26 มี.ค. 2566 | 17:25 น.
- จากเด็กวัยรุ่น 22 ต้องรับมรดกเป็นธุรกิจสื่อจากพ่อ จึงสานต่อความฝันของพ่อด้วยการขายและซื้อกิจการสื่อทั่วโลก
- สื่อในมือของ รูเพิร์ต เมอร์ด็อก มีมากเกิน 10 สื่อในปัจจุบัน
มีใครเคยลองจินตนาการดูบ้างมั้ยว่า คนเราสามารถมีความรักได้มากสุดกี่ครั้ง และแน่นอนว่าประเด็นนี้ไม่มีผิดไม่มีถูกเพราะเป็นเรื่องของความเชื่อ ซึ่งการประกาศจาก ‘รูเพิร์ต เมอร์ด็อก’ (Rupert Murdoch) กับความรักครั้งที่ 5 กับ ‘แอน เลสลีย์ สมิธ’ (Ann Lesley Smith) ทำให้คิดถึงกรอบความรักว่าจริงแล้วมีอายุกำหนดหรือไม่
เมอร์ด็อก นักธุรกิจที่มีสื่ออยู่ในมือมากมายในวัย 92 ประกาศหมั้นหมายกับ สมิธ อดีตตำรวจอนุศาสนาจารย์ซานฟรานซิสโกวัย 66 ปี หลังจากที่เขาประกาศเรื่องหย่ากับอดีตภรรยาคนที่ 4 ‘เจอร์รี ฮอลล์’ ได้ไม่ถึง 1 ปี อย่างไรก็ตามสำหรับนักเขียนมองว่า ความรักเป็นสิ่งสวยงามเมื่อมันถูกที่ถูกเวลา และความรักเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับมนุษย์ดังนั้นมันจะไม่มีวันหมดอายุ
แต่ก็เป็นที่น่าเสียดายที่อายุความรักของทั้งคู่นั้นแสนสั้น พวกเขาได้ยกเลิกการหมั้นกะทันหัน หลังประกาศดีได้เพียง 2 สัปดาห์ หลังจากนั้นก็มีข่าวว่าเมอร์ด็อกได้ออกเดตกับสาวคนใหม่อีกครั้ง
นอกจากเรื่องความรักของ เมอร์ด็อก สิ่งที่คนสนใจและชอบที่จะเรียนรู้จากเขาก็คือ แนวคิดการทำธุรกิจสื่อ จุดเริ่มต้น และความทะเยอทะยานที่เคยล้มเหลว ซึ่งครอบครัวของ เมอร์ด็อก ทำธุรกิจสื่ออยู่แล้วโดยพ่อของเขาเป็นนักลงทุนและนักธุรกิจสื่อในออสเตรเลีย เกิดจากความชอบตั้งแต่ที่เป็นนักหนังสือพิมพ์สายสงครามและคลุกคลีอยู่กับวงการนี้มาทั้งชีวิต
“การทำธุรกิจสื่อเป็นความฝันของพ่อที่บอกกับผมมาตลอด พอผมอายุได้ 30 ก็รู้สึกอยากทำธุรกิจสื่อดูสานฝันให้พ่อ” เมอร์ด็อก พูดระหว่างบทสนทนากับ The Australian ซึ่งพ่อของเขาเคยทำงานเป็นบรรณาธิการเพียงเวลาสั้น ๆ อยู่ที่ ‘London Daily Express’ ซึ่งนั่นทำให้ เมอร์ด็อก เริ่มสนใจวงการสื่อมากขึ้น
สื่อเป็นความฝันของพ่อ
เมอร์ด็อก เกิดวันที่ 11 มีนาคม 1931 โดยเขาเป็นชาวออสเตรเลียและได้เปลี่ยนสัญชาติมาเป็นพลเมืองอเมริกันภายหลัง ซึ่งพ่อของเมอร์ด็อกเป็นนักหนังสือพิมพ์และเจ้าของหนังสือพิมพ์ในประเทศออสเตรเลีย ซึ่งเขาให้สัมภาษณ์กับ The Australian ว่าในช่วง 30 เคยเฟลหนักมาก ๆ เพราะเขาพยายามสานฝันของพ่อด้วยการเข้าไปซื้อ ‘Canberra Times’ แต่เจรจาไม่สำเร็จ
จุดเริ่มต้นของ เมอร์ด็อก กับก้าวที่ตัดสินใจเป็นนักธุรกิจตามรอยคุณพ่อ เขาเริ่มจากการซื้อกิจการหนังสือพิมพ์รายเล็กในออสเตรเลีย จากนั้นก็ค่อย ๆ เข้าไปลงทุนและซื้อกิจการสื่อชื่อดังจากทั่วโลก ซึ่งครั้งหนึ่งเขาเคยสนใจอยากจะซื้อสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดแต่ก็มีเหตุทำให้ไม่ได้ซื้อ
โดยเมอร์ด็อก เข้ามาเรียนรู้เกี่ยวกับธุรกิจสื่อตั้งแต่อายุ 22 ปีกับพ่อของเขา อีกทั้งยังมีส่วนสร้างความน่าสนใจให้กับสื่อที่ซื้อกิจการเข้ามา ด้วยการนำเสนอข่าวในมุมใหม่ ๆ เน้นเรื่องอื้อฉาวในยุคแรก ๆ มาเป็นเพิ่มความหลากหลาย
ทั้งนี้ พ่อของเขาเสียชีวิตในปี 1954 นั่นทำให้เขาต้องรับมรดกต่อจากพ่อซึ่งก็คือ the Sunday Mail และ The News ซึ่งเป็นสื่อเล็ก ๆ ที่พ่อของเขาได้เข้าไปซื้อกิจการ หลังจากนั้น เมอร์ด็อก เริ่มขยายธุรกิจไปในตลาดที่ใหญ่ขึ้น โดยก่อตั้งหนังสือพิมพ์ฉบับใหม่ชื่อว่า ‘The Australian’ ซึ่งมีการวางขายไปทั่วออสเตรเลีย และค่อนข้างประสบความสำเร็จในยุคของหนังสือพิมพ์
นอกจากนี้ เมอร์ด็อก ยังมีสื่ออื่น ๆ ในมือเพิ่มเติมในช่วงที่เขาขยายกิจการด้วยการเข้าซื้อธุรกิจของสื่ออื่นในออสเตรเลีย เช่น The Daily Telegraph, The Daily Mirror, The Sunday Times เป็นต้น
จากที่การทำธุรกิจเกี่ยวกับสื่อเป็นความฝันของพ่อเมอร์ด็อก เวลาล่วงเลยจนวันหนึ่งเขารู้สึกว่า การทำธุรกิจในวงการนี้ก็สนุกและมีความท้าทาย ซึ่งเขาให้สัมภาษณ์ว่า “ในวันที่ธุรกิจเติบโต แต่ก็มีวันที่เขาไม่ประสบความสำเร็จ ปัจจัยและบทเรียนเหล่านั้นทำให้เป็นผมอย่างทุกวันนี้ ผมว่าความสนุกของการทำสื่อคือเราเรียนรู้ที่จะเขียนตามความคิดที่เรามองว่ามันดำ มันกำลังเป็นกระแส เช่น มีอยู่ยุคหนึ่งที่ผมเริ่มต้นด้วยเรื่องเพศ เรื่องอื้อฉาวของคนอื่น และใช้การเขียนพาดหัวเรื่องเพื่อดึงดูดคนอ่าน”
ปัจจุบัน เมอร์ด็อก ติดอันดับเป็นบุคคลที่ร่ำรวยที่สุดในโลกอันดับที่ 96 (ข้อมูล ณ วันที่ 22 กันยายน 2023) จากการจัดอันดับของ Forbes โดยเขาสร้างอาณาจักรสื่อเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จากวันที่เริ่มต้นเพียงไม่กี่สื่อ ซึ่งตอนนี้ฉายาของ เมอร์ด็อก ก็คือ ‘เจ้าพ่อสื่อ’ ในวงการมีเดียไปแล้ว เพราะเขาถือสื่อยักษ์ใหญ่ที่มีอิทธิพลมากมาย อย่างเช่น Fox News, The Times of London, The Wall Street Journal, New York Post ที่เข้าซื้อกิจการเมื่อ 47 ปีก่อน
ทั้งนี้ ยังมีสื่ออีกมากมายที่เป็นเจ้าของโดย เมอร์ด็อก เช่น HarperCollins publishing, MarketWatch, Barron's, Austrailan News Channel, Investor's Business Daily, Realtor.com เป็นต้น
สำหรับนักธุรกิจในวงการสื่อที่ค่อนข้างมีอิทธิพลในออสเตรเลียและระดับโลก และถือครองสื่ออีกหลาย ๆ สื่อก็คือ ‘โรเบิร์ต แม็กซ์เวลล์’ (Robert Maxwell) จัดว่าเป็นคู่แข่งอันดับหนึ่งของ เมอร์ด็อก เหตุผลเพราะว่า แม็กซ์เวลล์ เคยพยายามซื้อ The Sunday Mail มาครั้งหนึ่ง ตั้งแต่ที่พ่อของเมอร์ด็อกเสียชีวิตลงแต่ไม่สำเร็จ
แม้ว่า The Sunday Mail จะเป็นมรดกที่ตกทอดมาถึงเมอร์ด็อก แต่เส้นทางระหว่างนั้นก็ไม่ง่ายเพราะเขาต้องพิสูจน์ตัวเองอยู่นานว่ามีความสามารถพอที่จะบริหารสื่อนี้ต่อจากพ่อ ขณะที่ แม็กซ์เวลล์ ให้สัมภาษณ์กับสื่อของออสเตรเลียอยู่หลายครั้งเกี่ยวกับศักยภาพของเมอร์ด็อก แม้ว่าไม่ได้พูดตรง ๆ แต่เขาเปรยผ่านความสนใจที่จะซื้อ The Sunday Mail
อย่างไรก็ตาม ปริศนาการเสียชีวิตของ แม็กซ์เวลล์ ตั้งแต่วันที่ 5 พฤศจิกายน 2534 ที่หายตัวไปจากเรือยอช์ก่อนพบร่างในมหาสมุทร จนขณะนี้ก็ยังไม่มีการเปิดเผยถึงเหตุการเสียชีวิตแต่อย่างใด ถือเป็นเรื่องเศร้าในวงการนักธุรกิจและวงการสื่อ ซึ่งหลายครั้งที่เห็นความเคลื่อนไหวของ เมอร์ด็อก ก็อดคิดถึงคู่แข่งทางธุรกิจอย่าง แม็กซ์เวลล์ ไม่ได้ เรียกว่าเติบโตมากับสื่อและเริ่มต้นจากสื่อในออสเตรเลียเหมือนกัน
ในส่วนของเมอร์ด็อกเอง ในที่สุดก็ถึงวันที่งานเลี้ยงเลิกรา เมื่อเขาประกาศลงจากตำแหน่งประธานบริษัทฟ็อกซ์ คอร์ป และนิวส์ คอร์ป หลังนั่งเก้าอี้ผู้บริหารสื่อมานานกว่า 70 ปี โดยได้ส่งต่อหน้าที่ให้กับ ‘ลาคแลน เมอร์ด็อก’ ลูกชายของเขา ส่วนตัวเขาเองก็ถอยไปรับหน้าที่ประธานกิตติคุณของทั้งสองบริษัท
เรื่องราวของ เมอร์ด็อก ทั้งในแง่ของชีวิตรักและธุรกิจ ถือว่าสร้างแรงบันดาลใจให้กับคนอื่นได้ในหลากหลายมุมมอง ตั้งแต่เรื่องรัก ๆ ที่มันไม่เคยมีวันหมดอายุสักครั้งสำหรับคนบางคน ขณะที่เส้นทางธุรกิจที่กว่าพวกเขาจะมีวันนี้ได้ก็ยากเย็นแสนเข็ญอยู่เหมือนกัน หลายคนชอบพูดว่าเพราะ ‘ต้นทุน’ ทำให้นักธุรกิจหลายคนประสบความสำเร็จ แต่สำหรับนักเขียนทฤษฎี ต้นทุน+ความพยายาม มากกว่าที่เป็นคีย์ของความสำเร็จ
อ้างอิง:
voathai