‘มหัศจรรย์ชุมชน’ โมเดลชุมชนเข็มแข็ง คนเดินดินที่แสนมหัศจรรย์

‘มหัศจรรย์ชุมชน’ โมเดลชุมชนเข็มแข็ง คนเดินดินที่แสนมหัศจรรย์

'มหัศจรรย์ชุมชน' คือโมเดลชุมชนเข็มแข็งโดยมีเอสซีจีซี (SCGC) เข้ามาให้การสนับสนุน เน้นการสร้างอาชีพ สร้างรายได้อย่างยั่งยืนให้กับชุมชน ผ่านแนวทาง 'สอนให้จับปลา' ทำให้ชุมชนสามารถยืนหยัดด้วยตัวเองอย่างมั่นคง และยั่งยืนที่สุด

“ระยองเป็นบ้านเกิดของเอสซีจีซี เราจึงผูกพันกับพี่น้องชุมชนเหมือนเพื่อน เหมือนครอบครัว”

น้ำทิพย์ สำเภาประเสริฐ ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารแบรนด์และกิจการเพื่อสังคม เอสซีจี เคมิคอลส์ หรือ เอสซีจีซี (SCGC) บอกถึงเหตุผลที่เราและเธอเดินทางสู่จังหวัดระยอง ไม่ใช่เพราะประวัติศาสตร์ของบริษัทที่ฝังลึกอยู่ยาวนาน หากแต่เป็นพื้นที่ที่เธออยากให้เราสัมผัสถึงพลังของชุมชนที่ร่วมกันส่งต่อความมหัศจรรย์ โดยมีเอสซีจีซี (SCGC) คอยอยู่เคียงข้างไม่ห่างกาย

‘มหัศจรรย์ชุมชน’ โมเดลชุมชนเข็มแข็ง คนเดินดินที่แสนมหัศจรรย์

“จังหวัดระยองเป็นจังหวัดที่มีชัยภูมิดีมาก ๆ จังหวัดหนึ่งของประเทศ มีทั้งภาคอุตสาหกรรม เกษตรกรรม การท่องเที่ยว หรือแม้แต่การประมงที่ระยองก็มีชื่อเสียงไม่แพ้กัน เรียกได้ว่าทุกอย่างมีครบ จบที่จังหวัดนี้  ซึ่งเอสซีจีซีเป็นภาคอุตสาหกรรมที่ตั้งอยู่ที่ระยองมานานกว่า 40 ปี เรียกว่าเป็นบ้านเกิดของเอสซีจีซีเลยก็ว่าได้ เราจึงมีความผูกพันกับพี่น้องชุมชนเหมือนเพื่อน เหมือนครอบครัว ด้วยความเชื่อที่ว่า อุตสาหกรรมกับชุมชนอยู่ร่วมกันได้ การดูแลชุมชน ส่งเสริมให้เขามีอาชีพ มีรายได้ และพัฒนาให้เขาเติบโต อยู่ได้ด้วยตัวเองอย่างยั่งยืน รวมทั้งเป็น Chage Agent ส่งต่อสิ่งดีๆ เหล่านี้ไปยังผู้อื่น นี่คือความตั้งใจของเรา”

น้ำทิพย์ได้ขยายความเพิ่มเติมอีกว่า  การสร้างอาชีพ สร้างรายได้อย่างยั่งยืนให้กับชุมชนนั้น จะช่วยลดความเหลื่อมล้ำในสังคมตามเป้าหมาย SDG&ESG ของเอสซีจีซี โดยใช้แนวทาง ‘สอนให้จับปลา’ ทำให้ชุมชนสามารถยืนหยัดด้วยตัวเองอย่างมั่นคง และยั่งยืนที่สุด จึงเป็นที่มาของโมเดล ‘มหัศจรรย์ชุมชน’

‘มหัศจรรย์ชุมชน’ โมเดลชุมชนเข็มแข็ง คนเดินดินที่แสนมหัศจรรย์

การเรียนรู้ร่วมกันระหว่างทีมเอสซีจีซี และชุมชน นำมาสู่การถอดบทเรียนเป็นโมเดลมหัศจรรย์ชุมชนเพื่อที่จะนำไปขยายผลต่อ โดยโมเดลนี้เป็นการสร้างให้ชุมชนเข้มแข็งอย่างยั่งยืน

ความมหัศจรรย์อย่างแรก คือ ความแข็งแกร่งของคนในชุมชนที่พึ่งพาตัวเองได้ และพัฒนาตัวเองอยู่ตลอดเวลา

ความมหัศจรรย์อย่างที่สอง คือ การประกอบอาชีพด้วยความซื่อสัตย์สุจริต

ความมหัศจรรย์อย่างที่สาม คือ สร้างโอกาส สร้างงาน สร้างอาชีพให้กับผู้อื่น

นอกจากคิดถึงคนแล้ว จะต้องคิดถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วย เพราะหากไม่มีธรรมชาติ ก็คงไม่มีชีวิต นี่คือความมหัศจรรย์อย่างสุดท้าย

เพื่อให้เห็นภาพความมหัศจรรย์ชัดขึ้นเราเดินทางมาหยุดอยู่ ณ ชุมชนแห่งแรกจาก 3 ชุมชนต้นแบบ ด้านหน้ามี ครูประไพ คชรินทร์ ประธานวิสาหกิจชุมชนส่งเสริมอาชีพผู้เลี้ยงชันโรงบ้านทับ มายืนต้อนรับแขกผู้มาเยือนอย่างอารมณ์ดี เธอคือหญิงวัยเกษียณที่ไม่ต้องบอกก็รู้ว่ามีความสุขกับสิ่งที่ทำอยู่ขนาดไหน แม้จะมีแมลงตัวจิ๋วบินวนไปมาสร้างความรำคาญให้ไม่หยุดหย่อน แต่ภายใต้ความน่ารำคาญนี้ เธอกลับมองเห็นประโยชน์บางอย่าง

‘มหัศจรรย์ชุมชน’ โมเดลชุมชนเข็มแข็ง คนเดินดินที่แสนมหัศจรรย์ ‘มหัศจรรย์ชุมชน’ โมเดลชุมชนเข็มแข็ง คนเดินดินที่แสนมหัศจรรย์ “ชันโรงเนี่ยชาวบ้านเขาเรียกว่า ‘แมลงรำคาญ’ ไม่มีใครชอบหรอก แต่เรามองว่าสิ่งที่เขาทำเขาทำเพื่อปกป้องตัวเองนะ ตอนแรกวางแผนเกษียณไว้ว่าจะเลี้ยงผึ้ง แต่ลูกชายก็ท้วงกลัวว่าเราจะโดนผึ้งต่อย ก็เลยมามองที่ชันโรง เริ่มจากการทดลองเลี้ยงหาความรู้ไปเรื่อย ๆ แล้ววันนึงก็มีโอกาสได้มาเจอกับเอสซีจีซี เขามองเห็นคุณค่าของเราทั้งที่เราไม่ใช่คนสำคัญอะไร

“เราเริ่มมีพลังบวกในการที่จะสร้างงาน เริ่มพัฒนาตัวเอง จากงานที่ยากลำบาก มันก็เริ่มก้าวได้ง่ายขึ้น ชันโรงบ้านทับมาเพิ่งสร้าง 3 ปี เป็นวิสาหกิจเล็ก ๆ แต่เรามีมือที่โอบอุ้มเราอยู่ ช่วยนำทางทำให้เราเดินทางได้ราบเรียบขึ้น นี่คือจุดเริ่มต้นของเรา”

ครูประไพเล่าที่มาของการเป็นผู้กรุยทางให้ชาวชุมชนบ้านทับมาเข้าใจถึงประโยชน์ของชันโรง อีกทั้งยังปลุกพลังให้วัยเกษียณลุกขึ้นมาทำในสิ่งที่ไม่เคยทำ เธอมองว่าการอยู่บ้านเฉย ๆ นานวันเข้า อาจทำให้รู้สึกหมดคุณค่า และเธอไม่อยากเห็นคนในชุมชนที่เธอรักเป็นเช่นนั้น

“หลายคนถามคุณครูอย่างนี้แหละว่าทำไมคุณครูต้องทำงาน แต่สิ่งหนึ่งที่เราได้ทำ มันกลายเป็นว่า เราอายุ 60 ยังมีพลังที่จะสร้างสิ่งที่เป็นประโยชน์ให้กับชุมชน จากไม่ได้ตั้งใจว่าเราจะต้องตั้งชุมชนหรือสร้างอาชีพให้กับคนอื่น แต่พอเราทำขึ้นมา เริ่มขยับขยาย นั่นแหละเราถึง อ๋อ! เราสามารถที่จะช่วยเหลือให้คนมีอาชีพ มีรายได้ได้นะ เพิ่มรายได้ให้กับชุมชนได้นะ คนที่ไม่มีงานทำแล้วเป็นผู้สูงวัยแล้ว สามารถมาประกอบอาชีพอันนี้ โดยที่เราให้ความรู้ แนะนำเขา และทำงานร่วมกัน”

‘มหัศจรรย์ชุมชน’ โมเดลชุมชนเข็มแข็ง คนเดินดินที่แสนมหัศจรรย์ ‘มหัศจรรย์ชุมชน’ โมเดลชุมชนเข็มแข็ง คนเดินดินที่แสนมหัศจรรย์

จากจุดเริ่มต้นเล็ก ๆ ที่มีแมลงตัวจิ๋วเป็นผู้เชื่อมประสาน เปลี่ยนวันธรรมดาของเหล่าวัยเกษียณให้มีชีวิตชีวา วันนี้ครูประไพและผู้เลี้ยงชันโรงบ้านทับมาแสดงให้เห็นแล้วว่า อายุไม่ใช่อุปสรรคในการริเริ่มทำสิ่งใหม่ อายุไม่ใช่สิ่งที่เข้ามาปิดประตูการเรียนรู้ แต่ความตั้งใจต่างหากคือสิ่งสำคัญ

“ไม่ใช่แค่เรื่องของรายได้เท่านั้นที่เราสนใจ แต่ยังมีเรื่องของสิ่งแวดล้อม ชันโรงช่วยทำให้ระบบนิเวศเราสมบูรณ์มากขึ้น เพราะเขาช่วยผสมพันธุ์เกสรดอกไม้ ทำให้เกิดความหลากหลายทางชีวภาพ แมลงนี่แหละจะช่วยเรา นี่คือสิ่งที่น่ามหัศจรรย์กับการเลี้ยงชันโรง แม้ว่าเขาจะเป็นแมลงตัวเล็กตัวน้อย แต่เขามีคุณค่ามหาศาล”

นอกจากนี้ครูประไพยังเผยถึงแผนในอนาคตของวิสาหกิจชุมชนส่งเสริมอาชีพผู้เลี้ยงชันโรงบ้านทับมาเพิ่มเติมอีกว่า เธออยากจะพัฒนาปรับปรุงภูมิทัศน์ในชุมชนเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว พร้อมทั้งจัดเตรียมพื้นที่ให้ร่มรื่นสร้างเป็นที่อยู่ของชันโรง ก่อนจะบอกอย่างภูมิใจว่าเธออยากให้ตำบลทับมา ขึ้นชื่อว่าเป็นหนึ่งตำบล หนึ่งจังหวัดที่มีชื่อเสียงด้านการเลี้ยงชันโรงของประเทศไทย

‘มหัศจรรย์ชุมชน’ โมเดลชุมชนเข็มแข็ง คนเดินดินที่แสนมหัศจรรย์

ก่อนที่เราจะบอกลาครูประไพเพื่อเดินทางต่อไปยังชุมชนถัดไป เราถามคำถามสุดท้ายก่อนจากกัน ว่าสิ่งใดทำให้เธอมีพลังในการริเริ่มทำสิ่งที่ไม่เคยมีมาก่อนให้สำเร็จเป็นรูปเป็นร่าง เธอตอบกลับอย่างเรียบง่ายว่า เพราะความเป็นครู ครูคือผู้ให้ เธออยากจะส่งต่อความรู้เหล่านี้ไปยังรุ่นลูกหลาน เพื่อให้พวกเขาจดจำได้ว่าครั้งหนึ่งเคยมีคุณครูชื่อประไพ เป็นผู้บุกเบิกการเลี้ยงชันโรงในจังหวัดระยองอยู่

“การให้เป็นสิ่งที่มีความสุขที่สุดสำหรับครู โดยเฉพาะการให้ความรู้หรือการส่งเสริมการทำงาน มันคือความสุขของครู”

จากชันโรงบ้านทับมาเราเดินทางฝ่าอากาศร้อนระอุของเมืองไทยมาหยุดอยู่ที่ชุมชนมาบชลูด ครั้งนี้ได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นจาก ประคอง เกิดมงคล หรือ พี่โต ประธานวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์จากผ้าชุมชนมาบชลูด รอยยิ้มสดใสของเธอทำให้ความร้อนตรงหน้ามลายหายไป เหลือเพียงแต่ความชื่นใจผลิบานอยู่เต็มหัวใจ เหมือนดั่งสโลแกน ‘ทุกรอยเย็บ เกิดจากรอยยิ้ม’ ของวิสาหกิจชุมชนที่เธอก่อตั้งขึ้น

‘มหัศจรรย์ชุมชน’ โมเดลชุมชนเข็มแข็ง คนเดินดินที่แสนมหัศจรรย์

ก่อนจะรวมกลุ่มออกมาเป็นรูปเป็นร่างอย่างในทุกวันนี้ เธอเองก็ต้องประคองชีวิตให้ผ่านไปในแต่ละวันอย่างยากลำบากไม่แพ้กัน ประคองเกิดและโตที่จังหวัดระยอง เป็นคนชุมชนมาบชลูดมาตั้งแต่จำความได้ พออายุ 19 ปีเธอเริ่มงานแรกโดยการเป็นช่างเย็บผ้า นี่คือสิ่งเดียวที่เธอรักและทำมาโดยตลอด จากวันนั้นจนวันนี้เวลาก็ล่วงเลยมา 40 ปีเข้าไปแล้ว

“งานเย็บผ้าเป็นสิ่งที่เราชอบมาตั้งแต่เด็ก ๆ ตอนนั้นแถบนี้ยังไม่มีโรงงาน ครอบครัวเราก็ทำสวน พี่ไม่ได้เรียนหนังสือ จบแค่ ป.4 ต่อ กศน. จนจบ ม.6 เรียนไปเรื่อย ๆ ก็มาเจอว่าเราชอบงานด้านนี้ ตอนนั้นก็คิดนะว่าถ้าให้ทำสวนต่อไป แก่ตัวไปอาจจะลำบาก เลยเลือกที่จะทำงานตัดเย็บเสื้อผ้าแทน ไม่ต้องไปลำบากคนอื่นเขาด้วย”

‘มหัศจรรย์ชุมชน’ โมเดลชุมชนเข็มแข็ง คนเดินดินที่แสนมหัศจรรย์ ‘มหัศจรรย์ชุมชน’ โมเดลชุมชนเข็มแข็ง คนเดินดินที่แสนมหัศจรรย์

จากความคิดที่ตกผลึกได้ตั้งแต่วัยสาว ประคองจึงเลือกเดินตามเส้นทางนี้มาโดยตลอด แม้ในอดีตเธอต้องตัดขาดความสัมพันธ์กับคนรัก เหลือไว้เพียงลูกชายที่เธอรักยิ่งกว่าสิ่งใด อาจเป็นเพราะเหตุนี้ เธอจึงมีเรี่ยวแรงในการฝ่าฟันทุกอุปสรรค สมกับเป็นผู้นำหญิงแกร่ง คอยโอบอุ้มสมาชิกวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์จากผ้าชุมชนมาบชลูดให้รอดพ้นจากวิกฤติครั้งแล้วครั้งเล่า

และเพราะชุมชนแห่งนี้ให้ชีวิตและโอกาสเธอมานับไม่ถ้วน เธอจึงอยากประคองทุกอย่างให้อยู่รอดไปได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน จึงเป็นที่มาของแรงฮึดครั้งใหญ่ เปลี่ยนเศษผ้าที่ใครต่อใครต่างมองว่าเป็นขยะ นำมาขึ้นรูปเป็นกระเป๋า หมวก และของใช้อีกหลากชนิด

‘มหัศจรรย์ชุมชน’ โมเดลชุมชนเข็มแข็ง คนเดินดินที่แสนมหัศจรรย์ ‘มหัศจรรย์ชุมชน’ โมเดลชุมชนเข็มแข็ง คนเดินดินที่แสนมหัศจรรย์

“ช่วงแรกที่รวมกลุ่ม พี่โตไม่ได้ใช้คำพูดหรือว่าอะไรในการชวนเขามาร่วมเป็นสมาชิกนะ พี่ใช้การกระทำ ทำให้เขาเห็นว่าการเย็บผ้ามันสามารถอยู่รอดได้ ขอแค่เราซื่อสัตย์กับงานที่ทำ หากเราไม่ซื่อสัตย์ คนเขาก็ไม่กลับมาซื้อซ้ำ นี่คือสิ่งที่พี่ยึดมั่นมาโดยตลอด”

“เริ่มแรกเรามีกันอยู่แค่ 3 คนที่เย็บกระเป๋า พอเราเริ่มทำให้เห็นว่าเราอยู่รอดได้นะ มีรายได้เข้ามาจริง ๆ ก็มีคนมาเพิ่มอีกรวมทั้งหมดเป็น 7 คน และขยับขยายไปยังชุมชนอื่น ๆ อีก 10 กว่าคน เพราะว่าพี่ไม่ผูกขาด เราอยากให้เขาสร้างอาชีพได้ด้วยตัวเอง เราให้ฟรี ๆ ด้วยความเต็มใจ”

จุดเปลี่ยนครั้งใหญ่ของวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์จากผ้าชุมชนมาบชลูด เกิดขึ้นหลังจากเอสซีจีซีเข้ามาช่วยแนะนำองค์ความรู้ พร้อมทั้งพัฒนาฝีมือของช่างวัยเก๋าให้เข้าขั้นงานฝีมือชั้นครูสุดปราณีต

“พอเขาเข้ามาช่วยชี้แนะแนวทาง มันก็เหมือนไปเชื่อมโยงกับสิ่งที่เราทำมาโดยตลอด เราสามารถเอามาต่อยอดได้ แถมวัสดุที่เราใช้ยังเป็นการลดขยะ ช่วยลดโลกร้อน แล้วอีกส่วนคือข้างในของหมวกเอยอะไรเอย เราจะบุด้วยโพลีเอสเตอร์ทำจากขวดพลาสติกรีไซเคิล ตรงนี้แหละที่เราเห็นว่าช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมได้ไปในตัว”

อีกสิ่งหนึ่งที่น่าสนใจของวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์จากผ้าชุมชนมาบชลูดคือ สมาชิกทุกคนล้วนเป็นผู้หญิง เราจึงอดสงสัยไม่ได้ว่า หรือกลุ่มนี้จะถูกผูกขาดด้วยสตรีเสียแล้ว เธอหัวเราะออกมา ก่อนจะบอกว่า อันที่จริงไม่เคยกีดกันใครเข้าทำงาน เพศสภาพไหนก็สามารถทำงานเย็บผ้าได้ทั้งนั้น

‘มหัศจรรย์ชุมชน’ โมเดลชุมชนเข็มแข็ง คนเดินดินที่แสนมหัศจรรย์

“ผู้หญิงกับผู้ชายไม่ต่างกันหรอก นอกจากสรีระร่างกาย ถามว่าถ้าเรายกของไม่ไหว เราก็มีปาก ก็ใช้ไปสิเนอะ (หัวเราะ)”

“จริง ๆ แล้วชีวิตทุกวันนี้ไม่ขออะไรมาก พอรวมทีมทำงานกัน เรามีความสุขกับการเย็บผ้า เราชอบเวลาเห็นผลงานใหม่ ๆ ที่สรรสร้างขึ้นมา มันเป็นความภาคภูมิใจ สถานที่แห่งนี้เราเปิดรับทุกคน เปิดรับทุกความคิดเห็น เพราะเราไม่ได้ทำงานอยู่คนเดียว เรามีทีมที่ต้องรับฟังกัน และเราจะพัฒนาต่อไปเพื่อให้เห็นว่า ป้า ๆ อย่างเราก็มีความสามารถไม่แพ้ใคร”

บทสนทนาอันอบอุ่นปิดฉากลงพร้อมกับรอยยิ้มของประคอง เราออกเดินทางอีกครั้ง เพื่อมุ่งหน้าไปยังชุมชนถัดไปเพื่อพูดคุยกับ รัณยณา จั่นเจริญ  หรือ คุณปอ ประธานวิสาหกิจบ้านรลิณ กรีน ลีฟวิ่ง คนรุ่นใหม่ที่พยายามสื่อสารมาโดยตลอดว่า การดูแลสิ่งแวดล้อมไม่ใช่เรื่องยาก เพราะตั้งแต่ลืมตาตื่นทุกการกระทำของเราก็เกี่ยวพันกับสิ่งแวดล้อมแล้ว

‘มหัศจรรย์ชุมชน’ โมเดลชุมชนเข็มแข็ง คนเดินดินที่แสนมหัศจรรย์

“สิ่งที่บ้านรลิณพยายามทำมาโดยตลอดคือ เรามองหาวัตถุดิบจากเกษตรกรที่ใช้วิธีการปลูกแบบอินทรีย์แบบ 100% จริง ๆ ส่วนวิธีการดูว่าปลอดสารตกค้างจริงหรือเปล่า เรายกตัวอย่างง่าย ๆ อย่างมะกรูด เรามองด้วยตาไม่รู้ วิธีการตรวจสอบคือ เราจะเอาเฉพาะผิวมะกรูด ไม่เอาเนื้อใน จากนั้นใส่น้ำร้อน แล้วทิ้งไว้ในอุณหภูมิห้องอย่างน้อย 48 ชั่วโมง ถ้าเป็นอินทรีย์ สีของมะกรูดจะเหลืองสวย แต่ถ้าเป็นวัตถุที่มีสารปนเปื้อน สีของน้ำจะกลายเป็นสีดำ”

รัณยณาเล่าถึงวิธีการตรวจสอบสารปนเปื้อนในมะกรูดให้ฟังอย่างใจเย็น เธอคือพี่สาวคนกลาง เกิดในครอบครัวข้าราชการสำนักเกษตร เป็นลูกสาวคนกลางที่เรียนจบปริญญาตรี 2 ใบ และต่อด้วยปริญญาโทด้านบริหารธุรกิจให้กับที่บ้าน มีการงานมั่นคง แต่สุดท้ายก็ตัดสินใจลาออกจากงานประจำ เพื่อทำผลิตภัณฑ์ออร์แกนิกให้น้องสาวคนเล็กที่แพ้สารพัดสิ่ง ได้มีสบู่ แชมพู รวมไปถึงผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดของใช้ในบ้าน โดยไม่ต้องกังวลว่าจะแพ้ ประจวบกับเวลานั้นเธอรู้สึกอิ่มตัวกับงานประจำที่ทำมาตลอด 15 ปี จึงไม่ลังเลที่จะยื่นจดหมายลาออก เพื่อกลับมาทำงานที่บ้าน

‘มหัศจรรย์ชุมชน’ โมเดลชุมชนเข็มแข็ง คนเดินดินที่แสนมหัศจรรย์ ‘มหัศจรรย์ชุมชน’ โมเดลชุมชนเข็มแข็ง คนเดินดินที่แสนมหัศจรรย์

นั่นคือเหตุผลที่รัณยณากลับมาทำผลิตภัณฑ์เป็นมิตรกับคนและสิ่งแวดล้อม       

เราเริ่มได้ที่ตัวเรา ไม่ต้องขอให้ใครเริ่มเลย จากนั้นมาก็พยายามลดหรือใช้ในสิ่งที่จำเป็นเท่านั้น ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ลดปริมาณขยะ วิถี green living เริ่มได้ที่ตัวเรา

‘มหัศจรรย์ชุมชน’ โมเดลชุมชนเข็มแข็ง คนเดินดินที่แสนมหัศจรรย์

แม้ว่าวิธีคิดของเธอจะดีต่อใจและโลก แต่ก็ต้องใช้เวลาไม่น้อยในการปรับพฤติกรรมคนในบ้าน ช่วงแรกอาจขลุกขลักอยู่บ้าง แต่สุดท้ายทุกคนก็พร้อมปรับไปกับเธอ

“อย่างเวลาไปข้างนอกเราก็จะถามพ่อกับแม่ว่าเอาถุงผ้าไปยัง เอาแก้วน้ำไปยัง แรก ๆ เขาก็ไม่เข้าใจ แต่พอทำไปทุกคนก็เริ่มชิน จนกลายเป็นเรื่องปกติ ปอไม่ได้อยากให้ทุกคนมองว่าการดูแลสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องยาก เพราะเขาอาจจะมองไกลเกินไป แต่จริง ๆ มันคือสิ่งรอบตัว แค่มองใกล้ตัวมากขึ้น ทุกอย่างก็เริ่มได้เสมอ”

ใช่ว่าเส้นทางการก่อตั้งวิสาหกิจบ้านรลิณ กรีน ลีฟวิ่งจะราบรื่นไปเสียหมด แรกเริ่มเธอก็ไม่รู้ว่าจะปรึกษาใคร กระทั่งคุณแม่ชี้แนวทาง โชคชะตาก็นำพาให้รัณยณาและเอสซีจีซีเจอกันในที่สุด

ด่านแรกที่เธอต้องฝ่าฟันไปให้ได้คือ การทำผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพ แน่นอนว่าบททดสอบด่านนี้เธอผ่านไปได้ด้วยคะแนนขาดลอย

ด่านต่อมาคือผลิตภัณฑ์ทุกชิ้นจะต้องปราศจากสารปนเปื้อนอย่างแท้จริง นี่ก็เป็นอีกด่านที่เธอแทบไม่ต้องเปลืองแรงพิสูจน์อะไรมากนัก เพราะวัตถุดิบทุกชิ้น เธอรับมาจากเกษตรกรในพื้นที่ ฉะนั้นไม่ต้องกังวลเลยว่าจะมีสารตกค้าง

ด่านสุดท้ายคือการพิสูจน์ให้เห็นถึงความมุ่งมั่นตั้งใจ และไม่ลืมส่งต่อสิ่งเหล่านี้ไปยังคนอื่น ๆ ในชุมชน รัณยณาผ่านบททดสอบมาได้อย่างสวยงาม ส่วนหนึ่งเป็นเพราะมีกำลังใจจากครอบครัว มีพี่น้องชาวเกษตรกรคอยเอาใจช่วยอยู่ไม่ไกล ของทุกชิ้นที่เธอผลิตขึ้นมาจึงอัดแน่นไปด้วยความรัก ความใส่ใจ ไม่แปลกเลยที่บ้านหลังนี้จะเติบโตขึ้นทุกวัน

‘มหัศจรรย์ชุมชน’ โมเดลชุมชนเข็มแข็ง คนเดินดินที่แสนมหัศจรรย์

“จากเดิมเราเหมือนเดินอยู่ตัวคนเดียว พอเอสซีจีซีเข้ามาช่วยพัฒนาผลิตภัณฑ์ ทำให้เราเห็นแนวทางว่าหากปรับสิ่งนั้นเป็นสิ่งนี้ เราจะเติบโตไปอย่างไรได้บ้าง อีกอย่างคือ เรามองเห็นความมหัศจรรย์ของสิ่งที่เขาทำ เพราะช่วงที่ผ่านมา ยอมรับว่าเศรษฐกิจไม่ดี ไม่มีรายได้ แต่ทุกอย่างก็เปลี่ยนไป เอสซีจีซีสามารถดึงเอาจุดเด่นของแต่ละชุมชนออกมาได้อย่างน่ามหัศจรรย์จริง ๆ”

ปัจจุบันรัณยณามีเพื่อนร่วมอุดมการณ์ทั้งหมด 17 คน สมาชิกที่คอยเกื้อหนุนให้แก่กันอย่างอ่อนโยน นี่คือความมหัศจรรย์อีกอย่างที่เธอได้สัมผัส และในอนาคตเธออยากจะส่งต่อสิ่งเหล่านี้ไปสู่สังคม ชุมชน เพื่อให้ทุกคนมีคุณภาพที่ดีขึ้น แม้จะเป็นการกระทำเล็ก ๆ ของคนตัวเล็กจากชุมชนแห่งหนึ่งในจังหวัดระยองก็ตาม          

“อีกหนึ่งอย่างที่หวังว่าบ้านรลิณจะมีส่วนช่วยเปลี่ยนแปลงก็คือ อยากจะให้คนในชุมชนมีรายได้ ถึงแม้จะไม่ได้มากมายอะไร ปกติสินค้าเกษตรหากขายไม่ได้เขาก็จะทิ้ง แต่อยากให้เขามองกลับมาที่เรา เราสามารถสร้างรายได้เล็ก ๆ น้อย ๆ ให้เขาได้ ถ้าบ้านรลิณก้าวต่อ ปอเชื่อว่าเกษตรกรจะมีรายได้ที่มั่นคงขึ้นอย่างแน่นอน”

เชื่อว่าอ่านมาถึงตรงนี้ หลายคนคงได้สัมผัสถึงความมหัศจรรย์ที่ได้รับอย่างเต็มอิ่มจาก 3 ชุมชนต้นแบบ โดยมี 3 คนธรรมดาผู้มีใจรักในบ้านเกิดของตนอย่างสุดใจร่วมกันผลักดัน และพวกเขาพร้อมจะทำทุกอย่างเพื่อให้คนในชุมชนได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ควบคู่ไปกับการส่งต่อพลังให้คนรุ่นต่อไปด้วยความหวังว่าสักวันหนึ่ง สิ่งที่พวกเขาทำจะก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงขึ้นในสังคมได้อย่างแท้จริง