ฉลอง 40 ปี “หอภาพยนตร์” ต้นธารซอฟต์พาวเวอร์วัฒนธรรมภาพยนตร์ของไทย

ฉลอง 40 ปี “หอภาพยนตร์” ต้นธารซอฟต์พาวเวอร์วัฒนธรรมภาพยนตร์ของไทย

“ครบรอบ 40 ปี เปิดหอภาพยนตร์” โชว์ประสบการณ์งานอนุรักษ์ฟิล์มและสื่อภาพเคลื่อนไหว ทันสมัยในงานเก็บและเผยแพร่สื่อใหม่ยุคดิจิตอล เป็นรากฐานของซอฟต์พาวเวอร์และการสร้างวัฒนธรรมภาพยนตร์ ด้วยการส่งเสริมผู้ชมทุกวัย โดยเฉพาะเด็กนักเรียนและการใช้หนังเพื่อยังให้เกิดปัญญา

ฉลอง 40 ปี “หอภาพยนตร์” ต้นธารซอฟต์พาวเวอร์วัฒนธรรมภาพยนตร์ของไทย

ชลิดา เอื้อบำรุงจิต ผู้อำนวยการ หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) เปิดเผยว่า หอภาพยนตร์(องค์กรมหาชน) เกิดจากการผลักดันของกลุ่มคนเล็ก ๆ ที่มีความเชื่อและความศรัทธา เห็นความสำคัญของการอนุรักษ์สื่อโสตทัศน์ไว้เป็นมรดกภาพยนตร์และบันทึกความทรงจำของประวัติศาสตร์ ได้ร่วมมือกันผ่านกระบวนการต่อสู้มากมายกว่าจะมาถึงวันนี้ จนได้รับการยอมรับจากนานาประเทศด้านประสบการณ์ มาตรฐาน และความสามารถ หอภาพยนตร์ของไทยได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพจัดงานประชุมใหญ่สมาพันธ์หอภาพยนตร์นานาชาติ FIAF Congress 2024 เมื่อเดือนเมษายน 2567 ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นครั้งแรกของประเทศไทย อันเป็นหมุดหมายสำคัญในวาระฉลอง 40 ปีของการต่อตั้งหอภาพยนตร์ฯ

ผลงานหลังจากเป็นเจ้าภาพจัดงาน FIAF Congress 2024 นับเป็นความภาคภูมิใจขององค์กรฯ เพราะผู้เข้าร่วมประชุมกว่า 200 คน จาก 80 ประเทศทั่วโลก ต่างให้การยอมรับหอภาพยนตร์ ของไทยว่าทำงานด้านอนุรักษ์ได้มาตรฐานระดับนานาชาติ

ฉลอง 40 ปี “หอภาพยนตร์” ต้นธารซอฟต์พาวเวอร์วัฒนธรรมภาพยนตร์ของไทย ฉลอง 40 ปี “หอภาพยนตร์” ต้นธารซอฟต์พาวเวอร์วัฒนธรรมภาพยนตร์ของไทย

“คงไม่มีอะไรน่ายินดีไปกว่า การได้รับการยอมรับของคนในวงการเดียวกัน จากการทำงานที่เราให้ความสำคัญกับมาตรฐานด้านการอนุรักษ์มาตั้งแต่ต้น ส่งผลให้เกิดผลงานที่ดี สามารถอนุรักษ์สิ่งต่าง ๆ ได้จำนวนมาก เมื่อเพื่อนในวงการที่มาจากยุโรป อเมริกา ละตินอเมริกา แอฟริกา ฯลฯ มาเห็นด้วยตาตัวเอง เมื่อทุกคนกลับไปแล้วเกิดการพูดถึง บอกต่อ นี่คือซอฟต์พาวเวอร์อย่างหนึ่งที่ไม่ต้องโปรโมท”

ชลิดา เสริมว่า เมื่อพูดถึงซอฟต์พาวเวอร์หลายคนมองที่ปลายทาง แต่งานของหอภาพยนตร์เป็นต้นธารของซอฟต์พาวเวอร์ เพราะงานของหอภาพยนตร์มีสาระอยู่ที่การอนุรักษ์ภาพยนตร์ และการนำภาพยนตร์ทั้งเก่าและใหม่มาเผยแพร่เพื่อสร้างความรู้ เสริมสร้างความหลากหลายของจินตนาการและรสนิยม โดยเฉพาะการทำหน้าที่เป็นแหล่งเรียนรู้ สร้างความเข้มแข็งให้วัฒนธรรมการชมภาพยนตร์ (หรือ audience development) โดยเฉพาะกับเด็กและเยาวชน เช่น เด็กบางคนอาจมีประสบการณ์การดูหนังครั้งแรกที่นี่ ก่อนเข้าดูหนังจึงมีการสอนเรื่องมารยาทของการดูหนังร่วมกับคนอื่น รวมไปถึงมีกิจกรรมชวนพูดคุยหลังดูหนัง เพื่อรับฟังสิ่งที่เด็กได้เรียนรู้จากหนัง โดยไม่มุ่งเน้นการสอน ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ทำให้ผู้ชมรุ่นเยาว์รู้จักคิดไตร่ตรองกับสิ่งที่เห็นอันเป็นพื้นฐานของการสร้างวัฒนธรรมภาพยนตร์ที่แข็งแรง และเป็นกลไกลสำคัญซอฟต์พาวเวอร์ที่สามารถต่อยอดในเรื่องเศรษฐกิจและความคิดสร้างสรรค์ ทั้งในมุมผู้สร้างและผู้ชมภาพยนตร์ ซึ่งสำหรับกิจกรรม “โรงหนังโรงเรียน” นี้ได้รับความนิยมและมีคิวเต็มและยาวไปถึงอีกสองเดือนข้างหน้าแล้ว

ฉลอง 40 ปี “หอภาพยนตร์” ต้นธารซอฟต์พาวเวอร์วัฒนธรรมภาพยนตร์ของไทย นอกจากนี้ บทบาทและหน้าที่หลักของหอภาพยนตร์ฯ ตั้งแต่ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2527 เป็นต้นมา คือการทำหน้าที่อนุรักษ์สื่อภาพเคลื่อนไหว โดยให้ความสำคัญกับผลงานที่สร้างโดยคนไทยหรือเกี่ยวข้องกับประเทศไทย และไม่เฉพาะภาพยนตร์ที่ฉายในโรงเท่านั้น แต่รวมไปถึงภาพยนตร์สารคดี หนังข่าวต่าง ๆ หนังที่สร้างจากหน่วยงาน หรือหนังบ้าน (หนังที่ถ่ายกันเองในครอบครัว เป็นบันทึกประวัติศาสตร์ภาคประชาชน) ในยุคแรก ๆ  หอภาพยนตร์จะเก็บทุกอย่างที่เป็นฟิล์มเพราะเป็นวัตถุถ่ายทำดั้งเดิมและมีโอกาสเสื่อมสลายง่าย โดยเน้นการเก็บงานที่เป็นต้นฉบับ แต่เมื่อสื่อเปลี่ยนรูปแบบในยุคต่อมาเป็นเทป และเป็นไฟล์ดิจิตอล ฮาร์ดดิสก์ ฮาร์ดไดรฟ์ ต่าง ๆ หอภาพยนตร์ก็ยังคงเดินหน้าทำงานเก็บรักษาและใช้หนังเหล่านี้ในกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้สำหรับประชาชน

ฉลอง 40 ปี “หอภาพยนตร์” ต้นธารซอฟต์พาวเวอร์วัฒนธรรมภาพยนตร์ของไทย

ฉลอง 40 ปี “หอภาพยนตร์” ต้นธารซอฟต์พาวเวอร์วัฒนธรรมภาพยนตร์ของไทย “เราค่อนข้างปรับตัวเข้ากับยุคดิจิตอลได้เร็ว แม้ด้านหนึ่งจะเป็นนักอนุรักษ์ ดูโบราณ แต่ขณะเดียวกันเทคโนโลยีการอนุรักษ์ด้านดิจิตอลมีกระแสมาสักระยะหนึ่งแล้วและเราก็ปรับตัวเข้ากับองค์ความรู้ในเชิงสากลมาก่อนแล้ว ประกอบกับเรามีเครื่องมือที่ทันสมัย ทำให้ทำงานด้านบูรณะและทำอะไรหลาย ๆ อย่างได้ด้วยตัวเอง เมื่อมาผนวกกับประสบการณ์และความสามารถที่มี จึงไม่มีปัญหาเรื่องการอนุรักษ์สื่อในยุคดิจิตอล หอภาพยนตร์ไม่ได้เพียงแค่เก็บหนังเก่าในประวัติศาสตร์เท่านั้น แต่เก็บรักษาสื่อภาพเคลื่อนไหวที่สร้างขึ้นในปัจจุบัน เพราะประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ยังคงเดินต่อไปตลอดเวลา” นางสาวชลิดากล่าวทิ้งท้าย

ฉลอง 40 ปี “หอภาพยนตร์” ต้นธารซอฟต์พาวเวอร์วัฒนธรรมภาพยนตร์ของไทย

ทางด้าน โดม สุขวงศ์ ผู้ก่อตั้งหอภาพยนตร์ กล่าวเสริมในวาระครบรอบ 40 ปีว่า หอภาพยนตร์ในเวลานี้ เติบโตจากจุดเริ่มต้นไปไกลมาก โดยส่วนตัวแล้วไม่รู้สึกเป็นห่วงหรือกังวลกับหอภาพยนตร์อีกแล้ว เพราะมีคนรุ่นใหม่มาสานต่อและทำได้ดี จากการทำงานอนุรักษ์สื่อภาพเคลื่อนไหว ก็ได้ขยายบทบาทเพิ่มให้เป็นแหล่งเรียนรู้เพื่อให้เกิดปัญญา ซึ่งก็ทำกันแล้วจนสัมฤทธิ์ผล เห็นได้จากกิจกรรมโรงหนังโรงเรียน ที่ปลูกฝังจากเด็กและเยาวชน เปิดโอกาสให้พวกเขาได้เข้ามาดูหนัง เพื่อจะได้ซึมซับงานศิลปะผ่านสื่อภาพยนตร์ได้อย่างแท้จริง

“หนังเป็นสื่อครองโลกทุกวินาทีจะมีภาพยนตร์ฉายอยู่ที่หนึ่งที่ใดของโลกใบนี้เวลาคนดูหนัง

หรือภาพเคลื่อนไหว  จึงเต็มไปด้วยความรู้ ข้อมูล ข่าวสาร ผมอยากให้เรารู้จักดู เพราะสื่อภาพยนตร์เป็นได้ทั้ง 2 ทาง คือทำลายและสร้างสรรค์ อยากให้ใช้ประโยชน์จากภาพยนตร์ให้เกิดปัญญามากที่สุด” คุณโดม กล่าวในตอนท้าย

สำหรับประชาชนทั่วไปที่สนใจและอยากเข้าไปเที่ยวหรือเยี่ยมชมหอภาพยนตร์ อยากดูหนัง อยากร่วมกิจกรรมหรือใช้บริการด้านอื่น ๆ สามารถติดต่อขอเข้าชมหอภาพยนตร์ได้ที่

เว็บไซต์ : https://www.fapot.or.th   

FB : www.facebook.com/pages/หอภาพยนตร์-องค์การมหาชน

tiktok : @horpapayon

Instragram : @thaifilmarchive

ฉลอง 40 ปี “หอภาพยนตร์” ต้นธารซอฟต์พาวเวอร์วัฒนธรรมภาพยนตร์ของไทย ฉลอง 40 ปี “หอภาพยนตร์” ต้นธารซอฟต์พาวเวอร์วัฒนธรรมภาพยนตร์ของไทย ฉลอง 40 ปี “หอภาพยนตร์” ต้นธารซอฟต์พาวเวอร์วัฒนธรรมภาพยนตร์ของไทย ฉลอง 40 ปี “หอภาพยนตร์” ต้นธารซอฟต์พาวเวอร์วัฒนธรรมภาพยนตร์ของไทย ฉลอง 40 ปี “หอภาพยนตร์” ต้นธารซอฟต์พาวเวอร์วัฒนธรรมภาพยนตร์ของไทย