11 ธ.ค. 2566 | 22:15 น.
- ‘Silo’ (ไซโล) คำเรียกเปรียบวิธีการทำงานของใครของมัน คล้ายกับถังบรรจุขนาดใหญ่ที่ใช้ในการเกษตร เพื่อข้าว หรือข้าวโพด โดยจะไม่ปะปนกัน
- 4 ข้อที่เช็คง่าย ๆ ว่าอยู่ในองค์กรที่มีการงานแบบ Silo หรือไม่
- วิธีแก้ไขที่พูดง่ายแต่เริ่มทำยาก เพราะ Silo อยู่คู่กับคนทำงานมาหลายสมัย
ในจักรวาลอันกว้างใหญ่ของศัพท์แสงที่เกี่ยวกับการทำงาน “in silos” มักจะถูกพูดถึงอยู่บ่อย ๆ และเป็นการพูดถึงมานานมากแล้ว แต่ปัจจุบันหลายองค์กรก็ยังคงยกให้เป็นหนึ่งในตัวทำลายวัฒนธรรมองค์กรโดยแท้
คำว่า ‘Silo’ (ไซโล) เป็นการเปรียบเปรยจากลักษณะของถัง Silo ที่มีขนาดใหญ่ใช้บรรจุพืชพันธุ์ต่าง ๆ แยกออกจากกัน เพื่อไม่ให้ปะปนกัน ไม่ว่าจะเป็นข่าว ข้าวโพด หรือ เมล็ดพันธุ์พืชทั้งหลาย ดังนั้น วัฒนธรรมการทำงานแบบ Silo มันคือ การทำงานโดยไม่สื่อสารกัน ทำงานตัวใครตัวมัน ไม่อยากข้องเกี่ยว ไม่อยากรับรู้ว่าผู้อื่นหรือฝ่ายอื่นกำลังทำอะไรอยู่ เป็นต้น
ดังนั้น หากองค์กรไหนถูกหยิบยกขึ้นมาพูดว่าเป็นองค์กรการทำงานแบบ Silo โปรดจงรู้ไว้ว่า องค์กรนั้นมีภาพลักษณ์การทำงานที่อาจไม่ดีนัก เพราะค่อนข้างซับซ้อน ไม่สื่อสาร ไม่ราบรื่น เพราะแต่ละฝ่ายไม่อยากสื่อสารกัน หรือสื่อสารก็น้อยมาก ๆ ในระดับที่วัดผลการทำงานไม่ได้
เป็นลักษณะของการพึ่งพาตนเองสูงมาก และมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลหรือทรัพยากรระหว่างกันน้อยมากนั่นเอง
ทำไมกลายเป็นองค์กร Silo
ไม่ว่าจะยอมรับหรือไม่ว่าเราอยู่ในองค์กร Silo หรือเข้าข่ายบ้างหรือไม่ การพิจารณาไปแต่ละข้อที่บ่งบอกว่าวัฒนธรรมองค์กรของเรากำลังมีการทำงานแบบ Silo อยู่ สามารถดูจากที่ผู้เขียนมาสรุปในบทความนี้ได้ เพราะมันเป็นสิ่งสำคัญ ช่วงเปลี่ยนผ่านจากข้ออ้างในวันปีใหม่ อาจพอจะทำให้ผู้นำรู้สึกสมเหตุสมผลว่า เราต้องเปลี่ยนแล้ว!
ข้อแรกคือ ‘อุปสรรคด้านโครงสร้าง’ หมายถึงว่า บางครั้งวิธีการออกแบบองค์กร โครงการบริษัท สามารถสร้างวัฒนธรรม Silo ได้โดยไม่รู้ตัว เช่น การให้รางวัลหรือชื่นชมเป็นรายบุคคลมากเกินไป จะทำให้การทำงานแบบ Team Work เกิดขึ้นได้ยาก
ข้อที่สองคือ ‘ปัจจัยทางวัฒนธรรม’ หมายถึงวัฒนธรรมในที่ทำงานไม่ส่งเสริมการแบ่งปัน และการทำงานร่วมกันอย่างจริงจัง หรือไม่มีการออกแบบให้เกิดความรู้สึกว่า ต้องทำงานร่วมกันถึงจะประสบความสำเร็จ ในเมื่อหากตั้งใจทำงานก็นำไปสู่ความสำเร็จได้เช่นกัน
‘เทคโนโลยี’ ถูกมองว่าเป็นชนวนให้เกิดวัฒนธรรมแบบ Silo เป็นเรื่องที่สาม เพราะขอบเขตทางเทคโนโลยีในปัจจุบันที่มีเรื่องของสิทธิส่วนบุคคลสูงขึ้น ทำให้แลกเปลี่ยนหรือแชร์ข้อมูลบางอย่างระหว่างกันยากขึ้น ทั้งที่เทคโนโลยีควรนำมาช่วยให้การแชร์ระหว่างฝ่ายง่ายขึ้นแต่สิ่งที่เกิดขึ้นจริงกลับไม่ใช่แบบนั้น
และสุดท้ายก็คือ ‘ผู้นำ’ ทิศทางและความมุ่งมั่นของผู้นำ หากไม่ส่งเสริมให้ทลายกำแพง Silo แน่นอนว่าคนภายในองค์กรก็จะไม่มีใครทำเกินหน้าเกินตา เพราะไม่มีคำสั่งที่เป็นรูปธรรมชัดเจน
ยาแก้พิษคือ ความสามัคคี
ในเมื่อคุณทำงานแบบตัวใครตัวมัน ยาที่จะถอนพิษนี้ได้เร็วและง่ายที่สุดก็คือ ‘ความสามัคคี’ แต่เราจะสร้างสิ่งเหล่านั้นอย่างไร?
ความเข้าใจที่ตรงกันจะนำไปสู่ความสามัคคีได้ พูดง่ายแต่เหมือนจะทำยากเพราะสิ่งที่ต้องทำก่อนความเข้าใจคือ ความพยายามปรับ mindset ของคนในองค์กรให้เท่าเทียมกัน
คนในองค์กรต้องเห็นเป้าหมายเดียวกันก่อน ทุกคนในองคืกรไม่ว่าจะฝ่ายไหน จำเป็นอย่างมากที่ต้องรู้ passion ขององค์กร เพื่อเรียนรู้ว่า pain point ขององค์กรคืออะไร และความสำเร็จขององค์กรนหน้าตาจะต้องเป็นแบบไหน
อีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยลดวัฒนธรรม Silo ได้ง่ายขึ้น และยังช่วยให้ประสิทธิภาพของงานดีขึ้นด้วย นั่นคือ ‘Feedback’ การติดตามผลงานของแต่ละคน แบ่งปันความคิดเห็นและการชื่นชมอย่างสม่ำเสมอ
ส่งเสริม ‘พลังแห่งความไว้วางใจ’ เพราะการสร้างวิธีทลายวัฒนธรรม Silo นั่นต้องมีความเคารพ ความเชื่อใจระหว่างกันอยู่ในนั้น ที่สำคัญทุกฝ่ายต้องสนับสนุนความสำเร็จของกันและกัน และมองให้ออกว่าความสำเร็จของแต่ละฝ่ายนั้น มีข้อดีและเอื้อต่อองค์กรอย่างไร
ยาพิษ Silo ที่ผู้เขียนหยิบมาพูดนั้น ดูเหมือนจะได้ยินมาหลายครั้งแล้ว แต่สุดท้าย...Silo ก็ยังมีอยู่ในทุกองค์กรอยู่ดี ไม่เคยหายไปไหน คำถามคือ เพราอะไร? เราถึงปล่อยให้พิษร้ายตัวนี้ฝังลึกอยู่กับเราได้นานนัก ทั้งที่เราสามารถแก้ไขได้จากคำแนะนำและตัวอย่างหลายบริษัทที่ทำได้ ถึงเวลาแล้วหรือยังที่วันนี้จะทุบกำแพง Silo ทิ้งซะ!
ภาพ: midjourney ai
อ้างอิง: