31 มี.ค. 2568 | 18:52 น.
KEY
POINTS
คนรุ่นใหม่อาจรู้จัก ‘One Night in Bangkok’ เพียงผิวเผิน จากภาพยนตร์เรื่อง ‘The Hangover 2’ ในฉาก ‘ไมค์ ไทสัน’ ร้องเพลง One Night in Bangkok
แต่เชื่อว่า ทั้งฉากนี้ และทั้งภาพยนตร์ทั้งเรื่อง ได้รับความสนใจไม่ถึง 1 ใน 1,000,000 เมื่อเทียบกับเหตุการณ์ครั้งที่เพลง One Night in Bangkok โด่งดัง
ขณะเดียวกัน คนรุ่นเก่าก็อาจรู้จัก One Night in Bangkok เพียงผิวเผินเช่นกัน หากไม่มีกระแสข่าวถูกรัฐบาลไทย BAN เพราะถ้าไม่ใช่แฟนเพลงพันธุ์แท้ หรือเด็กลานสเก็ตก็คงยากที่จะได้ฟัง
ก่อนกระแส BAN ดังกล่าวจะค่อย ๆ จางหายไป ในยุคนั้นนอกจากวิทยุ ก็ไม่รู้ว่าจะ BAN ในช่องทางไหนอีก เพราะโทรทัศน์ปกติก็ไม่มีใครเอามิวสิควิดีโอมาฉายอยู่แล้ว มองในมุมกลับ การ BAN ยิ่งทำให้คนอยากหา One Night in Bangkok มาฟังกันมากขึ้นไปอีก
ยิ่งมาในยุคนี้ ที่ดูเหมือนจะไม่มีใครใส่ใจเรื่องอะไรที่ลึกซึ้งอีกต่อไปแล้ว เราสามารถหาเพลง One Night in Bangkok ใน YouTube หรือช่องทางออนไลน์อื่น ๆ ที่สำคัญก็คือดูแล้ว ฟังแล้ว จะรู้สึกตลกจนขำกลิ้ง ว่าเนี่ยนะเพลงที่เคยถูก BAN
เป็นเพราะเราใช้แว่นปัจจุบันย้อนกลับไปมองเงื่อนไขในอดีต ในสังคมที่มีสื่อไม่มาก ยิ่ง Content ก็ยิ่งน้อยลงไปอีก การเข้มงวดกับสิ่งที่ผิดที่ผิดทาง และไม่ถูกใจในยุคสมัยหนึ่ง อาจเป็นเรื่องเล็กน้อยจนแทบไม่มีความหมายในอีกยุคสมัยหนึ่ง
ท่ามกลางเพลงลูกทุ่งสุดขั้วที่ปรากฏให้เห็นใน YouTube อาทิ โกนหะมอย คอยอ้าย รวมถึงเพลงในแนวนี้อีกมากมาย One Night in Bangkok จึงเป็นเพียงปรากฏการณ์ที่มีสถานะ เป็นแค่บทบันทึกในหน้าประวัติศาสตร์ แต่ไร้ซึ่งความหมายในยุคปัจจุบัน
One Night in Bangkok แต่งโดย 2 อดีตสมาชิกวง ‘ABBA’ คือ ‘Benny Andersson’ และ ‘Björn Ulvaeus’ ท่อนร้องแร็พโดย ‘Murray Head’ ศิลปินชาวอังกฤษ ท่อนคอรัสร้องโดย ‘Anders Glenmark’ นักร้อง นักแต่งเพลง และโปรดิวเซอร์ชาวสวีเดนบ้านเดียวกับ ABBA บรรจุอยู่ในอัลบั้ม ‘Chess Pieces’
แรกเริ่มเดิมที One Night in Bangkok แต่ขึ้นเพื่อใช้ประกอบในละครเพลง (ละครเวที) เรื่อง ‘Chess’ เป็นเพลงแนว New Wave ต่อมาถูกใช้เป็นเพลงประกอบหนังเรื่อง The Hangover 2 ดังที่ได้กล่าวไปในปี ค.ศ. 2011
แน่นอนว่ายุค 80 เป็นยุคดิสโก้เธค แล้วต่อด้วยยุคลานสเก็ต ที่มี ‘เพลงประจำลาน’ อย่าง Happy Song (Boney M.), Tarzan Boy (Baltimora), Talking in Your Sleep (The Romantics), Agadoo (Black Lace), Like A Virgin (Madonna), I Hate Myself for Loving You (Joan Jett) และ This Time I Know it’s for Real (Donna Summer)
แม้ว่า One Night in Bangkok จะเปิดตัวก่อน แต่คุณภาพ ความดัง และการยอมรับ ต้องไปต่อแถว เพลงลานสเก็ตระดับ TOP ข้างต้น จากเหตุผลการเป็นเพลง POP เกรด B แตะ ๆ New Wave แต่ก็ไปไม่สุด แตะๆ Funk ก็ไปไม่ไหว หรือจะโชว์ท่อน RAP ก็ไปไม่ได้
จนกระทั่งเกิดกระแส BAN เพลงจากรัฐบาลไทยในปี ค.ศ. 1985 จากเหตุผลการ “สร้างความเข้าใจผิดเกี่ยวกับเมืองไทย และลบหลู่ศาสนาพุทธ” ทำให้กระแส One Night in Bangkok กระหึ่มไปทั่วโลก ต่อเติมความดังขึ้นไปอย่างไม่ตั้งใจ ไต่ขึ้นไปติดอับดับ 3 บน Chart Billboard และกลายเป็นเพลงเกี่ยวกับกรุงเทพฯ ที่ดังที่สุดในยุคนั้น
แกล้งโง่หรือโง่จริง ความสับสนระหว่าง Thailand กับ Taiwan
หากมองย้อนกลับไปในอดีต การเผยแพร่วัฒนธรรม Soft Power ผ่านการ์ตูน และภาพยนตร์ตะวันตก ถ้ามีตัวละครพูด หรือถามถึง Bangkok หรือ Thailand อีกตัวละครหนึ่งก็มักจะตอบกลับประมาณว่า Taiwan หรือไม่ก็ยกภาพคนจีน คนเวียดนาม และโลเกชันประมาณกัมพูชา นำไปปรากฏอยู่ในการ์ตูน และหนัง
แน่นอนว่า ส่วนหนึ่งเพราะไทยเป็นประเทศเล็ก กรุงเทพฯ ก็ยิ่งเล็กเข้าไปอีก การที่โลกจะรู้จักเราดีเท่าโตเกียว, ญี่ปุ่น หรือฮ่องกง สิงคโปร์ ในยุคที่ไม่มีอินเตอร์เน็ต รายละเอียดการรับรู้ต่าง ๆ ที่กล่าวมา จึงยาก จนแทบจะเป็นไปไม่ได้
แต่ก็ไม่ใช่ว่า ไม่สามารถจะค้นข้อมูลเพื่อยืนยันการมีอยู่ของ Bangkok, Thailand ว่าไม่ใช่ Taiwan ซึ่งบางครั้งเมื่อเวลาผ่านไป เราอาจเกิดคำถามว่าผู้ผลิตสารผู้ผลิตสื่อในยุคดังกล่าว ว่าโง่จริง หรือแกล้งโง่กันแน่
ดังนั้น การไม่เป็นที่รู้จัก จึงง่าย และสุ่มเสี่ยงมาก ที่จะถูกยัดข้อหาแบบเหมารวม ประมาณว่า ประเทศไทย และกรุงเทพฯ เป็นเมืองไร้อารยธรรม เป็นบ้านป่าเมืองเถื่อน เป็นเมืองขาย Sex เป็นชาติด้อยพัฒนา
แน่นอนว่า การไม่เป็นที่รู้จักนั้นเป็นประเด็นหนึ่ง แต่อีกประเด็นหนึ่งในมุมที่ One Night in Bangkok ได้สื่อออกมา ทำให้เข้าใจได้เลยว่า ทำไมถึงถูก BAN
ก็เพราะนำเสนอด้วยภาพนางเอก MV เป็นผู้หญิงหน้าตาตะวันตกใส่ชุดกึ่งจีนกึ่งเวียดนาม ตัวประกอบหญิงก็ใส่งอบหนอนหลาของเวียดนาม และใส่กี่เพ้าแบบจีนผสมอ๋าวหญ่ายแบบเวียดนาม นั่งพุ้ยข้าวต้ม ส่วนตัวประกอบชายมาในมาดนักมวยไทย เปลือยท่อนบน ใส่กางเกงมวย หรือผ้าขาวม้าผูกกระจับ แต่เนื้อตัวมอมแมมเหมือนกุลีท่าเรือ
ส่วนตัวเพลงก็บูลลี่กรุงเทพฯ แบบสุด ๆ ไม่ว่าจะเป็นข้อหาประเทศ Exotic ที่บาร์ และวัด ตั้งอยู่ติดกัน ถนนสายหลักเรียงรายด้วยอาบอบนวด เป็นเมืองที่เต็มไปด้วยการขาย Sex และตีตรากะเทยกับการขายบริการทางเพศ ฯลฯ ก็สมแล้วที่ถูก BAN
คำถามต่อมาก็คือ ในยุคที่ ‘การเคารพความแตกต่าง’ หรือ ‘Political Correctness’ (PC) ยังไม่เป็นกระแสแบบข้ามโลกเฉกเช่นทุกวันนี้ ที่ยืนของ One Night in Bangkok นั้นเป็นอย่างไรกันแน่?
ก่อนอื่น ขอพาย้อนกลับไปดูเนื้อเพลง One Night in Bangkok กันก่อน
Bangkok, Oriental City
But the city don't know what the city is getting
The creme de la creme of the chess world
In a show with everything but Yul Brenner
Time flies, doesn't seem a minute
Since the Tirolean spa had the chess boards in it
All changed, don't you know that when you
Play at this level there's no ordinary venue
It's Iceland, or the Philippines, or Hastings
Or, or this place
One night in Bangkok and the world's your oyster
The bars are temples but their pearls ain't free
You'll find a god in every golden cloister
And if you're lucky, then the god's a she
I can feel an angel sliding up to me
One town's very like another
When your head's down over your pieces, brother
(It's a drag, it's a bore, it's really such a pity
To be looking at the board
Not looking at the city)
Whattaya mean?
You've seen one crowded, polluted, stinking town
(Tea, girls, warm and sweet, sweet
Some are set up in the Somerset Maugham suite)
Get Thai'd, you're talking to a tourist
Whose every move's among the purest
I get my kicks above the waistline, sunshine
One night in Bangkok makes a hard man humble
Not much between despair and ecstasy
One night in Bangkok and the tough guys tumble
Can't be too careful with your company
I can feel the Devil walking next to me
Siam's gonna be the witness
To the ultimate test of cerebral fitness
This grips me more than would a muddy old river
Or reclining Buddha
Thank God I'm only watching the game, controlling it
I don't see you guys raging
The kind of mating I'm contemplating
I'd let you watch, I would invite you
But the queens we use would not excite you
So, you better go back to your bars, your temples
Your massage parlors
One night in Bangkok and the world's your oyster
The bars are temples but their pearls ain't free
You'll find a god in every golden cloister
A little flesh, a little history
I can feel an angel sliding up to me
One night in Bangkok makes the hard man humble
Not much between despair and ecstasy
One night in Bangkok and the tough guys tumble
Can't be too careful with your company
I can feel the Devil walking next to me
โดยภาพรวม เป็นการเปรียบเปรยแสงสีชีวิตยามราตรีในกรุงเทพฯ กับการเล่นหมากรุกฝรั่ง พร้อมวิพากษ์การค้าบริการทางเพศ ทั้งสาวประเภทหนึ่ง และสาวประเภทสอง
แน่นอนว่า ในยุค 80 โลกยังไม่มีมาตรการ Political Correctness หรือ ‘การเคารพความแตกต่าง’ หรือการเอาใจเขามาใส่ใจเรา เพื่อลดการกระทบกระทั่งระหว่างกันในสังคมเดียวกัน และการกระทบกระทั่งระหว่างประเทศ
แต่หากย้อนกลับไปอ่านเนื้อเพลงแบบแบบละเอียด จะพบว่า One Night in Bangkok มีปัญหาเกี่ยวกับการเหมารวมวัฒนธรรมตะวันออก เอามายัดใส่ให้กรุงเทพฯ อย่างชัดเจน ว่าเป็นดินแดนประหลาด (Exotic) ที่สถานบันเทิง กับวัดวาอารามตั้งอยู่ชิดติดกันได้ โดยมีนัยหลักคือเรื่องผู้หญิงขายบริการทางเพศ Sex Tour กะเทยขายบริการทางเพศ
เป็นแนวคิด Eurocentric ที่ฝังรากลึกมานาน กับการเชิดชูคนผิวขาวว่าเป็นศูนย์กลางจักรวาลเหนือเผ่าพันธุ์อื่น รวมถึงยัดเยียดข้อหา Exoticize ให้แก่ชนชาติอื่นที่ไม่ใช่คนยุโรป ว่าด้อยพัฒนาแบบสุด ๆ ไปจนถึงบ้านป่าเมืองเถื่อน ไร้อารยธรรม ฯลฯ
เป็นการขับเน้น ‘ปมผู้เหนือกว่า’ หรือ ‘Superiority Complex’ เพื่อสร้างความชอบธรรมให้แก่ชาวตะวันตกในยุคล่าอาณานิคม ยุคค้าทาส มาจนถึงสงครามโลกครั้งที่ 1 และ 2 โดยหลังสงครามโลก ‘การเหยียด’ ทั้งเหยียดผิว และเหยียดเพศ มาในรูปแบบของวัฒนธรรม แฟชั่น ดนตรี อาหาร ที่เรียกว่า ‘Soft Power’
ก่อนที่ทั้งหมดจะถูกกวาดตกเวทีไปด้วยมาตรการ ‘การเคารพความแตกต่าง’ หรือ ‘Political Correctness’ หรือ PC ในยุคปัจจุบันนั่นเอง
แต่คำถามตัวโต ๆ มีว่า ถ้า One Night in Bangkok เพิ่งแต่งเสร็จ และนำมาเผยแพร่ในยุคนี้ หรือปี ค.ศ. 2025 One Night in Bangkok จะถูก BAN หรือไม่?
คำตอบง่าย ๆ อยู่ที่ Paragraph ถัดไป
การ BAN เพลงในบ้านเรา ถ้าไม่ใช่ประเด็นทางการเมือง เช่น เพลงของ ‘คาราบาว’ ก็เห็นจะเป็นเพลงที่เกี่ยวกับเรื่องเพศ
จาก จี่หอย, คันหู, เห็นหมีหนูไหม, ลิ้นจี่หน้าหอ, ปูหนีบอีปิ, สิฮิน้องบ่, ปล่อยน้ำใส่นาน้อง, เอาไม่เสร็จ Yes แน่นอน, สี่ได้ทีละสองโคย, จนถึง โกนหะมอย คอยอ้าย
การมองย้อนกลับไปถึงปรากฏการณ์ One Night in Bangkok โดยโยนคำถามกลับไปในทำนองว่า ถ้า One Night in Bangkok เพิ่งแต่งเสร็จ และนำมาเผยแพร่ในยุคปี ค.ศ. 2025 จะถูก BAN หรือไม่?
การจะตอบคำถามนี้ คงต้องดูกันที่บริบทสังคมกันก่อน เพราะเป็นที่ทราบกันดี ว่ายุคใหม่สมัยนี้ ที่ดูเหมือนจะเป็นยุคสมัยที่ไม่มีใครใส่ใจอะไรกันลึกซึ้งอีกต่อไปแล้ว
เราสามารถหาเพลง One Night in Bangkok ใน YouTube หรือช่องทางออนไลน์อื่น ๆ ที่สำคัญก็คือดูแล้วฟังแล้วจะรู้สึกตลก เนี่ยนะเพลงที่เคยถูก BAN
ดังนั้น การใช้แว่นปัจจุบันย้อนกลับไปสวมใส่เพื่อมองเงื่อนไขในอดีตยุค 80 ที่ยังเป็นสังคมที่มีสื่อไม่มาก ยิ่ง Content ก็ดูจะยิ่งลดน้อยถอยลงไปอีก
การเข้มงวดกับสิ่งที่ผิดที่ผิดทาง และไม่ถูกใจในยุคสมัยหนึ่ง คือการ BAN เพลง One Night in Bangkok จึงอาจเป็นเรื่องเล็กน้อยจนแทบไม่มีความหมายอีกต่อไปแล้วในอีกยุคสมัยหนึ่ง
ท่ามกลางเพลงลูกทุ่งสองแง่สองง่ามที่ปรากฏให้เห็นแบบย้อนยุคใน YouTube อาทิ ฝันประหลาด, ผู้ชายในฝัน, หมากัด, ครางชื่ออ้ายแน, บายเบิ่ง, ยับแม่ ไปจนถึง “คนจนมีสิทธิ์มั้ยคะ มีงานให้ทำไหมคะ ปริญญาไม่มี แต่มีหมีนะคะ” รวมถึงเพลงในแนวนี้อีกมากมาย
One Night in Bangkok จึงเป็นเพียงปรากฏการณ์ที่เป็นแค่บันทึกในหน้าประวัติศาสตร์ แต่ไร้ซึ่งความหมายในยุคปัจจุบัน
เรื่อง: จักรกฤษณ์ สิริริน
ภาพ: ยูทูบ Murray Head - One Night In Bangkok “From CHESS” ช่อง ChessVEVO