู้ม! คุณมองมันเป็นความซวยได้ แต่หลาย ๆ องค์กรที่ผมเห็นรวมทั้ง KBTG ด้วย เรามองวิกฤตว่า เฮ้ย! นี่คือโอกาสที่เราจะพิสูจน์ความแข็งแกร่งของเรา และเมื่อคุณมี mindset และมีทัศนคติแบบนั้นปุ๊บ คุณใช้วิกฤตขึ้นมา วิกฤตทุกครั้งจะทำให้คุณแกร่งขึ้น what doesn’t kill you will only make you stronger และยินดีด้วยครับ วิกฤตหลังจากนี้ไม่มีอะไรที่มันจะยิ่งใหญ่เท่ากับโควิด-19 แล้วแหละ คุณแกร่งและเก่งขึ้นมา ต่อไปวิกฤตอะไรมาคุณก็จะผ่านมันขึ้นไปได้ ผมถึงบอกว่าวิกฤตทุกครั้งยิ่งใหญ่เท่าไร ยิ่งเป็นโอกาสให้คุณพัฒนาและแข็งแกร่งมากขึ้นเท่านั้น
The People : แนะนำหนังสือ 3 เล่ม
เรืองโรจน์ : หนังสือที่ผมชอบจะเป็นหนังสือแนวพัฒนาตัวเอง เล่มหนึ่งที่ผมชอบมาก และผมคิดว่าแม้กระทั่งเมื่อ 2 ปีที่แล้วผมก็ยังหยิบมันมาอ่าน มันเป็นหนังสือชื่อว่า ‘The Magic of Thinking Big’ คือหนังสือเล่มนั้น คิดใหญ่ไม่คิดเล็ก ถ้าผมเข้าใจไม่ผิดว่าเป็นภาษาไทยเนอะ เป็นหนังสือที่ผมอ่านเมื่อ 30 ปีที่แล้ว คือผมอ่าน 20 เกือบ 30 ปีที่แล้วผมอ่านครั้งแรก แล้วผมบอกเฮ้ย! เราต้องคิดใหญ่ และต้นทุนของการคิดใหญ่และฝันใหญ่ การลงมือทำคิดใหญ่กับคิดเล็กแทบไม่ต่างกัน ดังนั้น ไหน ๆ จะทำอะไรสักครั้งหนึ่ง คุณคิดใหญ่ไปเลยดีกว่า และสร้างความเชื่อแล้วก็ลงมือกระทำไปตามความเชื่อนั้น สิ่งแรกที่คุณต้องมีมันคือความเชื่อ
ดังนั้น The Magic of Thinking Big เป็นหนังสือเล่มหนึ่งที่ผมชอบมาก โดยเฉพาะน้อง ๆ หลาย ๆ คนที่เพิ่งเริ่ม จริง ๆ หนังสือนั้นอ่านง่ายมาก ผมแนะนำเลย ‘The Magic of Thinking Big เป็นหนังสือหนาประมาณเท่านี้ คุณใช้เวลาอ่านไม่เกิน 2 วัน คุณหยิบขึ้นมาเสาร์ - อาทิตย์นี้ ไปอ่านหนังสือเล่มนั้นเลย แล้วก็ลงมือทำสิ่งที่เกิดขึ้นในหนังสือเล่มนั้น ผมคิดว่าชีวิตคุณจะเปลี่ยนแปลงไปแน่นอน แล้วก็ขอให้ทุกคน thinking big สอนเรื่อง Growth mindset ครับผม
เล่มที่สองที่ผมชอบเป็นเล่มที่หนามาก เป็นเล่มที่ไม่แนะนำสำหรับทุกคน แต่ถ้าคุณอ่านหนังสือเล่มนั้นจบ คุณรู้ไหมสิ่งที่คุณจะมีทันทีเลย นอกจากหลักการในการใช้ชีวิตแล้ว คุณยังจะมีความอึดมหาศาล หนังสือเล่มนั้นคือ ‘Principles’ ของ Ray Dalio เล่มนั้นจะสอนหลักการในการใช้ชีวิตและการดำรงชีวิตของคุณ และการทำงานของคุณ Ray Dalio เขาก็เป็นหนึ่งในผู้จัดการกองทุน hedge fund ที่ใหญ่ที่สุดในโลกและประสบความสำเร็จที่สุด เขาก็เอาหลักการในการใช้ชีวิต และหลักการในการทำงานมาเขียนใส่ในหนังสือชื่อว่า Principles แล้วก็มีอันนี้ด้วยครับ เขามีออนไลน์ด้วยที่ให้คุณเข้าไป access ตัวคุณเอง เป็นต้น ผมว่าอันนี้เป็นหนังสือที่ดีมาก แล้วผมก็แนะนำอย่างน้อยที่สุด เพราะคุณอ่านจบ คุณอาจจะไม่ได้เห็นด้วยกับเรื่องราวในหนังสือทุกอย่าง แต่อย่างน้อยคุณอ่านหนังสือเล่มนั้นจบ คุณจะภูมิใจ และคุณจะมีวินัย และคุณจะมีสมาธิมหาศาลเลย
ส่วนหนังสือเล่มที่สามที่ผมชอบก็คือหนังสือของอันนี้ ถ้าเป็น startup founder ทุกคนต้องอ่านหนังสือเล่มนี้ มันคือหนังสือชื่อ ‘Zero to One’ ของ Peter Thiel ซึ่ง Peter Thiel เป็นอาจารย์ผมตอนผมเรียนที่ Stanford Business School เขาเป็นคนเชื่อเรื่องของ contrarian จริง ๆ แล้วหลาย ๆ อย่างที่เขียนในหนังสือเล่มนั้นมันคือหนังสือที่มันเหมาะกับ zero จากศูนย์ถึงหนึ่งจริง ๆ เล่มนั้นจะเป็นวิธีแนวคิดของ Thiel Peter และอีกอันหนึ่งที่สำคัญมากที่สอนในหนังสือเล่มนั้น วิธีการคิดของ Thiel Peter คือเขาบอกกระแสมีไว้สวน และสิ่งหนึ่งมันจะตรงกับวิธีการคิดของ Elon Musk สองคนนี้เขาเรียกว่าเป็น PayPal mafia เป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้ง PayPal หลักการคิดอีกอันหนึ่งเขาเรียกว่า The first principles มันคือการมองหาแก่นความจริงของเรื่องหรือของอุตสาหกรรมนั้น ๆ
ยกตัวอย่างทุก ๆ อุตสาหกรรม หรือทุก ๆ ธุรกิจ มันจะ based on ความเชื่อ หรือสมมติฐาน ซึ่งก็คือ assumption ไม่กี่อย่าง แล้วหลาย ๆ ครั้งนวัตกรรมมันเกิดจากการที่คุณ dig down ลงไปว่าอุตสาหกรรมแต่ละอุตสาหกรรมมันมีความเชื่อพื้นฐาน สมมติฐานคืออะไร แล้วคุณเข้าไป challenging fundamental assumption และสิ่งที่มันแตกต่างจนถึงขั้นที่เรียกว่าแตกต่างจนถึงแก่นของธุรกิจเลย เพราะมันสร้างบนความเชื่อกันคนละอย่าง ยกตัวอย่าง Decentralized Finance มันเป็นการท้าทายระบบการเงินโลกทั้งระบบเลย ที่มันวางบน Centralization คือการรวมศูนย์ แล้วต้องให้มีตัวกลางที่ทุกคนเชื่อ ในขณะที่ Decentralized Finance คือระบบการเงินแบบกระจายศูนย์ นี่ก็เป็นตัวอย่างหนึ่งเช่นเดียวกัน เป็นสิ่งที่ดีมากในหนังสือ Zero to One ก็แนะนำสำหรับน้อง ๆ หนังสือ 3 เล่ม Zero to One, Principles แล้วก็ The Magic of Thinking Big
The People : มีวิธีในการรักษา energy ของตัวเองอย่างไรบ้าง
เรืองโรจน์ : สิ่งหนึ่งคือคุณต้องมีความเชื่อ คุณต้องมี passion ผมอยากบอกว่าพลังงานมันมาจากภายในเสมอ ซึ่งของผมพลังงานที่มันเกิด มันเกิดจากผมทำในสิ่งที่ผมเชื่อมาก ๆ และสิ่งที่ผมเชื่อมาก ๆ คือสิ่งที่ผมทำอยู่มันมีคุณค่า มันมีความหมาย และอีกอันหนึ่งที่สำคัญ ผมว่ามันคือหลักพุทธอันหนึ่งที่ผมเชื่อ คือ Here and Now คือปัจจุบันขณะนั่นเอง คือ ณ ตรงนี้ ณ ที่นี่ กับบุคคลข้างหน้าตรงนี้ กับผม ดังนั้น สำหรับผม ณ ตอนนี้ไม่มีอะไรสำคัญเท่ากับผู้ชมที่อยู่หลังกล้องที่กำลังฟังผมอยู่ ณ ตอนนี้ ผมก็หวังว่าทุก ๆ ท่านจะได้แรงบันดาลใจ ได้ความรู้ ได้มุมมองใหม่ ๆ ที่ดี หรืออย่างน้อยที่สุดผมก็หวังว่าคุณจะ do something differently ทำอะไรที่แตกต่างออกไปบ้าง แล้วผมก็เชื่อว่าคุณจะเอาแรงบันดาลใจ และพลังงานจากผมไปสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่รอบ ๆ ตัวคุณบ้าง แล้วมันจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแบบ pay it forward ต่อไปเรื่อย ๆ ผมเชื่อเรื่องของการ sharing knowledge และผมเชื่อในสิ่งที่ผมทำอย่างลึกซึ้ง มันออกมาจากแก่นวิญญาณของผมจริง ๆ
สุดท้ายคือพลังงานมันจะมามหาศาลเลย เมื่อคุณเชื่อมั่นอย่างมหาศาลกับสิ่งที่คุณกำลังทำอยู่ คุณเชื่อใน vision ของคุณ คุณมีศรัทธาในตัวคุณเอง และคุณเชื่อว่าสิ่งที่คุณกำลังทำอยู่ ณ ปัจจุบันตรงนี้ มันนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงยิ่งใหญ่ และนั่นแหละจะเป็นแหล่งพลังงานที่ไม่มีวันสิ้นสุดของทุกคน ผมก็หวังว่าทุกคนจะได้เจอความเชื่อ คุณจะได้เจอศรัทธา คุณจะได้เจอกับสิ่งที่คุณอยากทำที่สุด impact ที่มีแต่ตัวคุณเท่านั้นที่จะทำ อย่างปรัชญาอันหนึ่งของผม คือผมเชื่อว่าอะไรที่มันไม่มี แต่มันต้องมี ผมก็สร้างมันขึ้นมา เพราะผมเชื่อว่ามันจะทำให้ชีวิตใครสักคนมันดีขึ้น หรือบทสัมภาษณ์วันนี้ ผมก็หวังว่ามันจะทำให้ชีวิตใครสักคนดีขึ้น หรืออย่างน้อยเขามีความสุขขึ้น นั่นคือสิ่งที่ผมเชื่อ ผมถึงทำดีที่สุดในทุก ๆ วินาที ในทุก ๆ สิ่งที่ผมทำ เพราะนั่นคือความเชื่อของผม
ผมอยากบอกว่านั่นคือสิ่งที่ผมเชื่อ Winning is meaningless without a team to celebrate with. ชัยชนะมันจะไม่มีความหมาย ถ้าเมื่อไปถึงเส้นชัยคุณไม่มีใครเฉลิมฉลองด้วย อย่างทีมหนึ่งที่ผมชอบมาก อย่างลิเวอร์พูลเช่นเดียวกัน You never walk alone. ครับผม ดังนั้น ไม่ว่าคุณจะล้มเหลวหรือสำเร็จอย่างไรก็ตาม ถ้าคุณมีทีมและมีคนที่คุณเชื่อร่วมกัน นั่นคือแหล่งพลังงานที่ยิ่งใหญ่ นอกจาก vision นอกจาก impact และนอกจาก believe และ faith มันคือทีมของคุณ จำไว้ครับ Winning is meaningless without to celebrate with. แล้ว losing ต่อให้คุณล้มเหลว คุณพลาด Losing is temporary when you have a team to do with. เมื่อคุณมีทีมที่มาร่วมหัวจมท้ายกับคุณ นั่นแหละคือแหล่งพลังงานของผม คือทีมที่ดี